ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

นักวิจัยไทยใช้ยารังสีวินิจฉัยมะเร็งระยะแรกสำเร็จ

นักวิจัยไทยใช้ยารังสีวินิจฉัยมะเร็งระยะแรกสำเร็จ

ก.วิทย์- สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ร่วมกับศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ประสบความสำเร็จในการใช้เภสัชรังสีเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรก ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดรู้และรักษาได้ทันก่อนเข้าระยะสุดท้าย

มะเร็งปอดถือเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตประชาชนชาวไทยเป็นอันดับต้นๆ จากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มาเข้ารับการรักษาประมาณร้อยละ 70 จะเป็นผู้ป่วยที่มีระยะโรคอยู่ที่ระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะแพร่กระจายและยากต่อการรักษา หากแต่การวินิจฉัยโรคในระยะแรกที่แม่นยำ หากสามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นทำให้โอกาสการรักษาให้มีชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถรู้ระยะการป่วยได้เร็วขึ้น และสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงนำผลงานวิจัยการจัดเตรียมสารเภสัชรังสีสำเร็จรูป ไตรอะมิโน (TRI AMINO) เพื่อสนับสนุนศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ สำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัย บอกระยะโรค การวางแผนการรักษา และประเมินการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปอด หรือผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งปอด

การวินิจฉัยดังกล่าวทำโดยเปรียบเทียบกับ 18F-FDG PET/CT ซึ่งเป็นเภสัชรังสีวินิจฉัยตัวเดิม ไม่ได้มีความจำเพาะต่อมะเร็ง ทำให้ไม่สามารถแยกในกรณีที่สงสัยว่าเป็นการติดเชื้อ เช่น วัณโรค หรือ มะเร็งปอด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว พร้อมทั้งเปรียบเทียบความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Speciticity) ของการตรวจโดยเครื่องเพทสแกนและไซโคลตรอน (PET/CT) ด้วยสารเภสัชรังสีระหว่าง 18F-FDG และ 68 Ga-NOTA-RGD ในผู้ป่วยมะเร็งปอด หรือผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว

ผลการวินิจฉัยปรากฏว่า การใช้ไตรอะมิโนมีแนวโน้มที่จะใช้ตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดได้ดี เพราะในผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดที่ไม่ใช่มะเร็งจะไม่มีการจับเภสัชรังสีดังกล่าว โดยนักวิจัย สทน. จะร่วมมือกับคณะแพทย์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อทดสอบทางคลินิกอีกสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะผลิตให้มีปริมาณมากขึ้นเพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยมะเร็งปอดได้อย่างแพร่หลาย

ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยนิวเคลียร์แห่งชาติ เผยว่า ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถเตรียมเภสัชรังสีไตรอะมิโนที่มีคุณภาพดี และเป็นองค์กร 1 ใน 10 จากทั่วโลกที่ดำเนินการพัฒนาเภสัชรังสีตัวนี้ หากในอนาคตอันใกล้นี้มีการใช้สารเภสัชรังสีตัวนี้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย จะทำให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดในระยะแรกๆ ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาทำได้รวดเร็ว อัตราการรอดของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีโอกาสเพิ่มขึ้นไปด้วย



ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000037386




 

Create Date : 28 มีนาคม 2556
0 comments
Last Update : 28 มีนาคม 2556 17:17:13 น.
Counter : 2105 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.