bloggang.com mainmenu search
 


https://blogs.food24.com/ninaskitchen/tag/beetroot/



 
บีทรูท (Beetroot)

ชื่อเรียกภาษาไทย : ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง
ชื่ออื่น ๆ : Chard, Sugarbeet, Mangel-wurzel
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beta Vulgaris Linn.
 วงศ์ : Chenopodiaceae

บีทรูท คือหัวผักกาดที่อยู่ใต้ดินชนิดหนึ่ง ลักษณะใบเดี่ยวเรียงตัวสลับ ใบเป็นรูปหัวใจรี ก้านและเส้นใบสีแดง
มีดอกเดี่ยวออกเป็นช่อสีเขียวอ่อนขนาดเล็ก หัวใต้ดินมีขนาดเล็กทรงกลมป้อม เปลือกดำแดง เป็นผักเมืองหนาว
 ต้นกำเนิดอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันสามารถปลูกได้ในแถบภาคเหนือของไทย


 

 


 

 ราก หรือ หัวพืชที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีลักษณะทรงกลมป้อม เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร เนื้อด้านใน
ฉ่ำน้ำเป็นชั้น ๆ สีแดงเลือดหมู ม่วงแดง และเหลือง บีทรูท รับประทานได้หมดทั้งต้น หัว ก้าน ใบ เมื่อปอกเปลือก
สีแดงจะติดมือ สารสีแดงในหัวบีทรูท คือ เบทานิน (betanin) เป็นกรดอะมิโนที่มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเนื้องอกและมะเร็ง


 


         https://goo.gl/c5abFT                            https://goo.gl/9SEGz0

 

บีทรูท อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์
ต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาอื่น ๆ อีก เช่น ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการบวม บำรุงตับ เป็นยาระบาย เจริญอาหาร แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ
แก้อาการไอ บีทรูทช่วยปรับสมดุลระบบเลือดได้ดี หัวบีทรูทเป็นผักทางเลือกที่ดีที่จะป้องกันร่างกายจาก
สารอนุมูลอิสระ และกระตุ้นตับให้สามารถกำจัดสารพิษออกจากกระแสเลือดได้มากขึ้น

 

 

 
https://goo.gl/7dXQ6m
 


บีทรูท มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีไฟเบอร์อยู่มาก ให้ วิตามินเอ บี 1 บี 2 วิตามินซี โซเดียม โปแตสเซียม  
แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และสารสีแดงในหัวบีทรูทคือเบทานิน (betanin) เป็นกรดอะมิโนที่มีสรรพคุณ
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและมะเร็ง บำรุงเลือด บำรุงไต ถุงน้ำดี เป็นอาหารล้างพิษ  


 

https://goo.gl/lLqKrA

 

 
การเลือกซื้อและการเก็บรักษาบีทรูท ควรเลือกหัวบีทรูทที่มีขนาดเล็ก เพราะจะมีเนื้อละเอียดและให้รสหวาน
มากกว่าหัวบีทรูทขนาดใหญ่ ผิวไม่เหี่ยว จับดูเนื้อไม่นิ่ม ถ้ามีใบติดอยู่ด้วย ก็ให้เลือกหัวที่ใบยังสดอยู่ ตัดใบให้เหลือ
ก้านประมาณ 3 ซม. นำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วเก็บใส่ในถุงตาข่าย วางไว้ในร่มหรือจะนำมาแช่ในตู้เย็น
ตรงช่องเก็บผัก จะเก็บได้นาน 2 สัปดาห์


 


 https://goo.gl/YVcGQe 



ปลูกบีทรูทกินเอง ... แค่ปลูกให้มันขึ้นด้วยความนึกสนุกก็พอ ดูว่ามันจะสามารถโตได้ในถิ่นที่ไม่ค่อยหนาวมาก
โดยเฉพาะในแถบที่อยู่ในส่วนภาคกลางได้หรือไม่ ลองปลูกบีทรูทในกระถางดู มันก็ใช้ได้เหมือนกัน เพียงแต่ต้อง
ปลูกในหน้าหนาว เพราะอากาศเย็น ถ้าปลูกฤดูอื่น หัวจะไม่ค่อยโตหรือไม่ค่อยงอกเท่าไหร่
 
นอกจากกินเป็นผักสลัด หรือดองไว้ผัดกับเนื้อ ต้มหรือดองสามรสเป็นเครื่องเคียงสเต๊กหรือพาสต้า
หรือกินกับเนย ทำซุป สีสันของบีทรูทยังใช้ตกแต่งอาหารให้มีสีสัน หรือใช้แทนสีผสมอาหาร ทำขนม หุงกับข้าว
แต่ที่นิยมมากคือนำไปคั้นด้วยเครื่องแยกกาก ผสมกับผักผลไม้อื่น หรือฉายเดี่ยว เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
ส่วนใบบีทรูทก็กินได้ เลือกเฉพาะใบอ่อน กินสด ๆ มีวิตามินเอสูง มีผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี
และมีมากในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม


 


 https://goo.gl/yP89ZA



น้ำบีทรูทกระตุ้นสมอง
 
       สารประกอบไนโตรเจนในเนื้อสีแดงของผลบีทรูท จะช่วยขยายหลอดเลือดและกระตุ้นการไหลเวียน
ของโลหิตให้ไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น จากผลการวิจัยล่าสุดของออสเตรเลียพบว่า ผู้ที่ดื่มน้ำบีทรูทคั้นสด
ทุกเช้า มีระดับความดันโลหิตในสมองที่ลดต่ำลง และมีความจำที่ดีขึ้นอีกด้วย





https://goo.gl/RZfHUW
Greens, Orange, and Beet Salad



ไฟเบอร์จากบีทรูทจะเพิ่มการผลิตเอ็มไซม์ต่อต้านอนุมูลอิสระในตับซึ่งจะช่วยตับและถุงน้ำดีกำจัดสารพิษอื่น ๆ
ออกจากร่างกาย ยังมีสารเบทาไซอานิน (betacyanin) ซึ่งเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใส
แต่ถ้าต้องการให้ได้รับวิตามินครบถ้วน ควรรับประทานสด ๆ เช่น คั้นน้ำดื่มหรือทานเป็นผักสลัด


 

 


https://goo.gl/XbSGT4



สรรพคุณและประโยชน์ของบีทรูท 26 ข้อ
https://goo.gl/VJtqPc

 บีทรูทมีสารสีแดงชื่อว่า เบทานิน (Betanin) ซึ่งเป็นกรดอะมิโน เป็นตัวช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง
ช่วยลดการเติบโตของเนื้องอกได้ แถมยังทำให้เลือดลมและระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีสารสีม่วงที่ชื่อว่าแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยลดสารก่อมะเร็งและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้อีกด้วย







 เครดิต :
https://goo.gl/E2AzmS
https://goo.gl/mv4sRa
https://www.rspg.or.th/plants_data/use/color3-5.htm

Create Date :16 มิถุนายน 2557 Last Update :13 มกราคม 2564 9:22:45 น. Counter : 27234 Pageviews. Comments :53