Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
ลูกติดจอ…เสี่ยงตายได้ !

โดย: ก้านแก้ว
เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ และ อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของคนเรา จนไม่อาจหลีกหนี ไม่ว่าจะเป็นทีวี คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งอุปกรณ์ไฮเทคอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดโทษอย่างมากต่อสุขภาพและกำลังคร่าชีวิตของเราและลูก ให้สั้นลง หากใช้อย่างไม่รู้เท่าทัน

ติดจอ…ติดใจ

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะว่าจอสี่เหลี่ยมที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ สามารถดึงดูดความสนใจของคนเราให้ติดได้ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ ที่สามารถจดจ่ออยู่หน้าจอจนลืมเวลา หรือแม้กระทั่งลืมขยับเขยื้อนร่างกายกันเลยค่ะ นั่นเป็นเพราะ

• จอตอบสนองความบันเทิง

ในทีวีมีทั้งภาพเคลื่อนไหวที่ให้แสง สี เสียงเร้าใจ จนสะกดให้เด็กๆ จดจ่ออยู่ได้เป็นเวลานาน และยังมีเกมคอมพิวเตอร์ ที่สะท้อนภาพเสมือนจริง แถมยังสนุกสนาน เด็กๆ เล่นแล้วต้องติดใจกันทุกคน

• ใช้จอเป็นพี่เลี้ยง

เพราะภาพเคลื่อนไหว และเสียงที่ดังก้อง ทำให้เด็กๆ สามารถนั่งนิ่งดูทีวีหรือเล่นเกมได้เป็นเวลานาน โดยไม่ซน ไม่รื้อข้าวของ ไม่ร้องงอแง จึงทำให้พ่อแม่หลายคนเลือกจอเป็นพี่เลี้ยงให้ลูก แทนหน้าที่ของตัวเอง โดยไม่รู้เลยว่าคุณกำลังฆ่าลูกทางอ้อม

• ใกล้ตัวและเข้าถึงง่าย

แทบทุกบ้านมีทีวี แทบทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ และแทบทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ลูกๆ จึงได้เห็นอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในชีวิตประจำวันของพ่อแม่และตัวเขาเอง เด็กๆ จึงเกิดความคุ้นเคย พร้อมกับได้เห็นตัวอย่างจากพ่อแม่ที่ใช้อยู่ทุกวัน เขาจึงอยากรู้ อยากลอง แถมบางครั้งยังมีพ่อแม่เป็นผู้หยิบยื่น โดยไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายถ้าลูกติดใจ

จอ…ทำให้ตายเร็ว

จอสี่เหลี่ยมสามารถทำร้ายและทำลายเราได้ โดยการสะสมและซึมซับไปทีละเล็กทีละน้อย ค่อยๆ กัดกร่อนทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไม่รู้ตัวเลยล่ะค่ะ

ร่างกายถูกทำร้าย
• โรคอ้วน

ส่วนใหญ่ เด็กที่ติดจอก็มักจะกินไปด้วยทั้งข้าวและขนม ในขณะที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว และเผาผลาญพลังงานที่กินเข้าไป โรคอ้วนก็จะถามหา ซึ่งความอ้วนเป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายๆ โรค เช่น เบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ฯลฯ

• ขัดขวางพัฒนาการ

ทั้งจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์มีแสงจ้าที่ไม่เหมาะกับสายตาของเด็ก เด็กๆ ที่จ้องมองนานๆ อาจทำให้สายตาสั้น หรือมีผลกระทบต่อการมองเห็น เพราะแสงที่เหมาะกับพัฒนาการด้านการมองของเด็กคือแสงจากธรรมชาติ

• โรคหัวใจ

งานวิจัยจากประเทศอังกฤษ ระบุว่าการดูทีวีนานเกินวันละ 2 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจ คือความอ้วนและการไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานานๆ

จิตใจถูกทำลาย

• ก้าวร้าวรุนแรง

เกิดจากการซึมซับความรุนแรงของเนื้อหาในจอทีวีและเกมในคอมพิวเตอร์หรือ โทรศัพท์มือถือ เช่น เกมที่ยิงกันจนเลือดสาด เพราะเด็กเล็กๆ ยังแยกโลกความเป็นจริงกับโลกเสมือนจริงอย่างในเกมไม่ออกเหมือนผู้ใหญ่อย่าง เราค่ะ ทำให้เด็กซึมซับความรุนแรงจากการที่เขาสวมบทบาทเป็นผู้เล่น และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรงตามไปด้วย

• หงุดหงิดง่าย

เพราะความไวจากสื่อทีวีและอินเตอร์เนต ทำให้เด็กๆ ถูกตอบสนองอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา ทำให้เด็กๆ มักจะหงุดหงิดและไม่รู้จักอดทนรอคอยเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น

• ทักษะสังคมไม่ดี

ทักษะสังคมของเด็กๆ จะพัฒนาได้ดี หากได้มีปฏิสัมพันธ์ ได้พูดคุยกับพ่อแม่และคนรอบข้าง
แต่หากอยู่ติดกับหน้าจอ การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นก็จะไม่ได้พัฒนา ถึงแม้ว่าในเกมออนไลน์จะมีการแชทหรือพูดคุยกัน แต่ภาษาในเกมกับภาษาที่ใช้ในชีวิตจริงก็ต่างกัน เด็กๆ จะไม่ได้เรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น

ที่มาจาก นิตยสาร รักลูก




Create Date : 02 ตุลาคม 2554
Last Update : 2 ตุลาคม 2554 18:00:43 น. 0 comments
Counter : 774 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลูกน้ำกว๊าน
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่าน นะคะ




อยากมีและอยากรู้จัก เพื่อนที่มีที่มาต่างกัน และอยากร่วมแชร์ ประสบการณ์ให้คนอื่น ได้รับรู้บ้าง เพื่อนๆชาว บลอคแกงค์เป็นอะไรที่ ใช่เลย ที่คอยอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา พอเรา เปิดดูครั้งใดก็จะมีคน นั่งเขียนบลอก นั่งอยู่ที่ หน้าจอ คอยเป็นเพื่อน กันเสมอ รัก ทุกคนใน บลอกแกงค์ ค่ะ
: Users Online
Friends' blogs
[Add ลูกน้ำกว๊าน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.