ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

เอดส์-ท้องไม่พร้อม ปรึกษา 1663

“เราเพียงแต่ให้ข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือก แต่การตัดสินใจเป็นของคนที่โทรมา” อาสาสมัครผู้ให้คำปรึกษาประจำสายด่วน 1663 เล่าให้ฟังถึงวิธีการทำงาน

/data/content/25949/cms/e_cdgikruy1678.jpg

          ทั้งนี้ 1663 เป็นสายด่วนที่รู้จักกันดีกว่า 20 ปีว่า เป็นคู่สายโทรศัพท์ที่เปิดรับปรึกษาเรื่องเอดส์แบบนิรนาม คือเก็บข้อมูลเป็นความลับ โดย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ต่อมาภายใต้การสนับสนุนของ สสส. สายด่วน 1663 ร่วมกับ เครือข่ายท้องช่วยเหลือผู้หญิงประสบปัญหาท้องไม่พร้อม มูลนิธิแพธทูเฮลท์ และภาคี จึงได้พัฒนาระบบการให้บริการแก่ผู้หญิงที่ “ท้องไม่พร้อม” ให้สามารถโทรศัพท์เข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ด้วย

          ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ จัดงานประจำปี “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม”พร้อมเผยภาพรวมของการให้บริการนับแต่ กันยายน 2556 – กรกฏาคม 2557 ว่ามีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 22,886 ราย มีผู้โทรศัพท์เข้ามาปรึกษาเรื่องเอดส์ 19,447 ราย คิดเป็นร้อยละ 85 และมีผู้โทรศัพท์เข้ามาปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อมอีก 3,439 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 15

          “สื่อสาร” เพื่อช่วยสังคม

          นิมิต เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เล่าถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่า ต้องการขยายการปรึกษาทางเลือกเอดส์และท้องไม่พร้อมให้ครอบคลุม พร้อมทั้งพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งต่อการบริการที่สอดคล้องกับทางเลือกของผู้รับบริการ

         “ตัวเลขของผู้เข้ารับบริการในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็อยากให้ดีกว่านี้ เพราะหากมีการประชาสัมพันธ์มากขึ้น คนที่ต้องการคำปรึกษาก็น่าจะเข้าถึงสายด่วน 1663 ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ทุกวันนี้มีคนโทรเข้ามาเฉลี่ยวันละ 80 คู่สาย แต่ก็หวังไว้ว่า ไม่น่าจะต่ำกว่า 150 สาย เพราะศักยภาพของคนทำงานยังรับไหวอยู่”

          รับประกันคุณภาพ “บริการ”

         สิ่งสำคัญในการทำงานที่ละเลยไปไม่ได้ ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ บอกว่า คือการกำกับคุณภาพของอาสาสมัครที่ให้บริการ แก่ทุกสายที่โทรศัพท์เข้ามา

         “สิ่งสำคัญคือ เคสที่เข้ามารับบริการ จะต้องได้รับการบริการ การใส่ใจ หรือการให้คำปรึกษาที่มีคุณภาพเท่าๆ กัน ฉะนั้นการฝึกฝนอาสาสมัครขึ้นมาให้บริการจึงต้องใช้เวลา ต้องเข้มงวด และฝึกที่จะให้ความรู้ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง”

         กล่าวคือ หากผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวี (โรคเอดส์) รู้จักดูแลตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม กินยาต้านไวรัส และพบแพทย์เป็นประจำ ก็สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เหมือนคนทั่วไป ขณะเดียวกัน หญิงท้องไม่พร้อม ก็ยังมีหนทางชีวิตให้เลือกเดิน...

         “ประมาท” ต้นตอ เอดส์-ท้องไม่พร้อม

ด้าน ความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอดส์ รวมถึงปัญหาท้องไม่พร้อม ของผู้โทรศัพท์เข้ามาปรึกษา แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ นิมิตรให้ความเห็นว่า  “ไม่ต่าง” เพราะเรื่องเอดส์เป็นความเสี่ยงเดิม ความไม่เข้าใจของคน ก็ยังเป็นประเด็นเดิมๆ แค่เปลี่ยน “คน”

         “สำหรับท้องไม่พร้อม สถานการณ์ของปัญหา ก็มักจะเป็นสาเหตุเดิมๆ คือ ไม่ได้เตรียมตัว ไม่ได้ป้องกัน คิดว่าครั้งเดียวคงไม่ท้อง” นิมิตรกล่าว

          โดยจำนวนสถิติของ “ท้องไม่พร้อม” ที่สายด่วน 1663 เก็บได้จากการบันทึกข้อมูลในระบบทั้งหมด 1,617 ราย มีอายุระหว่าง 12-23 ปี จำนวน 736 คน คิดเป็นร้อยละ 45 และอายุ 23-45 ปี อีก 819 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 51

 สนใจปรึกษาปัญหาเอดส์และท้องไม่พร้อม โทร.1663 เปิดให้บริการ 10 คู่สายทุกวัน วันละ 12 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น.

           เพราะทุกชีวิตอยู่ร่วมกันได้ และมีทางเลือกเสมอ...

ที่มา:
เรื่องโดย : ชัชวรรณ ปัญญาพยัตจาติ Team Content //www.thaihealth.or.th

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต



Create Date : 06 ตุลาคม 2557
Last Update : 6 ตุลาคม 2557 22:45:13 น. 0 comments
Counter : 1253 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ข่าวดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add ข่าวดี's blog to your web]