"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

เอกสารโบราณเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน



หลายวันก่อนไปเดินดูของเก่า แล้วเจอเอกสารโบราณเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน เลยซื้อมาดูเล่น น่าสนใจศึกษาพอสมควร เลยเอามาให้ดูกันครับ

เอกสารเกี่ยวกับที่ดินต่างๆ (แต่ไม่ยักมีโฉนดที่ดินมาด้วย ไม่งั้นรวยที่ดินไปแล้ว) เช่น สัญญาซื้อขายที่ , แบ่งขายที่ , มอบฉันทะ , จำนอง , ขอรับมรดก ฯลฯ เป็นเอกสารที่มีอายุกว่า 100 ปี ส่วนใหญ่เป็นการทำนิติกรรม ที่อยู่ในเขตจังหวัดอยุธยาทั้งสิ้น




มาดูแผ่นแรกกันก่อนครับ

หนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดิน









มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
1. ทำตั้งแต่วันที่ 5 ตุลา 2468 ที่ ที่ดินจังหวัดอยุธยาฯ
2. ผู้ซื้อ ผู้ขาย จะใช้ว่า “บังคับสยาม” ไม่ใช่สัญชาติไทย
3. การซื้อขายไม่ระบุขนาดที่ดิน แต่จะเขียนว่า “ทั้งแปลง หรือเฉพาะตอน”
4. ด้านหลังก็ไม่มีผังที่ดินด้วยเช่นกัน จึงคงเป็นการครอบครองที่ดินตามสภาพการใช้งาน ณ ขณะนั้น
5. การรับรองเอกสาร เขียนว่า “ลงชื่อฤาลายมือ” ซึ่งหมายถึง ลายนิ้วมือ นั่นเอง ซึ่งในเอกสาร ก็มีแต่การพิมพ์มือ ไม่มีลายเซ็นของใครแต่ประการใด
6. เอกสารทั้งสองหน้าติดแสตมป์ “ฤชากร” ซึ่งเป็นอากรแสตมป์ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ 5


ดูแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่าง จากเอกสารปัจจุบัน ทำให้เรารู้ถึงวิธีการในสมัยก่อนได้พอสมควร

ตอนหน้าจะมาดูฉบับอื่นกันต่อครับ


TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1350 กว่าเรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2554 10:56:44 น.
Counter : 3500 Pageviews.  

อ่านสัญญาก่อนซื้อบ้าน เพื่อ "พิทักษ์สิทธิ์" ของตนเอง

อ่านสัญญาก่อนซื้อบ้าน เพื่อ "พิทักษ์สิทธิ์" ของตนเอง



ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยมากที่เกี่ยวกับการซื้อบ้าน แต่ได้บ้าน มาพร้อมกับปัญหา มีผู้ถามปัญหาหากันมามาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ซื้อ มีความคาดหวังว่าในการซื้อที่อยู่อาศัยว่า สิ่งที่ผู้ขายสัญญาหรือประกาศ จะต้อง "ตรง" กับแผ่นป้ายโฆษณาที่โครงการได้ประกาศไว้ หรือ "ตรง" ตาม "คำบอก" ของพนักงานขายทุกประการ

แต่เมื่อถึงเวลาได้อยู่อาศัยจริงแล้วพบว่า ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ทั้งเรื่องคุณภาพของบ้าน การบริการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่โครงการ ไปจนถึง บริการสาธารณะภายในโครงการ ซึ่งหมายรวมถึง "ทรัพย์สินส่วนกลาง" ต่างๆ ทั้งถนนส่วนกลาง พื้นที่สวนสาธารณะ รั้วบ้าน คลับเฮ้าส์ ฯลฯ ที่ไม่เป็นไปตามที่ได้รับข้อมูลทาง "วาจา" จากพนักงานขายก่อนการตัดสินใจซื้อ จึงกลายเป็น "ปมปัญหา" ที่ลูกบ้านหวังให้ "เจ้าของโครงการ" เร่งแก้ไข ซึ่งในบางปัญหาเป็นข้อตกลงทาง “วาจา” ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง อาจเป็นเรื่องยากต่อการแก้ไข เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ระบุอยู่ใน “สัญญา”

ประเด็นปัญหาระหว่าง "ผู้ซื้อบ้าน" กับ "เจ้าของโครงการ" จึงมีกรณีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแทบรายวัน หากเปิดเข้าไปตามเว็บไซต์ Social Network ต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีเรื่องราว "หลังการขาย" ที่อยู่อาศัย ที่ไม่น่าประทับใจนัก ทั้งโครงการเล็กที่ไม่มีชื่อเสียง หรือโครงการใหญ่ๆที่มีชื่อเสียง ก็ไม่เว้น


การอ่านสัญญาก่อนซื้อขายที่อยู่อาศัย ระหว่าง "ผู้ซื้อบ้าน" กับ "เจ้าของโครงการ" จึงเป็นการ "พิทักษ์สิทธิ์" ของตนเองเพื่อตัดปัญหาในอนาคต

การทำความเข้าใจกับ “สัญญาซื้อขาย” อย่างละเอียดและถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเกือบทุก “ปัญหา” ที่ไม่ได้รับการแก้ไข ล้วนเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในช่วงก่อนซื้อขาย ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการได้รับข้อมูลยืนยันทาง “วาจา” จากพนักงานขาย แต่ไม่ได้ตรวจสอบว่า ไม่มีระบุในสัญญาซื้อขาย และพนักงานขาย ก็ไม่ได้อยู่รับผิดชอบตลอดไป คู่กับเจ้าของโครงการ สิ่งที่พนักงานขายพูด เราก็ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า เป็นข้อมูลจริงของโครงการ หรือข้อมูลที่เจ้าของโครงการบอกให้พูด เพื่อโน้มน้าวคนซื้อ หรือ พนักงานขายพูดเอง เพื่อทำยอดขาย หรือหวังค่าคอมมิสชั่น


การอ่านสัญญา ควรตรวจสอบเรื่องใด

สัญญา ซื้อ-ขาย จะมีข้อความมาตรฐานเช่น
1. ระบุรายละเอียดระหว่าง "ผู้ซื้อ" กับ "ผู้ขาย" หรือ "เจ้าของโครงการ" เป็นหลัก
2. ระบุทรัพย์สินที่จะซื้อขายกัน ว่ามีขนาดเท่าใด เนื้อที่เท่าใด
3. รายละเอียดของพื้นที่ส่วนกลาง และบริการ
4. option เฉพาะโครงการ ว่าจะมีอะไรพิเศษกว่าที่อื่น
5. แผ่นพับโฆษณาแสดงสิ่งที่ผู้ซื้อจะได้รับ เมื่อโครงการเสร็จ
6. แบบแปลนแผนผังบ้านที่เราซื้อ


ปัญหาที่เกิดบ่อยๆ

ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ อาจเกิดทั้งจากความไม่ตั้งใจ ของเจ้าของโครงการ ส่วนใหญ่ ถ้าเป็นโครงการใหญ่ๆที่มีชื่อเสียง เขาก็มักไม่เอาเปรียบลูกค้าในเรื่องต่างๆ ให้เสียชื่อตัวเอง แต่ก็หลีกเลี่ยงปัญหามาตรฐานการก่อสร้างไปไม่ได้ เพราะบ้านแต่ละหลัง ไม่ได้ผ่านมือช่างที่ดีชุดเดียวกันไปหมด โครงการหนึ่งๆ อาจมีผู้รับเหมาช่วงหลายราย บ้านหลังไหนได้ผู้รับเหมาดี ก็โชคดีไป ใครได้ผู้รับเหมาไม่ดี ถ้าโครงการรับผิดชอบดี เขาก็รีบมาซ่อมให้ ไม่ชักช้า งอแง แต่ถ้าคุณโชคร้าย คุณก็จะไม่ได้รับสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด


ปัญหาที่พบบ่อยๆ ถือเป็นปัญหาคลาสสิค เจ้าประจำ ที่ควรพิจารณา ถามถึงอย่างละเอียดรอบคอบ เช่น

1. เรื่องคุณภาพของวัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น ปัญหาไฟช็อต พื้นทรุด ท่อประปาแตก ทำให้ต้องซ่อมแซมต่อเนื่อง แม้ว่าจะเพิ่งซื้อมาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น เราต้องตรวจสอบเรื่อการรับประกัน เช่น รับประกันความเสียหายต่างๆ ให้กับลูกค้าเป็นระยะเวลา 1 ปี รับประกันโครงสร้าง 5 ปี

2. การเปลี่ยนพื้นที่ส่วนกลาง จากสวน หรือ พื้นที่โล่ง ที่ทางโครงการฯ จะใช้เป็นพื้นที่เพื่อกิจกรรมใดๆ เอาไปก่อสร้างโครงการใหม่ เป็นการเอาเปรียบผู้ซื้อโดยเอาทรัพย์ส่วนกลาง (หรือที่หลอกให้เราเข้าใจว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลาง) บางโครงการสิ่งที่เราคิดว่าเป็นส่วนกลาง เช่น คลับเฮ้าส์ แต่โครงการระบุว่าเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของโครงการฯ (ต้องดูให้ดี)

3. การใช้บริการส่วนกลาง เช่นคลับเฮ้าส์ ก่อนการตัดสินใจซื้อพนักงานขายอาจชี้แจงว่า ค่าส่วนกลางในแต่ละเดือน ครอบคลุมบริการส่วนของสระว่ายน้ำในคลับเฮ้าส์ สามารถใช้บริการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต่อมาทางโครงการฯ ได้จัดเก็บค่าใช้จ่ายในส่วนของสระว่ายน้ำต่อการใช้ในแต่ละครั้งเพิ่ม และยังคงจัดเก็บค่าส่วนกลางตามปกติ
4. เสียงและฝุ่นในการก่อสร้าง การขุดเจาะ ความสั่นสะเทือน รบกวนการอยู่อาศัยและพักผ่อนในช่วงวันหยุด บางโครงการขายเฉพาะที่ดิน ผู้ซื้อมาปลูกสร้างเอง ผู้อยู่ก่อนก็ต้องทนรับสภาพดังกล่าวไป แต่ทางโครงการฯ ควรมีระเบียบควบคุมระยะเวลาการดำเนินงานก่อสร้าง เช่น ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น ยันพระอาทิตย์ตก ในช่วงวันจันทร์ – วันศุกร์ ส่วนวันหยุดห้ามเด็ดขาด เป็นต้น



ดังนั้น ผู้ซื้อบ้านทุกราย ควรอ่านสัญญาการซื้อขายอย่างรอบคอบ เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ภายในโครงการ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และยอมรับในข้อตกลงถึงสิทธิที่จะได้รับหรือไม่ได้รับก่อนที่จะเซ็นสัญญา ทั้ง “เจ้าของโครงการ” ควรเขียนสัญญาให้ชัดเจน มีข้อตกลงต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษร และให้พนักงานขายแจ้งว่าจะได้รับสิ่งใดบ้าง สิ่งเหล่านั้นจะต้องมีระบุไว้ในสัญญาด้วยเช่นกัน เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างการอยู่อาศัย โดยเฉพาะการอ่านสัญญาอย่างเข้าใจ

นอกจากนี้ ก่อนรับโอนบ้าน ในขั้นตอนของการตรวจความเรียบร้อย ควรหาผู้เชี่ยวชาญ เช่น วิศวกร หรือสถาปนิกร่วมตรวจรับบ้าน น่าจะดีกว่าการตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจะมองเห็นจุดสำคัญที่จำเป็นต้องตรวจสอบมากกว่า


ทั้งนี้ ก็เพื่อพิทักษ์สิทธิของตัวเองก่อนตัดสินใจจรดปากกา...เซ็นสัญญา...


TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1300 เรื่องแล้ว

ส่วนท่านที่ชอบเพลง background ผมได้รวบรวมเพลงไพเราะ เพลงรัก romantic และเพลงซึ้งๆ ที่หาฟังได้ยากในสมัยนี้ ไว้หลายชุด สนใจ email ติดต่อมาได้ครับที่ nana_sara1000@ymail.com

หลังจากที่ home’s lover club ที่ ning.com ต้องปิดลงไปเพราะเขาคิดค่าใช้จ่าย จึงจำต้องย้ายที่ ตอนนี้ผมเริ่มรวบรวมภาพต่างๆ ที่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน การจัดสวน และที่ยังไม่ได้เอามาเขียน มารวบรวมไว้ที่ facebook ถ้าใครสนใจก็เข้าไปดูได้นะครับ ที่ //www.facebook.com/reqs.php#!/nanasara1000?v=photos

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ / อสังหาริมทรัพย์ : กฎหมายน่ารู้ /22 มิถุนายน
//www.bangkokbiznews.com/home/detail/property/law/20100622/338869/




 

Create Date : 02 มกราคม 2554    
Last Update : 2 มกราคม 2554 14:53:31 น.
Counter : 1388 Pageviews.  

มาตรการภาษี 4 มี.ค. 2551 - ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ


มาตรการภาษี 4 มี.ค. 2551- ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในช่วงต้นปี 2551 ที่ผ่านมา รัฐบาลในขณะนั้นได้มีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน การออม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหรือบริการ และลดภาระภาษีแก่ผู้เสียภาษี โดยได้มีมาตรการต่างๆ เช่น ยกเว้นภาษี ลดอัตราภาษี หักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง รัฐได้ออกกฎหมายแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อให้มาตรการภาษีมีผลบังคับใช้ สรุปได้ ดังนี้


ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จากเดิมที่จัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ได้ลดอัตราภาษีและจัดเก็บอัตราร้อยละ 0.1 แทน เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2551-28 มี.ค. 2552 ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 472


ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิ 1.5 แสนบาทแรก ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิคำนวณจากเงินได้พึงประเมินหักออกด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน กฎหมายบังคับใช้กับเงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 เป็นต้นมา การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ซึ่งจะสิ้นสุดกำหนดเวลายื่นแบบภายในเดือน ก.ย. 2551 นี้ สามารถใช้สิทธินี้ได้เลย ท่านสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 470


ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิ 1.5 แสนบาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับกำไรสุทธิตั้งแต่ 150,001- 1 ล้านบาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 15 และกำไรสุทธิตั้งแต่ 1,000,001-3 ล้านบาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 25 ส่วนกำไรสุทธิที่เกินกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีอัตราร้อยละ 30

บริษัท ฯลฯ ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิ 1.5 แสนบาทแรก จะต้องมีวันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 เป็นต้นไป การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก (ภ.ง.ด.51) ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือน ส.ค. 2551 มีบริษัท ฯลฯ ใช้สิทธินี้เป็นจำนวนมาก ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 471


ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่วิสาหกิจชุมชน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะวิสาหกิจชุมชนที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ที่มี เงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ในปีภาษีนั้น กฎหมายบังคับใช้กับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551-31 ธ.ค. 2553 เป็นระยะเวลา 3 ปี การใช้สิทธิจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด วิสาหกิจชุมชนใดที่มีเงินได้พึงประเมิน เกินกว่า 1.2 ล้านบาท จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ และต้อง นำเงินได้พึงประเมินตั้งแต่บาทแรกมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 ที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ท่านสามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ //www.rd.go.th ของกรมสรรพากร

ข่าวจาก
โพสต์ทูเดย์ - วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551
//www.posttoday.com/finance.






 

Create Date : 21 กันยายน 2551    
Last Update : 21 กันยายน 2551 12:18:17 น.
Counter : 847 Pageviews.  

จี้รื้อข้อบังคับคุมคอนโดฯ


จี้รื้อข้อบังคับคุมคอนโดฯ

กรมที่ดินชี้ คอนโด มิเนียม ต้องแก้ข้อบังคับให้รับกับกฎหมายใหม่ใน 360 วัน

นายสุรสิทธิ์ สหัสธรรมรังษี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน เปิดเผยว่า หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับปรับปรุงใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้อาคารชุดหรือคอนโด มิเนียมทุกโครงการต้องปรับปรุงข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ภายใน 360 วัน ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ แม้ว่ากฎหมายลูกจะยังไม่ประกาศใช้ก็ตาม

สำหรับข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด จะเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันของเจ้าของร่วมในโครงการชุดที่ออกตาม พ.ร.บ.อาคารชุด เมื่อปรับปรุงกฎหมายใหม่แล้ว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายฉบับใหม่ด้วย

นายนิติ คงทน ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ข้อกำหนดที่ต้องระบุไว้ในข้อบังคับใหม่ เช่น อัตราส่วนที่เจ้าของร่วมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง อัตราค่าใช้จ่ายร่วมกัน เป็นต้น

นายนคร มุธุศรี นายกก่อตั้งสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฎหมายอาคารชุดฉบับปรับปรุงใหม่ จะมีบทลงโทษกับผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ทั้งการถูกฟ้องร้อง ถูกปรับ ถูกถอดถอน ถูกให้พ้นจากหน้าที่ได้ในหลายกรณี เช่น ไม่ดำเนินการหรือละเว้นการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ไม่จัดการให้มีการดูแลความปลอดภัย หรือความสงบเรียบร้อยในอาคารชุด เป็นต้น

นายสุรสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าในการแก้ไขสัญญา จะซื้อจะขาย และสัญญาซื้อขายมาตรฐานที่ออกตามกฎหมายอาคาร ชุดฉบับปรับปรุงใหม่ ขณะนี้ได้ รวบรวมข้อคิดเห็นของภาคเอกชน ได้แก่ การขอให้ไม่ต้องกำหนดเลขที่ใบอนุญาตก่อสร้างในสัญญา ระยะเวลาประกันส่วนควบเป็น 2 ปี และ ส่วนโครงสร้างเป็น 5 ปี การเปลี่ยนสัญญาโดยมีค่าใช้จ่าย

กรมที่ดินจะนำความเห็นเหล่านี้มาประมวลผลดีผลเสีย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งกับผู้ซื้อและ ผู้ขาย รวมทั้งปัญหาในอดีต เสนอให้รมว.มหาดไทย ตัดสินใจว่าจะแก้ไขหรือมีทางออกอย่างไร โดยคำนึงถึงการให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ


ข่าวจาก
โพสต์ทูเดย์ - วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551
//www.posttoday.com/business.




 

Create Date : 21 กันยายน 2551    
Last Update : 21 กันยายน 2551 12:12:07 น.
Counter : 1085 Pageviews.  

กฏหมายที่ควรรู้สำหรับผู้ที่เพิ่งซื้อบ้าน

กฏหมายที่ควรรู้สำหรับผู้ที่เพิ่งซื้อบ้าน


กฎหมายที่ควรรู้หลังซื้อบ้าน สำหรับการซื้อบ้านแล้ว นอกจากเตรียมการเรื่องกฎหมาย เพื่อใช้พิจารณาเลือกซื้อบ้านแล้ว หลังจากซื้อบ้านแล้ว ยังต้องมีความรู้เรื่องกฎหมายหลังการซื้อบ้านด้วย หากจะดำเนินการก่อสร้างต่อเติมใดๆหรือหากเกิดปัญหาหลังการซื้อบ้านขึ้นมา จะได้พิจารณาดำเนินการ ได้อย่างถูกต้อง

โดยหลังซื้อบ้านมีกฎหมายที่ควรรู้มากมาย ตั้งแต่เรื่องของการก่อสร้างต่อเติมที่ต้องขออนุญาต เมื่อมีการต่อเติมใดๆที่ต้องมีการตอกเสา วางคานก็ต้องขออนุญาต โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ ตั้งแต่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 และกฏกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ออกตามใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ทั้งนี้การก่อสร้างต่อเติม ก็ต้องไปขออนุญาตที่สำนักงานโยธาเขต หรืออำเภอ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เรื่องของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ก็เป็นอีกกฎหมายที่สำคัญที่ควบคุมในเรื่องของการอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุด ทั้งทรัพย์สินส่วนกลาง ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและข้อกำหนด กฎ ระเบียบในการอยู่อาศัยร่วมกันในหมูบ้านจัดสรรและอาคารชุดนั้นๆ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติที่มีอยู่ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิผู้ซื้อบ้านเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ปัญหาการละทิ้งการก่อสร้าง ทิ้งโครงการ ปัญหาการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ปัญหาการหลอกลวง ปรับเปลี่ยนวัสดุก่อสร้าง ปัญหารูปแบบบ้านไม่ตรงกับการโฆษณา หรือการละเว้นไม่ดำเนินการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก หรือไม่ดำเนินการสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามที่ได้ระบุไว้ในโฆษณา รวมถึงการใช้ข้อความในโฆษณา

นอกจากนี้ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
บัญญัติว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร์ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้


Suyyest
//www.geocities.com/dohome2003/Html/Suyyest3.html




 

Create Date : 08 สิงหาคม 2551    
Last Update : 23 กันยายน 2551 1:45:28 น.
Counter : 1011 Pageviews.  

1  2  3  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.