"ประกายไฟน้อยๆ ลามทุ่งได้"

 
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 มิถุนายน 2549
 

BEX” ทางเลือกของคนชอบตราสารหนี้


ในช่วงนี้บ้านเรามีหุ้นกู้และพันธบัตรออกมาให้นักลงทุนและผู้มีเงินออมได้เลือกสรรกันค่อนข้างหนาตาครับ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงบ่นกันอยู่เหมือนเดิมครับว่า หาซื้อได้ยากเย็นเหลือเกิน ที่ว่ายากก็เพราะเป็นข่าวยังไม่ทันไร พอสอบถามไปก็หมดเสียแล้ว

ครับ กลุ่มลูกค้าเก่าหรือลูกค้าพิเศษของสถาบันการเงินมักจะได้ชิ้นปลามันไปก่อนเสมอ ไม่ต่างไปจากในตลาดหลักทรัพย์ที่หุ้น IPO ดีๆ มักจะถูกแบ่งสรรปันส่วนสำหรับลูกค้ารายใหญ่ของโบรกเกอร์ไว้ก่อน จากนั้นส่วนที่หลังและส่วนที่เหลืออยู่ จึงค่อยตกถึงท้องรายย่อยกับเขาบ้างพอให้ไม่น่าเกลียด

ถ้าเป็นประเภทหุ้นกู้หรือพันธบัตรก็มักจะหลงเหลือชนิดที่เป็น Long Term เสียจนหลายคนเกรงกันว่าจะถือไปไม่ไหว และอาจจะขายไม่คล่องมือเมื่อถึงเวลาจำเป็น

ความจริงในปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้จัดตั้งตลาดตราสารหนี้ หรือ Bond Electronic Exchange: BEX ขึ้นแล้ว และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไปมาตั้งแต่ปลายปี 46

แม้จนถึงวันนี้ผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักและตลาดก็ยังไม่จะค่อยคึกคักเท่าไหร่นัก แต่เชื่อได้ว่าในอนาคต BEX คงจะไม่พ้นเป็นตลาดใหญ่ และเป็นทางเลือกในการลงทุนสำคัญอีกแหล่งหนึ่งสำหรับนักลงทุนทั่วไป

สำหรับบทบาทหน้าที่ของ BEX นั้น ว่าง่ายๆ คือเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายตราสารหนี้ที่เปิดโอกาสให้แก่นักลงทุน ลงทุนโดยผ่านโบรกเกอร์ได้ในลักษณะเป็นกิจลักษณะ โดยรูปแบบและหลักการการซื้อขายก็คล้ายคลึงกับการซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างอยู่อีกหลายเรื่องที่นักลงทุนควรทราบ

ในขั้นเริ่มต้น ผู้ลงทุนที่ประสงค์จะซื้อขายตราสารหนี้จะต้องติดต่อโบรกเกอร์เพื่อเปิดบัญชีการซื้อขายกันก่อน แต่หากเป็นลูกค้าเดิมที่มีบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์อยู่แล้วก็ง่ายขึ้น เพียงแค่แจ้งความจำนงกับโบรกเกอร์ไปว่า ต้องการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

หลังจากเปิดพอร์ทและศึกษาข้อมูล เลือกและพิจารณาความเสี่ยงของตราสารหนี้ที่จะลงทุนแล้ว เมื่อต้องการซื้อขายก็สามารถแจ้งติดต่อซื้อขายได้โดยผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์นั้นๆ

สำหรับการซื้อขาย มีรื่องที่ควรทราบในระดับต้องตีตราแดงไว้ก็เช่น เรื่องราคาของหุ้นกู้ต่อหน่วย เพราะราคาของหุ้นกู้จะมีทศนิยม 2 ตำแหน่ง และเป็นราคาที่รวมดอกเบี้ยค้างรับไว้ด้วย

ส่วน 1 หน่วยของการซื้อขายในที่นี้ จะหมายถึงหุ้นกู้ 100 หน่วย เพราะฉะนั้นการจะซื้อจะขายจึงควรระมัดระวังความผิดพลาดจากการแจ้งจำนวนหน่วยให้ดี เพราะพลาดพลั้งไปอาจจะกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่ได้โดยไม่รู้ตัว

นอกจากนี้ ในเรื่องของ “ช่วงราคาเปลี่ยนแปลง” ทางตลาดตราสารหนี้จะใช้ช่วงที่ 1 สตางค์หรือ 0.01 บาท ซึ่งแตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้ช่วงอยู่ที่ 0.10 บาท กันมากโข ทั้งยังไม่มี Ceiling หรือเพดานราคาขึ้นลงสูงสุดต่อวันอีกด้วย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของตราสารหนี้จะไม่เคลื่อนไหวหวือหวาน่าตกใจเหมือนกลุ่มหลักทรัพย์

ยังมีเรื่องที่ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาโดยละเอียดก่อนการลงทุนอีกหลายเรื่อง อาทิการกำหนดเครื่องหมายแสดงสิทธิประโยชน์ เช่นเครื่องหมาย XI (Ex-Interest) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าผู้ซื้อจะไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยที่บริษัทกำหนดจ่ายในงวดนั้น หรือเครื่องหมาย XP (Ex-Principal) ที่หมายถึงผู้ซื้อจะไม่มีสิทธิได้รับเงินต้นที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้กำหนดจ่ายในงวด ซึ่งโดยปกติมักเป็นหุ้นกู้ ที่ทยอยจ่ายคืนเงินต้นก่อนวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน โดยตลาดหลักทรัพย์ฯจะขึ้นเครื่องหมายทั้งสองล่วงหน้า 2 วันทำการก่อนวันแรก ของการปิดสมุดทะเบียน เป็นต้น

ส่วนการชำระค่าหุ้นและการส่งมอบนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะดำเนินการโดย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยส่งมอบหุ้นกู้ และชำระเงิน ใน “วันทำการที่ 2 หลังจากวันที่ซื้อขาย” หรือวันที่โบรกเกอร์มักจะเรียกแบบที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นมืออาชีพว่า “T+2” (อ่านว่า T + 2)
ครับสำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถแว้บเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์

//www.set.or.th/bond/index.html เขามีข้อมูลค่อนข้างละเอียด และสามารถโทรไปสอบถามเพิ่มเติมได้อีก หากอ่านดูแล้วเกิดสนใจมากๆ หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจจริงๆ.


Create Date : 06 มิถุนายน 2549
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 16:05:35 น. 0 comments
Counter : 968 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อาบูหะซัน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add อาบูหะซัน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com