"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
พระพุทธรูปปาง ทรงเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์

ทรงเห็นสาวสนม นอนระเกะระกะ ระอาพระทัย ใคร่ผนวช

ตื่นบรรทมกลางดึกเห็นสาวสนมกรมใน นอนระเกะระกะ
ทรงระอาพระทัย ใคร่ผนวช

ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่แล้ว ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่าจะเสด็จออกบรรพชาเป็นต้นมา แม้ว่าภายหลังจากนั้นจะทรงเกิดบ่วงขึ้นในพระทัย คือ ทรงมีพระโอรส และมีความรัก แต่ความที่ตั้งพระทัยไว้ว่าจะเสด็จออกบวชก็ไม่เปลี่ยนแปลง

ในคืนวันเสด็จกลับจากพระราชอุทยาน ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ตอนหนึ่งว่า "…วันนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ มีพระทัยยินดียิ่งนักในบรรพชา กอปรด้วยพระปัญญาเป็นปราชญ์อันประเสริฐปราศจากอาลัยในเบญจกามคุณ มิได้ยินดีในการขับฟ้อนของนางสนมทั้งหลาย หรือเป็นที่เจริญหฤทัยไม่ แต่กลับหยั่งลงสู่นิทรารมณ์ ประมาณมุหุตหนึ่ง…" (มุหุตหนึ่ง คือ ครู่หนึ่ง)





เจ้าชายประทับ ดูบรรดานางบำเรอฟ้อนรำขับร้อง

ภายในปราสาทที่เจ้าชายประทับอยู่ สว่างรุ่งเรืองด้วยประทีปโคมไฟ ที่ตามด้วยน้ำมันหอมส่งสว่างขจ่างจับแสงแก้วแสงทอง… บรรดานางบำเรอฟ้อนรำขับร้องที่อยู่เฝ้า เมื่อเห็นเจ้าชายบรรทมหลับแล้วต่างก็เอนกายลงนอนทับเครื่องดนตรี
ครู่หนึ่ง เมื่อเจ้าชายตื่นบรรทมแล้ว ก็ทรงเห็นอาการวิปลาสของนางบำเรอ ที่นอนหลับไม่สำรวม ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ว่า "แลนางบางจำพวกก็นอนกลิ้งเกลือก มีเขฬะ (น้ำลาย) อันหลั่งไหล นางบางเหล่าก็นอนกรนสำเนียงดังเสียงกา นางบางหมู่ก็นอนเคี้ยวทนต์ นางบางพวกก็นอนละเมอเพ้อฝันจำนรรจาด่างๆ บางหมู่ก็นอนโอษฐ์อ้าอาการวิปลาส บางเหล่านางก็นอนมีกายเปลือยปราศจากวัตถา สำแดงที่สัมพาธฐานให้ปรากฏ…"



เจ้าชายทรงบรรทมหลับ ขณะที่บรรดานางบำเรอฟ้อนรำขับร้อง




เมื่อเจ้าชายตื่นบรรทมแล้ว ก็ทรงเห็นอาการวิปลาสของนางบำเรอ ในอาการต่างๆ


เจ้าชายเสด็จจากพระแท่นที่บรรทม เสด็จลุกขึ้นทอดพระเนตรภายในปราสาทที่ประทับ แม้จะสว่างรุ่งเรืองด้วยดวงประทีป และงามตระการด้วยเครื่องประดับ แต่ทรงเห็นเป็นที่มืด และทรงเห็นเป็นดุจป่าช้าผีดิบ สิ่งที่มีชีวิตที่ยังหายใจได้ที่กำลังนอนระเนระนาด ปราศจากอาการสำรวม คือ นางบำเรอปรากฏแก่พระองค์เป็นซากศพผีดิบในสุสาน จึงออกพระโอษฐ์ลำพังพระองค์ว่า "อาตมาจะออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ในสมัยราตรีนี้" แล้วเสด็จไปยังพระทวารปราสาท และตรัสเรียกมหาดเล็กเฝ้าพระทวารว่า "ใครอยู่ที่นั่น"




ทรงรับสั่งให้นายฉันนะเตรียมม้า


พอสิ้นพระดำรัสถามของเจ้าชายสิทธัตถะ ก็มีเสียงทูลขานรับ โดยนาย"ฉันนะ" นายฉันนะ คือ มหาดเล็กคนสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะและเป็น สหชาติ คือ เกิดวันเดียวกับเจ้าชายด้วย





ถ้าจะอุปมา เรื่องราวของพระพุทธเจ้าเป็นดุจบทละคร นายฉันนะก็เป็นตัวละครที่สำคัญคนหนึ่งในเรื่อง ความสำคัญนั้น คือ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า อีกอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ เมื่อภายหลังเจ้าชายได้เสด็จออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว นายฉันนะได้โดยเสด็จออกบวชด้วย พระฉันนะกลายเป็นพระหัวแข็ง ใครว่ากล่าวไม่ได้นอกจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวเพราะพระฉันนะถือตัวว่าเป็นข้าเก่า เขาใช้สรรพนามเรียกเจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้าติดปากมาจนกระทั่งบวชเป็นพระอยู่คำเดียวว่า "พระลูกเจ้า"

ในตอนที่กล่าวนี้ นายฉันนะนอนอยู่ที่ภายนอกห้องพระบรรทมของเจ้าชาย ศีรษะหนุนกับธรณีพระทวาร เมื่อเจ้าชายรับสั่งให้ไปเตรียมผูกม้า นายฉันนะก็รับพระบัญชารีบลงไปที่โรงม้า





เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา เป็นนิมิตอำลาผนวช

เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิท
เป็นนิมิตอำลาผนวช


ส่วนเจ้าชายผู้ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่แล้ว ว่าจะเสด็จออกบวช ได้ทรงเสด็จไปยังห้องพระบรรทมของพระนางพิมพายโสธราผู้ชายาก่อน เมื่อเสด็จไปถึง ทรงเผยบานพระทวารออก ทรงเห็นพระชายากำลังหลับสนิท พระนางทอดพระกรไว้เหนือเศียรราหุล โอรสผู้เพิ่งประสูติ พระองค์ทรงเกิดความเสน่หาอาลัยในพระชายาและพระโอรส ที่เพิ่งได้ทอดพระเนตรเห็นเป็นครั้งแรกอย่างหนัก ทรงหมายพระทัยว่า "จะทรงยกพระหัตถ์นางผู้ชนนี จะอุ้มเอาองค์โอรส…" ก็ทรงเกรงพระนางจะตื่นบรรทม และจะเป็นอุปสรรคแก่การเสด็จออกบวช จึงข่มพระทัยเสียได้ว่า "อย่าเลย เมื่อได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า จะกลับมาทัศนาการพระพักตร์พระลูกแก้วเมื่อภายหลัง"




แล้วเสด็จออกจากที่นั้น ลงจากปราสาทไปยังที่ที่นายฉันนะเตรียมผูกม้าไว้เรียบร้อยแล้ว





ทรงเสด็จหนีพิมพา

นับแต่วันที่พระโอรสราหุลประสูติแล้วเป็นต้นมา พระเจ้าสุทโธทนทรงวางพระทัย รู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องกักขังปิดบังเรื่องของโลกด้วยสิ่งบันเทิงเริงรื่นอีกต่อไป ทรงอนุญาตให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกนอกวังได้ตามใจปรารถนา แต่เจ้าชายก็ยังมิได้รู้สึกเป็นสุขหรือสบายพระทัย กลับทรงเคร่งขรึมและคิดหนักกว่าที่เคย พระบิดาทรงสังเกตุเห็นและพยายามแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ทรงรับสั่งให้จัดหาหญิงระบำและผู้ขับร้องที่ฉลาดที่สุด งามที่สุดมาร้องรำถวายเจ้าชาย ด้วยหวังที่จะให้เจ้าชายเกิดความพอพระทัยและเพลิดเพลินลืมความทุกข์ แรกๆเจ้าชายก็ทรงทอดพระเนตรเพื่อมิให้ขัดเคืองพระทัยของพระบิดา แต่ภายในจิตใจกลับครุ่นคิดอยู่แต่ปัญหาที่ว่า ทำอย่างไรพระองค์และคนทั้งหลายจักหลีกหนีพ้นความแก่ ความเจ็บไข้ และแม้กระทั่งความตายโดยสิ้นเชิง





พระองค์จึงทรงเสด็จออกมาอย่างเงียบๆ และรับสั่งนายฉันนะให้เตรียมม้ากัณฐกะตัวโปรดเพื่อเสด็จทางไกล แล้วจึงทรงเสด็จไปดูพระโอรสและพระชายาที่กำลังบรรทมหลับอยู่ ก่อนที่จะเสด็จออกจากพระตำหนักอย่างเงียบกริบจนไม่มีผู้ใดล่วงรู้ในเหตุการณ์นี้





เสด็จประทับม้าเป็นพาหนะออกบรรพชา

ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะ
เสด็จออกบรรพชา


ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายสิทธัตถะขึ้นทรง เพื่อเสด็จออกบวชครั้งนี้ มีชื่อว่า "กัณฐกะ" เป็นสหชาติ คือ เกิดวันเดียวกับเจ้าชาย ม้ากัณฐกะนั้นสูงใหญ่ มีสีขาวเหมือนม้าทรงของจอมจักรพรรดิ เมื่อเจ้าชายเสด็จเข้าใกล้ม้า ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบหลังกัณฐกะ จากนั้นก็เสด็จขึ้นหลังกัณฐกะ บ่ายพระพักตร์ออกไปทางประตูเมืองที่ชื่อ "พระยาบาลทวาร" โดยมีนายฉันนะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปข้างหลัง วันที่เสด็จออกบวชนั้น หนังสือปฐมสมโพธิบอกว่าเป็นวันเพ็ญเดือน ๘ ท่านว่า "พระจันทร์แจ่มในท่ามกลางคัดนาคลประเทศ (ท้องฟ้า) ปราศจากเมฆ ภายในห้องจักรวาลก็ขาวผ่องโอภาสด้วยนิศากรรังสี" นิศากรรังสี คือ แสงจันทร์ในวันเพ็ญ.





* หนังสือปฐมสมโพธิ อธิบายรายละเอียดของม้า "กัณฐกะ" นี้ไว้ว่า "ยาวตั้งแต่คอจดท้ายมีประมาณ ๑๘ ศอก" แต่ส่วนสูงกี่ศอกไม่ได้บอกไว้ บอกแต่ว่า "โดยสูงก็สมควรกับกายอันยาว" และแจ้งถึงลักษณะอย่างอื่นไว้ว่า "สีขาวบริสุทธิ์ดุจสังข์อันขัดใหม่ ศีรษะนั้นดำดุจสีแห่งกา มีเกศาในขุมประเทศ(หน้า) ขาวผ่องดุจไส้หญ้าปล้องงามสะอาด กอปรด้วยพละกำลังมาก แลยืนประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วมณี" ความที่ว่านั้นเป็นม้าในวรรณคดีที่กวีพรรณนาให้เขื่อง และให้เห็นเป็นม้าพิเศษกว่าม้าสามัญ




พญามารเข้าขัดขวาง

พญามารเข้าขัดขวาง ห้ามออกบรรพชา
ว่าอีก ๗ วันจะได้เสวยสมบัติบรมจักร แต่ไม่ทรงฟัง

ครั้นเจ้าชายเสด็จพ้นพระนครออกมาแล้ว ในเวลาราตรีที่มีแสงจันทร์กระจ่าง ขณะนั้นพญามาร “ วัสวดี ” เมื่อเห็นว่าเจ้าชายทรงสละราชสมบัติ จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ จะล่วงพ้นบ่วงของพญามารซึ่งกั้นขวางไว้ จึงรีบเหาะมาในอากาศ ยกหัตถ์ขึ้นร้องห้ามว่า "ดูกรสิทธัตถะ ท่านอย่ารีบร้อนออกบรรพชา เพราะอีก 7 วันข้างหน้า ทิพยรัตนจักรก็จะปรากฎแก่ท่าน ท่านจะได้เป็นองค์บรมจักรพรรดิ"





เจ้าชายสิทธัตถะจึงตรัสแก่พญามารว่า "เราไม่ต้องการสมบัติแลบรมจักรพรรดิ เพราะแม้สมบัติอำนาจนั้นก็ยังอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ ไม่อาจทำผู้เสวยให้พ้นทุกข์ได้ ท่านจงหลีกทางแก่เราเถิด " พระยามารทูลถามว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านจะเสด็จออกบวชเพื่อประโยชน์อันใด" เจ้าชายจึงตรัสตอบว่า "เพื่อสัพพัญญุตญาณ" พญามารได้ฟังจึงได้ล่าถอยไปพ่ายแพ้แก่ความแน่วแน่พระทัยของพระองค์





สัพพัญญุตญาณตามความหมายในพระดำรัสของเจ้าชาย คือ ความได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ความที่บรรยายมาทั้งหมดนั้น บรรยายตามความในวรรณคดีที่กวีท่านแต่งไว้ในปฐมสมโพธิ และที่พระพุทธโฆษาจารย์รจนาไว้ในอรรถกถาธรรมบท โดยท่านสาธกให้เห็นปุคคลาธิษฐาน ( ปุคคลาธิษฐาน คือ การแปลสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา หรือสัมผัสไม่ได้ด้วยประสาททั้ง ๕ ที่เรียกว่า "นามธรรม" แปลออกมาให้เห็นเป็นฉาก เป็นบุคคล ซึ่งเป็นตัวแสดงในเรื่อง เหมือนนักเขียนนวนิยายที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาทางตัวละคร ถ้าไม่สาธกอย่างนี้คนก็จะไม่เข้าใจ และท้องเรื่องก็จะจืด )

ความในวรรณคดีที่เป็นปุคคลาธิษฐานดังกล่าวข้างต้นนั้น ถ้าว่าถึงเนื้อแท้ก็คือ พอเสด็จออกพ้นประตูเมือง เจ้าชายสิทธัตถะซึ่งทรงอยู่ในภาวะปุถุชน แม้พระทัยหนึ่งจะทรงปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า แต่อีกพระทัยหนึ่งก็ยังทรงห่วงบ้านเมือง

ความที่ทรงห่วงนี้ กวีท่านจำลองออกมาในรูปของพระยามารผู้ขัดขวาง แต่แล้วเจ้าชายก็ทรงเอาชนะเสียได้ จะเรียกว่าชนะพระยามาร หรือ ชนะความห่วงที่เป็นข้าศึกในพระทัยนั้นก็ได้ทั้งนั้น




พระพุทธรูปปาง ทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์





ทรงเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์

เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จทรงอัศวราช โปรดให้นายฉันนะตามเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในเวลาเที่ยงคืนนั้นเอง เมื่อเสด็จออกจากนครไปได้สักพักก็ทรงชักม้าเหลียวหลังกลับประทับนิ่ง ทอดพระเนตรสู่นครกบิลพัสดุ์ในท่ามกลางแสงจันทร์เป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นจึงทรงชักม้าออกไป พระองค์ได้เสด็จเดินทาง 30 โยชน์ (480 กิโลเมตร) ในคืนเดียว ผ่านรัฐถึง 3 รัฐ คือ กบิลพัสดุ์ สาวัตถี และเวสาลี จนกระทั่งลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา แล้วจึงเสด็จลงจากหลังม้าประทับยืนบนหาดทรายอันขาวดุจแผ่นเงิน











จากนั้นทรงใช้พระหัตถ์เปลื้องเครื่องประดับทั้งหมดออกจากพระองค์ ยื่นส่งให้นายฉันนะพร้อมตรัสว่า "นี่ฉันนะจงเอาเครื่องประดับของเราเหล่านี้พร้อมทั้งม้ากัณฐกะกลับไปบ้านเมือง บัดนี้เป็นเวลาที่เราสละโลกแล้ว" และทรงให้นายฉันนะนำกลับไปกราบทูลแจ้งข่าวแก่พระราชบิดาให้ทรงทราบ







นายฉันนะมีความอาลัยรักองค์ผู้เป็นเจ้านาย ถึงร้องไห้กลิ้งเกลือกแทบพระบาทไม่อยากกลับไป แต่ขัดรับสั่งไม่ได้ ด้วยเกรงพระอาญา อีกทั้ง นายฉันนะได้ร้องขอที่จะตามเสด็จไปด้วยอยู่หลายครั้ง แต่ก็มิทรงอนุญาตและตรัสสั่งให้นายฉันนะกลับไปทูลพระบิดาพระมารดาด้วยว่าพระองค์ยังทรงปลอดภัยอยู่ ณ ริมน้ำอโนมาเพื่อแสวงหาหนทางที่จะทำให้คนทั้งปวงประสบชัยชนะอยู่เหนือความเจ็บไข้ทุกข์โศก และความยากแค้นทั้งปวง อยู่เพียงลำพังพระองค์เดียว



เจ้าชาย หรือตั้งแต่นี้เป็นต้นไป หนังสือพุทธประวัติเรียกว่า "พระมหาบุรุษ" ทรงลูบหลังม้าที่กำลังจะจากพระองค์กลับเมือง ม้าน้ำตาไหลอาบหน้า แล้วแลบซิวหาออกเลียพื้นฝ่าพระบาทของพระองค์ผู้เคยทรงเป็นเจ้าของ ทั้งม้าทั้งคน คือ นายฉันนะน้ำตาอาบหน้า ข้ามน้ำกลับมาเมือง แต่พอลับพระเนตรพระมหาบุรุษ ม้ากัณฐกะก็หัวใจแตกออก ๗ ภาค หรือหัวใจวายตาย นายฉันนะจึงปลดเครื่องม้าออก แล้วนำดอกไม้ป่ามาบูชาศพพญาสินธพ แล้วฉันนะก็หอบพระภูษาทรง และเครื่องม้าเดินร้องไห้กลับเมืองคนเดียว.




Create Date : 05 มีนาคม 2552
Last Update : 7 มีนาคม 2552 0:21:28 น. 0 comments
Counter : 2957 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.