ธนบัตรในรัชกาลที่9



ธนบัตรในรัชกาลที่9





ธนบัตร (ทะ-นะ-บัด) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยไม่จำกัดจำนวน


ในรัชกาลปัจจุบันนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ จนถึงวันนี้ ครบรอบ 60 ปี มีการจัดพิมพ์ธนบัตรออกใช้งาน หลายแบบ


ทั้งนี้ การออกใช้ธนบัตรแต่ละครั้ง จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คือ จะต้องมีทุนสำรองเงินตราหนุนหลังเต็มมูลค่าของธนบัตรที่นำออกใช้เสมอ




ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

# 01 ธนบัตร 1 บาท

เป็นธนบัตรแบบ ๙ ประเทศไทยสั่งพิมพ์ธนบัตรธนบัตรแบบ ๙ จากบริษัท Thomas De La Rue

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๒




ภาพประธานด้านหน้า มีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน มีภาพพระสมุทรเจดีย์


ลักษณะพิเศษ ตอนกลางด้านหน้า เบื้องบนมีรูปพระครุฑพ่าห์ ถัดลงมามีอักษรไทย พิมพ์ทับเฟื่องว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และ "หนึ่งบาท" เหนือภาพพระสมุทรเจดีย์


ลายน้ำ รูปรัฐธรรมนูญประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้า ภายในวงกลมขาว


สีกระดาษสีน้ำเงิน พื้นสีตองอ่อน




ภาพประธานด้านหลัง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม


ขนาด กว้าง ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๒.๗ เซนติเมตร




# 02 ธนบัตร 5 บาท

เป็นธนบัตรแบบ ๙ ประเทศไทยสั่งพิมพ์ธนบัตรธนบัตรแบบ ๙ จากบริษัท Thomas De La Rue

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน มีภาพพระปฐมเจดีย์


ลักษณะพิเศษ ตอนกลางด้านหน้า เบื้องบนมีรูปพระครุฑพ่าห์ ถัดลงมามีอักษรไทยพิมพ์ทับเฟื่องว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และ "ห้าบาท" เหนือภาพพระปฐมเจดีย์


ลายน้ำ รูปรัฐธรรมนูญประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้า ภายในวงกลมขาว


สีกระดาษ สีม่วงดำ พื้นสีเหลืองอ่อนอมเขียว




ภาพประธานด้านหลัง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม


ขนาด กว้าง ๗.๗ เซนติเมตร ยาว ๑๓.๖ เซนติเมตร




# 03 ธนบัตร 10 บาท

เป็นธนบัตรแบบ ๙ ประเทศไทยสั่งพิมพ์ธนบัตรธนบัตรแบบ ๙ จากบริษัท Thomas De La Rue

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน มีภาพป้อมมหากาฬ


ลักษณะพิเศษ ตอนกลางด้านหน้า เบื้องบนมีรูปพระครุฑพ่าห์ ถัดลงมามีอักษรไทยพิมพ์ทับเฟื่องว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และ "สิบบาท" เหนือภาพป้อมมหากาฬ


ลายน้ำ รูปรัฐธรรมนูญประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้า ภายในวงกลมขาว


สีกระดาษ สีน้ำตาล พื้นสีชมพูอ่อน หมวดเลขหมายสีแดง




ภาพประธานด้านหลัง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม


ขนาด กว้าง ๘.๗ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๗ เซนติเมตร




# 04 ธนบัตร 20 บาท

เป็นธนบัตรแบบ ๙ ประเทศไทยสั่งพิมพ์ธนบัตรธนบัตรแบบ ๙ จากบริษัท Thomas De La Rue

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน มีภาพพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


ลักษณะพิเศษ ตอนกลางด้านหน้า เบื้องบนมีรูปพระครุฑพ่าห์ ถัดลงมามีอักษรไทยพิมพ์ทับเฟื่องว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และ "ยี่สิบบาท" เหนือภาพพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


ลายน้ำ รูปรัฐธรรมนูญประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้า ภายในวงกลมขาว


สีกระดาษ สีเขียวใบไม้แก่ พื้นสีแสดอ่อน หมวดเลขหมายสีแดง




ภาพประธานด้านหลัง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม


ขนาด กว้าง ๘.๗ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๗ เซนติเมตร




# 05 ธนบัตร 100 บาท

เป็นธนบัตรแบบ ๙ ประเทศไทยสั่งพิมพ์ธนบัตรธนบัตรแบบ ๙ จากบริษัท Thomas De La Rue

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน มีภาพวัดอรุณราชวราราม


ลักษณะพิเศษ ตอนกลางด้านหน้า เบื้องบนมีอักษรไทยพิมพ์ทับเฟื่องว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และ "ร้อยบาท" เหนือภาพวัดอรุณราชวราราม


ลายน้ำ รูปรัฐธรรมนูญประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้า ภายในวงกลมขาว


สีกระดาษ สีแดง พื้นสีเหลืองอ่อนปนแดง




ภาพประธานด้านหลัง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม


ขนาด กว้าง ๘.๗ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๗ เซนติเมตร






# 06 ธนบัตร 100 บาท

ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท แบบ ๙ ที่ออกใช้เป็นครั้งแรก ในปี ๒๔๙๑ ใช้ติดต่อเรื่อยมาจนถึงปี ๒๕๑๐ นั้น เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้วยระบบเส้นนูน และมีสีแดงเพียงสีเดียว


การนำธนบัตรชนิดราคาดังกล่าว ออกใช้ติดต่อกันนานถึง ๒๐ ปี นั้น ย่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปลอมแปลงขึ้น


กระทรวงการคลังจึงตกลงใจที่จะเปลี่ยน แบบของธนบัตร ให้มีหลายสีขึ้น และเพิ่มลวดลายไทยให้มากขึ้นอีก เรียกธนบัตรแบบใหม่นี้ว่า ธนบัตร แบบ ๑๐


ในการเปลี่ยนแปลงแบบครั้งนี้ ได้ย้ายพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาไว้ทางด้านขวามือ ส่วนด้านหลังเป็น ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์สีแดง ล้อมด้วยลายกระหนก


โดยไม่มีข้อความบอกโทษของการปลอมหรือแปลงธนบัตรเอาไว้ และไม่มีชื่อบริษัท Thomas De La Rue ผู้พิมพ์


วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๑




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และมีลายกนกสลับสี


ลักษณะพิเศษ ตอนกลางเบื้องบนมีรูปพระครุฑพ่าห์ ต่อลงมามีคำว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" "ร้อยบาท" "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง" และ "ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย" เรียงลดหลั่นลงมาตามลำดับ เป็นสีน้ำเงินเข้ม และมีลายมือชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับตำแหน่งเป็นสีดำ ทั้งหมดนี้ ทับอยู่บนลายเส้นสีแดง


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์ด้านข้างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ภายในวงกลมรูปไข่สีขาว


เส้นใยใส เส้นใยใสสลับดำเป็นระยะตามแนวด้านกว้างของธนบัตร


สีกระดาษ ด้านหน้าพิมพ์เส้นนูนสีน้ำเงินและสีแดง ด้านหลังสีแดง




ภาพประธานด้านหลัง ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์


ขนาด กว้าง ๘.๗ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๕ เซนติเมตร





ในปี ๒๕๑๒ ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ขึ้นเอง


ในระยะเริ่มแรกของการผลิตธนบัตรนั้น โรงพิมพ์ธนบัตรยังจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ช่วยในด้านการออกแบบ และการแกะแม่แบบโลหะ


ธนบัตรแบบ ๑๑ ประกอบด้วยธนบัตร ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท


ได้เริ่มทยอยผลิต และนำออกใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อปี ๒๕๑๘ ได้มีการออกแบบธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นธนบัตรแบบแรก ที่โรงพิมพ์ธนบัตรสามารถจัดทำได้เองทุกขั้นตอน



# 07 ธนบัตร 5 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒
นำออกใช้ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใย เส้นใยโลหะทึบแสง


สีกระดาษ สีขาว




ภาพประธานด้านหลัง พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง


ขนาด กว้าง ๖.๗๕ เซนติเมตร ยาว ๑๓.๐ เซนติเมตร




# 08 ธนบัตร 10 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒
นำออกใช้ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใยใส สีเหลือง พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีขาว




ภาพประธานด้านหลัง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


ขนาด กว้าง ๗.๐ เซนติเมตร ยาว ๑๓.๕ เซนติเมตร




# 09 ธนบัตร 20 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔
นำออกใช้ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใยใส สีเขียว พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีขาว




ภาพประธานด้านหลัง เรือพระทั่นั่งอนันตนาคราช


ขนาด กว้าง ๗.๒๕ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๐ เซนติเมตร




# 10 ธนบัตร 100 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
นำออกใช้ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใยใส สีแดง พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีเหลืองอ่อน




ภาพประธานด้านหลัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


ขนาด กว้าง ๗.๗๕ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๐ เซนติเมตร




# 11 ธนบัตร 500 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
นำออกใช้ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๘




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใยใส สีม่วง พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีม่วงอ่อน




ภาพประธานด้านหลัง พระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี


ขนาด กว้าง ๘.๒๕ เซนติเมตร ยาว ๑๖.๐ เซนติเมตร




หลังจากที่ธนาคารได้ออกใช้ธนบัตรแบบ ๑๑ ครบทุกชนิดราคา เมื่อปี ๒๕๑๘ แล้ว จึงดำเนินการออก ธนบัตรแบบ ๑๒


ซึ่งมีด้วยกัน ๓ ชนิดราคา ได้แก่ ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท โดยนำธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ออกใช้เป็นชนิดราคาแรก เมื่อปี ๒๕๒๑ และธนบัตรชนิดราคา ๒๐ บาท เป็นชนิดราคาสุดท้าย เมื่อปี ๒๕๒๔


สำหรับธนบัตรแบบ ๑๒ นี้ อาจถือได้ว่าเป็น ชุดมหาราช เนื่องจากได้อัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ ที่ได้รับการถวาย พระราชสมัญญาภิไธยมหาราช มาเป็นภาพประธานด้านหลังของธนบัตรทุกชนิดราคา



# 12 ธนบัตร 10 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓
นำออกใช้ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓





ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใยใส สีส้ม พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีขาว




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช จำลองจากพระบรมราชานุสรณ์ ณ ลานพระราชวังดุสิต


ขนาด กว้าง ๖.๙ เซนติเมตร ยาว ๑๓.๒ เซนติเมตร




# 13 ธนบัตร 20 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔
นำออกใช้ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใยใส สีเหลือง พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีขาว




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จำลองจากพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๓.๘ เซนติเมตร


(หมายเหตุ : ธนบัตร 20 บาทรุ่นนี้ รายการเกมเศรษฐี เคยนำมาตั้งเป็นคำถามว่า ภาพด้านหลังเป็นภาพอะไร มีตัวเลือก 4 ภาพ )




# 14 ธนบัตร 100 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นำออกใช้ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์


เส้นใยใส สีฟ้า พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีแดงอ่อน




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำลองจากพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี


ขนาด กว้าง ๘.๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๔ เซนติเมตร





ธนบัตรแบบ ๑๓ ธนบัตรแบบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ ประกอบด้วยธนบัตร ๒ ชนิดราคา ได้แก่ ๕๐ บาท และ ๕๐๐ บาท



# 15 ธนบัตร 50 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
นำออกใช้ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์ โดยในส่วนของก้านฉลองพระเนตร มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ


เส้นใยใส สีแดง พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ประเทศไทย"


สีกระดาษ สีขาว




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จำลองจากพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ลานหน้าอาคารรัฐสภา


ขนาด กว้าง ๗.๑ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๔ เซนติเมตร



# 16 ธนบัตร 500 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐
นำออกใช้ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์ โดยในส่วนของขอบปกฉลองพระองค์แลลายประจำยาม มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ


เส้นใยใส สีม่วงอ่อน พิมพ์ตัวอักษรขนาดจิ๋ว คำว่า "ทรงพระเจริญ"


ลักษณะพิเศษ ส่วนหนึ่งของลายเฟื่องใต้พระบรมฉายาลักษณ์ มีคำว่า "500 บาท" ขนาดจิ๋ว ที่อ่านได้โดยใช้แว่นขยาย


สีกระดาษ สีม่วงอ่อน




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จำลองจากพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งพระนคร


ขนาด กว้าง ๘ เซนติเมตร ยาว ๑๖.๐ เซนติเมตร





ธนบัตรแบบ ๑๔ ความต้องการใช้ธนบัตรได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก ในระหว่างปี ๒๕๓๐-๒๕๓๔ ประกอบกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมีอัตราสูง จึงทำให้มีความต้องการใช้ธนบัตร ชนิดราคาสูงเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง


ทางธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเห็นสมควร นำธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท ออกจ่ายแลกสู่มือประชาชนตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๕ เป็นต้นไป



# 17 ธนบัตร 100 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และตราอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ ป ร"




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมาร และตราอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จ ป ร" และ "ว ป ร"


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๐ เซนติเมตร




# 18 ธนบัตร 500 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และภาพพระราชลัญจกร เป็นภาพประกอบ




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมีภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และภาพเรื่องราวในบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพประกอบ


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๖ เซนติเมตร




# 19 ธนบัตร 1000 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕
นำออกใช้ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และรูปลายประจำยาม ที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ


เส้นใย สีโลหะ (เทา) มีคำว่า "1000 บาท" เรียงเป็นระยะอยู่ในแนวเดียวกัน สามารถอ่านได้ เมื่อยกส่องดูกับแสงสว่าง


สีกระดาษ สีฟ้าอ่อน


ลักษณะพิเศษ

ก. ตัวเลขแฝงภายในลวดลายเส้นนูนที่มุมล่างเบื้องขวา เหนืออักษรหมวดเลขหมาย บนด้านหน้า เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่างและได้มุมมองที่เหมาะสม จะปรากฏตัวเลข "1000"


ข. ภายในเลขไทยบอกราคาบนด้านหน้าและด้านหลัง มีตัวเลข และตัวอักษร "๑๐๐๐ บาท 1000 บาท" ขนาดจิ๋วสามารถอ่านได้โดยใช้แว่นขยาย


ลักษณะพิเศษที่ปรากฏภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

ก. หมวดอักษรและเลขหมายเปลี่ยนจากสีแดง เป็นสีส้มเรืองแสง

ข. สีส้มในพระราชลัญจกรและในลวดลายตอนกลาง เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง

ค. มีเส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ


ขนาด กว้าง ๘ เซนติเมตร ยาว ๑๖.๖ เซนติเมตร




ธนบัตรแบบ ๑๕ ได้เพิ่มแถบฟอยล์สีเงิน พร้อมตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในธนบัตรชนิดราคาสูง ผนึกไว้บริเวณด้านหน้าธนบัตรตามแนวยืน มองเห็นเป็นหลายมิติ จะเปลี่ยนสีและสะท้อนแสงวาววับเมื่อพลิกธนบัตรไปมา ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษเพื่อป้องกันการปลอมแปลง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาผสมผสานกับการออกแบบธนบัตร


และได้เริ่มจ่ายแลกสู่มือประชาชน ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป




# 20 ธนบัตร 20 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศออกใช้ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
เริ่มจ่ายแลก วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖


หมายเหตุ : ธนบัตรรุ่นนี้ เป็นธนบัตรที่มีการจัดพิมพ์ และนำออกใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง และรูปลายดอกจอก ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ


เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง


ลักษณะพิเศษ

ตัวเลขแฝง "20" บริเวณด้านหน้าบื้องซ้ายมุมล่าง โดยซ่อนในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้าย เข้าหากึ่งกลางของธนบัตร


ตัวเลข "20" บริเวณด้านหน้าเบื้องซ้ายในวงกลม พิมพ์แยกส่วนไว้บนด้านหน้า และด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรด้านหน้าส่องดูกับแสงสว่างจะเห็น เป็นตัวเลข "20" ที่สมบูรณ์


ลักษณะพิเศษที่ปรากฏภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

ลายพื้นสีเหลือง พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง

หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง

มีเส้นใยเรืองแสงสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลือง ในเนื้อกระดาษ




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซ้อนทับบน ภาพสะพานพระราม ๘ ตอนกลางเบื้องซ้ายเป็นภาพพระราชกรณีกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่สำเพ็ง มุมบนด้านซ้ายมีพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๓.๘ เซนติเมตร




การออกแบบ ธนบัตร 50 บาท แบบ ๑๕ ที่พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธนบัตรสามารถนำกลับมาใช้หมุนเวียนได้นานขึ้น เป็นการลดปริมาณการผลิตธนบัตรใหม่ เพื่อทดแทนธนบัตรเก่าหรือชำรุด และเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง


ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรนำธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท ที่พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์ ออกจ่ายแลกสู่มือประชาชน ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป




# 21 ธนบัตร 50 บาท

วันประกาศออกใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
นำออกใช้ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐


หมายเหตุ : แม้ในปัจจุบัน ธนบัตรแบบนี้จะหยุดการจัดพิมพ์เพิ่มเติม แต่ก็ยังมีจำนวนธนบัตรหมุนเวียนอยู่ในมือประชาชนอยู่ และยังคงเป็นธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ภาพเงา พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน อยู่ในบริเวณลายพื้นสีฟ้า ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง


ลักษณะพิเศษ

ก. พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์ มีช่องใสมองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน ตรงกลางดุนนูนเป็นตัวเลขอารบิก 50 อ่านได้เฉพาะด้านหน้า


ข. รูปพระครุฑพ่าห์บนด้านหน้า อยู่ในตำแหน่งตรงกับรูปพระครุฑพ่าห์บนด้านหลัง เมื่อยกส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นซ้อนทับกันสนิท ไม่เหลื่อมล้ำ และรูปลายดอกลอยบน ด้านหน้าอยู่ในตำแหน่งตรงกับรูปลายดอกลอยบนด้านหลัง เมื่อยกส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นรูปลายดอกลอยที่สมบูรณ์


ค. ภายในลายไทยสีม่วงเข้มในกรอบสี่เหลี่ยมมุมมน ใต้ช่องใสด้านหน้ามีตัวเลขอารบิก 50 ซ่อนไว้ ซึ่งมองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านลายไทยดังกล่าว จากมุมล่างด้านขวาของธนบัตรเอียงเข้าหาด้านซ้ายของช่องใส


ลักษณะพิเศษที่ปรากฏภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

ก. บริเวณตรามหาจักรี บนด้านหน้าจะปรากฏอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ ป ร" เป็นสีเหลืองเรืองแสง


ข. หมวดอักษร และเลขหมายสีแดงทั้ง ๒ ตำแหน่ง เปลี่ยนเป็นสีส้มเรืองแสง




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๔ เซนติเมตร




# 22 ธนบัตร 50 บาท (ปรับปรุง)

วันประกาศออกใช้ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เริ่มจ่ายแลก วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

หมายเหตุ : เป็นธนบัตรที่มีการจัดพิมพ์ และนำออกใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง และรูปลายดอกลอย ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ


เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นตัวเลขและตัวอักษร "50 BAHT" ทั้งสองด้าน


ลักษณะพิเศษ

ตัวเลขแฝง "50" บริเวณด้านหน้าเบื้องซ้ายมุมล่าง ซ่อนในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางของธนบัตร


ตัวเลข "50" บริเวณเบื้องซ้ายตอนล่างภายในรูปวงกลมสีขาว พิมพ์แยกไว้บนด้านหน้า และด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรด้านหน้าส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นตัวเลข "50" ที่สมบูรณ์


ลักษณะพิเศษที่ปรากฏภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

ลายพื้นสีเหลือง พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง

หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง

มีเส้นใยเรืองแสงสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลือง ในเนื้อกระดาษ




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๔ เซนติเมตร




# 23 ธนบัตร 100 บาท (ปรับปรุง)

วันประกาศออกใช้ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
เริ่มจ่ายแลก วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘


หมายเหตุ : เป็นธนบัตรที่มีการจัดพิมพ์ และนำออกใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง และรูปลายประจำยาม ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ


เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง


ลักษณะพิเศษ

แถบฟอยล์สีเงิน มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ ตัวเลข "๑๐๐" และ "100" มองเห็นเป็นหลายมิติ จะเปลี่ยนสี และสะท้อนแสงวาววับเมื่อพลิกธนบัตรไปมา


ตัวเลขแฝง "100" บริเวณมุมล่างซ้าย ซ่อนในลายไทย มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางของธนบัตร


ตัวเลข "100" พิมพ์แยกไว้บนด้านหน้า และด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรด้านหน้าส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นตัวเลข "100" ที่สมบูรณ์


ลักษณะพิเศษที่ปรากฏภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

ลายพื้นสีส้มและสีเขียว พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษจะเรืองแสงเป็นสีส้มและสีเขียว

หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง

มีเส้นใยเรืองแสงสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลือง ในเนื้อกระดาษ




ภาพประธานด้านหลัง ภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เต็มยศทหารเรือ บริเวณตอนล่างของพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มีลายประดิษฐ์ และลายไทยสีแดงเข้ม ใต้ลายไทยมีข้อความว่า "โทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตร คือ จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูงยี่สิบปี และปรับอย่างสูงสี่หมื่นบาท" ขนาดเล็กพิมพ์ด้วยหมึกสีแดงเข้ม อ่านได้โดยใช้แว่นขยาย ตอนกลางเบื้องซ้าย มีภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๐ เซนติเมตร




# 24 ธนบัตร 500 บาท (ปรับปรุง)

วันประกาศออกใช้ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
เริ่มจ่ายแลก วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔


หมายเหตุ : เป็นธนบัตรที่มีการจัดพิมพ์ และนำออกใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง และรูปลายประจำยาม ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ


เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน ปรากฏให้เห็นเป็นระยะเฉพาะที่ด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง


ลักษณะพิเศษ

แถบฟอยล์สีเงิน มีตราอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." และตัวเลข "๕๐๐" มองเห็นเป็นหลายมิติ จะเปลี่ยนสี และสะท้อนแสงวาววับเมื่อพลิกธนบัตรไปมา


ตัวเลขแฝง "500" บริเวณด้านหน้าเบื้องซ้ายมุมล่าง ซ่อนในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุม ล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางของธนบัตร


ตัวเลข "500" บริเวณมุมขวาบน พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ มองเห็นเป็นสีเขียว เมื่อพลิกขอบล่างธนบัตรขึ้น จะเห็นเป็นสีม่วง


ลายรูปดอกพุดตาน พิมพ์แยกไว้บนด้านหลังและด้านหน้า เมื่อยกส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นรูปดอกพุดตานที่สมบูรณ์


ลักษณะพิเศษที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

ลายพื้นสีเขียวเบื้องหลังพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเรืองแสง

หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง

มีเส้นใยเรืองแสงสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลือง ในเนื้อกระดาษ




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๕.๖ เซนติเมตร




# 25 ธนบัตร 1000 บาท

วันประกาศออกใช้ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒
เริ่มจ่ายแลก วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง และรูปลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ



เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน ปรากฏให้เห็นเป็นระยะเฉพาะที่ด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง



ลักษณะพิเศษ

ตัวเลขแฝง "1000" บริเวณด้านหน้ามุมซ้ายล่าง ซ่อนในลายไทยมองเห็นได้เมื่อยกธนบัตร เอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางของธนบัตร


ตัวเลข "1000" บริเวณมุมขวาบน พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ มองเห็นส่วนบนเป็นสีทอง ส่วนล่างเป็นสีเขียว เมื่อพลิกขอบล่างธนบัตรขึ้น จะเห็นเป็นสีเขียวทั้งหมด


ลายรูปดอกบัว พิมพ์แยกส่วนไว้บนด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นรูปดอกบัวที่สมบูรณ์


ลักษณะพิเศษที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

สีเหลืองบริเวณลายประดิษฐ์รูปวงกลม และในลายเส้นรัศมีตอนกลาง พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง

หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง

มีเส้นใยเรืองแสงสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลือง ในเนื้อกระดาษ




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทางซ้ายมีภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๖.๒ เซนติเมตร




# 26 ธนบัตร 1,000 บาท (ปรับปรุง)

วันประกาศออกใช้ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
เริ่มจ่ายแลก วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘


หมายเหตุ : เป็นธนบัตรที่มีการจัดพิมพ์ และนำออกใช้อยู่ในปัจจุบัน




ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มองเห็นได้ชัดเจน เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง และรูปลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ



เส้นใยสีโลหะ ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน ปรากฏให้เห็นเป็นระยะ เฉพาะที่ด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง


ลักษณะพิเศษ

แถบฟอยล์สีเงิน มีรูปพระครุฑพ่าห์ ตัวเลข "๑๐๐๐" และ "1000" มองเห็นเป็นหลายมิติ จะเปลี่ยนสี และสะท้อนแสงวาววับเมื่อพลิกธนบัตรไปมา


ตัวเลขแฝง "1000" บริเวณด้านหน้ามุมซ้ายล่าง ซ่อนในลายไทยมองเห็นได้ เมื่อยกธนบัตร เอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางของธนบัตร


ตัวเลข "1000" บริเวณมุมชวาบน พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ มองเห็นส่วนบนเป็นสีทองส่วนล่างเป็นสีเขียว เมื่อพลิกขอบล่างธนบัตรขึ้น จะเห็นเป็นสีเขียวทั้งหมด


ลายรูปดอกบัว พิมพ์แยกส่วนไว้บนด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นเป็นรูปดอกบัวที่สมบูรณ์


ลักษณะพิเศษที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

สีเหลืองบริเวณลายประดิษฐ์รูปวงกลม และในลายเส้นรัศมีตอนกลาง พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง

หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง

มีเส้นใยเรืองแสงสีน้ำเงิน สีแดง และสีเหลือง ในเนื้อกระดาษ




ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทางซ้ายมีภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


ขนาด กว้าง ๗.๒ เซนติเมตร ยาว ๑๖.๒ เซนติเมตร.










โดย yyswim




 

Create Date : 12 มิถุนายน 2549
50 comments
Last Update : 12 มิถุนายน 2549 19:55:04 น.
Counter : 9219 Pageviews.

 

คนแรกเลย ฮิๆ เคาะก่อนแล้วกัน เจิมก่อนๆ

 

โดย: merf1970 12 มิถุนายน 2549 20:14:45 น.  

 

อ่านดูแล้ว ผมว่ายังขาด ธนบัตร ตอนมีเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆนะครับ หรือว่าท่านสินไม่นับ

จำได้ว่ามีธนบัตรใบละ 60 บาทด้วย ที่จำได้ก็เพราะว่า พ่อชอบโทรมาบอกว่าให้ซื้อเล้วส่งไปให้พ่อด้วย (ที่ ตจว.มักจะซื้อไม่ค่อยได้) นี่ล่าสุดก็โทรมาบอกให้ซื้อ ธนบัตร 60 บาท รุ่นล่าสุดอีกแล้ว ยังมึนตึบอยู่เลย ไม่รู้จะไปหาที่ไหน เพราะโทรมาบอกเอาเมื่อวานนี่เอง (จริงๆแล้วผมก็น่าจะรู้โดยธรรมชาติแล้วนะ เพราะว่าพ่อผมจะโทรมาสั่งทุกครั้ง)

คนเก่าคนแก่มักชอบสะสมนะ อย่างพ่อผมนี่ผมว่ามีเยอะนะ ธนบัตรเก่าๆนี่ แต่สำหรับผมแล้ว ไม่เคยเก็บไว้เลย

ปล. แต่ขอตำหนิเรื่องเหรียญ 2 บาทหน่อย ไม่รู้ก่อนทำออกมานี่ คิดหน้าคิดหลังกันบ้างหรือเปล่า ทำออกมาได้คล้ายคลึงกับเหรียญบาทมาก ผมจ่ายผิดไปเยอะแล้ว แถมลองเอาแม่เหล็กมาดูดดู ปรากฎว่าแม่เหล็กดูดเหรียญ 2 บาทได้ด้วย ซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่เคยดูดเหรียญได้ สงสัยคงเปลี่ยนส่วนผสมแน่ๆ

 

โดย: merf1970 12 มิถุนายน 2549 20:23:10 น.  

 

ขอบคุณที่นำมาให้ชมกันครับ

 

โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) 12 มิถุนายน 2549 20:45:13 น.  

 

ขอใบนี้ซัก 20 ใบซีคะ


 

โดย: Malee30 12 มิถุนายน 2549 21:06:09 น.  

 


Merf…..เห็นไอศกรีมที่Blogบ้านนาย น่ากินมาก

ขอบคุณที่เตือนเรื่อง ธนบัตรที่ระลึก พอดีว่า ผมเขียนBlogยาวมากแล้วครับ ถ้าลงเรื่องธนบัตรที่ระลึกด้วย กลัวคนจะเลิกอ่าน เพราะยาวเกินไป

ธนบัตรที่ระลึกมีดังนี้

1. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา ชนิดราคา 50 บาท, ชนิดราคา 500 บาท

2. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชนิดราคา 1000 บาท

3. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปี กระทรวงการคลัง ชนิดราคา 10 บาท

4. ธนบัตรที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ชนิดราคา 50 บาท, ชนิดราคา 500 บาท, ชนิดราคา 500 บาท แบบพิเศษ

5. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ชนิดราคา 1000 บาท

6. ธนบัตรที่ระลึกวันราชาภิเษกสมรสครบ 50 ปี ชนิดราคา 50 บาท, ชนิดราคา 500000 บาท

7. ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย ชนิดราคา 100 บาท

8. ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ชนิดราคา 100 บาท

9. ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ชนิดราคา 60 บาท

เหรียญ 2 บาท มีคนบ่นกันหลายคน ผมก็อยากบ่น เพราะมีโอกาสใช้ผิดใช้ถูก

แต่ตอนนี้ไม่ค่อยจะเห็นแล้ว ไม่รู้ถูกเก็บเข้าคลัง รึเปล่า?

ขอบคุณนะ มาเยี่ยมคนแรกเลย

 

โดย: yyswim 12 มิถุนายน 2549 21:30:27 น.  

 

คุณสินคะ ดูบอลโลกไปก็อ่านบล้อกคุณไปด้วย
จากที่ญี่ปุ่นนำ 1-0 พอใกล้หมดเวลา ออสเตรเลียยิงได้ 3 ประตู
น่าสงสารญี่ปุ่นจริง ๆ ค่ะ นำมาตลอด 83 นาที

ความจริงธนบัตรนี่เราหยิบจับมาตลอด เป็นสิ่งมีค่าใกล้ตัว ที่ต้องพกพาไปไหนมาไหนด้วย แต่ไม่เคยคิดว่าความเป็นมาเป็นอย่างไร ลวดลายที่พิมพ์บนธนบัตรเป็นลายอะไร แล้วไม่เคยรู้เลยว่าตลอดรัชกาลที่ 9 พิมพ์ธนบัตรมากี่แบบแล้ว

คุณสินใจดีมาก ๆ ค่ะที่หาข้อมูลได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เรื่องนี้มีคุณค่ามากจริง ๆ คนไทยทุกคนน่าจะเรียนรู้ไว้นะคะ

ขอบคุณคุณสินมากค่ะ

 

โดย: ซออู้ 12 มิถุนายน 2549 21:52:27 น.  

 


ตี๋น้อย……นายอ่านจบมั๊ย?

เรื่องนี้ตอนแรก คิดว่าจะลงเพียงรูป แต่เกรงว่าจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร หากลงแต่เพียงรูป ก็เลยนำเสนอเนื้อเรื่องพร้อมรูปไปด้วย ทำให้ค่อนข้างยาว


คุณน้ำฝน……อูยยยยย ผมคนจน คร้าบบบ
มีสักใบสองใบได้ทุกวันนี้ ก้อบุญโขแล้ว


 

โดย: yyswim 12 มิถุนายน 2549 22:07:15 น.  

 


คุณซออู้……ผมก็ใจหาย เสียดายแทนทีมญี่ปุ่น
รู้สึกเสียดาย 3 แต้ม หรือแม้แต่แต้มเดียวของญี่ปุ่น

Blogเรื่องนี้ ผมนำข้อมูล มาจากแบ๊งค์ชาติครับ

ผมเคยเข้าไปดูการพิมพ์ธนบัตรมาแล้ว (เข้าไปแบบราชการขออนุญาตเข้าไปดู) ตื่นเต้นครับ
แต่คิดว่า คงจะไม่สามารถเขียนเรื่องที่เห็นได้
ในโรงพิมพ์ เขามีขั้นตอนการทำงานที่รัดกุมมากๆครับ

 

โดย: yyswim 12 มิถุนายน 2549 22:19:46 น.  

 

ข้อมูลสุดยอดมากค่ะ

เกิดทันใช้แบ๊งสิบใบที่สิบเอ็ดเป็นต้นมาค่ะ

เคยไปแบ๊งชาติที่เชียงใหม่กะโรงเรียน
(ไม่น่าจะจำผิดนะ ธนาคารแห่งประเทศไทยนี่ล่ะมั้ง)

ได้ไปเห็นห้องที่มีแต่เงินกองเป็นตั้งๆ
ท่วมหัวคน

เข้าไปแล้วรู้สึกว่า
อยู่ในนั้นแล้วเงินมันก็แค่กระดาษดีๆนี่เอง

 

โดย: PADAPA--DOO 12 มิถุนายน 2549 22:46:12 น.  

 

เป็นบุญที่เห็นมากๆๆๆๆครับ ทรงพระเจริญ

 

โดย: ดนย์ 12 มิถุนายน 2549 23:57:40 น.  

 

โอ โอะ ขอเซฟไว้นะค่ะ อยากได้ ข้อมูลเรื่องนี้มานานแล้วยังไม่มีดอกาสค้นเลยวันนี้เจอ ขอเก็บๆๆๆนะค่ะ ขอบคุณมากเลยค่ะ (ทำให้ไม่ต้องไปค้นที่ใหน)

 

โดย: asariss 13 มิถุนายน 2549 1:53:07 น.  

 

ตะก่อนเคยสะสม หลังๆ ใจดี คนนี้ขอคนนี้ขโมย หมดซิคะ

ตอนนี้เลยสะสมเพื่อนแทนค่ะ สิ่งของเลิกสะสมไปนานแล้ว

 

โดย: กระจ้อน 13 มิถุนายน 2549 6:10:49 น.  

 

แวะมาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมครับ

 

โดย: merf1970 IP: 124.120.2.233 13 มิถุนายน 2549 6:47:34 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีสาระประโยชน์ขอเซ็ฟเก็บไว้นะค่ะ

 

โดย: erina 13 มิถุนายน 2549 11:19:18 น.  

 

-อบคุณครับ มีหลายแบบมากที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

 

โดย: ตงเหลงฉ่า 13 มิถุนายน 2549 14:09:40 น.  

 

โอ้ หาชมยากจริง ๆ ขอบคุณมาก ๆ ครับ

 

โดย: 90210 14 มิถุนายน 2549 7:23:11 น.  

 


คุณPADAPA—DOO……แบ๊งค์สิบรุ่นนี้ หาไม่ค่อยพบแล้วนะครับ อีกอย่างเขาเลิกพิมพ์แบ๊งค์สิบแล้ว

จากข้อมูลที่ทราบ ตอนไปดูงานมา กลุ่มแบ๊งค์สิบ แบ๊งค์ยี่สิบ จะเป็นแบ๊งค์ที่มีการใช้บ่อยครั้งที่สุด หลังจากพิมพ์ออกมา จะอยู่ในท้องตลาด ราวเจ็ดเดือน เมื่อการเดินทางหมุนกลับไปอยู่ที่แบ๊งค์ชาติ ทางแบ๊งค์ชาติก็จะทำลาย แล้วก็พิมพ์ออกมาใหม่ทดแทนจำนวนที่ถูกทำลาย

เสียดาย ลืมจดว่า แบ๊งค์หนึ่งใบ ต้นทุนการพิมพ์โดยเฉลี่ยเป็นเงินกี่บาท?


ดนย์……ขอบคุณที่มาอ่าน

 

โดย: yyswim 14 มิถุนายน 2549 9:53:13 น.  

 


คุณasariss……ผมนำข้อมูลมาจากwebของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ เผื่อว่าถ้าอยากจะค้นเพิ่มหรืออยากจะตรวจสอบ


คุณจุ……สะสมเพื่อนเหรอ? ตอนนี้มีเพื่อนกี่รูปแบบ อิอิ ล้อเล่น
ปากหมาน… อย่างจขบ. จะสะสมมั่งมั๊ย?

 

โดย: yyswim 14 มิถุนายน 2549 9:54:05 น.  

 


Merf…….ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมบ่อย


คุณerina…….ขอตอบเหมือนกับตอบคุณasarissนะครับ

มีข้อมูลที่อาจจะค้นคว้าได้ที่ webของแบ๊งค์ชาติครับ

 

โดย: yyswim 14 มิถุนายน 2549 9:54:53 น.  

 


ตง…….คงจะพวกแบ๊งค์บาท แบ๊งค์ห้าบาทก็ได้
รุ่นคุณลุง คุณพ่อของเพื่อนบางท่าน อาจจะเคยสะสมไว้


90210…….ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม

 

โดย: yyswim 14 มิถุนายน 2549 9:55:32 น.  

 

เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง
ด้วยความโมโหเพื่อน เกี่ยวกับเรื่องหมาๆ

จุก็เลยบอกมันไปว่า

จุเป็นคนรักสัตว์ โดยเฉพาะ หมาเนี่ยรักมาก ไม่งั้นฉันจะคบกับนายเหรอ


555555 นั่นละคะ รูปแบบในการสะสมเพื่อน เกือบถูกต่อยปากแตกซะแระ

เขาเรียกว่า ให้เพื่อนเห็นในสิ่งไม่ดีของเราก่อน ถ้าเขารับได้ ก็ไม่มีปัญหา เพราะเรายังมีส่วนดีอีกเยอะ 5555


อ่ะ....พูดถึงเรื่องแบงค์แล้ว ไปหลังไมค์ดีมั้ยเนี่ย เฉียดคุกอ่ะ เรื่องที่จุรู้ เพราะงั้นไม่คุยดีกว่า

 

โดย: กระจ้อน 14 มิถุนายน 2549 10:43:47 น.  

 

น่าจะมีภาพของธนบัตรที่ระลึกด้วยนะคะ

 

โดย: mda IP: 203.159.12.16 14 มิถุนายน 2549 10:44:37 น.  

 


คุณจุ……หมาเป็นสัตว์ฉลาด รักเจ้าของ ไม่เสียหายหรอกครับ

ในหลวงรัชกาลที่6 ทรงรัก ย่าเหล
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรักคุณทองแดง

คุณจุ มีแต่ส่วนดีนะผมว่า


MDA…..ภาพธนบัตรที่ระลึกเหรอครับ คลิกได้ที่นี่เลยครับ

 

โดย: yyswim 14 มิถุนายน 2549 11:16:53 น.  

 

เหรียญสองบาทยังมีนะคะ วันนี้ก้เพิ่งได้มา แม่ค้าที่ส่งมาให้เรายังกำชับมาเลยว่านี่เหรียญสองบาทนะคะ คงกลัวว่าเราจะว่าทอนเงินผิด

ส่วนธนบัตรที่ระลึก60บาทนี่มีคนถามมามากเหมือนกันว่าจะไปซื้อที่ไหนเห็นบอกว่ามีพิมพ์เพิ่มถ้าใครรู้ช่วยบอกทีนะคะ

 

โดย: ณ มน 14 มิถุนายน 2549 12:04:51 น.  

 

อ่านแล้วได้ความรู้มากๆ ครับ

หยิบแบงค์มาส่อง พลิกซ้ายขวาหามุมไปด้วย

ว่าที่เรามีอยู่มันปลอมรึเปล่าหว่า...

 

โดย: พลทหารไรอัน 14 มิถุนายน 2549 15:04:53 น.  

 

ได้ความรู้มากมาย

ขอบคุณครับ

 

โดย: Dr.Manta (Dr.Manta ) 14 มิถุนายน 2549 19:24:30 น.  

 

พี่สินครับ บางอย่างผมไม่เคยเห็นเลย
เห็นแต่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พี่สินเขียนดีมากครับ

 

โดย: basbas 14 มิถุนายน 2549 22:54:43 น.  

 

แวะมาชมครับ

 

โดย: Bluejade 15 มิถุนายน 2549 6:57:09 น.  

 

 

โดย: โสมรัศมี 15 มิถุนายน 2549 11:02:36 น.  

 

ธนบัตรแบบแรกๆ ผมไม่เคยเห็นเลยอ่ะครับ แต่รู้ว่าราคาแพง ฮาๆๆ ผมเกิดทันธนบัตร 10 บาทเป็นต้นมาอ่ะครับ 555 พ่อผมเก็บแบ้งค์ 500 ที่มีรูปสมเด็จย่าไว้อ่ะครับ พ่อบอกหายากมากๆ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะครับพี่สิน บล็อคแห่งความรู้จริงๆ เลย

 

โดย: Due_n 15 มิถุนายน 2549 14:07:54 น.  

 

เรื่องกล้อง ตัวเก่าของรี่ก็ฟูจิค่ะA310 ยังใช้การได้อยู่แต่คนที่บ้านอยากได้แคนนอน อีกรุ่น แต่แพง เลตกลงเอารุ่นนี้ ตอนนี้เลยสนุกกับการถ่ายใหญ่เลยค่ะ กำลังหาหนังสือมาอ่านดูเรื่องมุมกล้องและวิธีการถ่ายค่ะ เอาผลงานมาฝากด้วยค่ะ


 

โดย: erina 15 มิถุนายน 2549 14:21:21 น.  

 

บ๊อกผมไร้สาระ ต้องมาหาจากบ๊อกคนอื่นเค้าแบบนี้แหละ ฮี่ ๆ

 

โดย: little-joe 15 มิถุนายน 2549 19:16:22 น.  

 

คุณแม่สะสมไว้ ตอนเด็กๆก็เฉยๆ
โตมาแล้ว...ภูมิใจมากๆๆๆ
นี่ก็เพิ่งได้ แบ๊งค์ 60 มา ครับ ดีใจๆๆๆ

 

โดย: แร้ไฟ 16 มิถุนายน 2549 2:01:21 น.  

 


ธนบัตรที่ระลึก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี


ด้านหน้า




ด้านหลัง


 

โดย: yyswim 16 มิถุนายน 2549 15:40:15 น.  

 


แปลกดี ตอนแรกผมนึกว่าผมทำผิด เลยลองทำซ้ำอีก..แต่ก็มีผลแบบเดิม
คือ ข้างบน ผมนำรูปมาจากwebของแบ๊งค์ชาติครับ

รูปในฐานข้อมูลของwebแบ๊งค์ชาติ มีขนาดอย่างนี้แหละครับ….ด้านหน้าด้านหลังภาพไม่เท่ากัน แต่ธนบัตรจริง ขนาดเท่ากันนะคร้าบ


 

โดย: yyswim 16 มิถุนายน 2549 15:46:25 น.  

 


คุณ ณ มน…..เหรียญสองบาท ผมมะค่อยได้เห็นครับ

ถ้าผมเจอ ผมคงจะเก็บสะสม เพราะคิดว่า เขาน่าจะเลิกผลิตแล้ว ไปธนาคารทีไรก็ไม่ค่อยจะได้รับ


พลอั้น……ใครเจอแบ๊งค์ปลอมโดยไม่รู้ตัว คงแทบคลั่ง เพราะใช้ไม่ได้ แถมถูกตั้งข้อหาด้วย

เพี๊ยง ขอให้พ้มอย่าได้เจอ

 

โดย: yyswim 16 มิถุนายน 2549 15:50:08 น.  

 


Bluejade…….ขอบคุณนาคร้าบ ที่แวะมาชม


ขอบคุณคุณ โสมรัศมี คร้าบ

 

โดย: yyswim 16 มิถุนายน 2549 16:02:44 น.  

 


ดิว……ตอนนี้ หากดิวมีเงินนิดหน่อย พี่แนะนำว่าซื้อสะสมไว้สักใบซิ

ธนบัตรที่ระลึกเนี่ย จะพิมพ์จำนวนจำกัด พิมพ์แล้วพิมพ์เลย ไม่พิมพ์ซ้ำครับ
และจะมีคุณค่าทางใจต่อลูกหลานได้ในอนาคต

อ้อ Blog ของดิวมีสาระดีนะครับ เพื่อนๆคงจะชมกันอยู่แล้ว พี่ขอชมซ้ำอีกทีนะครับ และขอให้ตั้งใจทำดีแบบนี้ต่อไป


คุณerina…….เชียร์ครับ เชียร์ คุณerina อย่างกับเชียร์ทีมญี่ปุ่นเลย
ขอให้ถ่ายภาพได้สวยสมใจ และพัฒนาเทคนิควิธี ยิ่งขึ้นๆ


 

โดย: yyswim 16 มิถุนายน 2549 16:05:15 น.  

 


คุณโจ……ผมเข้าไปเยี่ยมBlogคุณแล้ว

Blogของคุณเขียนได้สนุกดีครับ ว่างๆผมจะขอเข้าไปอ่านอีก


แร้……ผมก็เพิ่งได้แบ๊งค์ 60 บาทมาเหมือนกัน ได้มา 5 ใบ

พอดีน้องๆที่ทำงานเห็น ทุกคนพูดพร้อมกัน เป็นเสียงเดียวกันว่า
“พี่สิน น้องขอ”

แร้ คิดว่า ผมจะให้มั๊ย?
=
=
=
=
=
=
=
=
=
จะเหลือเร๊อะ? ยังกะพญาแร้งลง พรึ๊บเดียว หายไปสี่
เหลือมาหนึ่งใบ ก็นับเป็นบุญหลายแล้ว โฮะโฮะ

 

โดย: yyswim 16 มิถุนายน 2549 16:07:08 น.  

 

 

โดย: aa IP: 202.57.178.251 6 กรกฎาคม 2549 16:15:50 น.  

 

มีใครรู้บางเปล่าครับว่าแบ็งค์100แบบที่10ที่ในหลวงเสื้อสีน้ำเงินด้านหลังเรือหงค์ มีจริงไหมที่ในหลวงเสื้อสีแดงด้านหลังเรือหงค์เพราะผมสงสัยได้รู้ว่ามีคนหาการว่ามีจริงเปล่า

 

โดย: gmr IP: 203.113.45.137 5 พฤศจิกายน 2549 8:18:37 น.  

 

75 สตางค์ก็ยังมีครับ

 

โดย: - IP: 203.170.166.76 24 มิถุนายน 2550 22:59:02 น.  

 

ใครที่ชอบเล่นเนต ต้องนี่เลยครับ ธุรกิจผ่านอินเตอร์เนต จากอเมริกา รับรายได้กันเป็นเงินดอลล่าร์เลยครับ ไม่ใช่ธุรกิจผิดกฎหมาย ไม่ใช่ธุรกิจโกงคลิก หรือ อ่านเมลครับ มีเวปภาษาไทยแล้วค่ะ
เพื่อไม่เป็นการรบกวนเวลามากเกินไป ตอนนี้เข้าไปอ่านได้แล้วค่ะ
www.p-sareebut.ws/

 

โดย: phutsa IP: 125.24.240.45 25 ตุลาคม 2550 10:24:53 น.  

 

ขอใบนี้ซัก 20 ใบซีคะ






โดย: Malee30 วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:21:06:09 น.

 

โดย: ความปรารถนาดีที่มอบให้ คนที่ 4 IP: 125.27.34.82 3 กุมภาพันธ์ 2551 14:57:15 น.  

 

ขายธนบัตร ฉบับละ20บาทมี13ฉบับ เลขสวย4484444/4484448/4484449/5875785/5554411/5554422/5554433/5554444/5554466/5554477/5554488/5554499 และมีธนบัตรที่ระลึกอีกหลายรายการสนใจสอบถามได้ครับ0841714456

 

โดย: เสือ IP: 202.90.6.36 6 พฤษภาคม 2551 1:55:01 น.  

 

1231231233123132331233323333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333474444444444444444444587545487845648454835464547265774975795445454578545787/

 

โดย: 123456789 IP: 119.42.71.86 19 สิงหาคม 2551 8:57:37 น.  

 

สฝใวสาดดดดดดดดเอง

 

โดย: สนาม IP: 125.26.141.155 15 สิงหาคม 2552 8:04:59 น.  

 

สวัสดีครับคุณ สิน และพ่น้องทุกท่าน ผมได้อ่านแล้วรู้สึกได้เลยว่าเราเป็นคนไทย เพราะเราใช้ธนบัตรกันทุกวันไม่รู้เลยว่าด้านหน้า ด้านหลังเป็นรูปอะไร และผมก็เพิ่งณุ้เดี๋ยวนี้เองว่านบัตร500ออกใช้ปี2518 ธนบัตร1000ออกใช้ ปี2535ขอขอบคุณข้อมูลเหล่านี้จริงๆเพราะผมเป็นคนสะสมแต่เหรียญ(งบน้อย)ไม่ค่อยสะสมธนบัตรแต่ก็พอมีบ้างแต่ไม่เยอะ ขอบคุณครับ

 

โดย: ปัณณวัตร์ IP: 119.46.47.242 21 ธันวาคม 2552 10:19:49 น.  

 

ธนาบัตรแบงค์20ด้านหลังเป็นรูปเรือสุพรรณหงษ์ ใบใหญ่ผมต้องการซื้อในราคา5000บาท ติดต่อได้ที่เบอร์ 0888406614นิติ

 

โดย: นิติ IP: 103.1.164.53 6 มกราคม 2555 23:25:21 น.  

 

สุดยอดมากกกกกกกคร้าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

 

โดย: DIT0VDD IP: 122.154.48.30 7 กันยายน 2559 10:42:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
12 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.