มีสุข มีทุกข์ อะไรก็จะเขียนไว้ที่นี่

สมานฉันท์ การยุติความขัดแย้ง ต้องยึดหลักอะไร?

    ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน ประการแรกที่เราต้องยอมรับให้ได้ก่อนก็คือเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้แหละ ถ้ายอมรับไม่ได้ เรื่องก็จบตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

   ที่นี้สมมุติว่า ทุกคนยอมรับได้แล้วว่าความแตกต่างเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีปัญหาที่จะรับฟังความเห็นต่าง ที่นี้ถ้าความเห็นต่างนั้นเกิดขึ้นระหว่างคนแค่ 2 คน มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ในเมื่อต่างคนก็ต่างเชื่อว่าความคิดของตัวเองถูก ก็ไปหาหลักฐาน หาข้อพิสูจน์มาสนับสนุนความคิด ของตนเอง ที่นี้ถ้าอีกฝ่ายพร้อมจะรับฟังดังที่ผมบอกไปแล้วตั้งแต่แรก เรื่องมันก็ง่าย ก็พลัดกันนำเสนอความคิดของตน แล้วก็เอาหลักฐานมาประกอบ หลักฐานใครแน่นหนา สมเหตุสมผลมากว่า อีกฝ่ายก็ต้องยอมรับความคิดนั้น เพราะจำนนด้วยหลักฐาน ความขัดแย้งก็จะยุติลงไป (เว้นแต่ว่าเป็นพวกเหตุผลแพ้คนไม่แพ้ )

   แต่ถ้าความขัดแย้งนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างบุคคล แต่เกิดกับกลุ่มคนที่ภายในกลุ่มคนเหล่านั้นเอง ก็ประกอบไปด้วยคนที่มีความแตกต่างกันอีก เรื่องมันจะยุ่งขึ้นอีกมากมาย เพราะแค่ทำให้คนคนเดียวยอมรับความเห็นต่างก็ลำบากอยู่แล้ว เจอคนเยอะๆ แบบนี้ก็ยิ่งยากเข้าไปกันใหญ่  หลายความขัดแย้งจึงจบไม่ลง หรือจบลงด้วยการนองเลือด ก็คือในเมื่อพูดกันไม่ได้ ก็ปิดปากอีกฝ่ายเสียจะได้เลิกพูด ( ป่าเถื่อน )

   มันจึงจำเป็นต้องมีหลักอะไรสักอย่างมาใช้ตัดสินว่าเรื่องนั้นๆ จะเอายังไง ถ้าเป็นสมัยที่เชื่อในผีสางเทวดา ก็คงใช้วิธีเสี่ยงทายอะไรสักอย่าง โดยใช้สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับเป็นองค์ประธาน เช่นถ้าทั้ง 2 ฝ่ายเคารพในพระอาทิตย์ ก็ให้พระอาทิตย์เป็นผู้ชี้ขาด โดยกำหนดเกณฑ์การเสี่ยงทายไว้อย่างใดอย่างนึง ผลออกมาเป็นอย่างไรฝ่ายแพ้ก็จำใจต้องยอมรับเพราะมันคือ การตัดสินจากสิ่งที่ตนนับถือ

   เจริญขึ้นมาหน่อย ก็ให้คนที่เป็นกลาง และมีความรู้สูงที่สุดเป็นคนตัดสิน แต่หลักการก็คล้ายๆ กับแบบแรก คือฝ่ายแพ้จำใจต้องยอมรับเพราะเคารพหรือไม่ก็เกรงกลัวในอำนาจของผู้ตัดสิน 

    สุดท้ายก็ถึงยุคที่คิดว่าคนแต่ละคนเท่าเทียมกัน ไม่มีเทวดา ไม่มีทาส จะทำไงละที่นี้ พระอาทิตย์ก็ไม่นับถือ ประธานที่เป็นคนก็ไม่นับถือ ไม่มีอำนาจใดมากดหัวคนให้ยอมได้  ก็มีคนคิดวิธีการอันนึงขึ้นมา เขาเรียกกันว่าการออกเสียง แน่นอนว่าก่อนใช้วิธีออกเสียงนี้  ทุกคนต้องยอมรับก่อนว่า คนทุกคนเท่าเทียมกัน คนทุกคนมีเอกเทศ คนทุกคนฉลาดในเรื่องใดเรื่องนึง ไม่มีใครรู้ไปทุกเรื่อง ไม่มีใครฉลาดกว่าใคร  คนทุกคนมีอำนาจเท่าเทียมกัน ไม่่มีใครสำคัญกว่าใคร 

    สมมุติว่าทุกคนยอมรับแล้วว่าทุกคนเท่าเทียมกัน  ( พูดนะง่าย เอาจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ )  ก็เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายนำเสนอความคิดด้านของตน พร้อมนำเสนอหลักฐานประกอบไปจนจบ พอนำเสนอครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ก็ให้ออกเสียงว่า คนส่วนใหญ่เชื่อในเหตุในผล ในหลักฐานของฝ่ายไหน มันเป็นธรรมดาว่าฝ่ายที่มีเสียงสนับสนุนน้อยกว่าย่อมเป็นฝ่ายแพ้ไป  แต่ฝ่ายแพ้ด้วยวิธีนี้ไม่ได้ถูกอำนาจใดมากดหัวให้ยอมรับความพ่ายแพ้ จะยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่แค่ว่า พวกเขานั้นเชื่อมั่นในความเท่าเทียมของคนมากน้อยเพียงใด ถ้าเขาไม่เชื่อพวกเขาก็จะอ้างว่า ไอ้พวกนั้นมันโง่บ้าง  พวกมากลากไปบ้าง เพราะพวกเขาคิดว่าพวกเขาเ่ท่านั้นที่ฉลาด พวกเขาเท่านั้นที่คิดถูก คนอื่นคิดผิดหมด คนอื่นโง่หมด คนอื่นเลวหมด

     ผมถึงบอกแต่แรกว่า ก่อนจะใช้วิธีนี้ทุกคนต้องยอมรับเสียก่อนว่าคนเราเท่าเทียมกัน ถ้าไม่ยอมรับเสียแล้ว วิธีนี้จะล้มเหลว ไม่สามารถยุติความขัดแย้งได้ บางคนอาจแย้งว่าแบบนี้ ฝ่ายที่มีเสียงสนับสนุนน้อยกว่าก็แพ้ตลอดนะสิ  ก็ต้องย้อนกลับดูหลักการเดิมอีกนั่นแหละ ทุกคนเท่าเทียมกัน ถ้าเชื่อหลักนี้แล้วจะไม่พูดคำนี้ออกมา 

    ร่ายมาซะยาว หวังว่าจะมีใครสักคนเข้าใจที่ผมเขียนบ้างนะ เชื่อผมเถอะว่าที่ปลายสุดวิวัฒนการของมนุษย์ อีกหลายล้านปีข้างหน้า  การออกเสียงโหวตเพื่อยุติความขัดแย้งก็ยังถูกนำมาใช้ เพราะมันเป็นวิธีที่ยุติธรรม และแสดงให้เห็นถึงการยอมรับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน Smiley



Create Date : 03 มิถุนายน 2555
Last Update : 3 มิถุนายน 2555 10:57:05 น. 0 comments
Counter : 1773 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrpipo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ประชาธิปไตยจงเจริญ
[Add mrpipo's blog to your web]