Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
8 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
เลี้ยงลูกให้ดี.....มีวัคซีนใจ

ปัจจุบันพ่อแม่จำนวนมากเลี้ยงลูกด้วยความรัก แต่ไม่ได้ฝึกฝนให้เด็กมีภูมิต้านทานต่อความทุกข์...เพราะไม่เคยเปิดโอกาสให้ ลูกเผชิญต่อปัญหาในระดับที่เหมาะสมต่อวัยวุฒิของเขา เมื่อโตขึ้นจึงขาดทักษะในการจัดการกับปัญหาของชีวิต วัคซีนใจ 3 ประการ ที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการเลี้ยงดูของพ่อแม่และการศึกษาจากครูอาจารย์ เป็นไปเพื่อให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมในการดำเนินชีวิต ได้แก่ 1. วุฒิภาวะ 2. ความนับถือตนเอง 3. การแสวงหาความสุขในชีวิต เลี้ยงลูก, วัคซีน 1. วุฒิภาวะ (Maturity) คือความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ หรือควบคุมอารมณ์ความต้องการของตนเอง ถ้าพูดเป็นภาษาวัยรุ่น...วุฒิภาวะ แปลว่าความสามารถที่สมองส่วนคิดทำงานมากกว่าสมองส่วนอยาก...เพราะฉะนั้นต้อง ฝึกตอนที่สมองส่วนอยากทำงาน 1. เมื่อลูกอยากได้อะไร ต้องพูดคุยกันว่าจำเป็นหรือไม่...ถ้าสิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อการดำรง ชีวิต ก็ต้องยอมรับว่าไม่ควรได้ ไม่ควรมี...เป็นการแยกแยะระหว่าง สิ่งที่จำเป็น (need) กับ สิ่งที่อยากได้ (want) 2. หากจำเป็นแต่มีข้อจำกัด ก็หาทางออก อย่างอื่นเพื่อตอบสนองเท่าที่ทำได้...ถ้าไม่มีเงินก็ไม่จำเป็นต้องซื้อหามา เป็นเจ้าของเสมอไป เราสามารถเช่าหรือใช้บริการจากแหล่งบริการมากมายที่มีในสาธารณะ 3. ถ้าจำเป็นต้องมี ต้องได้ ก็อย่าเพิ่งรีบซื้อให้ทันที... ต้องฝึกให้เด็กรู้จักการรอ (delay immediate gratification) หรือ ตั้งเงื่อนไข ให้เป็นรางวัล...ถือ เป็นการฝึกวินัยในตนเอง (self discipline) ถ้าหากลูกอยากได้อะไร แล้วพ่อแม่ตอบสนองหามาให้ในทันที เด็กจะไม่รู้จักเรียนรู้ที่จะรอ เขาจะเคยชินต่อการตอบสนองความต้องการของตนเอง หากในวัยเด็กเขาไม่ได้รับการฝึกให้ควบคุมความต้องการของตนเอง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นเขาก็ไม่เรียนรู้ที่จะยับยั้งชั่งใจในเรื่องทางเพศเป็น ผลตามมา พ่อแม่หลายคนปรนเปรอลูกด้วยวัตถุหรือการเสพ...สาเหตุ 3 ประการที่พบบ่อย ได้แก่ * ไม่ต้องการให้ลูกเผชิญความผิดหวัง ซึ่งเคยเกิดกับตัวพ่อแม่ในวัยเด็ก...อยากได้อะไรก็ไม่เคยได้ * ชดเชยความรู้สึกผิดที่เรามีเวลาใกล้ชิดเขาน้อยเกินไป จึงตอบแทนเด็กด้วยของเล่นหรือเงินทอง * กลัวลูกโกรธหรือไม่รัก แล้วจะไม่เอาใจใส่พ่อแม่ในยามชรา ผู้ใหญ่จำเป็นต้องเป็นตัวอย่างของการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ไม่ถูกครอบงำด้วยกระแส บริโภคนิยมเสียก่อน ไม่ถูกชัก จูงงษณา...เด็กจึงจะ เลียน และรู้ รูปแบบของการใช้ชีวิตที่ไม่เน้นการแสวงหาวัตถุเพื่อสร้างความสุขให้แก่จิตใจ 2. ความนับถือตนเอง (Self-esteem) คือการตระหนักรู้ในคุณค่าที่มีในตนเอง นำไปสู่ความภาคภูมิใจ...พูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ก็คือ ความรักในตนเอง ...รักตัวเองให้เป็น ก็ต้องเห็นตัวเองให้ชัด วิธีการในการเลี้ยงลูกให้พัฒนาความนับถือตนเองมี 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ 1. รู้ศักยภาพของตนเอง ว่าเรามีความสามารถอะไรเป็นพิเศษ เรียนวิชาไหนแล้วชอบหรือมีความสุข...ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะนิสัยหรือ ศักยภาพไม่เหมือนกัน การเลี้ยงดูหรือการศึกษาจึงต้องพัฒนาความสามารถให้ตรงกับตัวเด็กมากที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเรียนหนังสือหรือเลือกคณะวิชาไปตามกระแสค่านิยมของสังคม ซึ่งอาจไม่ตรงกับใจตัวเอง 2. กำหนดจุดมุ่งหมายของชีวิต-คุณสมบัติของจุดมุ่งหมายนั้นต้องมีคุณสมบัติ 2 อย่างคือ * มีความทัดเทียมกับศักยภาพของตนเอง ไม่สูงหรือต่ำเกินไป...ถ้าสูงเกินไปก็เป็นฝันกลางวัน ถ้าต่ำเกินไปก็เป็นการดูถูกตัวเอง * ต้องสามารถกำหนดเป็นมโนภาพ (visualization) ในใจว่าในอนาคตโตขึ้นเราอยากเป็นอะไร...บังเกิดเป็นแรงดลบันดาลใจ มีพลัง 3. ขยัน มุมานะพากเพียรพยายาม (effort) เพื่อเป็นพลังหรือแรงขับดันให้ชีวิตมุ่งมั่นสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้...ตรง ข้ามกับความขี้เกียจหรือรักสนุก-ชอบสบาย (comfort) การพัฒนาทั้งสามขั้นตอน จะนำไปสู่ความสำเร็จ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงความภูมิใจในตนเอง นำไปสู่สภาวะจิตที่สูงส่ง และไม่ดึงชีวิตตัวเองไปสู่ความเสื่อม เช่น เที่ยวกลางคืน เล่นการพนัน ติดยาเสพติด มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ฯลฯ อุปสรรคอย่างหนึ่งของการพัฒนาความนับถือตนเอง คือระบบการศึกษาที่เน้นคนเรียนเก่ง เช่น สอบได้ที่ 1 ถึงที่ 3 หรืออย่างน้อยก็ต้องได้เลขตัวเดียว จึงจะเป็นที่ชื่นชมของพ่อแม่และครูอาจารย์ ในขณะที่นักเรียนอีก 30-40 คนที่เหลือในห้องก็ไม่สามารถเกิดความปีติสุขจากการเรียนรู้...ผลที่สุดคือ การรวมกลุ่มของเด็กที่ไม่ประสบความสำเร็จในการศึกษา จึงไปแสวงหาความสุขจากทางอื่น เช่น ขับรถซิ่งแข่งกัน มีเซ็กซ์เก็บแต้ม คุยโม้โอ้อวดเรื่องการใช้สินค้าแบรนด์ เนม หาแฟนรวย...ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความรู้สึกว่าตนยังมีคุณค่าอยู่ อย่างน้อยก็ได้รับการยกย่องจากสมาชิกใน สังคมเล็ก ๆ ของตนเอง เพราะฉะนั้น ถ้าลูกเรียนหนังสือไม่เก่ี่จะถูกซ้ำเติมจากพ่อแม่ด้วยคำพูดในทางลบ ผู้ปกครองควรให้กำลังใจและความคิดในทางบวกต่อตนเอง เช่น ถึงแม้ว่าลูกจะสอบได้คะแนนน้อย แต่ลูกยังมีความสามารถอีกหลายอย่างที่การสอบไม่ได้วัดผล ...ความสามารถอีกหลายอย่างนั้น ถ้าเขายังไม่เห็น พ่อแม่ต้องเห็นได้จากการสังเกต และเราจะสังเกตรู้ได้ว่าลูกมีศักยภาพอะไร ก็ต่อเมื่อเราได้มีเวลาใกล้ชิดและรับฟังสิ่งที่เขาเปิดเผย...แทนที่จะคิดว่า ลูกจะต้องรับฟังและเชื่อฟังเราฝ่ายเดียว 3. การแสวงหาความสุขในชีวิต...ความสุขมีรูปแบบที่หลากหลาย แบ่งเป็น 4 ระดับ เรียกว่า 4 ระดับของความสุข จากสนุกสู่สงบ 1. มีกิจกรรมสนุกสนานจากกิจกรรมบันเทิง ได้รับความเอร็ดอร่อยจากการเสพทางตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนัง...มักจำเป็นต้องซื้อหาด้วยเงิน หากไม่รู้จักควบคุมการเสพ ก็นำไปสู่ความทุกข์ร้อนเรื่องหนี้สิน 2. การเสพสุนทรียภาพของงานศิลปะ... โดยไม่จำเป็นต้องซื้อหามาเป็นเจ้าของ แต่ชื่นชมจน นำไปสู่ความปีติ อิ่มเอิบ เบิกบาน และเกิดแรงดลบันดาลใจในชีวิต 3. ความสงบสบายจากการใกล้ชิดธรรม ชาติ...ท่ามกลางธรรมชาติ ย่อมโน้มนำใจให้ผ่อนคลาย สดชื่นและเย็นใจพร้อมความรู้สึกสำนึกในบุญคุณอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติจนมิอาจ คิดถึงเรื่องการทำลายหรือความโลภ 4. การดำเนินชีวิตอย่างพิจารณา...มีสติในกิจวัตรประจำวันและการทำงาน ในที่สุดเราจะบังเกิดความเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต จนในที่สุดจิตของเราที่พัฒนาจนผ่อนคลายจากการยึดติดในสิ่งต่าง ๆ นำไปสู่การดำเนินชีวิตไม่เป็นทุกข์ ข้อมูลจาก นายแพทย์สุกมล วิภาวีพลกุล.


Create Date : 08 พฤษภาคม 2554
Last Update : 8 พฤษภาคม 2554 15:19:36 น. 0 comments
Counter : 772 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลูกน้ำกว๊าน
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่าน นะคะ




อยากมีและอยากรู้จัก เพื่อนที่มีที่มาต่างกัน และอยากร่วมแชร์ ประสบการณ์ให้คนอื่น ได้รับรู้บ้าง เพื่อนๆชาว บลอคแกงค์เป็นอะไรที่ ใช่เลย ที่คอยอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา พอเรา เปิดดูครั้งใดก็จะมีคน นั่งเขียนบลอก นั่งอยู่ที่ หน้าจอ คอยเป็นเพื่อน กันเสมอ รัก ทุกคนใน บลอกแกงค์ ค่ะ
: Users Online
Friends' blogs
[Add ลูกน้ำกว๊าน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.