"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
พระพุทธรูปปาง : ทรงสมาธิเพชร | ปางสะดุ้งมาร | ปางสะดุ้งกลับ และ ปางมารวิชัย



พระพุทธองค์ทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะอธิษฐาน
ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็นโพธิบัลลังก์
แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะอธิษฐาน








ในเวลาเย็นวันเพ็ญเดือนหก ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ทรงลาดหญ้าคาเป็นบัลลังก์ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงทำประทักษิณถ้วน 3 รอบ แล้วประทับนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาที่ทรงลาด ทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะอธิษฐานแน่วแน่ว่า หากยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด จักไม่ยอมลุกขึ้นจากโพธิบัลลังก์นี้ ตราบนั้น



พระพุทธรูปปาง : ทรงสมาธิ (สมาธิเพชร)



ทรงสมาธิ (สมาธิเพชร)


พระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผินพระปฤษฎางค์ คือ หลัง ไปทางลำต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเจริญสมาธิมั่น เฉพาะอาณาปานสติกรรมฐาน พิจารณาวิธีหลุดพ้นจากทุกข์ ทรงนั่งคู้อปราชิตบัลลังก์ (สมาธิเพชร) ซึ่งแม้สายฟ้าจะผ่าลงตั้ง ๑๐๐ ครั้งก็ไม่แตกทำลาย และทรงตั้งจาตุรงค์มหาปธานในพระหฤทัยแน่วแน่ว่า

"ถ้าเรายังไม่ไดบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อ และเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที"


ตำบลอุรุเวลาซึ่งพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ และจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณในลำดับต่อไปนั้น บัดนี้คือตำบลพุทธคยา ตรงที่วิหารพุทธคยาประดิษฐาน อยู่ทุกวันนี้







พระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ทำเป็นรูปพระนั่งขัดสมาธิขัดบาทไขว้กัน หงายพระหัตถ์ทั้งสอง พระหัตถ์ขวาซ้อน บนพระหัตถ์ซ้าย วางอยู่บนพระเพลา พระพุทธรูปปางนี้นิยมสร้างเป็นพระบูชาประจำวัน ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี ทั้งนิยมสร้างเป็นพระประธาน และบูชาตามพิธีทักษา




พระพุทธองค์ทรงถูกมารผจญ

พระยามารกรีฑาพลมาขับไล่

เหตุการณ์ที่เกิดกับพระมหาบุรุษตอนนี้เรียกว่า "มารผจญ" ซึ่งเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหกก่อนตรัสรู้ไม่กี่ชั่วโมง พระอาทิตย์กำลังอัสดงลงลับทิว พระยามารตนนี้เคยผจญพระมหาบุรุษมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อคราวเสด็จออกจากเมือง แต่คราวนี้เป็นการชิงชัยกับพระมหาบุรุษที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกคราว กำลังพลที่พระยามารยกมาครั้งนี้มืดฟ้ามัวดิน มาทั้งบนเวหา บนดิน และใต้บาดาล ขนาดเทพเจ้าที่มาเฝ้ารักษาพระมหาบุรุษต่างเผ่นหนีกลับวิมานกันหมดเพราะเกรงกลัวมาร









พระยามาร มากล่าวตู่ว่า พระมหาบุรุษมายึดเอาโพธิบัลลังก์ ตรงที่พระมหาบุรุษประทับนั่งนั้นเป็นที่ของตน







ปฐมสมโพธิพรรณนาภาพพลมารตอนนี้ไว้ว่า “ บางจำพวกก็หน้าแดง กายเขียว บางจำพวกก็หน้าเขียวกายแดง ลางเหล่าจำแลงกายขาวหน้าเหลือง บางหมู่กายลายพร้อยหน้าดำ ลางพวกกายท่อนล่างเป็นนาค กายท่อนต่ำหลากเป็นมนุษย์ …"


เทพเจ้าที่มาเฝ้ารักษาพระมหาบุรุษ







ส่วนตัวพระยามารเนรมิตพาหา คือ แขนซ้ายและขวาข้างละหนึ่งพันแขน แต่ละแขนถืออาวุธต่าง ๆ เช่น ดาบ หอก ธนู ศร โตมร (หอกซัด) จักรสังข์ อังกุส (ของ้าวเหล็ก) คทา ก้อนศิลา หลาว เหล็ก ครกเหล็ก ขวานถาก ขวานผ่า ตรีศูล (หลาวสามง่าม) ฯลฯ พระยาวัสสวดีมารซึ่งเป็นจอมทัพทรงช้าง "นาราคีรีเมขล์"


พระนางธรณี ถือหม้อน้ำ







ครั้งนี้พระยามาร มากล่าวตู่ว่า พระมหาบุรุษมายึดเอาโพธิบัลลังก์ ตรงที่พระมหาบุรุษประทับนั่งนั้นเป็นที่ของตน พระยามารอ้างพยานบุคคล คือพวกพ้องของตน ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงมองหาใครเป็นพยานไม่ได้ เทพเจ้าเล่าก็เปิดหนีกันหมด จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกจากชายจีวร แล้วทรงชี้พระดัชนีลงยังพื้นพระธรณี พระนางธรณี ( พระนางธรณี มีชื่อเรียกว่า สุนธรีวนิดา) จึงผุดขึ้นมาเพื่อเป็นพยาน








พระพุทธรูปปาง : ปางสะดุ้งมาร

พระพุทธรูปปางนี้ สร้างเป็นพระพุทธรูปปางคล้ายมารวิชัย แต่นิ้วพระหัตถ์ไม่ยื่นลงไปแตะพื้นพระธรณี เพราะเป็นพระอิริยาบทที่กดพระชานุมิให้เคลื่อนไหว ส่วนปางสะดุ้งมารและปางสะดุ้งกลับคือพระอิริยาบทเดียวกัน แต่กลับพระหัตถ์คนละด้านเท่านั้น


พระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร (ซ้าย) พระพุทธรูปปางสะดุ้งกลับ (ขวา)


พระพุทธรูปปาง : ปางสะดุ้งกลับ

นอกจากของไทยแล้ว ประเทศอื่นก็มีสร้างปางสะดุ้งกลับ เช่นเดียวกัน
แต่ไม่มีความหมายอื่น หรือพระพุทธประวัติกล่าวถึง







พระพุทธรูปปาง : ปางมารวิชัย

พระปางนี้ทำเป็นอนุสรณ์แสดงพุทธประวัติ เมื่อจะทรงบรรลุพระโพธิญาณเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง) เนื้อเรื่องตอนนี้ ถ้ากล่าวเป็นนัยโดยบุคลาธิฏฐานก็ว่า มีพระยามารชื่อ วัสวดี ทรงช้างคีรีเมขล์ ยกพลโยธามารมาผจญพระพุทธองค์ พระพุทธองค์มิได้ทรงหวั่นไหวพระทัย ทรงเสี่ยงพระบารมี 10 ทัศที่ได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นเครื่องคุ้มครอง และอ้างพระธรณีเป็นพยานในการบำเพ็ญบารมีของพระองค์แต่อดีตกาลมา พระธรณีจึงสำแดงร่างเป็นนารีปรากฏขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ แล้วบีบมวยผมมีน้ำหลั่งไหลออกมาท่วมพระยามารวัสวดีกับหมู่โยธาพ่ายแพ้ ยอมนอบน้อมแก่พระพุทธเจ้า
เรื่อง นี้ถ้ากล่าวโดยธัมมาธิษฐาน (คือกล่าวตามสภาวะ) ก็มีความหมายว่า พระพุทธเจ้ามีชัยชนะแก่กิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระโพธิญาณแล้ว เสด็จอยู่ ณ ภายต้นไม้มหาโพธิ์เสวยวิมุตติสุข (สุขเกิดแต่ความพ้นจากกิเลสาสวะ)เป็นเวลา 7 วัน





พระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำเป็นรูป พระนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลาพระหัตถ์ขวา วางคว่ำลงที่พระชานุ (เข่า) นิ้วชี้พระธรณี ที่ฐานถ้ามีรูปประกอบมักทำเป็นรูปยักษ์มาร และพระนางธรณีบีบมวยผม พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นปางสำคัญยิ่งกว่าปางอื่นๆ เพราะแสดงถึงการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงถือเป็นคติมาแต่โบราณ นิยมสร้างพระปางนี้เป็นพระประธานตามวัดต่างๆทั่วไป บางวัดที่มีจิตรกรรมฝาผนัง ก็จะวาดภาพเป็นพุทธประวัติตอนนี้ด้วยเช่นกัน













โปรดสังเกตุว่าปางมารวิชัย ทั้งของอินเดียและพม่า จะเน้นสร้างให้นิ้วพระหัตถ์จรดลงที่พื้นอย่างชัดเจน


TraveLArounD



ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1200 กว่าเรื่องแล้ว

ส่วนท่านที่ชอบเพลง background ผมได้รวบรวมเพลงไพเราะ เพลงรัก romantic และเพลงซึ้งๆ ที่หาฟังได้ยากในสมัยนี้ ไว้หลายชุด สนใจ email ติดต่อมาได้ครับที่ nana_sara1000@ymail.com

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส



Create Date : 09 มีนาคม 2552
Last Update : 15 กันยายน 2553 22:55:58 น. 11 comments
Counter : 14547 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ เคยหาอ่านอยู่เหมือนกันแต่หาไม่ได้


โดย: tonpor (kosak ) วันที่: 9 มีนาคม 2552 เวลา:18:02:59 น.  

 
ผมก็เริ่มจากการสะสมก่อนครับ
สะสมไปพักหนึ่ง ก็สงสัย
เพราะปางพระพุทธรูป มีเยอะมากที่ไม่รู้จัก
เลยเริ่มศึกษาและค้นคว้ามาหลายปี
สรุปมาได้ 100 กว่าปาง
ก็มาเผยแพร่ความรู้กัน
แต่ก็ยังไม่หมดครับ
ยังมีอีกหลายปาง ที่ยังหาคำตอบอยู่


โดย: TraveLAround (travelaround ) วันที่: 10 มีนาคม 2552 เวลา:14:12:51 น.  

 
ไม่ทราบหาซื้อหนังสือพระพุทธรูปปางต่างๆได้ที่ใหนครับ mail ผม komwut_kana@hotmail.com thanks alot


โดย: นัท IP: 125.24.147.44 วันที่: 1 มิถุนายน 2552 เวลา:12:57:13 น.  

 
ไม่ทราบหาซื้อหนังสือพระพุทธรูปปางต่างๆได้ที่ใหนครับ mail ผม komwut_kana@hotmail.com thanks alot


โดย: นัท IP: 125.24.147.44 วันที่: 1 มิถุนายน 2552 เวลา:12:57:19 น.  

 
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ได้ความรู้จริง ๆ ซะที
หาคนรู้จริงยากมาก
หาคำตอบมาตั้งนาน ที่หา ๆ มาก็
พูดไม่เหมือนกันซักคน พูดกันมั่วไปหมด


โดย: adchara IP: 58.8.100.112 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:20:48:54 น.  

 
ขอบพระคุณมากค่ะที่ให้ความรู้


โดย: ต่อ IP: 124.120.12.169 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:24:41 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้


โดย: เก่ง IP: 10.166.125.67, 58.64.29.58 วันที่: 3 สิงหาคม 2553 เวลา:14:45:51 น.  

 
ขอบคุณมากๆคับที่ให้ความรู้คับ



มีงานส่งครูแล้วขอบคุณมากๆคับ








โดย: ไบร์ท IP: 118.172.102.83 วันที่: 15 กันยายน 2553 เวลา:17:16:56 น.  

 
สุดยอด ขอบคุณ


โดย: บุญชัย IP: 192.168.0.42, 61.19.229.222 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:09:26 น.  

 
ขอบคุณนะครับ เป็นประโยชน์มากๆ

กับบุคคลที่สนใจเรื่องราวพระพุทธศาสนา


โดย: pon IP: 110.49.225.155 วันที่: 25 พฤษภาคม 2554 เวลา:18:28:01 น.  

 
ขออนุญาตนำรูปภาพบางรูปและบางข้อความ ไปนำเสนอเป็นคลิปสั้นๆเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางศาสนาด้วยนะคะขอบคุณมากค่ะ


โดย: สนธยา IP: 159.192.177.220 วันที่: 3 สิงหาคม 2566 เวลา:12:40:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.