"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

ตักบาตรดอกไม้ วันเข้าพรรษา : ศรัทธาแห่งชาวพุทธ

วันเข้าพรรษา ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ ซึ่งการเข้าพรรษาตามปกติจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

ในแต่ละพื้นที่ของเมืองไทย ต่างก็มีเทศกาลงานบุญประเพณี รับเทศกาลเข้าพรรษากันทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่มีทั้งจัดใหญ่ จัดเล็ก ตามแต่กำลังศรัทธา แต่จะมีบ้างที่แตกต่างไปตามคติความเชื่อของท้องถิ่นตน โดยเฉพาะยังมีอีกหนึ่งประเพณีสำคัญที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมา ซึ่งถือได้ว่าโดดเด่นไม่น้อยในวันเข้าพรรษา นั่นก็คือ“ประเพณีตักบาตรดอกไม้” ที่ถือเอาวันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) เป็นวันตักบาตรดอกไม้ ซึ่งก็มีจัดกันเพียง2-3 แห่งเท่านั้น












การถวายดอกไม้บูชาพระเริ่มจากพุทธประวัติ ตอนที่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ พระองค์ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก ในแต่ละวันจะรับสั่งให้นายสุมนมาลาการนำดอกมะลิสดมาถวายวันละ 8 ทะนาน แต่เช้าตรู่ทุกวัน เพื่อแลกกับทรัพย์วันละ 8 กหาปณะ

เช้าวันหนึ่ง ขณะที่นายสุมนมาลาการกำลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง ก็ได้พบพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาต นายสุมนมาลาการสังเกตเห็นพรรณรังษี ฉายประกาย รอบๆพระวรกาย จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง พร้อมคิดหาสิ่งที่จะมาบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อไม่เห็นสิ่งใดจึงตัดสินใจจะถวายดอกไม้ที่จะนำไปถวายพระราชา พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแก่พระพุทธองค์ สร้างอานิสงส์ได้ทั้งภพนี้และภพหน้า หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม

ดังนั้นนายสุมนมาลาการจึงได้ถวายดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าไปทั้ง 8 ทะนาน ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้เป็นซุ้มติดตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทุกหนทุกแห่ง คุณความดีของนายสุมนมาลาการได้เป็นที่กล่าวขานจนทั่วเมือง สร้างความปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อภรรยาของเขาทราบข่าวกลับถูกดุด่าและนำความเข้ากราบทูลพระราชา แต่พระเจ้าพิมพิสารพระราชาทรงเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน จึงเรียกนายสุมนมาลาการมาเข้าเฝ้า แล้วตรัสยกย่องสรรเสริญนายสุมนมาลาการว่าเป็นมหาบุรุษ พร้อมทั้งพระราชทานสิ่งของต่างๆ ให้

นับแต่นั้นมานายมาลาการก็อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์ใดทั้งปวง ด้วยอานิสงส์ของการนำดอกมะลิบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากอานิสงส์ดังกล่าวแต่ครั้งพุทธกาลทำให้ชาวพุทธมีความเชื่อว่า การตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ผลบุญที่สูงส่งยิ่ง จึงได้มีการจัดประเพณีตักบาตรดอกไม้สืบทอดต่อกันมาจนถึงในปัจจุบัน










สถานที่ที่จัดประเพณีตักบาตรดอกไม้ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ วัดพระพุทธบาทฯ จ.สระบุรี โดยจะมีการจัดงานขึ้นทั้งหมด 3 วัน เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นวันทำพิธีเปิดงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา) และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (วันเข้าพรรษา) ซึ่งจะแบ่งเป็นวันละ 2 รอบ คือ ช่วง 10.00 น. และ 15.00 น.













ที่พิเศษของที่นี่ และไม่มีในที่อื่นๆคือดอกไม้ที่ใช้ในประเพณีตักบาตรดอกไม้ของที่นี่คือ ดอกเข้าพรรษา ที่ลักษณะของต้นเข้าพรรษาจะคล้ายกับต้นกระชายหรือขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ ลำต้นขึ้นเป็นกอจากหัวหรือเหง้าใต้ดิน ขึ้นอยู่ตามไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุ ใกล้ๆกับรอยพระพุทธบาท ดอกของต้นเข้าพรรษาจะมีขนาดเล็กออกเป็นช่อส่วนยอดของลำต้น มีสีเหลือง สีขาว และสีม่วง และจะผลิดอกเฉพาะช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น จึงเป็นที่มาของชื่อต้นเข้าพรรษา โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่าถ้าใครออกไปเก็บดอกเข้าพรรษาสีม่วงมาใส่บาตรได้ ก็จะได้รับบุญกุศลมากกว่าการนำดอกเข้าพรรษาสีอื่นมาใส่บาตร เนื่องจากดอกเข้าพรรษาสีม่วงนั้นหาได้ยากกว่าสีอื่นๆ โดยชาวพระพุทธบาทนิยมใช้ดอกเข้าพรรษาสีเหลือง เนื่องจากหาในท้องถิ่นได้ไม่ยาก











ซึ่งเมื่อเก็บดอกเข้าพรรษามาแล้วก็จะนำมามัดรวมกับธูป เทียน แล้วมาตั้งแถวรอพระสงฆ์อยู่ 2 ข้างถนน จนถึงเวลา พระสงฆ์ก็จะเริ่มออกบิณฑบาต จนเมื่อเดินบิณฑบาตมาถึงจุดใส่บาตรชาวบ้านที่ตั้งแถวรอก็จะอธิษฐานแล้วนำดอกเข้าพรรษา ธูป เทียน ดอกบัว ใส่ลงไปในบาตร โดยพระภิกษุสงฆ์ก็จะเดินไปเรื่อยๆ ตามถนนสายต่างๆ ก่อนจะเวียนกลับมายังบันไดนาค หลังจากนั้นก็จะนำดอกไม้เข้าไปในมณฑปพระพุทธบาท เพื่อให้เป็นเครื่องสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งในระหว่างพระสงฆ์เดินเข้ามณฑปชาวบ้านก็จะนำน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นการชำระจิตใจของตน และชำระล้างบาปไปในตัว












จากนั้นก็จะนำเอาดอกไม้มาสักการะพระเจดีย์จุฬามณี ซึ่งเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และก็จะนำไปสักการะพระเจดีย์องค์ใหญ่ ที่ชาวพุทธถือกันว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วพระภิกษุสงฆ์ก็จะเดินเข้าไปในอุโบสถเพื่อสวดอธิษฐานเข้าพรรษา และเปล่งวาจาว่าจะอยู่ในอาณาเขตที่จำกัดในระหว่างฤดูกาลเข้าพรรษาก็ถือว่าเสร็จสิ้นพิธี

เมื่อตักบาตรดอกไม้เสร็จแล้ว จากนั้นชาวบ้านก็จะพากันขึ้นไปสักการะรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนพระมณฑปทรงปราสาท โดยรอยพระพุทธบาทแห่งนี้สันนิษฐานว่าเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย ถูกค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม มีความเชื่อกันว่า หากใครได้มีโอกาสสักการะรอยพระพุทธบาทที่นี่ครบ 7 ครั้ง ผลบุญจะส่งให้ได้ขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์











ส่วนที่อื่นๆนั้น ในกรุงเทพฯก็มีประเพณีตักบาตรดอกไม้ในหลายวัดด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น วัดบวรนิเวศ วัดราชประดิษฐ์ วัดราชบพิธ วัดเทพศิรินทร์ และวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก แต่ที่ วัดบวรนิเวศ นั้นมีมานานกว่าที่อื่น ที่นี่นิยมใช้ ดอกบัว ใส่บาตร เพราะดอกบัวมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือกันว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ประธานของดอกไม้ทั้งปวง










แต่นอกจากดอกบัวแล้วก็ยังมีดอกไม้อื่นๆ ที่พุทธศาสนิกชนนำมาใส่บาตรด้วยเช่นกัน อาทิ ดอกกุหลาบ พุทธรักษา มะลิ กล้วยไม้ เบญจมาศ เป็นต้น ซึ่งก็เป็นไปตามความสะดวกและศรัทธาของแต่ละคนไม่ได้ผิดกติกาใดๆ











เมื่อถึงเวลาเริ่มการตักบาตรดอกไม้ พระภิกษุสงฆ์จะสะพายย่ามค่อยๆ เดินเรียงแถวมารับบิณฑบาตดอกไม้ เมื่อพุทธศาสนิกชนใส่บาตรดอกไม้จนเต็มย่ามแล้ว ก็จะมีผู้ช่วยช่วยเอาดอกไม้ออกมาใส่รถเข็นหรือภาชนะที่ใหญ่รวมกันไว้ก่อน เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สามารถรับบิณฑบาตได้ครบทุกคน










ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีอันดีงามของชาวพุทธที่เราควรสืบทอดกันต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน การที่ไปเข้าร่วมตักบาตรดอกไม้นอกจากจะเป็นการช่วยสืบสานประเพณีต่อไปแล้ว ก็ยังได้รับความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองอีกด้วย


TraveLArounD



ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1380 กว่าเรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์
//www.manager.co.th/Travel/




 

Create Date : 14 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 14 กรกฎาคม 2554 23:23:54 น.
Counter : 4011 Pageviews.  

เลือกของใส่บาตรตามวันเกิด


เลือกของใส่บาตรตามวันเกิด

วันอาทิตย์
อาหารคาว : ประเภทไข่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ต้ม แกงกะทิ
อาหารหวาน : ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ น้ำกระเจี๊ยบ
น้ำมะพร้าว น้ำขิง เงาะ
ของถวายพระ : หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา
หมากพลู
ไหว้พระ : ปางถวายเนตร ( พระประจำวันเกิด) กำลังวันเท่ากับ 6
(สวดแบบย่อ อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ)
ทำทาน : เติมน้ำมันตะเกียงตามวัด คนตาบอด โรงพยาบาลโรคตา
มูลนิธิคนตาบอด โรงพยาบาลโรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจ
พฤติกรรม : ออกรับแสงอาทิตย์อ่อนๆ ช่วงเช้าหรือเย็นๆ เพื่อให้เกิดพลัง
อย่าใจร้อน เลิกทิฐิ ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น


วันจันทร์
อาหารคาว : ประเภทสัตว์ปีก สัตว์น้ำ เช่นไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด
ปูผัดผงกะหรี่ ปูนึ่ง ข้าวมันไก่ ข้าวผัดปู เต้าหูทอด แกงจืดเต้าหู้
แกงเผ็ดเป็ดย่าง ปลาสลิดทอด
อาหารหวาน : น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำอ้อย โดนัท นมสด นมกล่อง
เผือก มันลางสาด ขนมเปี๊ยะ
ของถวายพระ : แก้วน้ำ แจกัน ของโปร่งๆ ใสๆ
ไหว้พระ : ปางห้ามญาติ ( พระประจำวันเกิด) กำลังวัน เท่ากับ 15
( สวดแบบย่อ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา)
ทำทาน : มูลนิธิช่วยเหลือสตรี
พฤติกรรม : ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส อยู่เสมอ อย่าวิตกกังวลเกินเหตุ
ให้ความช่วยเหลือสตรีเช่นลุก ให้สตรีนั่งบนรถเมล์
บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกให้แข็งแรง


วันอังคาร
อาหารคาว : อาหารประเภทเส้น ขนมจีน วุ้นเส้น บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เนื้อวัว
ปลาช่อนตากแห้งทอด
อาหารหวาน : ฝอยทอง สลิ่ม ลอดช่อง ทุเรียน ระกำ ขนุน
น้ำสไปร์ท น้ำอัดลม
ของถวายพระ : เหล็ก เครื่องมือประเภทเหล็ก กรรไกร แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
พัดลม กรรไกรตัดเล็บ
ไหว้พระ : ปางไสยาสน์ (พระนอน) มีกำลังเท่ากับ 8
(สวดแบบย่อ ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง)
ทำทาน : คนพิการทางปาก ปากแหว่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก
พฤติกรรม : ทำตัวให้กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ขยันให้มากขึ้น
ลดอารมณ์ร้อน การชิงดีชิงเด่น


วันพุธ ( กลางวัน )
อาหารคาว : เน้นสีเขียว-หมู แกงเขียวหวานหมู หมูปิ้ง หมูทอด
ผัดพริกหมู คะน้าน้ำมันหอย
อาหารหวาน : ขนมเปียกปูนเขียว น้ำฝรั่ง ชมพู่เขียว องุ่นเขียว
มะม่วงเขียวเสวย ฝรั่ง ชามะนาว
ของถวายพระ : สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ อุปกรณ์การเรียนการศึกษา
ไหว้พระ : ปางอุ้มบาตร (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 17
(สวดแบบย่อ ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท )
ทำทาน : คนพิการทางหู โรงพยาบาลโรคสมอง โร งเรียนสอนคนหูหนวก
พฤติกรรม : อ่านหนังสือธรรมะ ร้องเพลง ฝึกสร้างความมั่นใจให้ตนเอง


วันพุธ (กลางคืน)
อาหารคาว : ของหมักดอง ผักกาดดองผัดไข่ อาหารกระป๋อง แกงใบยอ
หมูยอ แหนม ไข่เยี่ยวม้า ห่อหมก
อาหารหวาน : ข้าวหมาก ขนมเปียกปูนดำ เฉาก๊วย ข้าวเหนียวดำ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้หัวโตๆ ทุเรียน
ของถวายพระ : พัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม
ไหว้พระ : ปางป่าเลไลย์ ( พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 12
(สวดแบบย่อ คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ )
ทำทาน : มูลนิธิหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับยาเสพติด
พฤติกรรม : เลิก บุหรี่ เลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
เลิกการพนัน เลิกทำตัวเหลวไหล เลิกเที่ยวกลางคืน
เลิกยาเสพติดทุกชนิด


วันพฤหัสบดี
อาหารคาว : ประเภทเถา แกงเลียง บวบผัดไข่ น้ำเต้า
อาหารหวาน : แตงโม แตงไทย น้ำสมุนไพร ส้ม สาลี่ น้ำมะตูม
น้ำว่านหางจระเข้
ของถวายพระ : สบง จีวร หนังสือธรรมะ ตู้ยา โต๊ะหมู่บูชา
ไหว้พระ : ปางสมาธิ ( พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 19
( สวดแบบย่อ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ)
ทำทาน : โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคข้าวสาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว
พฤติกรรม : นั่งสมาธิ สวดมนต์ ถือศีล 5 อย่าซื่อจนเกินไป


วันศุกร์
อาหารคาว : ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม
ไข่เจียวหอมใหญ่ ยำหัวหอม
อาหารหวาน : ขนมหวาน หอมทุกชนิด น้ำเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม
กล้วยหอม เค้ก
ของถวายพระ : นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม
ไหว้พระ : ปางรำพึง (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 21
(สวดแบบย่อ วา โธ โน อะ มะ มะ วา)
ทำทาน : เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า อาหารที่หอมหวานชวนกิน
เช่น ไอศกรีม
พฤติกรรม : ทำตัวให้สดชื่นแจ่มใส บำรุง ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอด
จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม! เลิกการฟุ่มเฟือย


วันเสาร์
อาหารคาว : ประเภทของขม ของดำ มะระยัดไส้ สะเดาน้ำปลาหวาน
น้ำพริกปลาทู มะเขือยาว
อาหารหวาน : ลูกตาลเชื่อม กาแฟ โอเลี้ยง
ของถวายพระ : ร่มสีดำ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ำถวายวัด
ไหว้พระ : ปางนาคปรก ( พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 10
( สวดแบบย่อ โส มา ณะ กะ ระ ถา โธ)
ทำทาน : โรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลโรคประสาท
พฤติกรรม : กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำวัด ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี
ขยะในบ้านยกทิ้งทุกวัน อย่าหมักหมม




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2551    
Last Update : 6 มีนาคม 2552 23:36:59 น.
Counter : 754 Pageviews.  

"วัฒนธรรมไทยจะไปทางไหน?"

"วัฒนธรรมไทยจะไปทางไหน?"

"วัฒนธรรมไทยจะไปทางไหน?" วัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน ถือว่าอยู่ในช่วงอันตรายของการขาดการบริหารจัดการ โดยภาครัฐ เพราะไม่มีใครให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจัง รัฐบาลที่มาบริหารประเทศยังเอาตัวเองไม่ค่อยจะรอด แล้วจะมีเวลามาดูแลเรื่องวัฒนธรรมตอนไหน วัฒนธรรมเป็นเรื่องกว้าง และลึก คือมีขอบเขตครอบคลุมไปในทุกๆเรื่อง ในชีวิตประจำวันของเรา จึงเป็นเรื่องที่กว้าง ส่วนด้านลึก คือรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องนั้น ฝังแน่นกับวิถีชีวิตของประชาชนทุกๆคนในชาติ นี่คือวัฒนธรรมของชาติ

ดังนั้นถ้าจะถามว่า "วัฒนธรรมไทยจะไปทางไหน?" ก็ต้องดูจากประชาชนนี่แหละครับ ว่าเขาจะมีค่านิยมในการดำเนินชีวิตประจำวันไปอย่างไร นิยมอย่างไทยๆดั้งเดิม หรือนิยมอย่างต่างชาติ ที่แผ่อิทธิพลของวัฒนธรรมเข้ามาในทุกรูปแบบ

ถ้าวัฒนธรรมขึ้นอยู่กับประชาชน เราจะสามารถแบ่งประชาชนออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือคนกรุง กับคนชนบท คนกรุงได้รับสื่อสารพัด อย่างสะดวกง่ายดาย การโน้มเอียงในค่านิยมต่างชาติจึงเป็นไปได้สูง ถ้าพวกเขา ไม่มีภูมิต้านทาน หรือ exposure ที่แข็งพอ พวกบ้าญี่ปุ่น พวกบ้าเกาหลี หรืออื่นๆ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า ค่านิยมทางวัฒนธรรมเขาโน้มเอียงออกไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ได้ง่าย

ส่วนคนชนบท ได้รับสื่อต่างๆน้อยกว่าคนกรุง และวิถีชีวิตของพวกเขา ก็แวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรมไทย ที่เหนียวแน่นกว่าคนกรุง จึงไม่ค่อยมีแนวโน้มไปในทางวัฒนธรรมต่างชาติ แต่จะมีแนวโน้มไปในวัฒนธรรมของคนกรุงอีกทีหนึ่ง เพราะค่านิยมของพวกเขา ยังถือว่าคนกรุงเจริญกว่า และชอบเอาแบบอย่าง ถ้าคนกรุงชี้นำไปในทางไหน เขาก็จะคล้อยตามได้ง่าย อย่างเช่น ในตอนนี้สื่อต่างๆ รณรงค์เรื่องของภาวะโลกร้อน หรือการอนุรักษ์ธรรมชาติ คนชนบทก็จะพลอยได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกในด้านนี้ไปด้วย และร่วมมือกันได้ง่าย กว่าที่คนท้องถิ่นจะนึกคิด หรือร่วมมือกันพัฒนาอะไรขึ้นมากันเอง นอกจากการใช้วิถีชีวิตไปแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคย

การเปลี่ยนแปลงของคนชนบท จึงเป็นไปอย่างช้าๆ ไม่ว่าในด้านดี หรือด้านเสื่อม ผิดกับในกรุงที่มีการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วกว่า และอันตรายกว่า เพราะคนกรุง (รุ่นใหม่) มีจิตใจที่เปิดรับของใหม่ๆได้ง่าย โดยที่ไม่ค่อยกลั่นกรอง ว่าสิ่งที่รับมานั้น ดีหรือไม่ ประเทศไทยจึงต้องอาศัยปัญญาชนที่เป็นหัวกะทิของชาติ คอยชี้นำ กำกับ(ถ้าทำได้) การเปลี่ยนแปลงหรือกระแสต่างๆ ที่พัดโหมเข้ามา เป็นระลอกคลื่น อันไหนไม่ดี ก็ช่วยกันชี้นำ ต่อต้าน อันไหนดี ก็ปรับเข้ามาใช้พัฒนาของเดิมให้ดียิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ไปเปลี่ยนแปลงของเดิม

อย่างนี้แล้ว "วัฒนธรรมไทย" ก็ยังคงอยู่กับคนไทยไปได้อย่างยั่งยืน แต่ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ มันก็จะเข้าหลักธรรม ที่ว่า มีเกิดก็มีดับ มีเจริญก็มีเสื่อม เรื่องบางอย่างเสื่อมไป แต่เมื่อมีคนมากระตุ้น หรือจุดประกายอนุรักษ์ขึ้นมา ก็เกิดการพัฒนากลับมาเจริญใหม่ได้ แต่ต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟู สู้รักษาไว้ไม่ให้เสื่อมไป ยังจะดีกว่าตามมาแก้ ตัวอย่างเช่นที่ สมเด็จพระราชินีฯของเรา พระองค์ทรงรื้อฟื้นเรื่องการทอผ้าไทย ที่เกือบจะเลิกความนิยมไปแล้ว จนกลับมาได้รับความนิยมกันใหม่ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สามารถทำรูปแบบได้เหมือนของเก่าของโบราณ และพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ ที่สวยกว่าเก่าได้ จนได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ สามารถส่งไปขายต่างประเทศได้ จนเป็นการรุกทางวัฒนธรรมของเราอย่างหนึ่งทีเดียว

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ศูนย์ศิลปาชีพฯยังสามารถรื้อฟื้นวิชาช่างโบราณอีกมากมาย ที่ทรงคุณค่าและนับวันมีแต่เลือนหาย แต่นี่นับว่ายังเป็นส่วนน้อยถ้าเทียบกันในด้านปริมาณ

ดังนั้น สรุปได้ว่า วัฒนธรรมไทยจะไปทางไหน ไม่มีใครตอบได้ (เพราะคนกำกับ ชี้นำที่ดี ยังมีไม่พอ) แต่ทุกคนต้องร่วมกันทำ คนไทยส่วนใหญ่ไปทางไหน วัฒนธรรมไทยก็ไปทางนั้นแหละครับ แต่ว่าจะสูญสิ้นคงเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่จะเจริญ หรือเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับผู้นำ ที่มีวิสัยทัศน์ ที่แท้จริงครับ

TraveLArounD




 

Create Date : 12 มิถุนายน 2551    
Last Update : 12 มิถุนายน 2551 23:09:28 น.
Counter : 1195 Pageviews.  

การเข้าบ้านใหม่ และพิธีขึ้นบ้านใหม่

การเข้าบ้านใหม่ และพิธีขึ้นบ้านใหม่


บ้านเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัว พิธีการขึ้นบ้านใหม่ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ อย่างหนึ่งของคนไทยเรา ถือเป็นเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธาอย่างหนึ่ง เพื่อความสบายใจในการเข้าอยู่อาศัย ในบ้านใหม่ ที่เรายังไม่เคยไปอยู่ ไม่เคยเข้าไปสัมผัส จิตใจเราจึงยังไม่มีความมั่นใจในการย้ายเข้าไปอยู่ เราจึงต้องหาสิ่งยึดเหนี่ยวหรือที่พึ่งทางใจ เพื่อความสบายใจไว้ก่อน ส่วนเรื่องว่า เมื่อย้ายเข้าอยู่แล้ว หรือทำพิธีแล้ว จะเกิดผลอย่างไรนั้น ก็อีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งต้องเข้าใจว่า ไม่ได้เกิดจากการกระทำพิธีเพียงอย่างเดียว การอยู่อาศัยที่จะมีความสุข สงบ สบาย หรือเจริญรุ่งเรืองนั้น ไม่ได้อยู่ที่พิธีกรรม หรือโชคลาภ เพียงอย่างเดียว (ถ้าพิจารณาในแง่นี้ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า มีส่วนมากน้อยเพียงใด หรือกี่เปอร์เซ็นต์ แบบทางวิทยาศาสตร์) มันอยู่ที่ตัวบ้านเอง และสิ่งแวดล้อม ที่บ้านนั้นตั้งอยู่ ซึ่งเราสามารถเลือก กำหนด หรือควบคุมมันได้มากกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าบ้านคุณสร้างไว้ไม่ดี อยู่ไปก็ต้องซ่อมไป ก็อย่าไปโทษการทำพิธีกรรม หรือข้างบ้านเสียงดัง ทำสกปรก ต่างๆ ก็เป็นสาเหตุให้มีเรื่อง หรืออยู่แบบไม่เป็นสุขได้ ดังนั้นการจะทำพิธีเข้าบ้านใหม่ หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ผมขอให้คิดเป็นลักษณะของธรรมเนียมประเพณี มากกว่า ซึ่งบางอย่างก็มีเหตุมีผล ที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นการขึ้นบ้านใหม่ ก็เป็นการบอกให้เพื่อนบ้านรับรู้ ว่ามีเพื่อนบ้านใหม่ ทำความรู้จักกันไว้ก่อน สร้างไมตรีไว้ก่อน เลี้ยงพระ เลี้ยงอาหารก็เผื่อแผ่กันไว้ก่อน ต่อไปมีอะไร ก็จะพูดกันได้ เจรจากันได้ ไม่ทะเลาะกันเสียก่อน อย่างนี้เป็นต้น



ว่าด้วยการเข้าบ้านใหม่


เรื่องการเข้าบ้านใหม่นี่ ถ้าเป็นคนสมัยใหม่หน่อย ก็ต้องบอกว่า เอาฤกษ์สะดวกที่จะย้ายเข้า และสะดวกกับเจ้าบ้าน ก็พอแล้ว แต่ถ้าเรายังเคารพศรัทธาธรรมเนียมโบราณ ก็ควรทำพิธีแบบง่ายก็พอ ซึ่งก็เป็นการทำพิธีแบบง่ายๆของการขึ้นบ้านใหม่นั่นเอง เป็นเรื่องที่ชาวพุทธมักจะทำเพื่อเป็นสิริมงคล โดยการทำแบบพอเป็นพิธีนั้น เมื่อได้ฤกษ์ยามดีที่หาไว้ หัวหน้าครอบครัวก็อัญเชิญพระพุทธรูปประจำบ้าน ไปประดิษฐานไว้ที่บูชา จุดธูปเทียนบูชา อธิษฐานขอคุณพระคุ้มครองให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข หรือจะนิมนต์พระสักรูปหนึ่ง มาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ตามห้องต่างๆ ก่อนขนของเข้าไปอยู่ ก็จะสมบรูณ์ยิ่งขึ้น เพียงแค่นี้ก็ถือว่า เสร็จพิธีแล้ว หรือหากมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ใกล้ๆบ้าน (เจ้าที่ใหญ่) ให้ไปไหว้แสดงความเคารพ และขอพรให้ท่านคุ้มครองดูแลให้มีความสุขความเจริญและให้ทำบุญสังฆทาน และอุทิศบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของครอบครัว เจ้าที่ และวิญญาณที่อาศัยอยู่ในสถานนั้นด้วยก็ได้



ว่าด้วยการขึ้นบ้านใหม่


นับเป็นประเพณีของชาวพุทธทีเดียว แต่จะจัดการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ใหญ่เล็กแค่ไหน ก็ว่ากันตามกำลังทรัพย์ และความสะดวก การทำแบบพอเป็นพิธีนั้นก็ทำเหมือนการเข้าบ้านใหม่ก็พอ ส่วนการทำแบบพิธีใหญ่ มีเลี้ยงพระ มีการเจริญพระพุทธมนต์ แล้วถวายภัตตาหารหรือ มีการตักบาตรด้วยก็ได้ ตามกำลังศรัทธา

เมื่อการสร้างบ้านเรือนเสร็จแล้วก็จะต้องทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประกอบพิธีตามที่เชื่อถือกันว่าเป็นสิริมงคล นำความสุขความเจริญมาสู่คนในครอบครัว ในขั้นแรกผู้ที่จะอยู่อาศัยต้องเก็บกวาดทำความสะอาด ตกแต่งบ้านเรือนให้สะอาดสวยงาม เพื่อให้เกิดสิริมงคลและเป็นการให้เกียรติแก่พระสงฆ์และแขกที่เชิญมาเป็นเกียรติ

พิธีเริ่มเมื่อพระสงฆ์มาพร้อม หัวหน้าครอบครัวจุดธูปเทียนรับศีล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หากมีตักบาตร เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบท "พาหุ" ให้ตักบาตรแล้วถวายอาหาร ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ ฟังพระสงฆ์อนุโมทนา ต่อจากนั้นทุกคนในพิธีเจ้ารับพรมน้ำมนต์จากพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน ขณะนั้นพระสงฆ์อื่นจะเจริญมงคลคาถา เสร็จแล้วให้ใครสัก 2 คน ช่วยอุ้มบาตรน้ำมนต์ และบาตรทรายพร้อมแป้งกระแจะสำหรับเจิม นำหน้าพระสงฆ์ 1 รูป ไปพรมน้ำมนต์ตามห้องต่าง ๆ ถ้ามีการเจิมประตูบ้าน ก็นิมนต์พระท่านให้ทำในโอกาสนี้ก่อนจะโปรยทรายรอบบริเวณพื้นบ้าน ถือเป็นมงคลว่า เป็นทรายเงิน ทรายทอง ให้อยู่เย็นเป็นสุข ขับไล่ภูตผีปีศาจ ถือเป็นอันเสร็จพิธี

นอกจากนั้น ถ้าเจ้าบ้านมีความประสงค์ที่จะประกอบพิธีตามทางศาสนา มีการเชิญแขกให้มาร่วมด้วยก็มีหลักที่จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ต้องกำหนดวันการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ให้เป็นที่แน่นอนและการเลือกวันที่ว่านี้ ถ้าต้องการให้เป็นมงคลตามความเชื่อถือที่มีมาแต่โบราณแล้ว ก็ต้องไปหารือกับผู้ที่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ให้กำหนดวันและเวลาให้ แล้วออกบัตรเชิญแขกให้มาร่วมในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และส่งบัตรนั้นออกไปในระยะเวลาก่อนถึงวันกำหนดพอสมควร ในบัตรนั้น ต้องบอกตำบลบ้านที่จะประกอบพิธี กำหนดวัน เวลาอย่างชัดเจน เรียกว่าถ้าเขียนเป็นแผนที่ได้ ก็จะดีที่สุด เมื่อใกล้กับวันที่กำหนดไว้ ต้องเตรียมตกแต่งบ้านเรือนที่จะทำบุญ ขึ้นบ้านใหม่นั้นให้เรียบร้อยงามตาตามสมควร และเตรียมสิ่งของที่จำเป็นใช้ในวันประกอบพิธีให้พร้อมเช่น

อาราธนาพระสงฆ์ - เมื่อกำหนดวันงานแน่นอนแล้ว ไปอาราธนาพระตามจำนวนที่ต้องการ ก่อนถึงวันงานอย่างน้อย ๓ ถึง ๗ วัน การอาราธนานั้น ถ้าสามารถเขียนหรือพิมพ์เป็นฎีกานิมนต์ ได้เป็นการดีที่สุด โดยบอกกำหนด วัน เดือน ปี เวลา และงานให้ละเอียด ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆสำหรับพระสงฆ์ ก็สามารถยืมของที่วัดมาใช้ได้ โดยไปเบิกมาก่อนพิธีสักวัน จะได้ไม่ฉุกละหุก เสร็จแล้วอย่าลืมไปคืนล่ะ บาปกรรม !

จำนวนพระที่นิมนต์ ตามปกติจำนวนนี้คือ ๕ รูป ๗ รูป ๙ รูป แต่ส่วนมากนิยมนิมนต์ ๙ รูป ถือกันว่าเลข ๙ เป็นเลขมงคลขลังดี งานนั้นจะได้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งสมัยนี้ขอแนะนำว่า ตามกำลังศรัทธาครับ

การตั้งโต๊ะหมู่ - ควรจัดไว้ทางด้านขวามือของพระสงฆ์ โดยให้พระพุทธผินพระพักตร์ไปด้านเดียวกับพระสงฆ์ ถ้าสถานที่อำนวยให้ผินพระพุทธรูปไปทางด้านทิศตะวันออก หรือทิศเหนือ ได้ก็ยิ่งดี ถ้าสถานที่ไม่พอก็ให้จัดตามความเหมาะสมกับสถานที่ (นี่ก็เป็นข้อจำกัดในการนิมนต์พระด้วย ว่าควรจะเป็นกี่รูป) พระพุทธรูปที่จะนำมาตั้งโต๊ะบูชานั้น ไม่ให้มีครอบและเล็กจนเกินไป หรือใหญ่เกินไป ถ้าโต๊ะบูชาใหญ่เล็ก ก็ให้จัดพระบูชาเหมาะสมตามส่วน มีแจกันดอกไม้ พานดอกไม้จัด ๓ หรือ ๕ พาน แจกันจะใช้ ๑ - ๒ คู่ก็ได้ แล้วแต่ขนาดของโต๊ะ กระถางธูปให้ปักไว้ ๓ ดอก เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมเทียน

ขันน้ำมนต์ จะใช้ขัน หรือบาตรหม้อน้ำมนต์มีเชิงก็ได้ (ไม่มีก็ยืมพระท่านไว้เลย) ใส่น้ำสะอาดพอควร มีเทียนน้ำมนต์ ขี้ผึ้งอย่างดี ๑ - ๒ เล่ม ใบเงินใบทองอย่างละ ๕ ใบ มัดหญ้าคาหรือก้าน มะยม สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ๑ มัด ถ้าใช้ใบมะยมใช้ก้านสด ๙ ก้าน ถ้ามีการเจิม ก็เตรียมแป้งกระแจะ ใส่น้ำหอมในผอบเจิมด้วย ถ้ามีการปิดทองด้วย ก็เตรียมทองคำเปลวไว้ ตามต้องการไว้ในพาน ตั้งไว้ข้างบาตรน้ำมนต์ด้วย

ด้ายสายสิญจน์ - ใช้ด้ายดินจับ ๙ เส้น ๑ ม้วน โยงรอบบ้านหรือบริเวณพิธี เวียนจากซ้ายไป ขวา โยงเข้าหาพระประธานที่โต๊ะหมู่บูชา เวียนซ้ายไปขวาเช่นเดียวกัน แต่ไม่ควรเอาไปพันไว้ที่องค์พระประธาน เวียนรอบฐานพระโยงมาที่ขันหรือบาตรน้ำมนต์เวียนขวา แล้วนำด้ายสายสิญจน์วางไว้บนพานรอง ตั้งไว้ข้างโต๊ะบูชาใกล้กับพระเถระ องค์ประธานในสงฆ์ เรื่องด้ายสายสิญจน์นี้ มีข้อควรระวังเป็นพิเศษคือ ห้ามข้ามกรายเป็นเด็ดขาด แม้ที่สุดจะหยิบ ของข้ามหรือยื่นมือไปเขี่ยบุหรี่ บ้วนน้ำหมากน้ำลาย ก็ไม่ควรข้ามด้ายสายสิญจน์อย่างยิ่ง เพราะ นอกจากเป็นการแสดงความไม่เคารพในพระพุทธเจ้า หรือถ้าเป็นงานศพก็ไม่เป็นการเคารพในผู้ตาย และยังเป็นผู้ที่ถูกติเตียนด้วย หากมีความจำเป็นจริงๆ ก็ควรสอดมือไปทางใต้ด้ายสายสิญจน์

การปูอาสนะสำหรับพระสงฆ์ - ควรใช้เสื่อหรือพรหมปูเสียชั้นหนึ่งก่อน นิยมใช้กัน ๒ วิธีคือ ยกพื้นอาสนะสงฆ์ให้สูงขึ้น โดยใช้เตียงหรือแคร่ม้ายาววางต่อกันให้พอจำนวนแก่สงฆ์ และอีก วิธีหนึ่ง ปูลาดอาสนะบนพื้นธรรมดา อาสนะสงฆ์ชนิดยกพื้นนิยมใช้ผ้าขาวปูลาด จะมีผ้านิสีทนะ ปูอีกชั้นหนึ่ง หรือไม่ก็ได้ โดยอาสน์สงฆ์ยกพื้นนี้ มักจัดในสถานที่ที่ฝ่ายเจ้าภาพนั่งเก้าอี้กัน ส่วนอาสนะชนิดที่ปูลาดบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือพรมผ้าที่สมควรก็สุดแท้แต่ที่จะหาได้ หลักคืออาสนะสงฆ์ ควรอยู่สูงกว่าคนธรรมดาขั้นหนึ่งเสมอ ดังนั้นควรระวังอย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับที่นั่งของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกัน ควรปูลาดให้แยกจากกัน ถ้าจะเป็นแยกกันไม่ได้โดยปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้อง สำหรับอาสนะสงฆ์ ควรปูทับเสื่อหรือพรมอีกชั้นหนึ่งจึงจะเหมาะสม โดยใช้ผ้าขาวหรือผ้านิสีทนะก็ได้ ปูเรียงองค์เป็นระยะให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้ชิดกันเกินไป มีหมอนอิงข้างหลังเรียงองค์เท่า จำนวนที่นิมนต์มาในงานนั้นๆ (สิ่งของเหล่านี้ก็ขอยืมที่วัดได้ทั้งหมด)

เครื่องรับรองพระ ก็มีกระโถน, ภาชนะน้ำเย็น, พานใส่หมากพลูบุหรี่ วางไว้ทางด้านขวามือของพระสงฆ์เป็นรายรูป ถ้าของมีจำกัด ๒ รูปต่อ ๑ ที่ก็ได้ วางเรียงจากข้างในมาหาข้างนอก ตามลำดับ คือกระโถนไว้ในที่สุด ถัดมาภาชนะน้ำเย็น และพานหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำชา หรือเครื่องดื่ม เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งเรียบร้อยแล้ว ค่อยถวายก็ได้ การล้างเท้า - เช็ดเท้าพระสงฆ์ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยพบเห็น ซึ่งแต่ก่อนเมื่อพระสงฆ์มาถึงบ้าน ฝ่ายต้อนรับจะคอยล้างเท้าให้ท่าน จะให้ท่านล้างเท้าเองดูไม่เหมาะ เพราะน้ำอาจมีสัตว์ขัดกับพระวินัย ซึ่งมีพุทธบัญญัติว่า เราภิกษุไม่เป็นไข้ จักไม่สวมรองเท้าเข้าไปในบ้าน ถ้าภิกษุรูปใดฝ่าฝืนรับเป็นอาบัติทุกกฎ เสร็จแล้วคอยเช็ดเท้าให้ท่านด้วย สมัยนี้พอลงจากรถ ก็นิมนต์ขึ้นบ้านเลย (ที่หนักกว่านั้นคือ ไม่ไปรับท่านมาจากวัด ให้ท่านขึ้น taxi มาเองซะงั้น) จากนั้นจึงประเคนเครื่องรับรองพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์เข้าประจำที่เรียบร้อยแล้ว พึงเข้าประเคนของรับรองพระที่เตรียมไว้ปูแล้ว คือภาชนะน้ำเย็น พานหมากบุหรี่ (เดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยถวายกันแล้ว) ประเคนของที่อยู่ข้างใน ก่อน เสร็จแล้วน้ำชาหรือน้ำอัดลมถวายทีละองค์จนครบ การประเคนต้องให้ได้หัตถบาศ คือต้องเข้าไปใกล้พระประมาณ ๑ ศอก จะเป็นชายหรือหญิง ก็ประเคนได้ทั้งนั้น ส่วนของที่ประเคนต้องไม่ใหญ่หรือหนักเกินไป ต้องเป็นของที่พอจะยกได้คนเดียว


การจุดธูปเทียนเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพไม่ควรให้ผู้อื่นจุดแทน ก่อนจุดเทียนให้กราบพระพุทธเสียก่อน แล้วใช้เทียนชนวนจุดเทียนบนที่บูชา ให้จุดเล่มขวาของพระพุทธรูปเสียก่อน แล้วจุดเล่มซ้าย จึงจุดธูป ๓ ดอก แล้วภาวนาว่า

อิเมหิ สกฺกาเรหิ พุทฺธํ อภิปูชยามิ
อิเมหิ สกฺกาเรหิ ธมฺมํ อภิปูชยามิ
อิเมหิ สกฺกาเรหิ สงฺฆํ อภิปูชยามิ
แล้วกราบ ๓ ครั้ง กราบครั้งที่ ๑ ว่า พุทฺธํ วนฺทามิ กราบครั้งที่ ๒ ว่า ธมฺมํ วนฺทามิ กราบ ครั้ง ๓ ว่า สงฺฆํ วนฺทามิ

ครั้นเมื่อบูชาและกราบพระเสร็จแล้วให้ถวายกลุ่มด้ายสายสิญจน์ ถวายก็ได้ ถวายเสร็จแล้วเริ่มอาราธนาศีลต่อไป ดังนี้
มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม (๓จบ) หรือจะเติม ทุติยมฺปิฯ ตติยมฺปิฯ ด้วยก็ได้
แล้วตั้งใจรับศีลต่อไป ซึ่งพระท่านจะให้ศีลจนจบ เมื่อรับศีลแล้วให้คุกเข่าประนมมือ อาราธนาพระปริตรดังนี้
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พรูถมงฺคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พรูถมงฺคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ พรูถมงฺคลํ
อาราธนาจบแล้ว กราบลง ๓ ครั้ง แล้วนั่งราบตั้งใจฟังพระสวดเจริญพระพุทธมนต์ต่อไป

จุดเทียนน้ำมนต์ตอนพระสวดถึงมงคลคาถาตอนขึ้น "อเสวนาฯ" ให้จุดเทียนชนวนแล้วไปจุดเทียนสำหรับหยดน้ำมนต์ที่ปักติดไว้กับภาชนะทำน้ำมนต์ จุดเสร็จก็ยกประเคน ถวายพระทำน้ำมนต์ต่อไป ไหว้หรือกราบหนึ่งครั้ง (จุดเทียนน้ำมนต์เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ)

เมื่อพระสวดมนต์จวนจบ ถึงบท ส่งเทวดา คือ ทุกฺขปฺปตฺตา...ฯ ให้จัดเตรียมน้ำร้อน น้ำดื่มไว้ พอสวดจบก็เอาไปถวายพระท่าน แล้วเลี้ยงภัตตาหารพระ อย่าลืมจัดสำรับคาวหวานถวายพระพุทธ เจ้าภาพควรบูชาด้วยใจนึกดังนี้

อิมํ สูปพยญฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ แล้วกราบ ๓ ครั้ง ครั้นได้เวลาพอสมควรก็กล่าวลาข้าวพระพุทธว่า เสสํ มงฺคลา ยาจามิ

พอพระฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ถวายไทยธรรม พระท่านจะขึ้น ยถาฯ เจ้าภาพเริ่มกรวดน้ำ ห้ามเอานิ้วรองน้ำ เพราะไม่ต้องการให้มีเครื่องกีดขวาง กรวดน้ำเสร็จก็นั่งประนมมือจนกว่าพระจะอนุโมทนาให้พรเสร็จ จากนั้นนิมนต์พระประพรมน้ำมนต์เจ้าภาพ แขกผู้มีเกียรติที่เชิญมาในงาน และประพรมบริเวณบ้านจนทั่ว ขณะพรมน้ำมนต์พระท่านจะสวดเจริญชัยมงคลคาถา สวดจบแล้วเป็นเสร็จพิธีทางพระ เจ้าภาพควรส่งพระกลับวัดแค่บันไดก็พอ เสร็จพิธีสงฆ์นี้แล้ว อย่างน้อยนับว่าคุณได้ทำบุญเลี้ยงพระไปแล้ว ได้บุญแน่นอน ตอนกรวดน้ำจึงควรอุทิศส่วนกุศลให้ทั่วถึง

พอการทำบุญเลี้ยงพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็ทำพิธีขึ้นบันไดตามลัทธิความเชื่อถือ (ตามแต่ศรัทธา ไม่ค่อยมีแพร่หลายนัก) ให้ขึ้นบ้านตามทิศที่เป็นมงคล ขึ้นทางทิศบูรพาให้เอาเงินขึ้นก่อนจะมีลาภ ถ้าขึ้นทางทิศอุดรให้เอาทองขึ้นก่อนจะได้สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า และถ้าขึ้นทางทิศอีสานให้เอานมวัวและของขาวขึ้นก่อน การขึ้นบ้านตอนแรกท่านให้เอาหญ้าแพรก งา เหล็ก ขึ้นก่อน จะปราศจากทุกข์และอุปัทวันตรายทั้งปวง วันที่จะขึ้นบ้านใหม่ ที่จัดว่าเป็นวันดี ได้แก่ วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์

พิธีพระเสร็จแล้วก็จะมีการเลี้ยงอาหารกัน เมื่อสมัยก่อนราว ๓๐-๔๐ ปี จะมีการเลี้ยงอาหารแก่วงศาคณาญาติมิตรสหายและแขกเหรื่อที่เชิญมาเป็นเกียรติในงาน พร้อมทั้งจัดให้มีมหรสพ การเล่นรื่นเริง เช่น โขน ละคร ลิเก ลำตัด ให้ชมอีกด้วย การเลี้ยงอาหารแขกแบบไทยๆ นั่งล้อมกันเป็นวงๆ หรือทำร้านมีกระดาน ๓-๔ แผ่นปูยาวสำหรับตั้งอาหาร ๒ ข้าง มีกระดานแผ่นเดียวลดต่ำลงมาปูยาวไปสำหรับแขกนั่งรับประทานอาหาร แต่ปัจจุบันนี้การเลี้ยงแขกนิยมใช้โต๊ะจีนอาหารจีนกันเป็นส่วนมาก มหรสพที่จัดให้ชมมักนิยมหาดนตรี นักร้องเพลงลูกทุ่งลูกกรุง หางเครื่องมาแสดงตอนแขกรับประทานอาหาร เพื่อให้งานครึกครื้นสนุกสนาน รื่นเริงบันเทิงใจไม่เงียบเหงา การจัดงานใหญ่งานเล็กก็แล้วแต่ฐานะและรสนิยมความต้องการของเจ้าภาพ แต่มหรสพเดี๋ยวนี้ไม่นิยมจัดกันแล้ว เพราะฟุ่มเฟือยเกินไป

ถ้าต้องการให้มีการยกศาลพระภูมิในวันนั้นด้วย ก็ต้องเชิญผู้มีความรู้ในทางนี้มาเป็นผู้ทำหน้าที่ประกอบพิธีในวันนั้นด้วย ควรเตรียมต้อนรับรองแขกให้พร้อม และมีการนัดหมายกับผู้ทำหน้าที่ต้อนรับแขกให้เป็นที่เข้าใจว่าใครมีหน้าที่ที่จะต้องทำอย่างไร ถ้ามีการเลี้ยงอาหารแขกด้วย ก็ต้องเตรียมห้องอาหารและอาหารให้พร้อม

จะเห็นว่าการทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบดั้งเดิม เต็มตามพิธีนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ จึงควรจัดตามความเหมาะสมพอดี และพิธีทางพระนี้ ก็เป็นสิ่งควรทำ ส่วนสิ่งที่เป็นความเชื่อ ทางโหราศาสตร์ หรือฮวงจุ้ย เกี่ยวกับการขึ้นบ้านใหม่นั้น จะทำหรือไม่ เชื่อหรือไม่ ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล แต่ก็นำมาลงให้อ่านกันให้ครบทุกด้านครับ


ส่วนการทำพิธีอย่างอื่น ที่ไม่ใช่พิธีสงฆ์ มีวิธีการดังนี้
สิ่งของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธี
- ถุงเงิน , ถุงทอง อย่างละ 1 ถุง
- เงินเหรียญทุกประเภท รวมกันให้ได้ 108 บาท เช่น เหรียญ 10 บาท 5 บาท 1 บาท 50 สต. 25 สต.
- ธนบัตรทุกประเภท รวมกันให้ได้ 1,900 บาท
- ตะกร้า , ถังน้ำ 2 ใบ ( ต้องใช้ของใหม่ )
- ข้าวตอก , ถั่ว , งา
- ดอกกุหลาบแดง , เหลือง , ดอกดาวเรือง แกะเอาเฉพาะกลีบ
- ดอกบานไม่รู้โรย แกะเป็นดอก
- ดอกรัก แกะเป็นกลีบ
- เครื่องครัวทั้งหมด
- พระพุทธรูป ที่เป็นองค์ประธานของบ้าน
- สร้อย แหวน เครื่องประดับ ของมีค่า
- ธูป เทียน
ขั้นตอนการทำพิธี
- นำธนบัตร 1,900 บาท และเหรียญ 108 บาท ใส่ลงในถุงเงิน ก่อนใส่ถุงให้พูดเสียงดังๆ ว่า “ โอ้โฮ เงินทองร้อยแปดพันเก้าเลย “
- นำถุงเงิน และ สร้อย แหวน ทองของมีค่า ใส่ในถุงทอง
- ถังใหม่ที่เตรียมไว้ ใส่น้ำให้เต็มจนล้น 1 ถัง ส่วนอีกถัง ให้ใส่ข้าวสารให้ล้น
- ถั่ว งา ข้าวตอก ดอกไม้ คลุกรวมกัน ใส่ลงในตะกร้า โรยใส่ในถังที่เตรียมไว้ ทุกถัง
- นำเครื่องที่เตรียม ตั้งแต่ 1 - 7 เข้าบ้านก่อน โดยให้เพื่อนๆ ญาติๆ ที่พูดเก่งๆ ให้พูดจาสนุกสนาน และช่วยกันหิ้วเครื่องครัว เครื่องใช้ต่างๆ เข้าบ้าน
- หิ้วถังน้ำ ถังข้าวสารตาม โดยหิ้วให้หกเรี่ยราดตลอดทาง แล้วเอาไปวางไว้บนโต๊ะในครัว พูดดังๆ ว่า “ บ้านนี้มีความสุขจริง เงินทองเต็มบ้าน ข้าวของอุดมสมบรูณ์……” และพูดแต่ในสิ่งที่ดีๆ
- เจ้าของบ้าน อุ้มพระพุทธรูปองค์ประธาน เดินตามขบวนเข้าไป แล้วนำไปไว้ที่หิ้งพระ จุดธูป 9 ดอก ให้พูดถึงชื่อตนเองและทุกคนในครอบครัว ขอให้พระคุ้มครองให้มีความสุข ความเจริญ
-ทุกคนในครอบครัว ช่วยกันแบกตะกร้าที่ใส่ ข้าวตอก ดอกไม้ เงินทอง ของมีค่า เทคว่ำลงบนที่นอน แล้วให้ทุกคนนอนลงบนที่นอน และช่วยกันเก็บ ของที่เทไว้ใส่ในกระเป๋าเสื้อ กางเกง
- เก็บกวาดข้าวของที่หกเรี่ยราด เอาไปให้นกกิน

พิธีนี้เป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ทำตามกันมามากกว่า ไม่เหมือนพิธีกรรมที่เป็นการทำบุญเลี้ยงพระ พิธีการนี้ เป็นเพียงความเชื่อโบราณซึ่งท่านถือเป็นคติสืบต่อกันมา อย่างไรก็ตามคนไทยกับความเชื่อในหลายๆ เรื่องก็ยังคงแยกกันไม่ขาดแม้แต่ในยุคปัจจุบันก็ตาม


วันต้องห้ามตามคติโบราณ


“ห้ามขึ้นบ้านวันเสาร์” เนื่องจากว่าวันเสาร์ตามหลักโหราศาสตร์แล้ว ถือกันว่าเป็นวันแห่งโทษทุกข์ และดาวเสาร์ยังจัดเป็นดาวแห่งบาปเคราะห์อีกด้วย แต่การขึ้นบ้านใหม่ ต้องการความร่มเย็น ความสุขและความมั่นคงถาวร ความเจริญ ดังนั้นคนโบราณจึงห้ามมิให้ประกอบพิธีเกี่ยวกับการปลูกสร้าง บ้านเรือน เช่น การยกเสาเอก วางศิลาฤกษ์ เปิดป้ายอาคาร หรือแม้กระทั่งการย้ายเข้าสู่บ้านใหม่

ส่วนพิธี ขึ้นบ้านใหม่ / เข้าบ้านใหม่ แบบซินแสจีน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับพลังและกระแสต่างๆ ที่เรามองไม่เห็น ลองอ่านเป็นความรู้บ้างก็ดีครับ แต่ใครไม่ค่อยสนใจก็ผ่านไปเลยครับ ถือว่าจบพิธีทำบุญเลี้ยงพระแบบมาตรฐานแล้ว

ในกรณีที่เป็นบ้านใหม่ หรือบ้านนั้นยังไม่เคยเข้าไปอยู่อาศัย ก่อนย้ายเข้า เราสามารถปรับสภาพกระแสภายในบ้านให้ปราศจากสิ่งไม่ดีทั้งหลายโดยการทำพิธี ล้างปรับสภาพ การทำพิธี ขึ้นบ้านใหม่ ต้องใช้ฤกษ์ยามที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงจะเกิดความร่มเย็นเป็นสุข ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ให้ดับไฟในบ้าน ให้ทุกคนออกนอกบ้าน รวมตัวกันที่หน้าบ้าน เมื่อได้ฤกษ์ ขึ้นบ้านใหม่ ให้เดินเข้าบ้านใหม่ จัดตั้งองค์พระ สิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ เพื่อให้ท่านช่วยคุ้มครองปกปักรักษา ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข

เราควรกำหนดจุดตั้ง และเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ล่วงหน้า เพื่อสะดวกในวันทำพิธี และจะได้ตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เสร็จทันในฤกษ์ หากต้องการนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้ามาก่อน ให้ใส่กล่องทึบและวางไว้โต๊ะกลางบ้าน เพื่อจะได้ไม่เกี่ยวข้องกับทิศทาง และหากอัญเชิญมาจากที่บ้านเก่าต้องดูฤกษ์อัญเชิญลง

การจัดของไหว้ถวาย ( ตามแต่ประเพณีและความนิยมของบุคคล ) ดีที่สุด ควรเป็นผลไม้ห้าอย่าง ( ครบห้าธาตุ - ดิน ทอง น้ำ ไม้ ไฟ )
ไม่ควรเป็นเนื้อสัตว์ เพราะเท่ากับเบียดเบียนชีวิตอื่น
วันแรกให้จุดธูปจริง เทียนจริง เพื่อให้เกิดควัน (ควันเป็นสื่อถึงแสดงออก ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเชิญได้รับรู้) และขอพร (อย่าขอหลายอย่าง ให้ขอเท่าที่สำคัญและจำเป็น)
ก่อเตาหุงต้ม (จุดเตาแก๊ส) คือการเริ่มต้นอยู่กิน และหมายถึงมีกินมีใช้ (ในสมัยโบราณจะใช้วิธีการถือ เตาถ่าน เข้าบ้าน แต่ปัจจุบันสามารถใช้วิธีนี้แทน) แนะนำให้ต้มขนมอี๋เพื่อเป็นสิริมงคล
ตั้งเตียงและนอนค้างคืน หมายถึงมีที่นอน อยู่เย็นเป็นสุข (ในความเป็นจริงส่วนใหญ่จะตั้งเตียงอยู่แล้ว เราเพียงแต่ดันขยับสักเล็กน้อยพอเป็นพิธีเท่านั้น) การปูเตียง ก็เพียงยกหมอนขึ้นแล้ววางลง ตบฟูกเบา ๆ
หากที่บ้านทิ้งช่วงทำบุญมามากกว่า 1 ปี ควรดูฤกษ์ แต่หากทำต่อเนื่องทุกปีไม่ต้องดูฤกษ์
วิธีที่ง่ายกว่าคือ : ไปทำบุญสังฆทานที่วัด แล้วอุทิศให้เจ้าที่ และวิญญาณทั้งหลายที่อาศัยในบ้านหลังนี้ ขอให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข


TraveLArounD



ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1400 กว่าเรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

รวบรวมและเรียบเรียงจาก
คลังปัญญาไทย
//www.panyathai.or.th/wiki/
theyoung.net
//ecurriculum.mv.ac.th/elibrary/library/theyoung.net/kuen-bann-mailibrary.htm
bloggang : ^kratop^ - [ 18 ก.พ. 49 10:13:06 ]
//www.fengshuitown.com/fengshui/fengshui-tip-ceremony-new-home.htm - 14k -




 

Create Date : 21 มีนาคม 2551    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2554 12:06:22 น.
Counter : 7298 Pageviews.  

ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกในงานบุญมาฆบูชา

ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
" ร้อยมาลัยข้าวตอก แทนดอกมณฑารพ
นบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า "

ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกในงานบุญ มาฆบูชา
ณ บ้านฟ้าหยาด ต.ฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร



“งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก” ที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของชุมชนลุ่มน้ำชี แห่งบ้านฟ้าหยาด ต.ฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ชาวบ้านจะนำข้าวตอกมาร้อยเป็นมาลัยสายยาวแทน “ดอกมณฑารพ” อันเป็นดอกไม้ทิพย์แห่งสรวงสวรรค์ แล้วจัดขบวนแห่ไปถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา เฉพาะที่ชุมชนบ้านฟ้าหยาดแห่งนี้ เท่านั้น









ความเป็นมาของประเพณีแห่มาลัยนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนที่ว่าด้วยพระสุตตันตปิฎก บทปรินิพพานสูตร กล่าวคือ ดอกมณฑารพ ซึ่งเป็นดอกไม้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เวลาที่ดอกมณฑารพจะบาน หรือร่วงหล่น ก็ต้องมีเหตุการณ์สำคัญๆเท่านั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จตุรงคสันนิบาต และทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ดอกมณฑารพจึงได้ร่วงหล่นลงมายังโลกมนุษย์









ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา ดอกมณฑารพ นี้ก็ได้ร่วงหล่นลงมาทั้งก้านและกิ่ง เปรียบเหมือนความเสียอกเสียใจพิไรรำพันต่อการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงเหล่าพระภิกษุ ผู้ได้ชื่อว่าอรหันตขีนาสพทั้งหลายด้วย หมู่เหล่าข้าราชบริพาร ประชาชนทั้งหลายได้พากันมาถวายสักการะพระบรมศพ อีกทั้งยังได้พากันเก็บนำดอกมณฑารพที่ร่วงหล่นลงมาเพื่อไปสักการบูชา และรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปดอกมณฑารพ ที่เก็บมาสักการบูชาเริ่มเหี่ยวแห้งและหมดไป





เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ รวมทั้งเหตุการณ์ในวันสำคัญต่างๆ ชาวพุทธจึงได้พากันนำเอาข้าวตอกมาสักการบูชา เพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเป็นของสูงที่มนุษย์จะขาดไม่ได้ การจัดข้าวตอกดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชามีจุดเริ่มต้นเมื่อไหร่นั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าแรกๆ จะใส่พานไว้โปรยเวลาพระสงฆ์เทศนา ต่อมาจึงมีการนำมาประดิษฐ์ตกแต่งที่เห็นว่าสวยงาม สืบทอดกันเรื่อยมา จากการตกแต่งมาลัยเพื่อความสวยงามก็พัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นการประกวดประชันกัน เมื่อมาลัยร้อยได้สวยงามก็เริ่มมีการแห่แหน ให้เป็นการเป็นงานขึ้นมาด้วย ประกอบพิธีนั้น จนกลายเป็นงานที่ใหญ่ขึ้นมีการฟ้อนรำประกอบขบวน และกลายเป็นประเพณีแห่มาลัยในปัจจุบัน



ภาพและเรื่องจาก
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
//www.tatubon.org/






 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2551 0:43:52 น.
Counter : 4058 Pageviews.  


travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.