The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 

ไชนีสอเมริกัน

ปัญหาที่สำคัญและควรจะ define มันตั้งแต่ตรงนี้เลยก็คือ

- ไชนีสอเมริกันไม่ใช่คนจีน แต่เป็นคนอเมริกัน

ดังนั้นไชนีสอเมริกันจึงมีประวัติศาสตร์ของตัวเอง และเติบโตขึ้นมาโดยแตกต่างจาก "คนจีน" และไม่เหมือน "คนอเมริกันกระแสหลัก" แต่โดยทั่วไปแล้ว น่าจะใกล้คนอเมริกันกระแสหลักมากกว่าคนจีน

เรื่องของประวัติศาสตร์นั้น มีคนพูดนานแล้วว่าประวัติศาสตร์ไม่ได้มีชุดเดียว และการที่ปัจจุบันนี้เราเรียนประวัติศาสตร์เพียงชุดเดียว เป็นผลมาจากลัทธิชาตินิยมโดยแท้

ดังนั้นจึงมีคนเขียนเรื่อง histories ซึ่งหมายความว่า "ประวัติศาสตร์ทั้งหลาย" และเขียนเรื่องของประวัติการเข้ามาของกลุ่มชนต่าง ๆ ในประเทศอเมริกัน ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์กระแสหลัก และการเติบโตของกลุ่ม

คนจีนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาในอเมริกันนั้นมาในยุคตื่นทอง ( 1849 - ที่เขาเรียกว่าพวก foutry niner ) ถ้าคิดว่าประเทศอเมริกันตั้งใจปี 1776 ก็ถือเป็นกลุ่มที่เข้ามาไม่ช้าเกินไปนัก

ความต้องการของคนจีนที่เข้ามาในเวลานั้นคือ "ขุดทอง" ทั้งตามตัวอักษรและทั้งที่แปลว่าหางานทำ เพราะช่วงนั้นสภาพในประเทศจีนจริง ๆ ห่วยแตกมาก ประเทศชาติทำสงครามฝิ่นกับฝรั่ง ( และแพ้ ) เกิดกบฏวุ่นวายไปทั่ว ทำให้ประชาชนในหลาย ๆ พื้นที่ทำมาหากินไม่ได้เป็นสุข ซ้ำร้ายยังเกิดโรคระบาดและความแห้งแล้งขนาดนั้น ประชาชนไม่น้อยจึง "ไปตายเอาดาบหน้า" ในต่างแดน

คนจีนนักแสวงโชคเหล่านี้เดินทางกระจายไปตามดินแดนต่าง ๆ ( และจำนวนไม่น้อยในนั้นก็กลายเป็นอาก๋งของใครหลาย ๆ คนแถวนี้รวมทั้งเราด้วย ) จำนวนหนึ่งในนั้นได้ไปถึงอเมริกา ซึ่งถูกขนานนามว่า "แดนภูเขาทองคำ" ( จินซาน หรือภาษากวางตุ้งว่ากัมซัน ) ในเวลาอันสั้น

( note: ช่วงนี้ทั้งหมดเล่าขนานไปกับคำนำของลอว์เรนซ์ เยป ดีกว่า )

คนจีนที่มาทำงานส่วนใหญ่ไม่ได้มีความคิดจะลงหลักปักฐาน แต่คิดว่าจะหาเงินให้ได้มาก ๆ เพื่อจะได้กลับไปตั้งตัวที่บ้านเกิด ( มีบางคนรวยกลับไปได้จริง ๆ ) เหมือนกับคนไทยที่ไปทำงานที่ซาอุเดี๋ยวนี้ และในบางหมู่บ้านนั้น พ่อแม่จะช่วยกันหาเงินเพื่อส่งลูกชายไปทำงานที่อเมริกาให้ได้สักคน

ต่อมาเมื่อทองหมด คนจีนบางส่วนก็กลับประเทศ แต่ส่วนใหญ่กระจายตัวออกไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ เช่นทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง ช่วงนั้นประเทศอเมริกามีนโยบายจะสร้างทางรถไฟสายผ่ากลางประเทศ ซึ่งเป็นโครงการที่ใหญ่บึ้มมาก และต้องการคนทำงานเยอะมาก ตอนแรก ๆ ของโครงการได้จ้างลูกจ้างชาวไอริช แต่ดูเหมือนจะไม่ทันกำหนด จึงมีคนเสนอให้จ้างลูกจ้างจีน ตอนแรก ๆ คนอื่น ๆ ในโครงการไม่เห็นด้วย แต่พอจ้างแล้วกลับดีมาก คนจีนจึงถูกจ้างงานให้ไปทำทางรถไฟมากขึ้นเรื่อย ๆ และในไม่ช้า คนจีนที่มาหางานทำในอเมริกันส่วนใหญ่ก็ไหลเข้ามาในสายงานนี้

( มีโน้ตที่สำคัญอันหนึ่งคือ แม้ว่าคนจีนจะเป็นกำลังสำคัญที่สร้างทางรถไฟนี้เสร็จ แต่ในรูปประวัติศาสตร์ที่ตอกหมุดตัวสุดท้าย กลับมีแต่คนงานไอริชในรูป ส่วนคนจีนนั้นถูกถีบออกไปข้างนอก ไม่มีแม้แต่เงาหัวในรูปแม้แต่คนเดียว )

เมื่อทางรถไฟเสร็จแล้ว คนจีนก็ไปทำงานอื่น ๆ จำนวนไม่น้อยได้พาตัวเองเข้าสู่ธุรกิจซักรีด และเป็น houseboy มีคนตั้งข้อสังเกตว่าที่คนจีนมาทำงานเหล่านี้ เป็นคนเป็นงานที่คนผิวขาวทั่วไปมองว่าชั้นต่ำและ sissy จึงไม่มีใครทำกัน นอกจากนั้นก็มีคนจีนไม่น้อยที่ออกไปในชนบทและเริ่มทำไร่ไถนา มีคนจีนที่กลายเป็นเจ้าของร้านชำ และขึ้นไปได้จนถึงเป็นระดับชนชั้นกลาง

อย่างไรก็ตาม ทางรถไฟที่สร้างเองกับมือก็นำปัญหามาให้คนจีนอีก คือมันเป็นเส้นทางที่ส่งสินค้าจากตะวันออกมาสู่ตะวันตก และทำให้เกิดภาวะสินค้าท้องถิ่นล้นเกิน ซี่งนำไปสู่ภาวะว่างงานอย่างรุนแรง สิ่งที่ตามมาทันทีคือคนผิวขาวหันมา "หาแพะ" โดยกล่าวโทษว่าที่เกิดภาวะซบเซาทางเศรษฐกินขึ้นเป็นเพราะคนจีนเข้าไปแย่งงาน ดังนั้นคนผิวขาวจึงเริ่มใช้ความรุนแรงกับคนจีน มีการทุบตีทำร้าย ขว้างปา ไปจนกระทั่งถึงรุมประชาทัณฑ์ และฆ่าทิ้งเอาดื้อ ๆ

ทัศนคติที่ว่าคนจีนเข้ามาแย่งงาน ตลอดจนถึงความกลัวว่าคนจีนที่ไหลเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ ( เพราะเมืองจีนมันจะอดตายกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ) ทำให้คนผิวขาวเริ่มเกิดอาการ sinophobia รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีการออกกฏหมายต่าง ๆ ขึ้นเพื่อจำกัดจำนวนคนจีนเข้าประเทศ กฏหมายฉบับที่น่าสนใจที่สุดคือ exclusion act ซึ่งเป็นกฏหมายที่จำกัดจำนวนคนจีนเข้าประเทศในแต่ละปี และห้ามไม่ให้คนที่เข้าประเทศเอาลูกเมียมาด้วยเด็ดขาด ( เพราะกลัวว่าจะมาตั้งรกราก ) ดังนั้นย่านไชน่าทาวส์ของอเมริกันในช่วงปีที่เอกซคลูชั่นแอคยังมีผลอยู่ จึงเป็นสถานที่ที่มีแต่ผู้ชายตัวคนเดียว ( bachelor society ) แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ไม่สามารถห้ามคนจีนที่เข้ามาหางานทำได้จนหมดจริง ๆ เพราะเอาเข้าจริงแล้ว คนอเมริกันก็ยังคงต้องการ service หลายอย่างที่มีลูกจ้างชาวจีนที่ยอมทำ

ภาพของคนจีนมาดีขึ้นในสายตาของคนอเมริกัน ก็เมื่อญี่ปุ่นกลายเป็น "มหาศัตรู" ขึ้นมาเพราะสงครามโลกครั้งที่สอง และทันทีที่คนญี่ปุ่นเป็นศัตรู คนอเมริกันก็กลับภาพคนจีนให้กลายเป็น "มิตร" ไปในพริบตา

ภาพลักษณ์ของคนจีนยังคงอยู่ในข้างดีมาตลอด แม้แต่ในช่วง civil right movement ซึ่งคนผิวดำเรียกร้องสิทธิ์เสรีภาพ รัฐบาลอเมริกันซึ่งไม่รู้จะจัดการกับคนผิวดำอย่างไรดี ได้จัดการอุปโลกน์คนจีนให้กลายเป็น model minority ซึ่งหมายถึง "ชนกลุ่มน้อยตัวอย่าง" โดยเสนอว่าคนจีนนั้นเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีพฤติกรรม "พึงประสงค์" คืออ่อนน้อม ขยันขันแข็ง และฉลาด มีการพูดเลยไปจนถึงกระทั่งว่าคนจีนประเสริฐแบบ "ขาวเสียยิ่งกว่าคนขาว"

แต่คนไชนีสอเมริกันจริง ๆ นั้นไม่ได้ชอบการถูกยกย่องเป็นตัวอย่างมากนัก เพราะที่จริงแล้ว มันก็เป็นเพียงการเปลี่ยนจากภาพลักษณ์อันตายตัว ( stereotype ) แบบหนึ่งมาเป็นอีกแบบหนึ่งเท่านั้น คือจากว่าคนจีนเป็นพวกแหย แปลก มักทำงานชั้นต่ำ และบางทีก็ดูชั่วร้าย เข้ามาแย่งงานของฝรั่ง ก็กลายเป็นพวกเรียนเก่งที่เรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ ซึ่งจะว่าไปแล้ว มันไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับความเป็นจีนจริง ๆ เลย

มีคนไชนีสอเมริกันไม่น้อยใช้โอกาสในช่วงนั้นพยายาม earn favor ให้ตัวเอง โดยการเออออไปกับสิ่งที่ขาวเสนอมาให้ และใช้ความพึงพอใจของคนขาวในการปีนขึ้นบันไดทางสังคมซึ่งก่อนนี้แทบจะปิดตาย แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีคนจีนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่พอใจกับภาพลักษณ์ที่ถูกยัดเยียดให้ ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องต่อต้านด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่คนผิวดำทำ การเรียกร้องดังกล่าวนำไปสู่กระแสวรรณกรรมที่ค่อย ๆ พัฒนาและเปลี่ยนรูปแบบไปตามแนวอุดมการณ์ของสังคม ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องที่อธิบายความเป็นไชนีสอเมริกัน เสียดสีคตินิยมที่ผิด ๆ ของคนขาว และพยายามจะสร้างอัตลักษณ์ชุดใหม่ขึ้นมา




 

Create Date : 29 ธันวาคม 2548    
Last Update : 31 ธันวาคม 2548 1:26:29 น.
Counter : 1179 Pageviews.  

multiculture กับวรรณกรรมเยาวชน

เมื่อ term มัลติคัลเชอร์กลายเป็น awareness ของสังคมแล้ว ในไม่ช้ามันก็เข้าไปสู่ระบบการศึกษา โดยพวกผู้ใหญ่ตั้งความหวังเอาไว้ว่า หากเด็ก ๆ ได้รับการศึกษาให้เคารพนับถือวัฒนธรรมของคนอื่น โดยไม่คิดว่าคนที่ไม่เหมือนตัวเองเป็นฟรีคแล้ว มันจะทำให้เกิดอะไรดีขึ้นมาในชาติบ้านเมืองบ้าง

term มัลติคัลเชอร์คืบคลานเข้ามาในการศึกษาในช่วงปี 1960 และออกจะรุนแรงมากในช่วงปี 1980 ถึง 90 เมื่อมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ตลาดเด็กจึงเกิดความต้องการหนังสือเด็กที่เป็นมัลติคัลเจอร์ แต่ความจริงที่ปรากฏคือหนังสือที่เป็นมัลติคัลนั้นมีน้อยมากขนาดที่เรียกว่าขาดแคลนก็ได้ เพราะก่อนหน้านี้สนพ.ส่วนใหญ่ไม่มีความคิดว่าเรื่องประเภทนี้จะทำเงิน

ในระยะหลังที่ผ่านมา หนังสือเด็กแนวมัลติคัลนับว่าเฟื่องฟูขึ้นกว่าก่อน ๆ แต่มันก็ยังคงมีปัญหาหลายอย่างในตัวเอง เพราะนักเขียนที่เป็นผิวสีและยังเขียนหนังสือได้ดีอ่านสนุกนั้นมีน้อย ดังนั้นมันจึงเป็น term ที่ถกเถียงกันมากในหมู่นักวิชาการ และยังคงไม่สามารถกำหนดรูปแบบได้อย่างชัดเจน

สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ สิ่งที่เขียนออกมานั้นเป็น "เรื่องอเมริกัน" การที่เราอยากจะเข้าใจความเป็น "แจแปนนิสอเมริกัน" แต่ไพล่ไปอ่านเรื่องสมัยเมจินั้นไม่ช่วยอะไรขึ้นมาเลย เพราะ "คนญี่ปุ่นเชื้อสายอเมริกัน" ไม่ใช่ "คนญี่ปุ่น" แต่เป็น "คนอเมริกัน" เหมือนกับคนไอริชอเมริกันซึ่งแม้ว่าจะยังคงมีวัฒนธรรมไอริชอยู่ในครอบครัว แต่ก็ใช่ว่าจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเทศบ้านเกิดขนาดนั้น

( หรืออาจจะเกี่ยวกับพวกเราบางคนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน คือถึงแม้ว่าเราจะไหว้เจ้า แต่เราก็ไม่ได้รักเมืองจีนปานนั้น )

ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นหนังสือ "กลุ่มพิเศษ" โดยแท้ และเกิดขึ้นในบริบทที่พิเศษมาก ๆ ซึ่งทำให้มันควรจะได้รับการศึกษาแบบโคลสอัพมากขึ้น ไม่แค่เฉพาะในแง่การเอาไปสอนเด็ก แต่ในแง่วิธีการเขียน คตินิยม และลักษณะร่วมบางอย่างด้วย




 

Create Date : 29 ธันวาคม 2548    
Last Update : 29 ธันวาคม 2548 1:46:48 น.
Counter : 1170 Pageviews.  

multiculture

คำว่ามัลติคัลเชอร์เป็นคำอเมริกัน โดยอเมริกัน แต่จะเพื่ออเมริกันหรือเปล่านั้นเป็นเรื่องที่ต้องคิดหลายตลบพอสมควร

"มัลติ" มันแปลว่า "มาก" และ "คัลเชอร์" คือ "วัฒนธรรม" ดังนั้นเราจึงสามารถแปลคำนี้ได้คร่าว ๆ ว่า "มีหลายวัฒนธรรม"

ที่จริงแล้วคำคำนี้เป็นคำค่อนข้างใหม่ คือเกิดขึ้นราว ๆ ช่วงทศวรรษ 1960 และถ้าถามว่าทำไมเกิดขึ้นมาได้ ก็คงต้องเล่าย้อนไปอีกไกลมากพอสมควร

เรื่องของเรื่องก็คือ อเมริกานั้นเป็นประเทศที่ค่อนข้างใหม่มาก ( ประกาศเอกราชในปี 1776 ) และตอนที่ตั้งประเทศใหม่ ๆ นั้น มันเป็นประเทศด๋อยที่ยินดีรับคนทุกประเภททุกชาติเข้าไปอย่างยิ่ง ไม่จำกัดเฉพาะคนที่มาจากเรือเมย์ฟลาวเวอร์เท่านั้นหรอก ( เพราะถ้าจำกัดเฉพาะเรื่องเมย์ฟลาวเวอร์คงมีคนไม่ถึงหมื่น ) ดังนั้นจึงเป็นความภาคภูมิใจใหญ่หลวงของอเมริกันชนในสมัยนั้นว่ามันเป็น "ประเทศของผู้อพยพ"

ดังนั้นตั้งต้นมา ประเทศอเมริกาก็เป็นประเทศร้อยพ่อพันแม่โดยแท้ ถึงขนาดที่มีคนตั้งคำถามไว้ว่า ต่อไปอะไรเล่าจะเป็นความหมายของ "การเป็นอเมริกัน" และอะไรคือ "คนอเมริกัน"

ความพยายามอย่างหนึ่งในการอธิบายความเป็นอเมริกา ก็คือทฤษฏี "หม้อหลอมทางวัฒนธรรม" ( melting pot ) ซึ่งเสนอความคิดว่าทุกคนที่เข้ามาในอเมริกา จะถูกหล่อหลอมให้กลายเป็นอเมริกันชนทั้งหมด ดังนั้นวัฒนธรรมอเมริกันจึงเป็นวัฒนธรรมเดี่ยว อันเกิดมาจากการหลอมรวมกัน

เวลาผ่านไป ทุกคนดูจะพอใจในความคิดข้อนี้

แต่เราต้องบอกว่าที่จริงแล้วมันเป็น term ที่มีปัญหา เพราะในความจริง สิ่งที่หม้อใบนี้ยอมรับไปหลอมนั้นมีจำกัดมาก

ในความเป็นจริง วัฒนธรรมอเมริกันได้เลือกที่จะรับผู้อพยพจำนวนหนึ่ง และละทิ้งผู้อพยพจำนวนหนึ่งไปโดยประหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นหามีตัวตนไม่ คนกลุ่มนี้ได้แก่คนผิวสี เพราะชาติอเมริกันนั้นถือแล้วว่าตัวเองเป็นชาติของคนผิวขาว

แต่ปัญหาก็คือ คนผิวสีก็ยังคงหัวโด่อยู่แถวนั้น ไม่ได้หายไปไหนเลย และออกจะรู้สึก ๆ อยู่ว่า "เอ็งเอาข้ามาเองนี่หว่า" ( คนผิวดำ ) "ข้าก็อยู่มาพร้อม ๆ กับเอ็งนั่นแหละ" ( คนผิวเหลือง ) และ "ข้าอยู่มาก่อนไม่ใช่เหรอ" ( อินเดียนแดง )

เราพูดจริง ๆ ว่าถึงเรื่องบางอย่างนั้น ถึงบางคนจะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่เป็นไม่มี แต่ถ้ามันมี และมันก็อยู่ของมันตรงนั้นแล้ว จะห้ามไม่ให้มันไม่มีไม่ได้ ดังนั้นประเทศอเมริกันจึงประสบปัญหาเรื่องการจัดการกับคนที่อยู่นอกวัฒนธรรมกระแสหลักมาเรื่อย ๆ ตลอดประวัติศาสตร์ และวิธีที่จะจัดการกับคนพวกนี้ก็มีตั้งแต่ฆ่าทิ้งให้หมด ออกกฏหมายห้ามเข้าประเทศ ไปจนกระทั่งถึงใช้วิธีกันให้อยู่ต่างหาก

แต่ปัญหามันก็ยังอยู่ที่เดิม และความขมขื่นก็เพิ่มมากยิ่งขึ้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น อเมริกาได้เสนอแนวคิดระหว่างสงครามว่า "ทุกคนควรสมานฉันท์กัน" เพื่อจะได้รวมพลังต่อต้าน "ภัยจากภายนอก" ดังนั้นคนผิวสีส่วนใหญ่จึงได้รับฐานะที่ดีขึ้น ( ไม่นับญี่ปุ่น...ซึ่งชะตากรรมของแจแปนนิสอเมริกันนั้นเลวร้ายมากพอสมควรทีเดียว... ) คนผิวสีจำนวนไม่น้อยพอใจกับความหวังว่าหากแสดงความจงรักภักดีต่อประเทศชาติให้เห็นกันชัด ๆ แล้ว ต่อไปเมื่อสิ้นสงคราม สภาพของพวกตนจะดีขึ้น ดังนั้นเราจึงพบบันทึกมากมายที่พูดถึงความกล้าหาญของทหารผิวดำ ไชนีสอเมริกัน และกระทั่งแจแปนนิสอเมริกัน

แต่พอสิ้นสงครามแล้ว สภาพทุกอย่างก็กลับไปเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นจึงลุกลามไปเรื่อย ๆ และพอตกราว ๆ ช่วง 1960 มันก็สุกงอมเต็มที่ ทศวรรษที่ 1960 นั้นเป็นทศวรรษอันวุ่นวาย เป็นการต่อสู้ของคนผิวสี โดยเฉพาะผิวดำ ( มี ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เป็นต้น ) เป็นช่างปีที่เขาเรียกว่าปี civil right movement ซึ่งนำไปสู่การตื่นตัวขึ้นของคนผิวสีและกลุ่มคนที่อยู่นอกกระแสหลักอื่น ๆ และนำไปสู่ความพยายามที่จะเปล่งเสียงของคนนอกกระแสให้คนในกระแสได้ยินบ้าง

ความตื่นตัวดังกล่าวส่งผลไปถึงความพยายามทางการเมืองและวัฒนธรรมที่แก้ปัญหา ตลอดไปจนกระทั่งถึง conscious ของประชาชนเกี่ยวกับความจริงว่ามันมีคนนอกกระแสอยู่ ดังนั้นจึงเกิด term ใหม่คือ มัลติคัลเชอร์ขึ้น เพื่อเสนอคตินิยม ( ideology ) ใหม่ว่าชาติอเมริกันนั้นเป็นชาติของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และภายใต้ร่มของความเป็นอเมริกันแล้ว วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมจึงควรจะได้รับยกย่องและ "มองเห็น" เสมอกัน




 

Create Date : 29 ธันวาคม 2548    
Last Update : 29 ธันวาคม 2548 1:33:22 น.
Counter : 566 Pageviews.  

ศัพท์หลายวันคำ "- centric"

คำที่พบบ่อยในวงการวรรณกรรมอีกคำหนึ่งคือ คำที่มีต่อท้ายว่า "-centric" ซึ่งแปลคร่าว ๆ ว่า "เอาเป็นศูนย์กลาง" เช่น eurocentric แปลว่า เอายุโรปเป็นศูนย์กลาง และ egocentric แปลว่า เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

ยูโรเซนตริกเป็นคำกล่าวหาที่แพร่หลายและกระจายทั่วไปในวงการโพสต์โคโลเนียลปัจจุบัน โดยเสนอว่าคนจำนวนมากในโลกนี้ต่างพากันคิดไปเองว่ายุโรป ( และอเมริกา ) เป็นศูนย์กลางของจักรวาล การเรียนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนั้นก็ประหนึ่งว่าจะต้องพากันเริ่มต้นที่กรีกโรมันกันไปหมด

ถ้าพูดอีกอย่างคือ การมองยุโรปเป็นศูนย์กลางก็เป็นอะไรที่น่าขำพอ ๆ กับการมองว่าเมื่อก๊อตซิลล่า ( และสัตว์ประหลาดอื่น ๆ ) มาบุกญี่ปุ่นนั้น มันกำลังจะ "ทำลายโลก" คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เองก็เป็น Nipponcentric เหมือนกัน ...มันเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของคนในประเทศเกาะ

มีคนจำนวนมากพยายามจะที่ทำลายความคิด eurocentric ด้วยการแต่งวรรณกรรมใหม่ หรือแต่งเรื่องพาโรดีวรรณกรรมเก่าที่มีมาแล้ว ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ที่จริงแล้ว ในขณะที่ลอร์ด ว. ( ผู้ไม่ควรถูกเอ่ยชื่อ ) ทำการ terrorize อังกฤษ ( และยุโรป ) นั้น ไม่มีคนใช้เวทมนตร์จากตะวันออกไปช่วยเลย ( เท่าที่เห็นก็ไม่มีจริง ๆ ) เพราะนักสิทธิ์เวียดนาม ( ชื่อเหงียนมินท์กุ๊ก แปลว่าประเทศชาติของประชาชน ) ได้จัดตั้งการประชุมใหญ่ขึ้นเพื่อล็อบบี้ทุกชาติทางเอเชียไม่ให้ไปช่วย เนื่องจากหวังประโยชน์สูงสุดว่าจะเทคโอเวอร์โลกของคนใช้เวทมนตร์ทั้งหมด หลังจากที่ทางยุโรปได้ตีกันแหลกดีแล้ว

ส่วนลอร์ด ว.นั้น จากการพิจารณาของที่ประชุม มีความเห็นว่าแม้แกจะเก่งอยู่ทางตะวันตก แต่ที่จริงไม่เก่งเลยเมื่อเทียบกับหมอผีเขมร เพราะหมอผีเขมรส่วนใหญ่ได้เรียนเวทมนตร์ตะวันตกควบคู่ไปด้วย แต่ลอร์ด ว. ( รวมทั้งคนอื่น ๆ ) ไม่เคยสนใจเรียนเวทมนตร์ของตะวันออกเลย เนื่องจากนึกเอาเองว่าไม่เจ๋งพอ

ส่วนใหญ่เรื่องพาโรดีสไตล์โพสต์โคโลเนียลก็เป็นแบบนี้แหละนะ... มันไม่ได้ถูกต้องเสมอไปหรอก บางครั้งก็เต็มไปด้วยความรุนแรง และความขมขื่น

แต่บางทีมันก็ทำให้คิดอะไรเหมือนกัน




 

Create Date : 28 ธันวาคม 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 22:45:39 น.
Counter : 3125 Pageviews.  

แต่งบล็อคใหม่ และเกี่ยวกับเพลง

หลังจากนั่งตบตีกับบล็อคเป็นเวลานาน ก็ได้ความว่า "เรียบง่ายดีที่สุด" ดังนั้นมันจึงออกมาเป็นบล็อคโคตรวีเซิลดังที่เห็น

วีเซิลเป็นสัตว์กินเนื้อตัวเล็ก ๆ คล้าย ๆ พังพอน หน้าตาก็เป็นอย่างรูปนี้ มีหลายสี



เหตุที่เป็นวีเซิลนั้นเพราะมีทรัพยากรรูปวีเซิลอยู่ - -' และหลังจากที่ใช้แล้วก็เลยคิดว่าควรจะทำให้เป็นธีมเดียวกันไปหมดเลย

ตอนแรกคิดว่าจะใช้เพลง row, row your boat ซึ่งเป็นที่มาของหัวบล็อค ( เพลงเต็ม ๆ คือ row, row, row your boat/ rowing down the stream/ Merrily, merrily, merrily life is but a dream. - เราติดใจเพลงนี้มาตั้งแต่ดูสตาร์เทรค ตอนที่ตาสปอคเจอพี่ชาย )

แต่ปัญหาคือโรลยัวร์โบ๊ตนั้นเป็นเพลงสั้น ซ้ำไปซ้ำมา หลังจากฟังสักสามสี่รอบจะเริ่มเครียดมาก

เลยได้เพลง Pop goes the Weasel เพลงนี้มาแทน เป็นวีเซิลเหมือนกัน เข้ากะบล็อคกันแสนจะวีเซิล

เพลงนี้เป็นเพลงแบบที่เขาเรียกว่า nursery rhyme คือเพลงเด็กร้องเล่น แต่ความหมายของมันต้องตีความหน่อย คือเราต้องเข้าใจว่าเพลงเด็กจำนวนมากของอังกฤษไม่ได้มีความหมายประมาณ...ปิ๊ง บริสุทธิ์น่ารัก อะไรแบบนี้

เพลงนี้มีที่มาจากภาษาคอคนีย์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนชั้นล่างที่อาศัยในลอนดอน พวกนี้จะมีศัพท์แสลงที่เป็นเอกลักษณ์ใช้ เช่นจะพูดว่า stairs ( บันได ) ก็จะเรียกว่า apple แทน ถามว่าทำไมไพล่เป็นแอปเปิ้ลก็เพราะว่า เขาใช้วิธีแทนคำด้วยคำคล้องจอง คือ apple and pear คล้องกับ stairs พอเรียกสั้น ๆ ก็เหลือแค่ apple

คำว่า weasel ในเพลงนี้มาจาก weasel and stoat ( ตัวสโต๊ต เป็นสัตว์กินเนื้อ คล้าย ๆ วีเซิล ) วีเซิลแอนด์สโต๊ต ก็พ้องกับคำว่า coat ( เสื้อคลุม )

นี่รูปตัววีเซิลกับตัวสโต๊ต



ส่วนคำว่า pop นั้น มาจากคำว่า pawn แปลว่าเอาไปจำนำ

พวกคนจนในอังกฤษสมัยก่อนจะมีเสื้อสวยสำหรับใส่วันอาทิตย์ตัวนึง พอชักหน้าไม่ถึงหลัง ก็มักจะเอาเสื้อตัวนี้ไปจำนำกันไว้ก่อน ในเพลงถ้าฟังดี ๆ จะได้ยินว่าต้องเอาเงินไปทำโน่นทำนี่ ซื้อเข็มซื้อด้าย เพราะงั้นก็เลยต้อง pop the weasel คือ pawn the coat

แต่ที่จริงพอถึงตอนนี้ เด็กก็ร้องเป็นเพลงเล่นน่ารักไปแล้ว ไม่ค่อยมีใครคิดถึงความหมายจริง ๆ ของมันเท่าไหร่หรอกนะ...

ที่มาของข้อมูล: //www.rhymes.org.uk/a116-pop-goes-the-weasel.htm




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2551 23:09:35 น.
Counter : 1001 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.