Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
ดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย

เขียนโดย Administrator   //www.sudrak.com/index.php?option=com_content&task=view&id=241&Itemid=8

clockทารกและเด็กเล็กๆ มีขนาดร่างกายเล็ก และมีความต้านทานโรค น้อยกว่าผู้ใหญ่ ทั้งยังไม่อาจจะบอก อาการผิดปกติของตัวเอง ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็ก ต้องสังเกตท่าทางการกิน การขับถ่าย และอาการแสดงออก ที่ต่างไปจากเดิม เพื่อจะได้รู้สึกความผิดปกติ ตั้งแต่แรกเริ่ม

นอกจากนั้น พ่อแม่จำเป็นต้อง มีความรู้เบี้องต้น เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล จะได้ดูแลลูก เมื่อเจ็บป่วยเองได้ เช่น อุจจาระร่วง ตัวร้อนเป็นไข้ เป็นหวัด ไอ และลมชัก

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเหล่านี้ หาได้จากโรงพยาบาล ศูนย์สาธารณสุข สถานีอนามัย หรือจากสื่อสุขศึกษา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ต่างๆ

เมื่อสงสัยว่าลูกมีอาการผิดปกติ มีการเจริญเติบโต หรือมีความสามารถทำสิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมกับอายุ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อจะได้ตรวจให้รู้แน่ และรับการบำบัดฟื้นฟู อย่างถูกวิธีต่อไป ส่วนเด็กที่มีความพิการ หรือพัฒนาการล่าช้า ด้วยสาเหตุต่างๆ หากได้รับการตรวจพบแต่เนิ่นๆ จะมีทางบำบัดแก้ไข ให้มีความสามารถดีขึ้นได้ โดยเฉพาะภายในขวบปีแรกๆ ซึ่งสมองยังเจริญเติบโตอยู่ หากรอช้าเกินไปแล้ว ไปรับการรักษามักไม่ได้ผลดี เพราะการกระตุ้นบำบัดแก้ไข ต้องเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก ก่อนจะมีความพิการถาวร

การดูแลรักษาเมื่อลูกมีอาการเจ็บป่วย

ไข้ตัวร้อน วิธีดูแลรักษา

อุณหภูมิปกติของร่ายกาย คือ 37 องศา แต่เวลาเด็กออกกำลัง ตากแดดนานๆ หรือกินของร้อนๆ อาจมีอุณหภูมิสูงขึ้น ชั่วขณะ ไม่ถือว่า เป็นไข้ หากไม่แน่ใจ ควรให้เด็ก นั่งพักสักครู่ 10-15 นาที แล้ววัดดู ถ้าอุณหภูมิ เกิน 38 องศา จึงจะถือว่าเป็นไข้ จำเป็นต้องสังเกตหาสาเหตุ ว่าเกิดขึ้นจากอะไร อาจเป็นไข้หวัด หรือมีการอักเสบ ในร่างกายได้

1. การเช็ดตัวลดไข้ หลักของการเช็ดตัวคือ ระบายความร้อน ออกจากร่างกาย โดยอาศัยการดึงความร้อนของร่างกาย ผ่านทางเส้นเลือดผิวหนัง มาช่วยเป็นความร้อนแฝง ของการระเหย ซึ่งจะทำให้เกล็ดน้ำ ที่ติดตามผิวหนัง ระเหยออกไป
ดังนั้น จึงควรใช้ผ้าที่บิดหมาดๆ เช็ดตัวให้เส้นเลือดขยายตัว โดยเช็ดผิวหนัง บริเวณที่อุ่นจัด ให้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่เส้นเลือดใหญ่ผ่าน ควรวางผ้าชุบน้ำ บิดหมาดๆ ไว้เพื่อระบายความร้อน จากซอกคอ ซอกแขน ขาหนีบ และศีรษะ และเปลี่ยนไปซักน้ำทุก 2-3 นาที โดยใช้ผ้า 2-3 ผืน และใช้น้ำประปาธรรมดา หรือเจือน้ำอุ่น แต่ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เด็กหนาวสะท้าน จนเส้นเลือดส่วนปลายหดตัว ความร้อนในตัวจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เด็กชักได้ บริเวณที่เช็ดตัวลดไข้ ควรจะมีอากาศถ่ายเทดีพอควร ไม่ควรปิดประตู หน้าต่างจนอับทึบ หรือเป็นที่โล่ง ซึ่งมีลมโกรกแรงมากเกินไป
2. ให้ยาแก้ไข้ ตามหมอสั่ง หรือฉลากยา ควรใช้พาราเซตามอล จะปลอดภัยกว่าแอสไพริน และไม่ควรใช้ยาแก้ไข้ จำพวกไดไพโรน โดยทั่วไป ยาแก้ไข้ จะออกฤทธิ์ใน 15 นาที หลังกินยา และมีฤทธิ์อยู่นาน ประมาณ 4 ชั่วโมง หากมีไข้อยู่อีก จึงควรให้ยาซ้ำ ใน 4-6 ชั่วโมง
3. ให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเหลว เพิ่มขึ้น
4. ให้ใส่เสื้อผ้าพอสมควร ไม่หนาเกินไป และไม่ควรห่มผ้าหนาๆ เพราะจะทำให้ไข้สูงขึ้น
5. ถ้าเด็กเคยชักมาก่อน ควรให้ยากันชัก ตามที่หมอแนะนำด้วย

ถ้ามีอาการรุนแรง กว่าธรรมดา เช่น หมดสติ ซึม เป็นลม ชักแขนขาไม่มีแรง เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก คอแข็ง (ก้มคอไม่ได้) ขากรรไกรแข็ง (อ้าปากไม่ได้) หายใจลำบาก เจ็บหน้าอกมาก ปวดท้องมาก ถ่ายท้องรุนแรง มีเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ซีด เหลืองหรือบวม ควรพาไปหาหมอโดยเร็ว

ปวดหัว วิธีดูแลรักษา

- กินยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
- ถ้าปวดรุนแรง หรือร่วมกับอาการอื่น เช่น หมดสติ เป็นลมชัก แขนขาไม่มีแรง อาเจียนมาก หรือคอแข็ง (ก้มคอไม่ได้) ควรพาไปหาหมอ โดยเร็ว
- ถ้าเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ควรไปหาหมอ เพื่อตรวจหาสาเหตุ

ปวดท้อง วิธีดูแลรักษา
- ถ้าท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ให้กินยาธาตุน้ำแดง หรือยาลดกรด
- ถ้าเป็นโรคกระเพาะ หรือปวดแสบตรงใต้ลิ้นปี่ เวลาหิวจัด หรืออิ่มจัด ให้กินยาลดกรด
- ถ้าปวดท้องรุนแรง หรือปวดนานเกิน 6 ชั่วโมง หรือปวดท้อง ร่วมกับถ่ายท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง หรือมีอาการหน้ามืด เป็นลม ใจสั่น หรือเอามือ แตะถูกบริเวณหน้าท้อง แล้วรู้สึกเจ็บ ควรไปหาหมอโดยเร็ว
- ถ้าปวดตรงบริเวณท้องน้อยด้านขวา และแตะถูก รู้สึกเจ็บ ควรสงสัยว่าเป็น ไส้ติ่งอักเสบ และควรไปหาหมอ โดยเร็ว
- ถ้าปวดท้องเรื้อรังเป็นๆ หายๆ หรือไม่แน่ใจ ควรไปหาหมอ
ท้องเดินหรืออุจจาระร่วง วิธีดูแลรักษา
หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง หรือมากกว่าใน 1 วัน หรือถ้าถ่ายเหลว มีมูก มีเลือดปน 1 ครั้ง ก็ถือว่าผิดปกติ ต้องรับการรักษา
อาการท้องเดินเฉียบพลัน วิธีดูแลรักษา
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย หรือสารจากเชื้อ ที่ทำให้อาหารบูดเสีย ถ้ามีไข้ตัวร้อน และถ่ายอุจจาระ มีมูกมีเลือดปน แสดงว่าอาจเป็นบิด หรือลำไส้อักเสบ ต้องพาไปรับการรักษา เด็กบางคน อาจมีอาการอาเจียน ร่วมด้วย ทำให้เด็กมีภาวะขาดน้ำ มากยิ่งขึ้น เพราะสูญเสีย ทั้งทางอาเจียน และอุจจาระเหลว ถ้ามีภาวะขาดน้ำ จะสังเกตเห็นว่า ปากแห้ง ตาลึกลง อ่อนเพลีย และปัสสาวะสีเข้ม มีปริมาณน้อย หรือห่างกว่าปกติ ถ้ารุนแรงมาก อาจถึงกับหมดสติ และตาย จากภาวะขาดน้ำได้
ท้องเดินเรื้อรัง วิธีดูแลรักษา
อาจเกิดจาก พยาธิตัวเล็ก ที่มองด้วยตาเปล่า ไม่เห็น มักมีอาการ ท้องอืด เลี้ยงไม่โต ถ่ายเหลว เป็นๆ หายๆ หรืออาจจะเกิด ต่อเนื่อง จากการมีอาการ ท้องเดินเฉียบพลัน ลำไส้สร้างน้ำย่อย น้อยลง ย่อยอาหาร ไม่ได้ดี จึงมีอาการท้องเดิน เป็นๆ หายๆ นานเป็นสัปดาห์ หรือเดือน ทำให้ร่างกายขาดอาหาร เลี้ยงไม่โต
- เมื่อลูกเกิดอาการท้องเดิน ให้สังเกตดูว่า ลูกตัวร้อนหรือไม่ ลักษณะอุจจาระ เป็นอย่างไร เช่น เป็นน้ำ มีมูกเลือดหรือไม่ ถ้ามีลักษณะเหล่านี้ ต้องพาลูกไปรับการรักษา
- ถ้าลูกถ่ายอุจจาระเป็นน้ำหลายครั้ง และอาเจียนด้วย มีลักษณะซึม หรือถ่ายไม่หยุด รีบพาส่งไปรับการรักษา ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล
- ถ้าลูกพอจะกินน้ำได้ ให้ละลายน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะและเกลือแกงครึ่งช้อนชากับน้ำ 1 ขวดกลมใหญ่ประมาณ 1 ลิตร จะใช้น้ำเปล่าต้มสุก หรือน้ำต้มเปลือกต้นฝรั่ง น้ำชา หรือน้ำมะตูม ก็ได้ หากจะใช้น้ำข้าว ก็ไม่ต้องเติมน้ำตาล พ่อแม่อาจจะละลาย ผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ตามฉลาก ให้ลูกกิน เป็นการป้องกันการขาดน้ำ และช่วยให้ลูก ไม่อ่อนเพลียเกินไป ควรให้กินนมแม่ต่อไป ตามปกติ ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย และไม่มัน จนกว่าจะหาย หลังจากนั้น ควรค่อยเพิ่มอาหาร จนเป็นปกติ
- แยกทำความสะอาดเสื้อผ้า และสิ่งที่เปื้อนอุจจาระ โดยใช้ผงซักฟอก และยาฆ่าเชื้อ ถ้ามี อย่าเอาเสื้อผ้าที่เปื้อน ลงล้างในตุ่มน้ำ เพราะเป็นการแพร่เชื้อโรค ลงไปในน้ำ ที่คนอื่น อาจนำไปใช้ดื่มกินได้ ควรกำจัดอุจจาระ ลงส้วมหรือถัง และราดยาฆ่าเชื้อ
- ล้างมือ ก่อนหยิบจับอาหาร และกินยา รักษาความสะอาด ในการเตรียมอาหาร และน้ำดื่ม ทำอาหารให้สุก ปิดฝาชี หรือใส่ตู้
ไข้หวัดและปอดบวม วิธีดูแลรักษา

- ไข้หวัด อาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เบื่ออาหาร ปวดหัว ตัวร้อน ส่วนใหญ่ จะหายได้เอง
- ปอดบวม อาการ มีไข้สูง ไอ หายใจเร็ว ถ้าเป็นมาก จะหอบ จนชายโครงบุ๋ม เล็บมือ เล็บเท้า ริมฝีปาก ซีด หรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่าย หรือซึม

- กินอาหารตามปกติ
- ดื่มน้ำมากๆ
- พักผ่อน
- เช็ดตัว เมื่อมีไข้ กินยาพาราเซตามอล เมื่อมีไข้สูง
- ไอ ให้ป้ายลิ้น ด้วยน้ำผึ้งผสมมะนาว มะนาวผสมเกลือ กินยาขับเสมหะเด็ก
- อย่าซื้อยาแก้อักเสบ และยาลดน้ำมูก ให้ลูกกินเอง
- สังเกตอาการอันตราย สงสัยเป็นปอดบวม ไข้เกิน 3 วัน ซึม น้ำมูกสีเหลือง หรือเขียวข้นนานเกิน 5-7 วัน ให้พาไปหาหมอ
ไข้เลือดออก วิธีการรักษา
อาการ มีไข้สูง 4-6 วัน อาการคล้ายๆ ไข้หวัด ปวดศีรษะ อาจมีอาการชัก เวลาไข้ลด จะลดอย่างรวดเร็ว มีอาการซึม ถ้าช็อค มือเท้าจะเย็น ตัวซีด มีเหงื่อออกซึม มีอาการ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปากซีดเขียว อาจเป็นผื่น ตามผิวหนัง คล้ายเป็นหัดได้ มีเลือดออก ใต้ผิวหนัง ซึ่งกดแล้ว ไม่จางไป ถ้าอาการมาก เด็กจะซึม จะอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด เลือดออกในกระเพาะ ลำไส้และสมอง เมื่อถึงระยะนี้ เด็กมักจะเสียชีวิต

- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้
- ถ้าสงสัยว่าอาจเป็นไข้เลือดออก ต้องพาลูกไปหาหมอ
- ห้ามใช้ยาลดไข้ ที่มีแอสไพริน โดยเด็ดขาด ถ้าไข้สูง ให้ยาพาราเซตามอล 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และให้ซ้ำได้ ถ้ายังมีไข้สูง 6 ชั่วโมงต่อมา
- ให้ลูกกินน้ำ และอาหารเหลว
- แจ้งเจ้าหน้าที่อนามัย หรือศูนย์สาธารณสุข เพื่อเตรียมการรักษาพยาบาล และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เป็นพิเศษ ในระยะที่มีการระบาด ของโรคไข้เลือดออก

หูอักเสบและหูน้ำหนวก วิธีดูแลรักษา
อาการ ปวดหูมาก มีไข้ ในเด็กเล็กๆ จะร้องกวน ผิดปกติ อาจมีหนองไหลจากหู ถ้าเป็นมาก บริเวณหลังใบหู จะบวม และกดเจ็บ - ควรรักษาให้ถูกต้อง และได้ทันท่วงที โดยไปหาหมอ หรือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข โดยเร็ว มิฉะนั้น อาจกลายเป็น หูน้ำหนวก เรื้อรังหูหนวก บางราย โรคลุกลาม เข้าสู่สมอง มีอันตราย ถึงตายได้
- เช็ดรูหูให้แห้ง ทำตามคำแนะนำ ของหมอ กินยาให้ครบ และพาลูก ไปตรวจ ตามที่หมอนัด
- ถ้าบวมเจ็บ บริเวณหลังหู มีอาการซึม หรืออาเจียน ให้รีบพาไปหาหมอ
คออักเสบ วิธีดูแลรักษา

อาการ คอแดง เจ็บคอ มีไข้ มักอ่อนเพลีย กินอาหารได้น้อย อาจมีตุ่มใส หรือแผลเล็กๆ กระจายในช่องปาก มีฝ้าขาวหรือหนอง ที่ต่อมทอนซิล หรือคอหอย ต่อมน้ำเหลืองใต้คางโต

จำเป็นต้องพบหมอ หรือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ถ้ามีอาการ อย่างใด อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ไข้สูงเกิน 3 วัน
- ไม่กินอาหาร และน้ำ หรืออาเจียนมาก
- มีฝ้าขาว หรือหนอง ที่ต่อมทอนซิล หรือที่คอหอย
- ต่อมน้ำเหลืองใต้คางโต และกดเจ็บ
- ไอ เสียงก้อง เสียงแหบ หายใจดัง เร็ว หายใจไม่ออก หอบ
- ปวดหู มีน้ำหนองไหล
- เช็ดตัว เมื่อมีไข้สูง ถ้าไข้ไม่ลด ให้กินยา พาราเซตามอล ขนาดตามอายุ ทุก 4-6 ชั่วโมง
- ให้กินน้ำมากๆ และอาหารอ่อน
- กินยาให้ครบ ตามหมอสั่ง เพื่อป้องกัน อันตราย และโรคแทรกซ้อน
ผิวหนังผิดปกติ วิธีดูแลรักษา

- กลาก (ขึ้นเป็นดวงๆ เห็นขอบชัดเจน คัน และค่อยๆ ลามได้) ทาด้วยขี้ผึ้ง รักษากลากเกลื้อน ขององค์การเภสัชกรรม
- เกลื้อน (ขึ้นเป็นวงด่างขาว หรือรอยแต้มเล็ก ตามใบหน้า ซอกคอ หลัง ลำตัว ไม่ค่อยคัน) ดูแลรักษา เช่นเดียวกับกลาก
- หิด (เป็นตุ่มคัน ขึ้นตามง่ามมือ ง่ามเท้า ทั้ง 2 ข้าง มักเป็นหลายคน ในครอบครัวเดียวกัน) ทาด้วย ขึ้ผึ้งกำมะถัน หรือยาแก้หิด ขององค์การเภสัชกรรม
- พุพอง ผิวหนังอักเสบ ถ้าเป็นหนองเฟะ ให้แช่น้ำด่างทับทิม ก่อนทายา
- ผื่นคัน หรือผด หรือแพ้ ยุง แมลง ทาด้วยยา แก้ผดผื่นคัน ถ้าเป็นเรื้อรัง ควรไปหาหมอ
- ลมพิษ ทาด้วยยาแก้ผดผื่นคัน ถ้าไม่หาย ควรไปหาหมอ
- แผลถลอก ล้างแผล ด้วยน้ำสุกกับสบู่ ชะเอากรวดดิน หรือสิ่งสกปรก ออกให้หมด เช็ดรอบแผล ด้วยแอลกอฮอล์ ทาแผลด้วย ยาแดง หรือยาใส่แผลสด





Create Date : 14 พฤษภาคม 2555
Last Update : 14 พฤษภาคม 2555 22:14:33 น. 0 comments
Counter : 799 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลูกน้ำกว๊าน
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่าน นะคะ




อยากมีและอยากรู้จัก เพื่อนที่มีที่มาต่างกัน และอยากร่วมแชร์ ประสบการณ์ให้คนอื่น ได้รับรู้บ้าง เพื่อนๆชาว บลอคแกงค์เป็นอะไรที่ ใช่เลย ที่คอยอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา พอเรา เปิดดูครั้งใดก็จะมีคน นั่งเขียนบลอก นั่งอยู่ที่ หน้าจอ คอยเป็นเพื่อน กันเสมอ รัก ทุกคนใน บลอกแกงค์ ค่ะ
: Users Online
Friends' blogs
[Add ลูกน้ำกว๊าน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.