ยังคงติดเกมและเล่นเฟสมากกว่า อาจไม่ค่อยมาตอบคอมเม้นท์นะคะ

ยาคูลท์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]




ข้าพเจ้าเป็นสุข และเชื่อว่าใครก็ตามซึ่งมีรสนิยมในการอ่านหนังสือดี ย่อมสามารถทนต่อความเงียบเหงาในทุกแห่งได้ -- วาทะของท่านมหาตมะ คานธี


Book Archive by Group



หมายเหตุ: โซน Romance และ การ์ตูน ยังไม่ทำเพราะมีน้อย


Group Blog
 
<<
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ยาคูลท์'s blog to your web]
Links
 

 

เครดิตมรณะ (Kasha)

ผู้แต่ง : มิยาบะ มิยูกิ
ผู้แปล: ฤทัยวรรณ เกษสกุล
สำนักพิมพ์: เนชั่นบุ๊คส์
พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2548
ราคา 385 บาท

ผลงานแนวสืบสวบสวนยอดเยี่ยมที่สมควรจารึกในประวัติศาตร์ ได้รับรางวัล " ยามาโมโตะ ชูโกะโร่ "

เรื่องราวของนายตำรวจ ฮมมะ ชุนสึเกะ ซึ่งกำลังพักร้อน และมีญาติห่างๆ คนหนึ่งมาขอให้ช่วยสืบหา เสะคิเนะ โชโกะ คู่หมั้นที่หายตัวไป

ทว่าเรื่องราวกลับซับซ้อนเกินกว่าที่คาดเดาไว้มากนัก เมื่อปริศนาการหายสาบสูญไปนี้ โยงใยถึงความตายของผู้หญิงอีกคนหนึ่งซึ่งอยู่เบื้องหลัง

ทำไมโชโกะจึงหนีไปอย่างไร้ร่องรอย จริงๆแล้วเธอคือใครกันแน่?

ฮมมะต้องสืบรู้ให้ได้ โดยมีกุญแจสำคัญเพียงอย่างเดียว คือ โชโกะเป็นบุคคลล้มละลายเพราะติดหนี้บริษัทบัตรเครดิต!

* * * * * * * * *


เป็นแนวสืบสวนญี่ปุ่นอีกเล่ม (หลัง OUT) ที่อ่านแล้วได้มากกว่าแค่ความเป็น suspense & thriller

การเดินเรื่อง: ไหลไปตามตัวเอกคือฮมมะ สปีดตามแบบนิยายญี่ปุ่น

ความลุ้น: ไม่มีฉากลุ้นไล่ล่าตามยิงล้างผลาญ เป็นอะไรที่เนิบ ๆ แบบว่าอยากรู้ว่าหญิงปริศนาในเรื่องคือใคร ใครฆ่าคนๆนี้ มากกว่า

ตัวละคร: ปกติธรรมดา ดูมีมิติดีพอใช้ ตัวละครหญิงดูแกร่งแต่อ่อนแอจนไม่รู้จะประณามหรือสงสารดี (อ่านแล้วนึกถึงตัวละครใน OUT ยังไงไม่รู้)

ธีมหลักคือชีวิตของหญิง 2 คน คนหนึ่งตกเป็นเหยื่อของหนี้ที่พ่อแม่ก่อขึ้น อีกคนพาตัวเองเข้าไปสู่วังวนนั้นเอง แต่ทั้งคู่ก็พยายามกระเสือกกระสนจากปลักนั้น กลายเป็นปมปริศนาให้ฮมมะตามสืบ

เนื่องจากเป็นเรื่องที่อ่านแล้วนึกถึง OUT ตลอด เลยขอนำมาเทียบกัน...
ความ flow ในฐานะนิยายอ่านเอาสนุก: เรื่องนี้จะสะดุดจัง ๆ ช่วงหนึ่งตอนอธิบายรายละเอียดของบัตรเครดิต
OUT จะโฟลว์กว่านี้ คืออ่านแล้วคล้อยตามตัวละครจนไม่ทันคิดเรื่องสาระ พอจบถึงนึกได้ว่ามันแฝงอะไรไว้ ส่วนเล่มนี้ เราจะหลุดไปอ่านรายงานประเมินสภาพการก่อหนี้อยู่ช่วงนึง

ความมีสาระในนิยาย: เรื่องนี้มีสาระน่าคิดและตรงกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมาก (ถ้าคุณพอจำได้ เมื่อไม่นานมานี้ นายกทักษิณเสนอให้ออกพรบ. กฏหมายล้มละลายเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ให้บริษัทประเภท “อนุมัติเงินกู้ในวันเดียว” ข่าวนี้สร้างกระแสฮือฮามาก และเป็นหัวข้อที่ตัวผู้อ่านตะหงิด ๆ หาข้อสรุปไม่ได้อยู่ พอมาอ่านเรื่องนี้เลยยิ่งอินเข้าไปใหญ่)

สำหรับประเด็นนี้ ผู้แต่งได้พยายามโน้มน้าวให้คนอ่านมองจากมุมมองของลูกหนี้ (ที่น่าสงสารจริง) บ้าง โดยเทียบกับกรณีเกิดอุบัติเหตุ คนขับรถอยู่ดี ๆ แล้วโดนคนขับรถประมาทหรือสิบล้อหลับในขับมาชน ... ใครผิด? ควรหรือที่จะเหมาว่าอุบัติเหตุรถชนกันเกิดขึ้นเพราะคนขับไม่ดี? แล้วผิดแค่คนขับรึก็เปล่า? ที่ผิดคือรัฐบาลที่ไม่รู้จักขยับขยายถนน ไม่มีกฏหมายห้ามคนขับรถบรรทุกหลายกะติดกัน ไม่มีการวางผังเมืองที่ถูกต้อง ฯลฯ

คนแต่งไม่ลังเลที่จะใส่ตัวเลขสถิติสินเชื่อลงไปในเนื้อเรื่อง
ช่วงที่ว่านี้..คนไม่ชอบสาระคงสะดุดและวางไปเลย แต่พอดีหยิบอ่านเพราะรู้ว่าจะมีช่วงนี้ เลยหยุดอ่านในฐานะ “นักอ่านเอาสนุก” ไปเป็น “นักอ่านเอาเกร็ดสาระ” ไปพลาง ๆ

ถ้าคุณชอบนิยายแบบมีสาระ--แบบไม่ใช่สัจธรรมไกลตัว แต่เป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัวนี่แหล่ะ ห้ามพลาดเล่มนี้ โดยเฉพาะเมื่อคิดว่าบัตรเครดิตในไทยเริ่มมีความหลากหลายและเฟื่องฟูมากขึ้นในช่วงหลายปีหลัง สาระในเรื่องนี้จึงเป็นอะไรที่ควรนำมาคิด (และเตือนตัวเอง) เป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเพื่อตัวเองหรือคิดเผื่อลูกหลานยุคหลัง..ที่จะเติบโตมาในยุคที่กดหรือรูดเงินได้ดังใจในพริบตา




ประเด็นน่าสนใจที่น่านำมาเปรียบเทียบกับไทย
(first reflection อาจคลาดเคลื่อนบ้าง ... แต่ขอเขียนไว้ก่อนลืม ถ้าได้อ่านอีกรอบจะมาแก้)

ประเภทของเครดิต:
ในเรื่อง อธิบายว่าญี่ปุ่นมีสินเชื่ออยู่ 3 ชนิด ชนิดที่เน้นคือ “เครดิตเพื่อการจำหน่าย” ซึ่งออกโดยบริษัทห้างร้านต่าง ๆ และทำเม็ดเงินมหาศาลหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศ รายได้นี้จุนเจือประเทศจนถึงขนาดที่ถึงแม้รัฐบาลจะรู้ว่ามันเป็นกลไกที่ห่วย ไม่ได้ผล ก็ไม่สามารถทำอะไรได้

ลูกหนี้:
ในเรื่องบอกว่าลูกหนี้ที่ติดหนี้จำนวนมหาศาลไม่ใช่พวกใช้เงินเป็นเบี้ย ไม่รับผิดชอบอย่างที่คนทั่วไปคิด แต่เป็นพวกที่รับผิดชอบต่างหาก และเพราะรับผิดชอบนี่เอง ถึงได้ยืมจาก A ไปจ่าย B และเมื่อหาเงินไม่ทัน ก็กู้ C มาจ่าย B กู้ D มาจ่าย C …ต่อไปเป็นทอด ๆ จนในที่สุดก็หนี้ท่วมหัวไม่รู้ตัว

ในกระทู้พันทิปที่ถกเรื่องพรบ. ล้มละลาย จำได้ว่าฝ่ายหนึ่งพูดทำนองว่า “ก่อหนี้ก็ต้องรับผิดชอบ คนเป็นหนี้เพราะอ่อนแอ ฯลฯ” ส่วนอีกฝ่ายบอกว่า “คนไม่เคยตกอยู่ในสภาพนี้ไม่เข้าใจหรอก”
... นี่ถ้าไม่รู้ ต้องนึกว่าคนแต่งเอาข้อมูลจากไทยไปนะเนี่ย อดสยองไม่ได้เมื่อคิดว่า "สังคมไทยกำลังก้าวตามประวัติศาสตร์วงการสินเชื่อของญี่ปุ่นหรือ?" (ไม่รวมถึงแฟชั่นด้านอื่นที่ไม่ได้ดีงามเท่าไหร่ แต่ก็ลอกเลียนมาเรียบร้อยแล้ว)


มูลเหตุของหนี้:
ยุคแรกเป็นยุคของลูกหนี้วัยคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งกู้เงินไปซื้อบ้านในยุคบ้านราคาถูก สนองความฝันอยากมีบ้านใหญ่ของตัวเองตามกระแส แต่เมื่อเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ ก็ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้ได้

ยุคกู้เงินมาซื้อบ้านนี่..เมืองไทยก็เคยผ่านมาเหมือนกัน แต่ข่าวเด่นที่จำได้คือกู้เงินมาเปิดโครงการมากกว่า ช่วงฟองสบู่แตก โครงการล้มกันระนาว แต่จำไม่ได้ว่าชาวบ้านติดหนี้ติดสินกันย่ำแย่แค่ไหน

ยุคต่อมา บ้านราคาแพง คนไม่รวยจริงไม่มีปัญญาซื้ออยู่แล้ว จึงไม่มี “สินเชื่อเพื่อการเคหะ” อีก แต่ลูกหนี้ที่ต้องแจ้งล้มละลายในยุคนี้กลับเป็นคนรุ่นหนุ่มสาวที่เอาเงินมาลงทุนเล่นหุ้น หรือเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ตามแฟชั่น เรียกได้ว่าเป็นการ “ล้มละลายเพราะข้อมูลข่าวสาร” ...วิ่งตามแฟชั่นจนใช้จ่ายเกินตัว

ยุคหลังนี่ทำให้นึกถึงเมืองไทยในปัจจุบันขึ้นมาสุด ๆ วัยรุ่นหรือแม้แต่คนวัยทำงานรอบตัวหลายคนเป็นพวกที่อาจ “ล้มละลายเพราะข้อมูลข่าวสาร” ได้แน่ เพราะหลายคนเปลี่ยนมือถือ mp3 หรือคอมพิวเตอร์และแกดเจ็ททั้งหลายกันเป็นว่าเล่น แล้วข้อมูลสินค้าใหม่ก็วิ่งมาชนนัยน์ตาทั้งที่บางทีไม่ได้หาด้วยซ้ำ
เพื่อนบางคนมีมือถือหลายเบอร์ มีหลายเครื่อง บางคนเทิร์นเอาเทิร์นเอา ... จนเราก็งงเหมือนกันว่าใหม่ล่าสุด แต่แพงกว่าหลายเท่าแบบนี้มันมีอะไรดี


การก่อหนี้ในแง่จิตวิทยา:
ตัวละครในเรื่องพูดประโยคหนึ่งออกมาตรงใจที่สุด “ฉันแค่อยากมีความสุข”

แว่บแรกอาจรู้สึกว่า "ฟังไม่ขึ้น" แต่ตัวเราเองก็เคยมีเวลาที่เครียด ๆ จากงานหรือชีวิต แล้วไปช้อปคลายเครียดเหมือนกัน บางทีแค่ได้ซื้อๆๆ หนังสือก็รู้สึกแฮปปี้ขึ้นมาได้
คิด ๆ ดูแล้ว ไอ้นิสัยแบบนี้นี่ก็เป็น "การแสวงหาความสุขลวงตา" ขั้นเริ่มต้นได้นะ


ตัวละครอีกตัวบอกว่า “อยากเข้าไปในร้านที่โชว์เสื้อพร้อมจัดเข็มขัดกระเป๋าเข้าชุดกัน แล้วชี้นิ้วบอกว่า..เอาแบบนี้ทั้งหมด”

ถามจริง ใครไม่เคยฝันหวานอยากทำแบบนี้บ้าง? แต่คุณก็คงเหมือนตัวละครนี้ที่รู้ว่าทำไม่ได้ เลยแค่ฝันเฉย ๆ

... คนแต่งพยายามบอกว่าลูกหนี้ใช้จ่ายเพราะอยากสนองความฝัน อยากมีความสุขชั่วครู่ยาม ซึ่งถ้าเป็นคนที่สามารถหารายได้มาจ่ายก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้าเป็นคนที่รายได้จำกัด แถมไม่พอใจในตัวเอง (เจ้าตัวอาจมีปมด้อย เพราะไม่ฉลาด เรียนไม่สูงหรือไม่สวย ไม่มีอะไรดีเด่นให้ภูมิใจได้) แล้วคน ๆ นี้เลือกมองกระจกที่ส่องภาพบูดเบี้ยวมากกว่าจะเลือกกระจกที่ส่องภาพตัวตนที่แท้จริง ก็คงต้องตกอยู่ในสภาพลูกหนี้อย่างในเรื่องนี้




 

Create Date : 23 มกราคม 2549
4 comments
Last Update : 1 มิถุนายน 2550 5:59:17 น.
Counter : 1740 Pageviews.

 

น่าอ่านๆ

 

โดย: grappa 23 มกราคม 2549 9:11:56 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ กำลังว่าจะซื้อมาอ่านพอดี


เนื้อเรื่องเป็นเรื่องใกล้ตัว ไม่หลุดโลกมากนัก ไม่เหมือนผลงานอื่น ๆ ที่ผ่านมาของ มิยาเบะ เลยแฮะ ที่เนื้อเรื่อง ค่อนข้างอยู่บนพื้นฐาน "เหลือเชื่อ" อย่าง ฆาตกรรมระดับ 7 และ เสียงกระซิบสังหาร แต่ก็ชอบสองเรื่องที่ว่านี้

ส่วนเรื่องเครดิตมรณะ ก็อยากจะค้นหาความจริงของ สาวปริศนา หึหึหึ เมื่ออยากค้นความจริง ก็ต้องซื้อมาอ่านซะหน่อยแล้ว

 

โดย: Masaomi (Masaomi ) 23 มกราคม 2549 9:23:33 น.  

 

ชอบทั้งเสียงกระซิบสังหารและ Level 7 มากๆเหมือนกันค่ะ เลยยกให้มิยาเบะ มิยูกิเป็นนักเขียนคนโปรดไปอีกคนนึง ส่วนเล่มนี้ซื้อมาแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านเลยค่ะ

 

โดย: azzurrini 23 มกราคม 2549 15:28:28 น.  

 

เป็นแฟนคนแต่งคนนี้ตั้งแต่อ่านเรื่องสั้น "โจรข้างบ้าน" แล้วก็ "เสียงกระซิบสังหาร" เหมือนกันค่ะ

เรื่องนี้เป็นงานของมิยาเบะ มิยูกิที่ 'หนัก' กว่าทุกเรื่องเท่าที่เคยอ่านค่ะ

แต่ขอนินหน่อยเหอะ ... หนังสือแปลของอ. คนนี้ แพงชะมัดเลย

 

โดย: ยาคูลท์ 23 มกราคม 2549 21:12:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.