bloggang.com mainmenu search




https://onepiece.igetweb.com/index.php?mo=3&art=428857



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantea Rhynchostylis (ริง-โค-สไตล์-ลิส)
มีความหมายแยกตามคำได้ดังนี้ Rhyncho หมายถึง จงอย และ Stylis หมายถึง เส้าเกสร
เมื่อนำสองคำมารวมกันจะหมายถึง กล้วยไม้ชนิดที่มีเส้าเกสรคล้ายดั่งจงอยปากนก นั่นเอง

คำว่า gigantea หมายถึง ใหญ่มาก รวมกับความหมายของ ริงโค เข้าไปได้ความหมายใหม่ว่า
 กล้วยไม้ที่มีจงอยปากเหมือนนกที่ใหญ่มาก นั่นเอง

"ช้างกระ" กล้วยไม้ป่าที่มีดอกสวยและหอม จะเริ่มหอมตอนสาย ๆ และจะหอมตลบอบอวล
ในตอนใกล้ ๆ เที่ยง แต่ดอกจะบานอยู่ราว 2-3 อาทิตย์ ก็โรยแล้ว ชาวบ้านเรียกกล้วยไม้ช้างกระ
เป็นภาษาพื้นเมืองว่า "เอื้องต๊กโต"

กล้วยไม้สกุล "ช้าง" ที่พบกันอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ มี 4 ชนิด





https://www.gotoknow.org/blog/thongmai/420477



1. ช้างกระ (Rhynchostylist gigantea )


 



2. ไอยเรศ หรือ พวงมาลัย ( Rhynchostylis retusa (L.) Blume)
เอื้องไอยเรศมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่าง ไอยเรศ, เอื้องพวงหางรอก, เอื้องหางฮอก



เอื้องไอยเรศ เป็น กล้วยไม้ ในประเทศไทยมี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Rhynchostylis retusa (L.) Blume
มีลักษณะลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร
กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง
ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน

ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร
มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็น
รูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พวงมาลัย" ต้นใหญ่ ๆ มักจะแตกหน่อ
ที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบใน
ของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไป
ข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปาก ส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสร
เห็นชัด ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์

ฤดูกาลออกดอกอยู่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย


 


https://www.klongdigital.com/webboard3/37275.html



3. เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis)
เขาแกะ หรือชื่อพื้นเมืองอื่น เอื้องเขาแกะ, เขาควาย, เอื้องขี้หมา
เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ใบมีลักษณะแบนคล้าย แวนด้า ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และบางกว่า กล้วยไม้ ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน
โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะนี้เองจึงได้ชื่อว่า "เขาแกะ"

ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้น ก้านช่อมักสั้นกว่าแกนช่อ มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาด
ประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงบนรูปรี แกมรูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่กลับ กลีบดอกรูปขอบขนาน
แกมรูปไข่ ทั้งห้ากลีบสีขาว ปลายกลีบมนและขอบเป็นสีม่วงจาง กลีบปากรูปลิ่ม สีขาวอมม่วงจนถึง
สีม่วงเข้ม ปลายกลีบมนและมีสีเข้มกว่าโคน กลีบมีเดือยดอกที่แบนและส่วนปลายโค้งงอ เส้าเกสรสั้น
 สีขาว ช่วงออกดอกไม่ทิ้งใบ

เขาแกะบางต้นอาจมีสีต่างออกไป เช่น มีสีม่วงมากจนเกือบแดง เรียกว่า “เขาแกะแดง" บางต้นมีสีไปทาง
สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน บางต้นดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เรียกว่า "เขาแกะเผือก" ซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก เดือยดอกยาว
กว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์





https://goo.gl/Hyay4e



4. ช้างฟิลิปปินส์ (Rhynchostylis violacea)


ไม่มีถิ่นกำเนิดในไทย เป็นกล้วยไม้ที่มีรูปทรงของต้นและใบคล้ายกับช้างไทย ช่อดอกโค้งแบบช้าง
ความแตกต่างอยู่ที่ช้างของไทยที่ปากจะมีสัน (keel) เพียง 2 สัน แต่ช้างฟิลิปปินส์มี 5 สัน

ความงามของช้างกระอยู่ที่ฟอร์มของต้นและช่อดอก ช่อดอกที่งามมาก ๆ คือช่อดอกที่ยาวและยื่นออกมา
ด้านหน้าของต้นเหมือนงาช้าง วิธีการให้ดอกออกมาด้านหน้าคือ เมื่อช้างกระแทงช่อดอกได้ประมาณ
2-3 นิ้ว ก็ให้หันลำต้นของช้างกระให้ขวางกับแสงอาทิตย์ ช่อดอกของช้างกระจะหันเข้าหาแสงอาทิตย์
ไม่ยาวไปตามความยาวของใบ ก็จะได้ช่อดอกที่ยื่นออกมาข้างหน้าเหมือนงาช้าง นอกจากนี้คนยังนิยมดู
ที่กระบนกลีบดอก เพราะช้างกระแต่ละต้นมีกระที่กลีบดอกแตกต่างกัน แต่ละต้นจะมีเสน่ห์ต่างกันไป



ลักษณะกล้วยไม้ช้างกระ

ช้างกระ เป็นกล้วยไม้ป่า ใบจะมีลักษณะเป็นใบหนาและแข็ง ความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร
ส่วนความกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใบจะเรียงกันขึ้นไปเป็นแนว ซึ่งดูแล้วก็เป็นเสน่ห์ของกล้วยไม้ช้างกระ









รากของกล้วยไม้ช้างกระเป็นรากอากาศ และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับต้น ถ้าเราเลี้ยงดีและอุดม
สมบูรณ์ รากก็จะมีสีเขียวอยู่ตรงปลายรากด้วย ดอกของกล้วยไม้ช้างกระจะออกเป็นช่อและโค้งนิดหน่อย



การดูแล

เนื่องจากว่ากล้วยไม้ช้างกระเป็นกล้วยไม้ป่า ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ไม่ชอบอากาศเย็นมาก ดังนั้นไม่ควร
รดน้ำต้นไม้ให้มากจนเกินไป นอกจากจะไม่ค่อยออกดอกแล้วอาจทำให้กล้วยไม้เป็นเชื้อราอีกด้วย ควรรดน้้ำ
ประมาณช่วงเวลา 10.00 น. เพราะว่าช่วงนี้มีแสงแดดทำให้กล้วยไม้ไม่เป็นเชื้อรา

กล้วยไม้ช้าง เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ หากเราสามารถควบคุมความชื้น
ได้เหมาะสมกับความต้องการของกล้วยไม้ ก็จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดังใจ การใช้เครื่องปลูก
เป็นเพียงการช่วยให้ไม้ได้รับความชื้น ซึ่งจะใช้อะไรก็ต้องดูตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสถานที่
เลี้ยงเลียนแบบกันไม่ได้





https://www.orchids2you.com/board/view.php?qID=61



การเลี้ยงโดยไม่ใส่เครื่องปลูกใด ๆ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช้างชอบ เพราะช้างเป็นกล้วยไม้
รากอากาศ คงไม่ต้องการสิ่งใดไปรายล้อมรากให้เกะกะ แต่วิธีนี้ต้องให้ช้างได้รับความชื้นด้วยนะ


ช้าง (Rhynchostylis gigantea) กระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของไทย ยกเว้นภาคใต้ เป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้น
ขนาดใหญ่สมชื่อ ใบหนาและมีลายสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนเป็นทางขนานกันตามความยาวของใบ
เห็นได้ชัดทั้งผิวใบด้านบนและด้านล่าง ปลายใบหยักมนเป็น 2 แฉก ช่อดอกโค้งไม่ถึงกับห้อยย้อย
โดยทั่วไปดอกจะมีพื้นสีขาว มีจุดกระสีม่วงแดง ชัดเจนต่างกันจึงแบ่งกล้วยไม้สกุลช้างเป็นช้างเผือก
ช้างกระ และช้างแดง ซึ่งมีลักษณะทั่วไปดังนี้





https://www.oknation.net/blog/mokara/2008/02/29/entry-1



 ช้างเผือก มีกลีบดอกสีขาวบริสุทธิ์ อาจมีสีเขียวหรือสีเหลืองอ่อนที่ปาก








 ช้างกระ กลีบดอกมีพื้นสีขาว มีจุดกระสีม่วงแดงเป็นเม็ดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ที่กลีบดอกทุกกลีบ
 บางต้นอาจมีเพียง 2-3 จุดหรือมีมากมายเต็มกลีบดอกก็ได้ ปากมีสีม่วงแดง มีทั้งสีอ่อนและสีเข้ม





https://student.st.ac.th/3328518/elephant.html



 ช้างแดง กลีบดอกมีพื้นเป็นสีม่วงแดง อาจมีสีขาวหลงเหลืออยู่บ้างที่โคนกลีบดอก
แต่ถ้าไม่มีสีขาวปนอยู่เลยจะถือว่าดีมาก

ช้าง จะออกดอกในเดือน ธันวาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อันที่จริงแล้วช้างแดงก็คือช้างกระนั่นเอง หมายความ
ว่าจุดสีม่วงแดงถ้ามีจำนวนมากและขนาดใหญ่ จะดูเชื่อมติดกันจนไม่เห็นสีขาวเลย เช่นเดียวกันกับช้างเผือก
ที่ไม่มีจุดสีม่วงแดงเลย จึงเห็นแต่พื้นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นในธรรมชาติช้างแดงและช้างเผือกจึงหายากมาก
แต่จะมีช้างกระกระจายพันธุ์อยู่มากที่สุด

ในกลุ่มของช้างกระด้วยกันก็จะมีลักษณะที่เรียกว่า ประหลาด คือถ้ามีจุดกระเล็กน้อยเกือบเป็นช้างเผือก
หรือมีจุดกระมากมายเป็นปื้นโต ๆ เกือบเป็นช้างแดง บางคนก็เรียกช้างเผือกกระ หรือช้างแดงกระ
 แล้วแต่ว่าจะดูไปทางช้างเผือกหรือช้างแดง





https://www.gotoknow.org/media/files/726719
เอื้องไอยเรศ


การให้ปุ๋ยกล้วยไม้สกุลช้าง
https://bookdeedee.tarad.com/article-th-45855-การให้ปุ๋ยกล้วยไม้สกุลช้าง.html


ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้สกุลช้างนั้น เราจะเน้นสูตรเสมอเป็นหลัก โดยจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 18-18-18 , 20-20-20,
21-21-21 + ยาเร่งราก เช่น วิตามิน B1 ฉีดพ่น อาทิตย์ละ 1 ครั้ง สลับกับปุ๋ยเร่งดอกสำหรับกล้วยไม้สกุลช้าง
เราจะใช้ 16-21-27, 13-27-27,9-27-34 + ยาเร่งราก เช่น วิตามิน B1 พ่นสลับ โดยจะฉีดพ่นปุ๋ยสูตรเสมอ
 2-3 ครั้ง สลับกับปุ๋ยเร่งดอก 1 ครั้ง วนไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนกันยายน ให้ปุ๋ยเร่งดอก สูตร 10-52-17 สัก 2 ครั้ง
ติด ๆ กัน 2 อาทิตย์ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเตรียมพร้อมให้กล้วยไม้สกุลช้างให้ดอกเราในเดือนพฤศจิกายน
แล้วให้ปุ๋ยสูตร 16-21-27, 13-27-27, 9-27-34 ตามอีกสัก 2 ครั้ง แล้วมาเริ่มใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ วนสลับกับ
ปุ๋ยสูตร 16-21-27, 13-27-27, 9-27-34 ตามเดิม แค่นี้กล้วยไม้สกุลช้างก็จะออกดอกที่สวยงามมาชมกันทุกปี

 




อ้างอิง :
https://sites.google.com/site/khuaimai/orchid-species
https://dooflower.blogspot.com/2011/02/rhynchostylis-gigantea.html
https://www.orchidtropical.com/articleid44.php
https://goo.gl/DUCWta
https://everythinggreen.fix.gs/index.php?topic=162.0

ღ ♥ .* Peace and Love *.♥ ღ



สนใจเรื่องกล้วยไม้อื่น ๆ ในบล็อกนี้ :
กล้วยไม้รองเท้านารี (Paphiopedilum) คลิกที่นี่
เอื้องกะเรกะร่อน (Cymbidium) คลิกที่นี่
กล้วยไม้ ... รู้หน้าไม่รู้ใจ คลิกที่นี่
วานิลลา ... กล้วยไม้มหัศจรรย์ คลิกที่นี่
กล้วยไม้ช้างกระ เราก็มี คลิกที่นี่
เอื้องผึ้ง (Dendrobium lindleyi) คลิกที่นี่
กล้วยไม้แคทลียา (Cattleya) คลิกที่นี่
ฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis) คลิกที่นี่
Create Date :08 สิงหาคม 2555 Last Update :19 ธันวาคม 2566 21:18:46 น. Counter : 52211 Pageviews. Comments :55