"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
การบังเกิดขึ้นของอัครสาวกเบื้องขวาและซ้าย


พระเจ้าพิมพิสาร ทรงหลั่งน้ำถวายสวนเวฬุวัน
เป็นปฐมสังฆาราม เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา


เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ ได้ทรงฟังธรรมพระพุทธเจ้าจบลง และได้ทรงบรรลุโสดาแล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นอภิวาทแทบพระบาทพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกหนึ่งพันรูปเสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนานั้น ด้วยพระอาการดุษณี

นั่นเป็นธรรมเนียมการรับนิมนต์ของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สมัยนั้น ถ้าดุษณีหรือนิ่ง แปลว่ารับได้ ถ้ารับไม่ได้ เช่น มีคนทูลอาราธนาว่า ขอให้เสด็จไปรับบาตรที่บ้านของตนแห่งเดียวตลอดพรรษานี้ พระพุทธเจ้าจะตรัสว่า "คนในโลกนี้ใคร ๆ ก็อยากทำบุญกับเราทั้งนั้น จะผูกขาดไม่ได้หรอก" อย่างนี้แปลว่ารับนิมนต์ไม่ได้ หรือไม่รับ










รุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวนตาลหนุ่ม เข้าไปในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อเจ้าพนักงานได้ตระเตรียมอาหารบิณฑบาตไว้พร้อมแล้ว พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก
เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยแล้ว และพระสงฆ์ทั้งนั้นก็ฉันอิ่มกันทั่วแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วทรงมีพระราชดำรัสทูลพระพุทธเจ้าว่า ที่สวนตาลหนุ่มเป็นสถานที่อยู่ห่างไกลเมืองและทุรกันดารมาก ไม่สะดวกแก่การไปมา

แล้วมีพระราชดำรัสว่าพระราชอุทยานสวนไม้ไผ่ หรือเวฬุวันของพระองค์ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวเมืองนัก ไปมาสะดวก กลางวันไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน กลางคืนสงบสงัด สมควรเป็นที่ประทับอยู่ของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์



เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับด้วยพระอาการดุษณี พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าลงบนพระหัตถ์พระพุทธเจ้า ถวายเวฬุวันนารามให้เป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกในโลก





ปฐมสมโพธิว่า "กาลเมื่อพระสัพพัญญูทรงรับพระเวฬุวันเป็นอาราม ครั้งนั้นอันว่า มหาปฐพีดลก็วิกลกัมปนาท ดุจรู้ประสาทสาธุการว่า มูลที่ตั้งพระพุทธศาสนา หยั่งลงในพื้นพสุธา กาลบัดนี้"

หลังจากนั้น พระพุทธองค์จึงทรงมีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์สาวกรับอารามที่มีผู้ถวายได้






พระเจ้าพิมพิสารทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต
เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ


ในคืนนั้น หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงถวายเวฬุวันนาราม แด่พระพุทธเจ้าแล้ว ถือเป็นการหยั่งรากฐานของพระพุทธศาสนา ลงบนพื้นพสุธาเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นมหากุศลทีเดียว แต่พระเจ้าพิมพิสาร กลับไม่ได้ทรงอุทิศส่วนกุศลใดๆเลย ในครั้งนั้น

ปฐมสมโพธิบรรยายว่า ในคืนวันนั้นพวกเปรตซึ่งเคยเป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสียงดังอื้ออึงขึ้นในพระราชนิเวศน์ ที่แสดงกายให้เห็นก็มี ตามนิยายธรรมบทเล่าว่า เปรตเหล่านี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เคยลักลอบ (หรือจะเรียกอย่างทุกวันนี้ว่าคอรัปชั่นก็ได้) กินของที่คนเขานำมาถวายสงฆ์ ตายแล้วตกนรก แล้วมาเป็นเปรต และมาคอยรับส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศให้ แต่เมื่อผิดหวังจึงมาประท้วงดังกล่าว









พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันรุ่งขึ้น ทูลถามทราบความแล้ว จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายอาหาร และจีวรแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีกต่อมา แล้วทรงหลั่งน้ำอุททิโสทกว่า

อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ

แปลว่า "ขอกุศลผลบุญครั้งนี้จงไปถึงญาติพี่น้องของข้าพเจ้าด้วยเทอญ" เปรตเหล่านี้จึงต่างได้รับกุศลผลบุญกันทั่วหน้า และพ้นจากความทุกข์ทรมานที่ได้รับอยู่

คำว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ" ได้กลายเป็นบทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้คนตายที่คนไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน

วิธีการที่พระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าลงบนพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าเมื่อตอนถวายพระอารามเวฬุวัน หรือการหลั่งน้ำในที่นี้ เรียกตามภาษาสามัญว่า "กรวดน้ำ" หรือเรียกเป็นคำศัพท์ว่า "อุททิโสทก" แปลว่า กรวดน้ำมามอบถวาย ใช้ในกรณีเมื่อถวายของใหญ่ที่ไม่อาจยกประเคนใส่มือพระได้ เช่น ที่ดินและวัด เป็นต้น

ส่วนการกรวดน้ำของพระเจ้าพิมพิสารที่ให้แก่เปรตนั้น เรียกว่า "ทักษิโณทก" แปลว่า กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่คนตาย ใช้ในกรณีที่จะมอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งเป็นผู้รับอีกเหมือนกัน ผิดแต่ว่าสิ่งที่ให้มองไม่เห็นตัวตน เพราะเป็นบุญกุศล ผู้รับก็มองไม่เห็น เพราะเป็นคนที่ตายไปแล้ว พิธีนี้เป็นที่นิยมกันอยู่ในเมืองไทยเวลาทำบุญทุกวันนี้







การบังเกิดขึ้นของอัครสาวกเบื้องขวาและซ้าย
พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร


ท่านสญชัยเป็นศาสดาปริพาชกที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในแคว้นมคธ มีลูกศิษย์และคนนับถือมาก โมคคัลลาน์ และสารีบุตร เคยอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาหาความรู้ เพื่อทางพ้นทุกข์ แต่ครั้นศึกษาจบแล้วเห็นว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงลาอาจารย์สญชัยออกแสวงหาความรู้ใหม่ต่อไป แล้วจึงมาพบพระอัสสชิในเมืองราชคฤห์

พระอัสสชิเป็นรูปหนึ่งในคณะพระเบญจวัคคีย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนา ท่านทราบว่าเวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ท่านจึงเดินทางเพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นั่น ระหว่างทางมาได้พบพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นยังเป็น "อุปติสสปริพาชก" ที่เห็นกิริยาท่าทางของพระอัสสชิน่าเลื่อมใส จึงสนใจเข้าไปสนทนาถามถึงทางปฏิบัติ และผู้เป็นพระศาสดา เมื่อได้ฟังก็ชอบใจ ภายหลังจากนั้นจึงกลับมาชวนสหาย คือ โมคคัลลาน์ หรือ "โกลิตปริพาชก" ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยปริพาชกบริวาร ที่ติดตามมาอีก ๒๕๐ คน










ท่านสารีบุตรและท่านโมคคัลลานะเป็นชาวแคว้นมคธ มีชื่อเดิมว่า อุปติสสะและโกลิตะ แต่นิยมเรียกท่านว่า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ตามชื่อมารดาของท่านทั้งสอง ในวันหนึ่งอุปติสส ได้พบกับพระอัสสชิเถระ ขณะที่กำลังเดินเพื่อบิณฑบาตอยู่ อุปติสสเห็นกริยาท่าทาง และความสงบ และความมีราศี ของพระอัสสชิเถระ ก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงเดินตามไปห่างๆ เมื่อพระอัสสชิเถระเสร็จจากบิณฑบาตแล้ว อุปติสสปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ แล้วได้พูดปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ อยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงกล่าวกับท่านพระอัสสชิว่า “อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?”
พระอัสสชิ จึงตอบว่า “ มีอยู่ ท่านพระมหาสมณะศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
อุปติสสถามว่า “ ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?”
พระอัสสชิ ตอบว่า “เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ”
อุปติสส จึงกล่าวว่า “จะน้อยหรือมาก ก็นิมนต์กล่าวเถิด แต่ท่านจงกล่าวแต่ใจความสำคัญแก่ข้าพเจ้า เท่านั้นก็พอ ไม่จำเป็นต้องกล่าวอธิบายอย่างอื่นให้มากความ ”

พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ จึงได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชกว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ”
พระพุทธองค์ ทรงสั่งสอนอย่างนี้

ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ สารีบุตรปริพาชกก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา


หลังจากนั้นอุปติสส ก็รีบเดินทางไปหาท่านโกลิต และบอกธรรมที่ท่านได้รับฟังจากพระอัสสชิเถระให้ทราบ ท่านโกลิต ก็บรรลุโสดาบันในทันที ทั้งสองจึงได้กลับไปชวนอาจารย์สัญชัยปริพาชก ให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สัญชัยปริพาชกไม่ยอมไป แต่มีลูกศิษย์ 250 คนยอมติดตามไปกับท่านอุปติสส และท่านโกลิต ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงราชคฤห์


พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวาผู้มีปัญญาเป็นเลิศ พระสารีบุตร เมื่อใกล้จะนิพพาน ได้ไปลาพระพุทธเจ้าเพื่อไปนิพพานที่บ้านเกิด และได้มีโอกาส แสดงธรรมให้กับมารดาจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วพระสาริบุตรท่านก็นิพพานด้วยโรคถ่ายเป็นโลหิต ปรินิพพานเมื่อวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 6 เดือน ฝ่ายพระโมคคัลลานะ เมื่อใกล้นิพพานท่านถูกโจรทุบตีทำร้ายจนกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก แต่ท่านใช้อิทธิฤทธิ์ประสานกระดูกของท่าน เพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อลานิพพาน เมื่อลาพระพุทธเจ้าแล้วท่านก็ไปที่ กาฬศิลาแคว้นมคธ แล้วปรินิพพาน ณ ที่นั้น เมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตรนิพพานได้ ๑๕ วัน และก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ ๕ เดือนครึ่ง ดังนั้นอายุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็ประมาณ 70 ปี ขึ้นไป จึงปรินิพพาน เพราะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ อายุอ่อนกว่าพระพุทธเจ้า แม้น้องชายของพระสารีบุตร ก็เข้ามาบวชพระจนหมด แม้แต่น้องคนเล็ก อายุประมาณ 7 ขวบกว่าๆ ก็ยังเข้ามาบวช และได้เป็นพระเอตทัคคมหาสาวกผู้อยู่ป่าเป็นเลิศ



Create Date : 10 เมษายน 2552
Last Update : 10 เมษายน 2552 13:31:44 น. 1 comments
Counter : 2547 Pageviews.

 
DD


โดย: nummon IP: 113.53.11.131 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:16:39:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.