"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

เรื่องของชัตเตอร์

เรื่องของชัตเตอร์


ชัตเตอร์ เป็นคำที่เราคุ้นกันดี เมื่อเริ่มเล่นกล้อง หรือถ่ายภาพ แต่บางทีมันก็ทำให้เรางงได้เหมือนกัน เพราะมันมีความหมายและรายละเอียดมากมายพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อกล้องมีการพัฒนาระบบมาถึงระบบดิจิตอล และชัตเตอร์ก็มีความหมายไปในแต่ละระบบไม่เหมือนกัน ผมจะเขียนรวมๆ ให้เห็นภาพที่จะเข้าใจได้ทุกระบบเลยแล้วกัน

ที่มันมีรายละเอียดมากมาย ก็เพราะมันเรียกรวมเอากระบวนการที่กล้องทำงานในการรับแสงเพื่อให้กล้องบันทึกภาพเกือบทั้งหมด และทำงานก็เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ของกล้องหลายส่วนอีกด้วย เริ่มตั้งแต่
1.ชัตเตอร์ คือกลไกอัตโนมัติที่ใช้สำหรับเปิดและปิด ทางที่แสงจะผ่านเข้าไปยังกล้องหรืออุปกรณ์ที่รับภาพ คือฟิลม์ หรือ CCD ดังนั้นการถ่ายภาพแต่ละภาพ เราก็เรียกว่า กดชัตเตอร์ หรือ shutter release แล้วเราก็เรียกปุ่มกด (shutter release) นี้ว่าชัตเตอร์ด้วยเหมือนกัน


2.ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) มีความสำคัญที่จะทำให้ภาพที่เราบันทึก มืดหรือสว่าง เราเรียกเวลาหรือความเร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์นี้ว่า Exposure time เป็นคำที่เกิดมาจากการที่ฟิล์มต้องรับแสง (Exposed) มากน้อยแค่ไหน ที่จะออกมาแล้วพอดี หรือสวย เวลาในการรับแสงของฟิล์ม เขาตั้งมาตรฐานไว้ที่ 1/1 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 1/2000 ซึ่งคิดเป็นเศษส่วนของวินาที ตัวเลขแต่ละลำดับ ก็จะมีความเร็วแตกต่างกัน 1 เท่าตัว ไปเป็นขั้นๆไปตามลำดับ











แต่ตัวเลขที่กล้อง (หรือเลนส์) เขาตัดความยุ่งยากของตัวเลขที่เป็นเศษส่วนลง เอามาแต่ตัวเลขที่เป็นส่วนคือ 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 ดังนั้นความเร็วที่ได้ มันจึงสวนทางกับตัวเลข ตัวเลขที่มีค่าน้อยชัตเตอร์จะเปิดนาน แสงจะเข้าไปในกล้องได้มาก ส่วนตัวเลขที่มีค่ามาก ชัตเตอร์จะเปิดแล้วปิดเร็ว แสงจะเข้าไปในกล้องได้น้อย



ปุ่มเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์ ที่ปัจจุบันกล้องดิจิตอลไม่ใช้แล้ว










เมื่อเราเข้าใจในหลักการทำงานของมันแล้ว การตั้ง Shutter speed ก็จะทำได้ง่ายขึ้น และควรฝึกฝนการตั้ง Shutter speed เองด้วยสำหรับผู้ใช้กล้องดิจิตอล เพราะแม้ว่ากล้องดิจิตอลมันทำให้เราได้ก็จริง ในโหมด AUTO แต่ภาพที่ได้ก็ไม่ใช่จะเป็นภาพที่สวยที่สุด หรือดีที่สุด เพราะภาพที่มีแสงพอดี แสงสวยๆ มันเหมือนงานศิลปะ ที่กล้องระบบดิจิตอลมันไม่เข้าใจ แม้เขาจะออกแบบมาให้วัดแสงได้ละเอียดมากก็ตาม แต่แสงในสภาพที่เราถ่ายภาพ มันมีความหลากหลายกว่านั้น มันมีแหล่งที่มามากกว่า 1 แหล่งและสว่าง มืดไม่เท่ากัน ต้องพยายามสังเกตและจดจำให้ชำนาญ


หรือในบางสถานการณ์ เราก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่มากหรือน้อยกว่าปกติ เช่นในเวลากลางคืน ที่มีแสงน้อย หรือต้องการให้แสงวิ่งเป็นทาง หรือน้ำวิ่งเป็นทาง เราก็ต้องใช้ speed ที่ช้ามากๆ หรือบังคับให้ชัตเตอร์เปิดค้างไว้ตามใจเราอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าเราจะพอใจจึงปล่อยให้มันปิด เช่นการถ่ายภาพไฟบนท้องถนนในเวลากลางคืน หรือถ่ายภาพพลุ ที่เราต้องการบันทึกให้เห็นแสงเดินทางไปเป็นเส้น ยาวตามความพอใจ ซึ่งก็ไม่สามารถไปพึ่งพาระบบ AUTO ได้เช่นกัน กลไกนี้ทำให้เราต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพอีกด้วย


ซึ่งตัวรับแสง หรือฟิล์มรุ่นเก่าๆต้องการเวลาในการรับแสงมาก แต่เมื่อมีการพัฒนาฟิล์มให้รับแสงได้ไวขึ้น ก็มีการพัฒนากล้องให้มี Shutter speed เร็วขึ้น จนมาเป็นดิจิตอล ตัว CCD สามารถรับแสงได้ไวมากขึ้นไปอีก จนสามารถเร่งค่า ISO ไปเป็นหลายพันได้ ขณะที่ฟิล์มมี ISO แค่ 100 , 200 และ 400 เกรนของภาพก็แตกแล้ว และเมื่อมีการพัฒนากล้องดิจิตอล Shutter speed ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นขั้นๆเหมือนเดิม เพราะมันสามารถทำงานได้ละเอียดกว่านั้นเยอะ และตัวเลข Shutter speed ก็สามารถตั้งได้ด้วยตัวเอง


3.ตัวชัตเตอร์ที่เลนส์ (Central shutters) หรือชัตเตอร์ระหว่างเลนส์ (Between – lens shutter) เราเรียกว่า ชัตเตอร์แผ่น (Leaf shutter) ทำด้วยโลหะซ้อนกันเป็นกลีบ ติดตั้งอยู่ในกระบอกเลนส์ของกล้อง พัฒนามาตั้งแต่การผลิตเลนส์รุ่นแรกๆที่บางทีก็อยู่หน้าเลนส์ จะใช้กับกล้องขนาดกลางที่ใช้กับฟิล์มขนาด 120 หรือขนาดใหญ่ จำนวนแผ่นหรือกลีบยิ่งมากยิ่งทำให้รูรับแสงกลมมาก (แต่บางคนก็ชอบรูที่ไม่กลมที่ให้เอฟเฟคเป็นแฉกหรือเป็นดาวก็มี) ส่วนจำนวนกลีบมักทำเป็นเลขคี่ เช่น 5 7 9 .... ชัตเตอร์แบบนี้ มีข้อดีคือมันจะทำงานสัมพันธ์ไปกับไฟแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกระดับความเร็วชัตเตอร์









ในยุคแรกๆ กลไกเหล่านี้จะทำงานอยู่ที่เลนส์ทั้งหมด ต่อมาจึงมีการพัฒนา กล้องระบบ SLR ซึ่งสามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ จึงต้องมีชัตเตอร์ปิดที่ฟิล์ม เมื่อถอดเปลี่ยนเลนส์แสงก็จะไม่โดนฟิล์ม



เลนส์รุ่นแรกๆยังไม่เป็น Leaf shutter แต่เป็นแผ่นโลหะเจาะรูหลายๆขนาด มีขนาดแค่ 1 2 3 4 เท่านั้น










เซียนกล้องหลายๆคนยังพิสมัยเลนส์เก่าๆอยู่ ก็ยังเอามาใช้ได้










แต่ในกล้อง SLR ที่เป็น medium format ก็ยังคงใช้ Central shutters ที่ตัวเลนส์อยู่ และเมื่อจะต้องเปลี่ยนเลนส์ จะมีแผ่นสไลด์มาบังปิดหน้าฟิล์มเพื่อกันแสงเวลาที่ยังไม่ถ่ายรูป หรือจะเปลี่ยนฟิล์ม

เมื่อเรารู้จัก Shutter กันมากขึ้นแล้ว รู้จักการปรับ Shutter ทั้งที่รูรับแสง และ speed แล้ว ดังนั้น เมื่อเราต้องการปริมาณแสงมากน้อยแค่ไหน จะมากขึ้นหรือน้อยลงกี่ stop ก็ทำให้เราสามารถเล่นกับกล้องได้ทั้ง 2 ที่ แล้วแต่ว่าภาพที่จะถ่ายจะมีลักษณะอย่างไร



4.ชัตเตอร์ระนาบโฟกัส (Focal – plane shutter) คือชัตเตอร์ที่อยู่ในตัวกล้อง ปิดอยู่หน้าฟิล์ม มี 2 ประเภทคือ มีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง ทำหน้าที่เปิด – ปิดกั้นแสง ส่วนใหญ่มักใช้ในกล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว


ชัตเตอร์แนวนอน มักจะเป็นแผ่นผ้าสีดำบางๆ เลื่อนเปิด-ปิดในแนวนอน ชัตเตอร์แบบนี้จะมีข้อเสียหลายอย่าง คือความเร็วการเลื่อนช้า สามารถทำงานกับแฟลชได้แค่ 1/60 วินาที เท่านั้น และตัวผ้าก็ยังไม่ค่อยทนทาน การใช้งานมากๆก็เสียหายได้ และถ้าโดนแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง ก็มีโอกาสเสียหายได้เช่นกัน










ชัตเตอร์แนวตั้ง จะเห็นเป็นแผ่นโลหะ ที่ซ้อนกันในแนวนอน (ส่วนประกอบเกี่ยวกับกล้องนี่หลายอย่างที่เรียกสลับกัน ทำให้เราสับสนอยู่เรื่อย) เวลาทำงานมันจะเลื่อนพับขึ้นไปในแนวตั้ง ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วกว่าชัตเตอร์แนวนอน ชัตเตอร์ที่เปิด – ปิดในแนวตั้งจะสัมพันธ์กับแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ ที่ความเร็วสูงสุดได้ถึง 1/250 วินาที











5. ชัตเตอร์อิเลคโทรนิค (Electronic shutter) ใช้กับกล้องดิจิตอล มีหน้าที่เปิด-ปิดตัว sensor เท่านั้น จะไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนระบบแมคคานิค







เรื่องของชัตเตอร์ หลักๆที่สำคัญ ก็จะมีเพียงเท่านี้ครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆของ Shutter ยังมีอีกหลายชนิดแล้วแต่กล้องแต่ละยี่ห้อเขาจะออกแบบให้มีความพิเศษซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่ก็มีน้อยมากไม่ค่อยสำคัญหรือไม่นิยมในกล้องทั่วไปซึ่งไม่จำเป็นต่อการถ่ายภาพแล้วครับ ที่สำคัญที่น่าจะเรียนรู้กันต่อ คือเรื่องของการปรับ speed Shutter ที่จะว่ากันในตอนต่อไปครับ


TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส




 

Create Date : 29 มกราคม 2555    
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2555 18:28:39 น.
Counter : 4570 Pageviews.  

เทคนิคการถ่ายภาพเรือ

นอกจากทะเลกับท้องฟ้าแล้ว เรือก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ที่พวกเราชอบถ่ายกัน ในตอนนี้ผมรวบรวมภาพเรือสวยๆจาก internet มาให้ชมกัน และก็มาแนะนำการถ่ายภาพเรือ ให้สวยและสนุกด้วย


การถ่ายภาพเรือนั้น มีข้อแนะนำหลักๆ ดังนี้

1. การใช้ภาพเรือเป็นองค์ประกอบเสริมในภาพ คือภาพที่เราเน้น ทะเลหรือท้องฟ้า หรือเมฆ เป็นหลัก แต่จะมีองค์ประกอบอื่นๆเสริม เช่นเรือ ต้นไม้ ชายฝั่ง ดวงอาทิตย์ เป็นต้น ภาพแบบนี้ เรือจะไม่เด่นเป็นพระเอก แต่เสริมให้ภาพ มีเนื้อหา เรื่องราว หรือ สร้างสมดุลให้กับภาพ




















2. การเน้นถ่ายเรือ เป็นองค์ประกอบหลัก หรือจุดสนใจของภาพ เรือก็จะมีขนาดใหญ่และเด่นชัด ซึ่งก็ยังมีลักษณะการถ่ายได้หลายลักษณะ เช่น

2.1 ถ่ายลำเรือ ที่จอดอยู่ริมหาด หรือริมตลิ่ง ส่วนใหญ่จะถ่ายแบบลำเดียวโดดๆ เราสามารถ จัดองค์ประกอบภาพได้หลากหลาย โดยหาสมดุลของภาพจากสภาพแวดล้อม เช่น ต้นไม้ กอหญ้า โขดหิน หรือแม้แต่เงาสะท้อน ฯลฯ แล้วจึงเลือกว่าจะจัดสมดุลอย่างไร ให้เรืออยู่ซ้าย ขวา หรือกลาง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ เราจะต้องถ่ายให้เห็นรายละเอียดของเรือลำนี้มากหน่อย เช่นสีสัน โครงสร้าง พื้นผิว (texture) หรือลักษณะพิเศษของเรือลำนั้น




























2.2 การถ่ายลำเรือในทะเล จะถ่ายแบบเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็ได้ โดยการถ่ายแบบนี้ ยังมีลูกเล่นได้ 2 อย่างคือ

2.2.1 ถ่ายแบบแสงปกติ เห็นเรือและรายละเอียดตามลักษณะที่แสงส่อง










2.2.2 หรือถ่ายแบบย้อนแสง ที่สวยๆก็มักจะเล่นแบบเงาดำ ( silhouette) ซึ่งถ้าจะให้สวยเราจะต้องเลือกเรือมีที่รายละเอียดมากๆหน่อย เช่น เรือใบ เรือประมง จะทำให้ภาพน่าสนใจมากขึ้น






















คนที่ยังไม่เคยถ่ายภาพเรือ เอาแต่ทะเลเป็นหลัก ลองมองหาเรือถ่ายบ้าง ส่วนคนที่ถ่ายเรือมาแล้ว ก็ยังกลับไปหามุมมองใหม่ๆถ่ายได้อีก น่าจะทำให้สนุกกับการถ่ายภาพได้มากขึ้นนะครับ


TraveLArounD





ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส




 

Create Date : 18 มกราคม 2555    
Last Update : 18 มกราคม 2555 19:25:58 น.
Counter : 7901 Pageviews.  

วิวัฒนาการของกล้องและการถ่ายภาพ ตอนที่ 8 : Press cameras

วิวัฒนาการของกล้องและการถ่ายภาพ ตอนที่ 8 : Press cameras



ข้อดีของกล้องชนิดนี้ คือ จะไม่เกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) และยังสามารถมองเห็นภาพที่ช่องมองได้อย่างดี เพราะที่มองมีขนาดใหญ่ ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพที่จะบันทึกนั้นได้ดี เนื่องจากมีกระจกขยายอันเป็นส่วนประกอบในช่องมองภาพ






















นอกจากนั้นยังสามารถปรับมุมของภาพได้ตามต้องการ เพราะตัวกระโปรงมันยืดหยุ่นได้ กลไกของกล้องออกแบบให้ปรับเลนส์แผ่นหน้า และตัวฟิล์มแผ่นหลังได้อย่างอิสระ ทั้งขึ้นลง บิดคว่ำหงายได้ เรียกว่าทั้ง Shift และ Tilt ได้อย่างอิสระเลยทีเดียว

























อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ คือ ภาพที่เกิดขึ้นที่ช่องมองภาพนั้นจะมีลักษณะหัวกลับและกลับซ้ายขวา เพราะไม่มีกระจก prism สะท้อนกลับภาพ












สำหรับกล้อง Large format ยังมีกล้องอีกประเภทหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างอื่น และใช้งานได้สะดวก จนได้รับความนิยมจากผู้ใช้กลุ่มนักข่าว (ในต่างประเทศ) จนเรียกว่าเป็น Press camera ส่วนในประเทศไทยไม่เห็นใช้กันนะครับ เท่าที่เห็นช่างภาพรุ่นก่อนของเราเขาจะใช้ TLR มากกว่า























Press cameras เป็น view camera ที่พัฒนาให้การใช้งานสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีขนาดเล็กกว่าชนิดอื่น และสร้างด้วยโลหะเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีน้ำหนักเบา การเก็บการใช้สะดวกรวดเร็ว ทันใจนักข่าวสมัยนั้น ที่เป็นทั้งนักข่าวและตากล้อง ไม่ได้แยกหน้าที่เหมือนกับสมัยนี้ ที่นักข่าวก็หาข่าวและรายงานข่าวโดยต้องมีตากล้องเป็นทีมงานไปเป็นคู่หู Press cameras จะมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้ถ่ายภาพง่ายขึ้น เร็วขึ้นกว่าชนิดอื่น เช่นจะมี อุปกรณ์ rangefinder หรือ viewfinder เพิ่มเติมด้วย ที่สำคัญ ไม่ต้องใช้ผ้าดำคลุมเพื่อหาโฟกัสแบบชนิดอื่น












แต่ผู้ที่รักการถ่ายภาพ ก็ยังพิสมัยการถ่ายภาพแบบนี้อยู่ เพราะเห็นมีการซื้อขายกล้องแบบนี้อยู่เรื่อยๆ แม้กระทั่งนักท่องเที่ยวที่พกกล้องแบบนี้ถ่ายภาพ ก็ยังเห็นได้เช่นกัน












ยุคหลังๆก็มีการประดิษฐ์ตัว magazine หรือ adapter เพื่อให้ใช้ฟิล์มแบบม้วน หรือ polaloid ได้ง่ายขึ้น














จนปัจจุบัน กล้อง View camera ก็ไม่ได้น้อยหน้ากล้องระบบอื่น เพราะมีการพัฒนาและดัดแปลงให้เล่นเป็น digital ได้เช่นกัน คุณภาพก็น่าจะดีกว่ากล้องชนิดอื่นเสียด้วยซ้ำ ก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวละครับ ว่าใครจะเลือกใช้กล้องแบบไหน ในการทำงานหรือเล่นเป็นงานอดิเรก


TraveLArounD





ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส




 

Create Date : 16 ธันวาคม 2554    
Last Update : 16 ธันวาคม 2554 22:51:05 น.
Counter : 7404 Pageviews.  

วิวัฒนาการของกล้องและการถ่ายภาพ ตอนที่ 7 : กล้องใหญ่ (Studio Camera)

วิวัฒนาการของกล้องและการถ่ายภาพ ตอนที่ 7 : กล้องใหญ่ (Studio Camera)


ตอนที่แล้วกล่าวพาดพิงถึงเรื่อง Large format ไว้หน่อย เลยขอต่อเรื่องนี้เลยนะครับ

กล้องใหญ่ (Studio Camera : เรียกตามการใช้งาน) หรือบางครั้งเรียกว่ากล้องวิว (View Camera : เรียกตามระบบการทำงาน) เป็นกล้องที่มีระบบการทำงานที่ประดิษฐ์มาตั้งแต่เริ่มแรกการคิดการบันทึกภาพเลย เป็นกล้องที่นิยมใช้ตามร้านถ่ายรูปแบบธุรกิจที่มีมานานสี่ห้าสิบปีมาแล้ว และก็ถูกละเลยหรือถูกนวัตกรรมใหม่ๆ มาทดแทนจนแทบสูญพันธ์ ยกเว้นสำหรับผู้ที่รักการถ่ายภาพแบบเฉพาะทางเท่านั้นที่ยังมีใช้กันอยู่














กล้องชนิดนี้มีขนาดใหญ่โต มีน้ำหนักมาก มีขั้นตอนการถ่ายที่ยุ่งยากเสียเวลา แม้ช่างภาพอาชีพเองก็ยังต้องหากล้องที่ทำงานได้สะดวกกว่า เร็วกว่า แต่คุณภาพเทียบเท่ามาทำงานแทน กล้องพวกนี้จึงกลายเป็นวัตถุโบราณไปโดยปริยาย ยิ่งถ้าจะนำไปใช้ภายนอก studio ยิ่งเป็นเรื่องยากทั้งขนาดและวิธีการถ่าย จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งานภายนอกห้องถ่ายรูป หรือ studio












ในการใช้กล้องนี้ จำเป็นต้องมีขาตั้งทั้งแบบใหญ่ๆและ Tripod ที่แข็งแรงรองรับตัวกล้อง ส่วนตัวกล้องยังเป็นการทำงานแบบโบราณ อาศัยหลักการและส่วนประกอบแบบโบราณเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดคือตัว “กระโปรง” ที่ทำหน้าที่เป็นห้องมืด การทำงานอาศัยกลไกทั้งหมดอยู่ที่เลนส์ตัวหน้า ด้านหลังเป็นกระจกฝ้ารับภาพเพื่อจัด composition และ focus และภาพที่เป็นบนกระจกผ้ารับภาพจะไม่ชัดเจน ผู้ถ่ายรูปต้องใช้ผ้าสีดำคลุมข้างหลังกล้องบนช่องมองภาพและคลุมศีรษะผู้ใช้ เพื่อให้สามารถมองภาพได้ชัดเจนในขณะปรับความคมชัด เมื่อได้ที่แล้ว จึงใส่ฟิล์มลงไปก่อนจะลั่นชัตเตอร์






















ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้เป็นฟิล์มแผ่นมีขนาดต่างๆ ตามขนาดของกล้อง เช่น 2 x 3นิ้ว 5 x 7 นิ้ว 8 x 10 นิ้ว และ 11 x 14 นิ้ว เมื่อถ่ายรูปเสร็จสามารถถอดฟิล์มออกได้ทันที เพราะเป็นแผ่นเดี่ยวๆไม่ได้เป็นม้วน











กล้อง View Camera สมัยแรกๆ จะเป็นกล่องไม้ และมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนรุ่นหลังๆจะเป็นแบบรางเดี่ยว แต่การทำงานยังคงเหมือนเดิม ส่วน Studio Camera อาจไม่มีการพัฒนารูปแบบนัก ระบบต่างๆไม่เปลี่ยนแปลงมากจากรุ่นแรก จะเปลี่ยนที่รูปลักษณ์ของการ design มากกว่า กล้อง View Camera แบ่งได้เป็น3 ชนิดคือ

Field camera เป็น view camera รุ่นแรกๆ มักทำด้วยไม้ ยึดติดบนรางเลื่อนและขาตั้งด้วยในตัว การเก็บและเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ จึงทำได้ง่าย จึงเรียกตามการใช้งานว่า Field camera























Monorail camera เป็นกล้องที่ส่วนประกอบทุกส่วน ตั้งอยู่บนรางเดี่ยวที่มีร่องและรางให้ส่วนหน้าและส่วนหลัง เลื่อนไปมาได้อย่างคล่องตัว แต่จะต้องมีกระเป๋าใส่เพื่อการเคลื่อนย้าย














เรื่อง View Cameraยังไม่จบนะครับ ขอตัดไปต่ออีกตอนครับ


TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2554    
Last Update : 14 ธันวาคม 2554 22:33:27 น.
Counter : 5018 Pageviews.  

วิวัฒนาการของกล้องและการถ่ายภาพ ตอนที่ 6 : กล้อง Medium format

วิวัฒนาการของกล้องและการถ่ายภาพ ตอนที่ 6 : กล้อง Medium format


นอกจากกล้อง SLR ขนาด 35 มม.(24มม.x 36มม.) ที่เป็นที่นิยมกันมากแล้ว กล้อง SLR ยังมีขนาดที่ใช้ฟิลม์ใหญ่ขึ้นอีก เรียกว่าพวก Medium format ที่ใช้ฟิล์มขนาด 120 (ไม่เกิน 4” X 5” ) แต่ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าทำไมฟิลม์เล็กใช้หน่วยเป็นมิล แต่ฟิล์มใหญ่ใช้หน่วยเป็นนิ้ว ส่วนกล้อง Large format จะใช้ฟิลม์ใหญ่กว่า (ใหญ่กว่า 4” X 5” ) ซึ่งขนาด Medium format นี้เองเป็นกล้องที่มีคุณภาพสูง เป็นที่นิยมของช่างภาพอาชีพทั้งหลาย แต่ด้วยขนาดและน้ำหนักของมัน จึงเหมาะที่จะใช้ถ่ายภาพในสตูดิโอเสียมากกว่า



กล้องรุ่นเก่าๆ จะมีหุ่นและระบบเหมือนกล้องขนาด 35 มม.









สมัยก่อนนี้ร้านถ่ายรูป เขาจะมีช่างภาพประจำทุกร้าน ส่วนใหญ่จะใช้ Large format เสียด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นกล้องที่มีขนาดใหญ่ การใช้งานยุ่งยากหลายขั้นตอน ผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนขนาดนี้ได้ เขาจึงนิยมเรียกโดยมีสรรพนามว่าช่างนำหน้า จึงเป็นที่มาของคำว่า ช่างภาพ หรือช่างกล้อง ผมเองตอนเด็กๆแม้จะจำไม่ค่อยได้แล้วว่าเข้าร้านถ่ายรูปยังไง แต่ก็มีรูปถ่ายเก่าๆยืนยันเป็นอย่างดี ร้านถ่ายรูปสมัยก่อน ไม่ได้ถ่ายแค่รูปติดบัตรอย่างเดียว แต่ถ่ายแบบโพสท่าสวยงาม และส่วนใหญ่ก็จะมีฉากสวยๆ เช่นวิวทิวทัศน์ต่างๆ


วันเวลาเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยน วัฒนธรรมเปลี่ยน การถ่ายภาพเริ่มเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น ใครมีกล้องก็สามารถถ่ายกันเองได้ ร้านถ่ายรูปก็เริ่มเหลือแต่งานถ่ายรูปติดบัตร (เพราะถ่ายเองไม่ได้) กล้องใหญ่ๆก็ต้องทิ้งให้ฝุ่นจับ












ส่วนกล้อง Medium format นั้น ใช้โดยช่างภาพอีกประเภทหนึ่ง จึงไม่ได้เสื่อมไปตามกลาเวลา เป็นช่างภาพอาชีพที่รับจ้างถ่าย เช่นถ่ายภาพแฟชั่น ถ่ายภาพโฆษณา ฯลฯ ที่ต้องการคุณภาพของภาพสูงมากเพื่อไปใช้ในทางพาณิชย์ เช่น ลงตีพิมพ์ในหนังสือ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ๆ ภาพต้องคมชัดมาก การขยายภาพก็ต้องใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ ซึ่งก็มีกล้อง Medium format นี่แหละที่รองรับได้อย่างเหมาะเจาะ











กล้อง Medium format ส่วนใหญ่ก็จะเป็น system camera คือชิ้นส่วนต่างๆสามารถแยกส่วนและมีอุปกรณ์หลากหลาย ที่เปลี่ยนใช้ทดแทนกันได้อย่างสะดวก เช่นเลนส์ระยะต่างๆ , camera back (magazine) สำหรับใส่ฟิล์ม ที่ต้องมีหลายอัน เพราะฟิลม์มีหลายประเภท ทั้งฟิล์มสี ขาวดำ และสไลด์ (แล้วแต่การใช้งาน ไม่เหมือนกล้องดิจิตอล ถ่ายมันอย่างเดียว แล้วไปปรับเปลี่ยนในคอมฯ) เวลาถ่ายไม่หมดม้วน ก็สามารถถอดเปลี่ยนใช้ได้ทันที , มีหัวกระโหลก view finder แบบต่างๆ เป็นต้น










ฟิล์มมาตรฐานของกล้อง medium format คือ 120 (คือขนาด 6 x 6 ซม.) ซึ่งเป็น format จตุรัส แต่ก็ยังมีขนาด 220 และ 645 (6x 4.5) ที่เล็กลงและเป็น format ผืนผ้า ข้อเสียของกล้อง medium format เมื่อใช้ฟิล์ม 120 ก็จะถ่ายได้ 12 ภาพ ทำให้ต้องเปลี่ยนฟิล์มบ่อยๆ ทำให้ยุ่งยากและเสียเวลามาก ต่างกับกล้อง 35 มม.ที่ถ่ายได้ 36 ภาพ กล้อง medium format จึงมี magazine ใส่ฟิลม์ที่แยกส่วนได้ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น











เป็นที่น่าสังเกตอีกเรื่องหนึ่งคือ กล้อง medium format มักจะเป็นกล้องระบบ manual ขณะที่กล้องเล็กๆ แบบกล้อง compact มีระบบ autofocus มาตั้งแต่ปี 1977 แต่ medium format เพิ่งจะมีใช้กันเมื่อปี 1990 คงเพราะตลาด หรือผู้ใช้ที่เป็นมืออาชีพไม่ต้องการให้กล้องถ่ายภาพทำงานให้แทน เพราะภาพที่ต้องการความสวยงามหรือศิลปชั้นสูงนั้น ต้องมีความพิถีพิถันในการปรับค่าต่างๆ ที่ระบบ autofocus มันไม่ยืดหยุ่นดีพอนั่นเอง














กล้องขนาด 6 x 7








กล้องขนาด 6 x 12



นอกจากขนาดที่ใหญ่แล้ว ความที่กล้อง medium format มีคุณภาพสูงนี่เอง ราคามันก็เลยสูงตามไปด้วยโดยเฉพาะที่เป็นสุดยอดกล้องที่มือโปรต้องใช้ คือ Hasselblad ที่มีราคาตัวละหลายแสนบาท ส่วนกล้องค่ายญี่ปุ่นจะมีราคาที่จับต้องได้หน่อย ทั้งชุดไม่เกินแสนก็ซื้อได้แล้ว




สำหรับผู้ที่อยากลองเล่นกล้อง medium format ดูบ้าง ช่วงเวลานี้นับเป็นโอกาสที่ดี เพราะกล้องฟิล์มมือสองราคาค่อนข้างถูก Hasselblad ที่มีสภาพดีๆ ก็ยังถูกกว่ากล้องดิจิตอล spec สูงๆ เพียง 2-3 หมื่นก็หาซื้อได้แล้ว


TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส




 

Create Date : 03 ธันวาคม 2554    
Last Update : 4 ธันวาคม 2554 0:16:08 น.
Counter : 6664 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.