The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
สมองสองซีกกับความเป็นจริงของนักเขียน: คั่นมาพูดถึงสมองซีกซ้ายเล็กน้อย

คิด ๆ ดูแล้วน่าจะคั่นเวลาเล่าถึงสมองซีกซ้ายหน่อย เพราะถ้าไม่เกริ่นไว้เลย คนจะนึกว่าสมองซีกซ้ายนี้ไม่สำคัญ

ที่จริง แม้บอกว่าสมองซีกขวาสำคัญ ให้ฝึกบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าสมองซีกซ้ายไม่สำคัญเลย สมองซีกซ้ายก็ต้องฝึกเหมือนกันถึงจะทำอะไร ๆ ได้ดี มันต้องไปด้วยกัน แต่ส่วนหนึ่งที่เขียนบทความพวกนี้ขึ้นมา เป็นเพราะการฝึกสมองซีกซ้ายนั้นเป็นเรื่องที่คนมักจะทำกันก่อน ส่วนสมองซีกขวามักถูกละเลย เพราะไม่ได้อยู่ในหลักสูตรการศึกษา และไม่ได้ใช้วิธีพัฒนาเดียวกับที่คนทั่ว ๆ ไปใช้กันเวลา "เรียน" อะไร ถ้าใครอยากอ่านเรื่องทางสมองซีกซ้าย ที่เกี่ยวกับการเขียนหนังสือโดยตรง แนะนำให้จิ้มไปที่มายไอดีของเรา หรือบล็อคข้าง ๆ ที่เขียน peining มีเพื่อนเราชื่อรุ้งยี้กำลังเขียนเรื่องวรรณกรรมอยู่ อ่านแล้วจะช่วยให้เข้าใจเรื่องวรรณกรรมและโครงสร้างของวรรณกรรมดีขึ้น

ถามว่าใช้สมองซีกซ้ายนี่คือยังไงบ้าง และฝึกมาแล้วจะเห็นผลอย่างไร จะขอยกตัวอย่างการสะกดคำ เมื่อเด็ก ๆ เราเรียนหนังสือ เราสะกดคำไม่ถูก ต่อมาท่องจำจนสะกดคำได้แล้ว ถ้าท่องดีถึงระดับหนึ่ง ไอ้ที่จำได้จะกลายเป็นอัตโนมัติ คือเขียนไปแล้วไม่ผิดอีก พอถึงตอนนั้นคือเรียกว่าผ่านมาถึงระดับที่ "ใช้ได้ไม่ผิด" แล้ว อันนี้คือฝึกสมองซีกซ้ายขึ้นมาจนมันชิน ถ้าฝึกไม่ถึงระดับ ก็จะใช้ไม่ได้เป็นอัตโนมัติ จะสะกดผิด ๆ ถูก ๆ ต้องคอยปรับปรุงมัน ยิ่งคนที่ใช้สมองซีกขวามาก ๆ (เช่นคนเป็น dyslexia) จะเขียนตัวอักษรผิดหมด เพราะถอดมาจากเสียงพูด ไม่ได้โยงเข้ากับระบบภาษา อันนี้จึงว่าสมองซีกซ้ายก็ต้องฝึกเหมือนกัน (ที่น่าสนใจคือ สมองซีกซ้ายเป็นเทปที่ลบยาก บางคนจำฝังวิธีสะกดแบบผิด ๆ ไปแล้ว ก็จะจำไปอย่างนั้น ต้องใช้เวลาแก้ แต่อันนี้ไม่เกี่ยวกับบทความเลยจะไม่ขยายต่อ)

เรื่องสมองซีกซ้ายต้องฝึกนี้ ยังรวมถึงเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างวรรณกรรม เช่น พล็อต ตัวละคร การกำหนดโครงเรื่อง แบบนี้ด้วย คือถ้าอยากเขียนเรื่องให้ดี ต้องรู้ บางคนบอกว่าไม่เคยเรียนมาก่อนยังรู้ได้ ที่จริงแล้วเคยเรียนแล้วทั้งนั้น โดยเรียนผ่านการอ่านหนังสือของคนอื่น หรือเรียนโดยการสังเกต พวกนี้ก็เรียกว่าเรียนเหมือนกัน ไม่ใช่เรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้นจึงเรียกว่าเรียนได้ และให้ดีที่สุดต้องเรียนถึงขั้นเป็นอัตโนมัติเหมือนสะกดคำ จึงจะเรียกใช้ได้จริง ๆ

บางคนเรียนไปไม่ถึงขั้นอัตโนมัติ จะรู้สึกลักลั่นสับสนมากตอนที่มีความรู้นี้มาใหม่ ๆ เช่นเรา เมื่อก่อนนี้เขียนหนังสือไม่ได้สังเกตตัวเอง แต่ต่อมามีคนสอนว่า เวลาเขียนหนังสือ อย่าใช้คำซ้ำมาก เช่นคำว่า ไป ก็ นี้ นั้น อย่าให้ซ้ำกัน ถ้าจะซ้ำต้องมีประโยคอื่นคั่นก่อน ไม่อย่างนั้นจะอ่านไม่รื่นหู เมื่อเรารู้ข้อนี้ เราหงุดหงิดมาก เพราะมันเข้าไปขัดจังหวะการเขียนของเรา (เพราะสมองซีกซ้ายร้องเตือน) ต่อมาพอเขียนถึงจุดหนึ่ง ที่ร้องเตือนนั้นจะค่อย ๆ เงียบลง และกลายเป็นอัตโนมัติของเรา คือเราจะเขียนคำซ้ำ ๆ กันน้อยลง เว้นแต่เขียนฟรีแฮนด์อย่างที่เขียนบทความนี้ อาจจะมีมากขึ้น เพราะเราเขียนแบบไม่ได้ปล่อยให้สมองซีกซ้ายเข้ามาเกี่ยวข้องเลย (ตัด self-censor) เขียนเหมือนพูดให้ฟัง

แต่ถ้าพูดถึงขั้นตอนการพัฒนาความรู้ของสมองซีกซ้ายจริง ๆ แล้ว จะบอกว่าพอพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง เราถึงกับกลับมาเขียน "คำซ้ำ" อีกด้วยซ้ำไป แต่คราวนี้เขียนเพราะคำนึงถึงผลของเสียง ไม่ได้เขียนเพราะ "ไม่รู้" ไม่แน่ใจว่าอธิบายอย่างนี้คนอ่านที่ไม่เคยเขียนหนังสือจะเข้าใจไหม ถ้าให้ยกตัวอย่างเป็นเรื่องอื่น ขอสมมุติเช่นว่า เด็ก ๆ เคยระบายสีออกนอกเส้น ต่อมาพอครูบอกว่าระบายสีออกนอกเส้นนี้ผิด ก็พยายามไม่ให้ออกนอกเส้นอีก ต่อจนเริ่มระบายเก่งขึ้นแล้ว มีเซนส์ทางศิลปะมากขึ้นแล้ว กลับสามารถระบายสีออกนอกเส้นได้โดยที่มัน "ไม่ผิด" และ "งาม" ด้วย อันนี้คือถึงสุดยอดของความรู้แบบสมองซีกซ้ายแล้ว เป็น master ความรู้นั้น ไม่ใช่ลูกน้องของความรู้นั้นแล้ว

มีเรื่องสมองซีกซ้ายอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคิดว่าน่าคุยกัน คือสมองซีกซ้ายนี้ เนื่องจากมันมีความรู้อยู่มาก มันจึงมักกังวลเวลาเราผิด มันจะคอยบ่นเราอย่างที่บอกไปแล้ว แต่สิ่งควรทำเพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่เอาอะไรไปอุดปากสมองซีกซ้าย แล้วเอามันโยนไปไกล ๆ เพราะถ้าปล่อยสมองซีกขวาไปตัวเดียว อีสมองซีกขวาบางทีนอกจากสร้างสรรค์แล้วมันยังไม่รู้อะไร และมันยังซนด้วย ถ้าความรู้ของสมองซีกซ้ายไม่ถึงระดับมาสเตอร์ ฝังลงไปในจิตใต้สำนึกจริง ๆ งานที่ปล่อยสมองซีกขวาเขียนก็จะไม่ได้มาตรฐานที่ต้องการทีเดียวหรอก

อธิบายอย่างนี้อาจจะงงว่าพูดอะไร ขอยกตัวอย่างเวลาเราเขียนงานภาษาอังกฤษก็แล้วกัน เวลาเราเขียนงานส่งโปรเฟสเซอร์ เรามักจะเขียนเลยไปก่อน แล้วค่อยมาตรวจแกรมม่าและตัวสะกดทีหลัง ทุกครั้งที่กลับมาตรวจ เราจะพบว่าเขียนคำผิดเป็นประจำ เช่น two เป็น to อันนี้คือเรายังไม่ master ภาษาอังกฤษเท่าภาษาไทย พอเขียนภาษาอังกฤษด้วยสมองซีกขวาล้วน ๆ จึงเขียนผิด เพราะเขียนไปตามเสียงอ่านซึ่งเป็นความถนัดของซีกขวา ต้องให้สมองซีกซ้ายช่วยมาตรวจทานแก้ทีหลัง (ถ้าเขียนภาษาไทย จะสะกดถูกเกือบหมด แต่จะมีปัญหาเรื่องพิมพ์ตกบ้าง เพราะสมองไปเร็วกว่านิ้ว)

ในกรณีนี้ สมองซีกซ้ายจะช่วยได้มาก มันจะเอาความรู้ของมันมาช่วยแก้ และปรับปรุงสิ่งที่สมองซีกขวาเล่นไว้ให้ออกมาดูดี เหมือนผู้ใหญ่มาช่วยตบ ๆ งานของเด็กให้เข้ารูป มันจะมีทั้งความสร้างสรรค์ของเด็กและความรอบคอบของผู้ใหญ่ คุยกับเลจังเพื่อนเรา เลบอกว่าให้เอา "เรื่องหนัก ๆ" (ความกังวลของสมองซีกซ้าย) ไปทิ้งไว้ข้าง ๆ ก่อน แล้วพอถึงเวลาค่อยเปลี่ยนมันมาเป็นความรอบคอบ มาแก้งานที่ออกมาให้ดี แบบนี้สมองสองซีกทำงานด้วยกัน ไม่ใช่ตบตีกันเอง จะสบายขึ้นมาก

สมองซีกซ้ายยังมีความดีอีกอย่าง คือมันเข้าใจเรื่องโลกภายนอกดีกว่าสมองซีกขวา คุณแบรนเด้แกเขียนไว้ในหนังสือของแกเลยว่า เวลามีคนวิจารณ์ ให้เอา "ตัวตนผู้ใหญ่" ของเราออกรับ อย่าไปเอาความติสต์ของเรามารับ เพราะอีเด็กมันจะไม่เข้าใจ มันจะเฮิร์ตมากเพราะนึกว่าว่ามัน ให้ผู้ใหญ่ฟังว่าอ่อ เขาว่างานไม่ได้ว่าตัว (หรือว่าตัวจริง ๆ ก็ให้รู้ไว้ ไม่ต้องไปดิ้นตาม) แล้วค่อย ๆ มาอธิบายให้ตัวเด็กเข้าใจจะดีกว่า (อธิบายแบบนี้ไม่รู้เห็นภาพหรือเปล่า ต้องลองทำกันดูเอง) เวลาติดต่องานกับสนพ. บก. หรืออื่น ๆ ก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปเอาติสต์ออกมาหรอก เอาความ sensible ของผู้ใหญ่ออกมา ให้ผู้ใหญ่สู้กับโลก ดีกว่าให้ผู้ใหญ่มาสู้กับตัวเราเอง เพราะที่จริงตัว "ผู้ใหญ่" ของเรานั้น ถูกฝึกมาให้ใช้ชีวิตอยู่ในโลก (เรียนรู้กฎระเบียบต่าง ๆ) อยู่แล้ว

อีกอย่างหนึ่งคือ สมองซีกซ้ายจะเป็นตัวที่กำหนดวินัยได้ ในขณะที่สมองซีกขวาจะทำอะไรตามใจตัว ถ้าต้องการวินัยในการทำงานมาก ต้องบอกตัวเองให้นั่งลงทำ งานออกหรือไม่ออกก็ให้นั่งลงทำไปก่อน พอฝึกไว้อย่างนี้แล้ว ตัวเด็กมันจะค่อย ๆ มาเอง (แรก ๆ มันอาจจะดื้อหน่อย) แต่เรื่องนี้ไว้จะพูดลงรายละเอียดอีกที



Create Date : 29 กรกฎาคม 2551
Last Update : 29 กรกฎาคม 2551 4:47:10 น. 6 comments
Counter : 486 Pageviews.

 
เลี้่ยงเด็กอยู่ สีทาเล็บหมดแล้วแย่จัง


โดย: เลจัง IP: 58.9.54.198 วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:4:42:29 น.  

 
เห็นด้วยที่เวลาเขียนงานให้ซีกขวาทำเต็มที่ไปก่อนแล้วค่อยเอาซีกซ้ายมาตบค่ะ

ชอบระดับที่เป็นมาสเตอร์แล้วของซีกซ้ายด้วย - เปรียบเทียบเข้าใจง่ายดีนะคะ

มีต่ออีกใช่มั้ยคะนี่? จะติดตามต่อแล้วกันค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:54:54 น.  

 
มีต่ออีกเรื่อย ๆ จนกว่าคนเขียนจะหมดก๊อกขอรับ

ปะมังกรแล้วด้วยนุ อยู่ที่ถนนนักเขียนน่ะค่ะ


โดย: เคียว IP: 128.86.158.253 วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:48:36 น.  

 
โอ้วนั่งทำไปก่อน สักประเดี๋ยวองค์จะลงเอง...
ขาดวินัยอย่างแรงแต่รู้สึกไอ้ตัวเด็กของเรานี่มันดื้อนานจัง
ชอบบทความเซทนี้จัง


โดย: แมวแป้ง (อสิตา ) วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:11:22 น.  

 
แสดงว่าเราเป็นพวกปิดสมองซีกซ้าย
เพราะขาดวินัยอย่างแรง

เราเป็นปีเตอร์แพน เย๊เย


โดย: ยาคูลท์ วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:0:12:28 น.  

 
เมื่อเราได้ฝึกสมองซีกซ้ายดูก็ดี


โดย: aurn IP: 119.31.121.72 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:23:21:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.