"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
พระพุทธรูปปาง : ทรงชี้อัครสาวก

ทรงโปรด ๒ อัครสาวก


ทรงได้ ๒ อัครสาวก
อุปติสสะและโกลิตะ บวชแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์

ขณะที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน และแสดงพระธรรมเทศนาในท่ามกลางจตุบรรษัทนั้น เมื่อได้ทรงทอดพระเนตรเห็นอุปติสสะและโกลิตะ พาหมู่บริษัททั้ง ๒๕๐ คน ตรงเข้ามาแต่ไกลเช่นนั้น ก็ทรงตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า " ภิกษุทั้งหลาย โน่น! คู่อัครสาวกของตถาคตมาแล้ว อุปติสสะและโกลิดะ ที่กำลังมานั้น จะเป็นคู่อัครสาวกของตถาคตในกาลต่อไป ทั้งยังพาบริวารของเธอมาให้ตถาคตด้วย " เมื่อปริพพาชกทั้งหลายเข้ามาเฝ้าแล้ว พระบรมศาสดาก็แสดงธรรมโดยควรแก่อุปนิสัยของปริพพาชกเหล่านั้น ครั้นจบพระธรรมเทศนา ปริพพาชกทั้งหมด เว้นอุปติสสะและโกลิตะได้บรรลุอรหัตตผลด้วยกันสิ้น


พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก







สหายทั้งสอง จึงพาบริษัทของตนทั้งหมดเข้ากราบทูลขอประทานอุปสมบท สมเด็จพระบรมสุคตก็ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสมบท แก่ปริพพาชกทั้ง ๒๕๐ คนนั้น เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วตรัสเรียกชื่อสหายทั้งสองนั้นตามนามของมารดา คือรับสั่งเรียก อุปติสสะ ผู้เป็นบุตรของนางสารีพราหมณีว่า สารีบุตร รับสั่งเรียก โกลิตะ ผู้เป็นบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณีว่า โมคคัลลานะ อาศัยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับสั่งเรียกท่านทั้งสองเช่นนั้น ในท่ามกลางบริษัท ๔ พุทธบริษัทจึงนิยมเรียกท่าน ด้วยชื่อที่ได้รับพระมหากรุณาประทานใหม่ตลอดอายุของท่าน และนิยมเรียกตลอดมาจนถึงปัจจุบัน










ฝ่ายพระโมคคัลลานะ อุปสมบทแล้วได้ ๗ วัน หลีกไปทำความเพียรอยู่ในเสนาสนะป่า ใกล้บ้านกัลลวาละมุตตคาม ในแคว้นมคธ ความง่วงครอบงำนั่งโงกอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ตรัสบอกอุบายระงับความง่วงให้อันตรธานแล้ว ทรงประทานโอวาทในธาตุกัมมักฏฐาน พระโมคคัลลานะได้สดับแล้วปฏิบัติตาม ก็ได้บรรลุพระอรหัตในวันนั้น












ส่วนพระสารีบุตรอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน ตามพระบรมศาสดาไปอยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา ใกล้กรุงราชคฤห์ ได้สดับพระธรรมเทศนา เวทนาปริคคหสูตร ซึ่งพระบรมศาสดา ทรงแสดงแก่ปริพพาชกชื่อว่า ทีฆนขะ อัคคิเวสนโคตร ผู้เป็นหลานของพระเถระเจ้า พระเถระเจ้าตั้งใจกำหนดพิจารณาไปตามกระแสพระธรรมเทศนานั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัต ส่วนทีฆนขะปริพพาชกได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

ในกาลนั้น พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งพระเถระเจ้าทั้งสองไว้ในตำแหน่ง คู่แห่งอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย





พระพุทธเจ้าทรงให้มี อุปัชฌาย์

หลังจากทรงโปรด อุปติสสะและโกลิตะ และผองเพื่อนปริพาชกทั้งหลายจนได้บรรลุอรหัตตผลแล้วทั้งสิ้น ภายในเมือง เกิดเสียงติเตียนกันมากขึ้น เนื่องจากเหล่าพวกกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ต่างพากันประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ดังนั้นประชาชนที่ไม่ได้นับถือในพระพุทธศาสนา จึงพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า พระสมณะโคดมปฏิบัติเพื่อให้ชายไม่มีบุตร พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อให้หญิงเป็นหม้าย พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อตัดสกุล บัดนี้พระสมณโคดมให้ชฎิล 1000 รูปบวชแล้ว และให้ปริพาชกศิษย์ของท่านสญชัย ๒๕๐ คนนี้บวชแล้ว และกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียง พากันประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม ไปหมดแล้ว บัดนี้ จักทรงนำใครไปอีกเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงนั้นจักอยู่ไม่ได้นาน จักอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วันก็จักหายไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าชนเหล่าใดกล่าวหาต่อพวกเธอ ด้วยความนั้น พวกเธอจงกล่าวโต้ตอบต่อชนเหล่านั้น ด้วยคาถานี้ว่า

พระตถาคตทั้งหลายผู้แกล้วกล้ามาก
ย่อมทรงนำชนทั้งหลายไปด้วยพระสัทธรรม
เมื่อชนทั้งหลายอันพระองค์ทรงนำไป
อยู่โดยธรรม ผู้เข้าใจอย่างนี้จะริษยาทำไม”



เมื่อภิกษุทั้งหลายได้กล่าวโต้ตอบต่อประชาชนพวกนั้น ด้วยคำของพระพุทธองค์แล้ว ประชาชนทั่วไปจึงกล่าวว่า “ได้ยินว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทรงนำชนทั้งหลายไปโดยธรรม ไม่ทรงนำไปโดยอธรรม” เสียงนั้นก็ได้มีเพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วันก็หายไป และกลับมีประชาชนเข้ามาขอบวชกันมากขึ้น

เมื่อมีผู้มาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์มาก พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต ให้หมู่ภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ 10 รูปขึ้นไปบวชให้กับผู้พึงประสงค์จะบวชได้ เนื่องจากพระภิกษุสงฆ์มีจำนวนมาก มาจากฐานะต่างๆ มีอุปนิสัยต่างๆกัน ทำให้เกิดความโกลาหลและความไม่มีระเบียบในคนหมู่มาก เช่นการนุ่งห่มจีวร การบิณฑบาต ฯลฯ พระพุทธเจ้าจึงทรงให้มี อุปัชฌาย์ ที่ค่อยแนะนำสั่งสอน และเป็นหัวหน้าในการบวชพระให้กับผู้พึงประสงค์จะบวช และคุณสมบัติข้อหนึ่งของอุปัชฌาย์ คือมีอายุพรรษา ตั้งแต่ 10 พรรษา และเป็นผู้มีปัญญา และความเฉลียวฉลาด





ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ


คราวหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จจาริกโปรดประชาชนในมคธชนบท ทรงประทับอยู่ใต้ร่มไทร เรียกว่า พหุปุตตกนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และนาลันทาต่อกัน ในเวลานั้น ปิปผลิมาณพ กัสสปโคตร ที่เกิดเบื่อหน่ายในการครองเรือน (เช่นเดียวกับพระยสะ และผู้คนจำนวนมาก ในเวลานั้น แม้ยังไม่เกิดพระพุทธศาสนา ก็พากันออกแสวงหาสัจจธรรมกันโดยทั่วไป แต่บรรดาลัทธิ ฤาษี ชี พราหมณ์ ก็หาได้เป็นหนทางที่หลุดพ้นไม่)

ปิปผลิมาณพ ที่ถือเพศบรรพชิตบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก เที่ยวจาริกมาถึงที่นั่น พบพระพุทธองค์เกิดความเลื่อมใส นับถือพระพุทธองค์เป็นศาสดาของตนแล้วทูลขอบวช พระองค์ทรงประทานอุปสมบทให้ โดยการประทานโอวาท ๓ ข้อว่า
๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและยำเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็น ผู้เฒ่า ผู้ปานกลาง และผู้ใหม่อย่างแรงกล้า
๒. ธรรมใดก็ตาม ที่ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูฟังธรรมนั้น และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น
๓. เราจักไม่ละสติที่เป็นไปในกาย คือ พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ ( กายคตาสติ )

ครั้นทรงสั่งสอนอย่างนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป
การบวชแบบนี้จึงเรียกว่า " อุปสมบทโดยการรับโอวาท ๓ ข้อ "

ท่านพระปิปผลิ เมื่อได้ฟังพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนแล้ว ก็เร่งบำเพ็ญเพียรไม่นานนัก ในวันที่แปดนับแต่อุปสมบท ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ เมื่อท่านเข้ามาสู่พระธรรมวินัย สหธรรมิกทั้งหลายมักเรียกชื่อท่านว่าพระมหากัสสปะ ท่านเป็นพระเอตทัคคมหาสาวกทางอยู่ธุดงค์วัตร ในขณะที่เข้ามาบวช พระกัสสปะมีอายุมากกว่าพระพุทธเจ้าเล็กน้อย และต่อมาภายหลังท่านก็เป็นผู้ที่ให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฏกเป็นครั้งแรก หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระกัสสปเถระเป็นผู้มีอายุยืน ท่านนิพพานเมื่อท่านได้ประมาณอายุ 140 ปี



Create Date : 10 เมษายน 2552
Last Update : 10 เมษายน 2552 13:34:54 น. 0 comments
Counter : 3897 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.