ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

"ชาร์ลี ดุ๊ค" บรุษคนที่ 10 บนดวงจันทร์ กับมุมมองใน "วิทยาศาสตร์"


"ก้าวแรกบนดวงจันทร์"

ถือ ว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ของมนุษยชาติ ท่ามกลางการแข่งขันทาง "อวกาศ" ในระหว่าง "สงครามเย็น" ของ 2 ชาติมหาอำนาจในยุคนั้นอย่าง สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต


และจากวาทะที่ประธานาธิบดี "จอห์น เอฟ เคเนดี้" ไดัประกาศต่อสาธารณชนว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ภายใน สิ้นปี ค.ศ.1970 นำมาสู่โครงการ "อะพอลโล" ที่ถือกำเนิดใน ค.ศ.1961

แต่ จากความล้มเหลวในครั้งแรก เนื่องจากอุบัติเหตุของ เครื่อง "อะพอลโล 1" ทำให้มีนักบินอวกาศเสียชีวิตถึง 3 ราย โครงการนี้ถูกชะลอลงท่ามกลางข้อสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือไม่

แต่ แล้วในปี ค.ศ.1969 จากความพยายามหลายต่อหลายครั้ง เครื่อง "อะพอลโล 11" ก็ได้ นีล อาร์มสตรอง ขึ้นไปประทับรอยเท้า อันเป็นรอยเท้าแรกของ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "มนุษย์" บนดวงจันทร์ที่ทอแสงมายังโลกยามราตรี

จาก นั้นอเมริกาได้ตอกย้ำความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเครื่องอะพอลโลเครื่องอื่นตามไปที่ดวงจันทร์ รวมไปถึงเครื่อง อะพอลโล 16 ที่นำ "ชาร์ลี ดุ๊ค" ในวัย 37 ปี มนุษย์โลกคนที่ 10 และอายุน้อยที่สุุดที่ได้เหยียบบนดวงจันทร์

ย้อนกลับไปเล็กน้อย..

ชาร์ลี เป็นคนแรกที่ได้ติดต่อกับ นีล อาร์มสตรอง หลังจากที่ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จบนดวงจันทร์


และเป็นเสียงแรกของมนุษย์ที่ติดต่อไปยังดวงจันทร์

วินาที นั้น ชาร์ลี บอกว่า เสียงของ อาร์มสตรอง ทำให้เขาสามารถหายใจได้ทั่วท้องอีกครั้ง และเป็นแรงกระตุ้นให้เขาก้าวข้าม "ขีดจำกัด" ของมนุษย์ และมุ่งไปสู่ดวงจันทร์ในที่สุด หลังจากความล้มเหลวในครั้งแรก ได้สร้างแรงกดดันให้กับนักบินอวกาศคนอื่นๆ อย่างมหาศาล

เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1935 ที่เมือง ชาร์ลอตต์ เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ศึกษาต่อในระดับมัธยมที่โรงเรียนแลงแคสเตอร์ รัฐเซาท์แคโรไลนา จากนั้นในปี ค.ศ.1953 ได้ศึกษาต่อที่ Admiral Farragut Academy ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นนำในทางทหารเรือ และจบการศึกษาในฐานะผู้แทนผู้เรียนที่กล่าวสุนทรพจน์ในวันรับประกาศนียบัตร

สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ที่ United States Naval Academy ในปี ค.ศ.1957 ก่อนที่จะเข้ารับราชการทหารในกองทัพอากาศ และศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาวิชาการบิน ที่ Massachusetts Institute of Technology ในปี ค.ศ.1964

จากนั้นในปี ค.ศ.1966 ได้รับคัดเลือกจากองค์การนาซา ให้เป็น 1 ใน 19 นักบินอวกาศ ตามความฝันที่เคยมีในวัยเบญจเพส และได้ทำงานนี้่อย่างต่อเนื่อง จนได้รับเป็นผู้ติดต่อกับ เครื่องอะพอลโล 11 และเป็นหนึ่งในนักบินในเครื่องอะพอลโล 16 ที่ขึ้นไปสัมผัสกับดวงจันทร์ในที่สุด

สมรสกับ โดโรธี ไคลบอร์น มีบุตรชาย 2 คน และหลานอีก 9 คน ชีวิตส่วนตัวเป็นคนที่ชื่นชอบ การตกปลา อ่านหนังสือ และเล่นกอล์ฟ

ทุกวันนี้ในวัย 79 ปี ชาร์ลี ได้ใช้ชีวิตอยู่ในรัฐเท็กซัส และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการกองทุนเพื่อนักบินอวกาศ

วันนี้ ชายผู้เหยียบดวงจันทร์ และได้วางรูปครอบครัวของตนเองไว้เป็นที่ระลึกบนนั้น ได้มีโอกาสเหยียบที่ประเทศไทย และพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยเล่ามาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน

ผ่านทางมุมมองในแบบ "วิทยาศาสตร์"

ความรู้สึกแรกที่สัมผัสกับ"อวกาศ"

หลัง จากที่ฟังเสียงนับถอยหลัง ก่อนที่เครื่องจะมุ่งสู่อวกาศ มันเป็นเวลาที่ผมรู้ว่าผมพร้อมแล้วที่จะขึ้นไป และเมื่อผมขึ้นไปถึงอวกาศ ความรู้สึกแรกคือ ตื่นเต้น พิศวง สงสัย มันเป็นความรู้สึกที่เหลือเชื่อ ว่าเราขึ้นมาถึงตรงนี้แล้ว ยากที่จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ รวมไปถึงสัมผัสแรกบนดวงจันทร์ ผมมองผ่านหน้าจอในขณะที่เครื่องยนต์กำลังลงจอด ฝุ่นบนดวงจันทร์ฟุ้งกระจายไปทั่ว ก่อนที่เครื่องจะสัมผัสกับพื้นผิวดวงจันทร์ ผมร้องออกมาความตื่นเต้น พวกเราทุกคนบนเครื่องตื่นเต้น ตื่นเต้นจนนอนไม่หลับไปหลายวันเลยทีเดียว (หัวเราะ)

เราได้อยู่ที่ดวงจันทร์เป็นเวลาเกือบสามวัน สำรวจก้อนหินบนดวงจันทร์ มันช่วงเวลาที่พิเศษมากบนนั้น

หลายคนมองว่า การสำรวจดวงจันทร์ เป็นเรื่อง"โกหก"

ผม สามารถยืนยันได้อย่างแน่นอนว่าเราไปสำรวจดวงจันทร์ ผมสามารถอธิบายได้ในทุกข้อสงสัยที่กล่าวอ้าง เรามีทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเป็นเครื่องพิสูจน์ ทั้งหินที่นำมาจากดวงจันทร์ อีกทั้งถ้าเราจะหลอกลวง หรือ โกหก ทำไมเราต้องไปหลายรอบ เราได้ส่งยานอวกาศไปสำรวจถึง 4 ลำ มีนักบินอวกาศถึง 12 คนที่ได้ขึ้นสมผัสกับประสบการณ์พิเศษบนนั้น ถ้าเราจะหลอกลวงจริง แค่ส่งขึ้นไปลำเดียวและเงียบไว้ก็พอแล้ว ทำไมต้องทำถึงหลายครั้ง อีกทั้งหลักฐานทุกอย่างมีพร้อมและสามารถพิสูจน์ได้ในทาง "วิทยาศาสตร์"

ที่ สำคัญหากวันนี้มีโครงการที่จะขึ้นไป "ดวงจันทร์" อีกครั้งผมพร้อมที่จะตอบตกลงอย่างไม่ลังเล จะไปสัมผัสกับประสบการณ์แบบนั้นอีก ถึงแม้ว่า "นาซา" อาจจะไม่รับคนแก่อายุ 79 ปีคนนี้ขึ้นไปก็ตาม (หัวเราะ)

ความยากลำบากในการสำรวจอวกาศ?


สิ่ง ที่ยากลำบากที่สุุดคือ ชั่วโมงที่ยาวนานในการที่ต้องจดจ่อและมีสมาธิอยู่กับทุกสิ่งที่ทำ เพราะหากมีข้อผิดพลาดนั่นหมายถึง "ชีวิต" ดังนั้น สิ่งที่ยากที่สุดคือการที่จะต้องมีสมาธิอยู่ตลอดเวลาในการปฏิบัติภารกิจ ต้องจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ได้รับการฝึกฝน จดจ่อกับความรู้ทางวิทยาศาตร์ทั้งหมดที่เรียนมา มีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า และมีสมาธิอยู่กับตัวเอง เรียกได้ว่าต้องมีสมาธิอยู่กับทุกสิ่ง ทั้งภายในตนเอง และภายนอก

ทำอย่างไรถึงจะก้าวข้ามใน"สิ่งที่เราไม่รู้"และ"ขีดจำกัด"ของเราไปได้?

การ ฝึกฝนและประสบการณ์เป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยให้ผ่านความกลัวในสิ่งที่เราไม่ รู้ และขีดจำกัดของเราไปได้ ในยุคของผม ผมเป็นนักบินที่ต้องพบกับประสบการณ์ที่ตึงเครียดหลายเหตุการณ์เป็นอย่างมาก เพื่อนของผมหลายคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการบิน แต่ผมกลับมีแรงผลักดันที่จะกล้าก้าวผ่านความกลัวนั้น และคิดว่าอยู่เสมอว่าพวกเขาทำอะไรผิดพลาด และตัวผมเองจะแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้อย่างไร

ส่วน ใหญ่เวลาเจอปัญหา หรือความทุกข์ยาก มนุษย์เราจะมีความท้าทายอยู่สองอย่าง คือ ถอยหนีปัญหาเหล่านั้น หรือ ต่อสู้กับมัน ซึ่งหากคุณต้องการที่จะเสี่ยง คุณต้องต่อสู้กับความทุกข์ยากและปัญหาเหล่านั้น หาข้อผิดพลาดและแก้ไข อย่างในกรณี ยานอะพอลโล่ 1 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้และทำให้มีนักบินอวกาศ 3 คนต้องเสียชีวิต แต่เรายังคงพร้อมที่จะต่อสู้กับปัญหา พร้อมที่จะเสี่ยง หาข้อผิดพลาด สร้างแรงจูงใจและพยายามที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางเอาไว้ให้ได้

ความ ท้าทายของเราคือการที่จะเอาชนะใน "สิ่งไม่รู้" ดังนั้นสิ่งที่เรามุ่งเป้าหมายไว้จึงไม่ใช่การจดจ่ออยู่ที่ความโศกเศร้า เสียใจ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หลายครั้งที่เราต้องสูญเสียเพื่อนไปในการเอาชนะข้อจำกัดและสิ่งที่เราไม่รู้ แต่สิ่งที่เราควรจะจดจ่อคือ "ความมุ่งมั่น" และ "แรงจูงใจ" ที่จะผลักดันให้เราเอาชนะและรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ให้ได้

การพัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศของหลายประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสร้างแรงกดดันให้กับ"นาซา"หรือไม่?

แน่ นอน ต้องมีผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราเองก็ได้มีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปถึงประเทศอื่นๆ และมีความพยายามที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่ส่วนตัวผมนั้นกลับรู้สึกยินดี ที่ประเทศอื่นๆ ได้มีการพัฒนาในเรื่องนี้ เพราะคิดว่าเรื่องของอวกาศไม่ใช่ต้องมุ่งมาที่ นาซา เสมอไป เพราะเราเองก็ได้มีการทำงานร่วมกับ รัสเซีย ยุโรป และมีการเร่งให้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกับประเทศจีน

ดัง นั้น สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาในด้านอวกาศคือการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีของแต่ละ ประเทศ ซึ่งปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา คือ ปัญหาทางการเมือง ที่มีผลต่อการพัฒนาทางด้านอวกาศ รวมไปถึงการให้งบประมาณที่จำกัด ที่เราคิดว่าจะพยายามก้าวผ่านมันไปให้ได้ แต่ก็เชื่อว่ามีสัญญาณที่ดีและมีความคาดหวังว่าจะมีการเพิ่มขึ้น เพื่อให้เราได้ติดเครื่องได้ในอนาคต จะได้ตอบรับการท้าทายในครั้งใหม่ และจะได้ส่งยานอวกาศของเราออกเดินทางสำรวจอีกครั้ง ผมหวังว่าอย่างนั้น

มองว่าควรจะเป็น"ความร่วมมือ"มากกว่า"การแข่งขัน"?

ผม คิดว่าเราเห็นได้อย่างชัดเจนมาก ท่ามกลางสถานการณ์ในตอนนี้ เราเห็นการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น รัสเซีย แคนาดา มีหลายประเทศที่มีการพัฒนา รวมถึงเรามีสมาคมนักสำรวจอวกาศ ที่เป็นการรวบรวมนักบินอวกาศจากทั่วโลก มีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง และมีการแลกเปลี่ยนกันในโปรแกรมการฝึกสอนนักบินอวกาศ เช่นเดียวกับ จีน เองที่มีการเปิดรับมากกว่าเดิม ถึงแม้ว่าลึกๆ แล้วพวกเขาอยากที่จะทำเองคนเดียวมากกว่า แต่ถึงอย่างไรพวกเขาก็มีความพยายามที่จะส่งนักบินอวกาศของเขาไปสำรวจที่ดวง จันทร์ด้วยเช่นกัน

สิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า อนาคตของวงการอวกาศ จึงเป็นความร่วมมือ มากกว่าการแข่งขัน

ความสำคัญของ"วิทยาศาสตร์"?

วิทยา ศาสตร์ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เรามีกฎทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างที่เราหลีกหนีไม่พ้น ทั้งเรื่องของเครื่องยนต์ กฎของแรงโน้มถ่วง การไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วง และความรู้ที่เราได้เรียนรู้ผ่านทางเทคโนโลยี ที่ได้มีการพัฒนามากขึ้นผ่านทางการพัฒนาทางการสำรวจอวกาศ ที่นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก มีเทคโนโลยีหลายอย่างทั้งในเรื่อง คอมพิวเตอร์ การแพทย์ ที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาทางการสำรวจทางอวกาศ

มี หลายโครงการทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการผลักดันเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการสำรวจทางอวกาศ ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่าง "สมาร์ทโฟน" ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่รู้ว่าที่ใช้กันมีความจุเท่าไร แต่ผมขอบอกเลยว่าเมมโมรี่ หรือความจุของเครื่องสมาร์ทโฟน ที่ใช้กันอยู่นั้น น้อยกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์บนอะพอลโล 11 เกือบ 200 เท่า ซึ่งนั่นผ่านมาแล้วเกือบ 42 ปี แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีผ่านการพัฒนาทางการสำรวจอวกาศ

ทำอย่างไรให้คนสนใจใน"วิทยาศาสตร์"มากยิ่งขึ้น?


ผม คิดว่าการกระตุ้นให้คนยุคใหม่ให้มีความสนใจในวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ต้องผ่านทางผู้ปกครองทั้ง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ครูอาจารย์ เพื่อนฝูง คือต้องกระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่รู้จักที่จะ "ฝัน" ต้องรู้จักจินตนาการ ตั้งคำถาม และกล้าที่จะแสดงออก และกล้าที่จะท้าทายในทุกโอกาส ทุกเรื่องราว การกระตุ้นให้เด็กกล้าที่จะเลือกที่ในสิ่งที่ชอบ เลือกในสิ่งที่เขาใฝ่ฝัน กล้าที่จะตั้งเป้าหมายให้สูง กล้าที่จะเผชิญและตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่รู้

ใน ขณะที่ผมยังเป็นเด็ก ตอนนั้นไม่มีโปรแกรมการฝึกเป็นนักบินอวกาศด้วยซ้ำ แต่ผมมีพ่อแม่ ปู่ย่า และญาติๆ ที่รู้จัก เพื่อนๆ ที่ได้กระตุ้น หนุนใจให้ผมที่จะใฝ่หาความรู้ ตั้งใจขวนขวายในการเรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่งผมเองก็ทำแบบนั้นกับลูกหลานของผมเช่นกัน เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด ถ้าผมบอกกับแม่ในตอนนั้นว่า ผมอยากเป็นนักบินอวกาศ เธอคงตอบกลับมาว่า นักบินอวกาศคืออะไร? และถ้าผมบอกว่าผมอยากจะขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์ และเดินบนดวงจันทร์ แม่คงส่งผมไปที่โรงพยาบาลบ้าแน่นอน(หัวเราะ) กว่าผมจะรู้จักนักบินอวกาศคนแรก ก็ต้องรอจนอายุ 25 ปี และใฝ่ฝันที่จะทำอาชีพนี้มาตลอด

ดัง นั้น เราจึงต้องกล้าที่จะตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่สิ่งใหม่ กล้าที่จะฝันให้ไกล ตามความฝัน ตามสิ่งที่เราปรารถนา ซึ่งหากผมไม่กล้า และไม่ได้รับแรงกระตุ้น แรงสนับสนุนแบบนั้น คงไม่มีทางที่ผมจะก้าวไปสู่ดวงจันทร์ได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมรักในการที่จะผจญภัย กล้าที่จะพิสูจน์ กล้าที่จะคิดในแบบที่เป็น "วิทยาศาสตร์"

ในสังคมที่เรายังเชื่อใน "สิ่งที่ลี้ลับ" กันอยู่ คิดว่า "วิทยาศาสตร์" จะทำให้สิ่งเหล่านี้ชัดเจนได้มากขึ้นหรือไม่

ผม คิดอย่างนั้น เพราะ วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่มีพื้นฐานมาจากการทดลอง การทดสอบ การพิสูจน์ การสังเกต หลักฐานและข้อเท็จจริง ซึ่งวัฒนธรรมทางวิทยาศาสตร์เป็นแบบนั้น เราสร้างวิทยาศาสตร์ให้เป็นเหมือนยา เป็นสิ่งที่แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น เครื่องยนต์ เครื่องจักรกล เพื่อที่ผู้คนและเด็กๆ จะได้เห็นผ่านในชีวิตประจำวัน ผมอยากจะพูดอีกครั้งว่า เราควรที่จะกระตุ้นให้เด็กๆ ที่จะกล้าสำรวจใน "สิ่งที่ไม่รู้" เห็นคุณค่าในการค้นพบสิ่งที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ให้พวกเขารับแรงกระตุ้นในการผจญภัย เพื่อค้นพบในสิ่งใหม่ๆ

เช่นเดียวกับ การที่ครั้งหนึ่งผมเคยได้ออกไปผจญภัยในอวกาศเช่นกัน




Create Date : 07 ธันวาคม 2557
Last Update : 7 ธันวาคม 2557 13:18:42 น. 0 comments
Counter : 1066 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ข่าวดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add ข่าวดี's blog to your web]