มีสุข มีทุกข์ อะไรก็จะเขียนไว้ที่นี่

ปัญหาระหว่างพนักงานกับหัวหน้างาน

พอดีว่าเห็นว่าหลายคนชอบพูดว่า หัวหน้าไม่ดีอย่างนั้น หัวหน้าไม่ดีอย่างนี้ บริษัทเอาเปรียบอย่างนั้น เอาเปรียบอย่างนี้ จึงลองคิดหาเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เหตุที่เราจะไม่ชอบใครหรืออะไรสักอย่าง มันเกิดจากว่า

***ผลประโยชน์มันไม่สอดคล้องจนถึงขั้นขัดแย้งกัน ***

ถ้านึกไม่ออก ผมจะยกตัวอย่างให้ก็ได้เช่น สมมุตินะสมมุติว่ามีบริษัทนึง เป็นบริษัทเล็กๆ รับผลิตซอฟต์แวร์อะไรสักอย่าง ที่นี้ในระบบทุนนิยมทุกวันนี้ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ หรือนายทุนมักไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเท่าไหร่แค่มีวิสัยทัศน์ กับมีเงินก็ทำธุรกิจได้แล้ว ตอนแรกบริษัทมีพนักงานคนเดียว งานอะไรต่อมิอะไรก็ทำโดยพนักงานคนเดียว เฒ่าแก่ทำหน้าที่ไปรับงานมาแล้วก็รับเงินแค่นั้น ซึ่งระบบแบบนี้เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร เพราะหากบริษัทกำไรดีขึ้น เฒ่าแก่ก็ต้องตอบแทนแก่ลูกน้องมากขึ้น ผลประโยชน์จึงลงตัว เรียกได้ว่า WIN WIN ทั้งสองฝ่าย เพราะแรงกายแรงใจของพนักงานที่ทุ่มเทไปนั้นได้ผลประโยชน์ตอบแทนมาอย่างชัดเจน มันเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทุกคน แบบนี้จะไม่ีมีปัญหาระหว่างหัวหน้าลูกน้อง

ต่อมาเฒ่าแ่ก่อยากขยายบริษัทให้ใหญ่ขึ้นก็เลยจ้างพนักงานเพิ่มอีกหลายร้อยคน ที่นี้พอเพิ่มคนมากขึ้นก็เริ่่มมีปัญหาเพราะว่า จะให้ทั้งหมดขึ้นกับเฒ่าแก่คนเดียวก็วุ่นวายสับสน ก็เลยจำเป็นต้องจ้างผู้ที่จะมาช่วยดูแลคนพวกนี้ให้อีกที บางคนก็เรียกว่า หัวหน้า บางคนก็เรียก สกา ( ก็มันติดหูนี่นา ) บางทีก็ว่าผู้บริหาร จะมีหรือไม่มีปัญหามันเกิดขึ้นตรงนี้แหละ

เราจะมองในมุมของผลประโยชน์เช่นเดิม แต่คราวนี้จะไม่เหมือนเดิม เพราะว่ามันเป็นธรรมดาของผังองค์กรแบบนี้ที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น เพราะมากคนก็มากความ ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุของปัญหาจะเกิดเพราะว่า

*** คนที่ตัดสินใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงาน ไม่ใช่คนที่ทำงานร่วมกับพนักงาน และ คนที่รับผลประโยชน์จากบริษัท ไม่ใช่คนที่ทำงานร่วมกับพนักงานอีกด้วย (ไม่งงใช่ไหม ลองอ่านอีกทีก็ได้นะ) ***

ปัญหามันเกิดตรงนี้ พอเฒ่าแก่ไม่ได้ร่วมเผชิญปัญหาไปพร้อมกับพนักงาน ทำให้ไม่เข้าใจว่าสภาพที่แท้จริงของการทำงานว่าเป็นอย่างไร มองเห็นแต่รายงาน มองเห็นแต่ตัวเลข และได้ฟังแต่คำพูดของผู้บริหารหรือหัวหน้าที่จ้างมาบริหารเท่านั้น ก็เลยคิดเอาเองไปต่างๆนาๆ เกิดนโยบายที่งี่เง่า ( Foo Bar ) ตามมาในไม่ช้า ที่นี้พอนโยบายนั้นมากระทบกับผลประโยชน์ของพนักงาน ก็จะเกิดการต่อต้านขึ้น และเกิดปัญหาตามหัวเรื่องที่เราพูดถึงอยู่นี่แหละ

ถึงตรงนี้พนักงานก็จะเริ่มรู้สึกว่าผลประโยชน์ของตน ไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของบริษัท และเริ่มเฉื่อยชาต่อหน้าที่การงาน เพราะทำมากก็เหนื่อยมาก ทำน้อยเหนื่อยน้อย ไม่มีอะไรดีขึ้นมา งานจึงดูจะติดขัดเชื่องช้าไปเสียหมด และเริ่มมองว่าหัวหน้า หรือผู้บริหาร เป็นศรัทตรู เป็นคนเอาเปรียบ เป็นผู้ฉกฉวยผลประโยชน์จากพวกเขาไป

ส่วนหัวหน้าหรือผู้บริหาร ถ้าเป็นผู้บริหารที่มีธรรมาภิบาลที่ดี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ดี ก็จะไม่เจอปัญหาเรื่องที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ แต่โชคร้ายที่หลายคนไม่เป็นเช่นนั้น จึงเริ่มฟาดงวงฟาดงา ออกอาการต่างๆ นานา ทุกครั้งที่ได้รับแรงกดดันจากเฒ่าแก่ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงาน และเริ่มคิดว่าพนักงานเป็นศรัทตรูเช่นเดียวกัน ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้จริงๆนะ (ไม่ได้โม้)

จากที่เคย WIN WIN กลายเป็นอะไรไปแล้วไม่รู้ เรื่องแบบนี้ผมเชื่อว่าคงเกิดกับหลายๆ ที่ สาเหตุเดียวคือ

*** ผลประโยชน์ไม่ลงตัว ***

บริษัทที่มีโครงสร้างหลายชั้นแบบเดียวกันนี้ แต่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี จะไม่เจอปัญหาแบบเดียวกัน ธรรมภิบาลในการบริหารงานเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจให้มาก ระบบประเมินต้องเที่ยงตรงแม่นยำ เพราะผลประโยชน์ของพนักงานขึ้นอยู่กับมัน หากทำไม่ดีพอ ไม่ยุติธรรมพอ ไม่รัดกุมพอ มันจะกลายเป็นเครื่องมือทำลายบริษัทในที่สุด

หลายคนโทษว่าเป็นเพราะเฒ่าแก่ ที่วางนโยบายไม่ดี
หลายคนโทษหัวหน้าหรือผู้บริหาร ว่าบริหารงานไม่ดี
หลายคนโทษพนักงาน ที่หัวแข็งดื้อรั้น
ผมมองว่าปัญหามันอยู่ที่ ผลประโยชน์

จบซะงั้น





Create Date : 15 มกราคม 2554
Last Update : 15 มกราคม 2554 13:56:48 น. 0 comments
Counter : 850 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrpipo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ประชาธิปไตยจงเจริญ
[Add mrpipo's blog to your web]