ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

เทคนิคการชักว่าว

//board.postjung.com/data/815/815017-topic-ix-0.jpg

สิ่งที่เรียนรู้ (What) วิธีเล่นว่าว

วิธีการเรียน (How) 

ว่าว เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความบันเทิงที่นิยมเล่นกันเกือบทุกชาติเป็นเวลานานมาแล้ว

การละเล่นของไทยเพื่อความบันเทิงอย่างหนึ่งของเด็กและ ผู้ใหญ่ ที่นิยมกันมากในทุกภาคของประเทศไทยก็คือการเล่นว่าว ซึ่งปรากฏตามหลักฐานว่ามีมาเเต่กรุงสุโขทัย 

โอกาสที่จะเล่นว่าว ปัจจุบันนิยมเล่นกันทั้งในหน้าหนาวและหน้าร้อน การเล่นว่าวแน่นอนจะเล่นว่าวได้สนุก กระแสลมนี้มี 2 ระยะ คือ

ฤดูหนาวหรือหน้าหนาว ลมจะพัดจากผืน แผ่นดินลงสู่ทะเล คือ พัดจาก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเล่นว่าวในหน้าหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

ฤดูร้อนหรือหน้าร้อน จะมีลมตะวันตก เฉียงใต้จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ หรือเรียกกันว่าลมตะเภา ชาวไทยภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้ นิยมเล่นว่าวในระยะนี้คือ ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน และมักจะเรียกกระแสลมที่พัดมาทาง ทิศนี้ว่า ”ลมว่าว”

วิธีเล่นว่าวของไทย คนไทยในภาคต่างๆ ทุกภาคนิยมเล่นว่าวมาก วิธีเล่นมีอยู่ 3 วิธี คือ

1.ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่างๆ

2.บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการนิยมกันที่ความงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย

3.การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ การเล่นว่าวแบบนี้แตกต่างจากชาติอื่น ทั้งตัวว่าวและวิธีที่จะต่อสู้คว้ากัน การแข่งขันว่าวจุฬากับปักเป้านั้น ว่าวปักเป้ามีขนาดเล็กกว่าว่าวจุฬาประมาณครึ่งหนึ่ง

ผลการเรียน (outcome) สามารถรู้เวลาและวิธีการเล่นว่าวได้

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (reflection) การ ที่เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ขอให้เรามีความตั้งใจที่จะทำจริงๆ แล้วผลที่ออกมามันจะมีค่า คุ้มค่า และสร้างความประทับใจให้กับเราไม่น้อย แล้วยังเป็นกำลังใจในการทำสิ่งต่างๆต่อไป

        ในอดีตมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารเหนือว่า พระร่วงทรงเล่นว่าวอย่างไม่ถือพระองค์ว่าเป็นท้าวพระยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2300) ก็มีการเล่นว่าวกันมากถึงกับมีกฎมณเพียรบาลห้ามมิให้ประชาชนเล่นว่าวทับ พระราชวัง ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการเล่นว่าวดังเช่นในสมัย ก็มีการเล่นว่าว เช่นในรัชกาลที่ 5 ก็ทรงโปรดให้ใช้สถานที่ในพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่าเป็นที่เล่นว่าวจุฬากับปักเป้า เป็นต้น ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันเป็นพื้นมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย

//board.postjung.com/data/815/815017-topic-ix-1.jpg

ว่าวอีลุ้ม

มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีไม้ไผ่เป็นโครงสองอันคือ อกและปีกอกจะสั้นกว่าปีกเล็กน้อย กระดาษที่ใช้ปิดทาบลงบนโครงนี้ คือกระดาษว่าว ซึ่งบางเป็นพิเศษ ส่วนปลายของปีกทั้งสองข้างจะติดพู่กระดาษเพื่อช่วยในการทรงตัว ในขณะที่ว่าวลอยอยู่ในอากาศ มีหางสำหรับถ่วงน้ำหนักป้องกันไม่ให้ว่าวส่ายไปมา

//board.postjung.com/data/815/815017-topic-ix-2.jpg

ว่าวปักเป้า

มี ลักษณะเช่นเดียวกับว่าวอีลุม แต่ทว่าไม้ส่วนโครงที่เป็นปีกจะแข็งกว่าปีกของอีลุ้มมาก จึงต้องมีหางที่ทำด้วยผ้าเป็นเส้นยาวถ่วงอยู่ที่ส่วนก้น เมื่อชักขึ้นไปลอยอยู่ในอากาศแล้วจะไม่ลอยอยู่เฉยๆจะส่ายตัวไปมาน่าดูมากและ เมือถูกคนชักกระตุกสายเชือกป่านตามวิธีการแล้ว มันจะเคลื่อนไหวโฉบเฉี่ยวไปมาท่าทางต่างๆตามต้องการ

//board.postjung.com/data/815/815017-topic-ix-3.jpg

ว่าวจุฬา

มีลักษณะเป็น 5 แฉก ประกอบเป็นโครงขึ้นด้วยไม้ 5 อัน นักเลงว่าวจะเสาะหาไม้ไผ่สีสุกที่มีปล้องยาวเรียว เรียกว่า “เพชรไม้” มาเหลา อันกลางเรียกว่า “อก” เหลาปลายเรียวหัวท้าย 1 อัน อีก 2 อัน ผูกขนาบตัวปลายให้จรดกันเป็นปีก และอีก 2 อัน เป็นขาว่าวเรียกว่า “ขากบ” จากนั้นขึงด้ายเป็นตารางตลอดตัวว่าว เรียกว่า “ผูกสัก” แล้วใช้กระดาษสาปิดทับลงบนโครง สำเร็จเป็นว่าวจุฬา ถ้าหากไม่ถูกสัดส่วนแล้ว ว่าวจะไม่อาจลอยตัวขึ้นได้เลย

//board.postjung.com/data/815/815017-topic-ix-4.jpg

ว่าวดุ้ยดุ่ย

มี รูปร่างแบบเดียวกับว่าวจุฬาแต่ขากบเป็นรูปเดียวกับปีก ติดอยู่ซ้อนกัน ส่วนบนใหญ่ส่วนล่างจะเล็ก สุดตัวตอนล่างมีไม้ขวางอีกอันหนึ่ง สำหรับผูกหาง ซึ่งมีสองหางช่วยในการทรงตัวเมื่อลอยขึ้นไปอยู่ในอากาศ ส่วนบนของหัว ไม้อันที่เป็นอกยื่นออกมาในราวหนึ่งคืบ เป็นเดือยในลักษณะสี่เหลี่ยมเพื่อเสียบที่ทำเสียง ซึ่งเป็นคันเหมือนที่ทำกระสุนหรือธนู ทำด้วยไม้ไผ่ เจาะรูให้เป็นสี่เหลี่ยม กึ่งกลางคันให้พอดีกับเดือยสี่เหลี่ยมที่ยื่นออกมา ตัวกลางที่ทำให้เกิดเสียงนั้น ใช้ไม้ไผ่หรือหวายเส้นโตๆ เหลาให้เป็นแผ่นบางๆ แล้วเอาปลายเชือกสองข้างผูกติดกับปลายคัน เมื่อติดเครื่องทำเสียงนี้แล้วก็จัดการให้ว่าวขึ้นไปลอยอยู่บนอากาศ ไม้ไผ่หรือหวายแผ่นบางๆที่ถูกขึงอยู่นั้น เมื่อสายลมมาปะทะ ก็จะพลิ้วตัว ทำให้เกิดเสียงดังตุ๋ยตุ่ยอยู่ตลอดเวลา ว่าวนี้ทำเล่นกันตามชนบท โดยมากพระเป็นผู้ทำ นิยมชักขึ้นในเวลากลางคืน


ที่มา: //ilwc.aru.ac.th/Contents/GameThai/GameThai30.htm




Create Date : 12 ตุลาคม 2557
Last Update : 12 ตุลาคม 2557 14:14:58 น. 0 comments
Counter : 2808 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ข่าวดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add ข่าวดี's blog to your web]