The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
สมองสองซีกกับความเป็นจริงของนักเขียน: ฝึกสมองซีกขวา(3)

ชั่งใจอยู่ว่าจะเขียนเรื่อง artist date หรือต่ออีกเรื่องดี มาคิดดูแล้วน่าจะต่ออีกเรื่องมากกว่า เพราะเหมือนเป็นขั้นที่สูงขึ้นไปของมอร์นิ่งเพจ ส่วนอาร์ติสต์เดทนั้นจัดอยู่ในอีกหมวดหนึ่งได้

เรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เราไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดี เป็นวิธีการของคุณแบรนเด้ ในเรื่อง Becoming a Writer คุณแบรนเด้พูดถึงมอร์นิ่งเพจเหมือนกัน (ที่เราเล่าว่าแกให้เขียนแค่หมดก๊อก) แต่อีกอันหนึ่งที่แกพูดถึงคือ เขียนเจอร์นัลสิบห้านาที เพราะอย่างนั้นเราจะเรียกว่า "เจอร์นัลสิบห้านาที" ก็แล้วกัน เจอร์นัลสิบห้านาทีนี้คือ ให้สัญญากับตัวเองว่าในตอนใดตอนหนึ่งของวัน เป็นเวลาที่เราสะดวก เราจะเขียนอะไรก็ได้เป็นเวลาสิบห้านาที เช่น ว่างตอนหกโมงเย็น ก็เขียนไปจนถึงหกโมงสิบห้า เขียนไปอย่างนี้ทุกวัน หรืออีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่าไม่มีเวลาว่างตรงกันเลย ก็ให้กำหนดไว้ล่วงหน้า (ต้องกำหนดไว้ล่วงหน้าเท่านั้นนะ) ว่าจะเขียนสิบห้านาทีตอนไหน

เมื่อกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน หรือเวลาเปลี่ยนไปทุกวัน ต้องสัญญากับตัวเองว่าจะเขียน หลังจากนั้น เป็นตายร้ายดี ไฟไหม้แผ่นดินไหว ก็ต้องเขียนให้เต็มสิบห้านาทีตามที่สัญญากับตัวเองให้ได้ คุณแบรนเด้แกบอกขนาดว่าถ้าต้องไปทำอะไรนอกสถานที่ ก็ให้ขอตัวสิบห้านาทีไปเขียนในห้องน้ำ จริง ๆ เราว่าไม่ต้องเว่อร์ขนาดที่แกบอกก็ได้ เพราะหลัก ๆ มันอยู่ที่การ commit ตัวเองว่าตัวจะต้องทำ และรักษาสัญญากับตัวเอง เป็นการสร้างวินัยให้ตัวเองมากกว่าจะอยู่ที่การเขียนอย่างเดียว

ถามว่าทำไมต้องสร้างวินัยให้ตัวเอง อันนี้เป็นเพราะอย่างที่อธิบายมาแล้ว คือสมองซีกขวานั้นไม่มีระเบียบ ยิ่งใช้น้อยยิ่งไม่มีระเบียบ เพราะมันจะเป็นเหมือนเด็กพอไม่หัดก็จะที่เรียกไม่มาได้อย่างใจ คุณแบรนเด้แกว่าถ้าอยากเขียนให้ไหลจริง ๆ ไม่ใช่นั่งรอจนกว่า "แรงบันดาลใจ" จะมา ต้องเขียนทุกวัน เขียนไม่ได้ก็นั่งเขียนอะไรไปก็ได้ ให้สมองซีกขวามันรู้ตัวว่าต้องมาตอนนี้ มันจะมาเอง ถ้ามัวแต่รอให้ "แรงบันดาลใจ" มา มันจะนาน ๆ มาที และนานขึ้นเรื่อย ๆ มาที และช่วงที่รอนั้นจะเป็นช่วงที่เราทรมานมากเอง เพราะมัน unproductive ว่ากันตรง ๆ แล้วก็คือ เป็นนักเขียนนั้น ในจิตใต้สำนึกจะอยากเขียน (อยากเขียนมากด้วย) พอไม่เขียนแล้วมันจะไม่มีความสุข คุณนาตาลี โกลด์เบิร์ก (หรือคุณเบรนด้า ยูแลนด์ จำไม่ได้ถนัด) แกบอกเลยว่ามนุษย์เราเกิดมาเพื่อทำการงาน พอคนไม่ได้ทำการงาน มันจะ restless มาก มันจะเซ็ง มันจะไม่รู้จะทำอะไรดี สุดท้ายแล้วก็จะพยายามแก้เซ็ง และแก้ความรู้สึกผิดของตัวเอง บางคนก็นอนดูทีวีทั้งวัน บางคนก็อ่านหนังสือเป็นสิบ ๆ เล่ม บางคนก็ติดยาเสพติด ทุกคนที่เป็นอย่างนี้จะมีสภาพเหมือนติดยา ต้องอยากได้ "ยาแรง" ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น อ่านหนังสือมากขึ้นเรื่อย ๆ ดูทีวีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดูหนังโหดขึ้นเรื่อย ๆ ชอปปิ้งถลุงตังค์มากขึ้นเรื่อย ๆ etc. etc. ไปคิดเอาเองแล้วกัน ตัวเราจะอ่านหนังสือ เล่นเกม กับเล่นเน็ตเป็นพื้นเวลาตกอยู่ในอารมณ์ "ไร้แรงบันดาลใจ" แบบนี้ (เคยถึงนั่งหน้าคอมทั้งวันไม่ทำอะไรเป็นแก่นสารเลย)

ที่จริงการ "รอแรงบันดาลใจ" ด้วยการทำอะไรต่าง ๆ ที่บอกข้างบน มันไม่ใช่ "ความสุข" อย่างที่ตัวเราเข้าใจเลย มันเป็น "ความทุกข์มาก ๆ" และ "ทุกข์โคตร ๆ" ด้วย แต่ตัวเราเองกลัวว่าถ้านั่งลงเขียน มันจะทุกข์กว่า เพราะเราคาดหมายว่ามันต้องออกมาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องออกมาดี (สมองซีกซ้ายทำงาน) และเราไม่สามารถเปิดออโต้ไพล็อตได้เพราะเรารู้สึกผิดกับคนอ่าน ทั้งหมดที่พูดนี่เป็นประสบการณ์จริงทั้งหมด

ว่ากันอีกอย่างเรื่อง "แรงบันดาลใจ" คุณแบรนเด้แกบอกว่า แรงบันดาลใจนั้นมันไม่ได้มาเป็นคลื่นฮือโหมถล่มโลกอย่างที่คนเข้าใจกันหรอก คือแบบคลื่นฮือโหมถล่มโลกก็มีอยู่ แต่ที่จริงแล้ว แรงบันดาลใจส่วนใหญ่มักจะมาจากอะไรที่เล็ก ๆ มาจากการสังเกตอะไรที่เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คลิกกับเรา หรือการที่เราได้ติดต่อสื่อสารกับตัวเองมากกว่า ดังนั้นมันจะมาในจังหวะที่เราเขียนแบบตัด self-censor (เพราะการเขียนด้วยสมองซีกขวาเป็นการสื่อสารกับตัวเอง) ดังนั้นระหว่างที่อีคลื่นฮือโหมถล่มโลกยังไม่มา ก็ทำงานกับตัวเองไปก่อน ดีกว่านั่งรอด้วยความทุกข์ทรมานแถมยังไม่ได้อะไรเลย และบางทีงานที่ออกมาจากตัวเองก็ดีกว่าไอ้ที่ออกมาจากไอ้ถล่มโลกนั่นด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่า ห้ามเล่นเน็ต ห้ามอ่านหนังสือ ห้ามทุกอย่างที่เคยทำมาทั้งหมด ยังทำได้เหมือนเดิม แต่ขอให้เพิ่มวินัยในตัวเองขึ้นมาด้วยนิดหนึ่ง คือสัญญาว่าฉันจะนั่งลงเขียนสิบห้านาที เป็นเขียนแบบสมองซีกขวาล้วน ๆ ด้วย ห้ามมีเซนเซอร์ (เป็น stream of consciousness) แรก ๆ สิบห้านาทีก็พอ อย่าไปบีบคั้นตัวเองมากกว่านี้จะเครียดเอง และช่วงแรกอาจจะไม่ต้องเขียนเป็นนิยายด้วย (หรือจะเขียนก็ได้ไม่ว่ากัน แต่แรก ๆ มันอาจจะไม่ออก เพราะเราเขียนเป็นอาชีพจะเกร็งกลัวไม่ดี) ที่จะออกมาได้ง่ายและดีกว่าคือบทความ หรือบันทึก หรืออะไรก็ได้ที่เข้ามาในหัว (เหมือนมอร์นิ่งเพจ)

ที่เราเขียนบทความอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นการทำสิ่งที่คุณแบรนเด้บอก แต่เราไม่ได้กำหนดว่าสิบห้านาที เรากำหนดว่าจนกว่าบทความจะจบ ถามว่าดีไหม เราอยากบอกว่า ในจำนวนวิธีการทั้งหมดที่ทำมา วิธีนี้เวิร์คกับเราที่สุด เวิร์คยิ่งกว่ามอร์นิ่งเพจหลายเท่า และ productive กว่ามาก ยิ่งเอามาผสมกับอย่างอื่น ๆ เช่นเอามาเขียนบทความชุดนี้ ซึ่งทำให้ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว และช่วงเวลาที่ sloth ตกอยู่ในภาวะรอแรงบันดาลใจจนกลายเป็นทรมานนั้นก็ลดลง ช่วงนี้เล่นเกมน้อยลง อยู่หน้าเน็ตแบบไม่มีสาระน้อยลง ไม่ได้ทำเพื่อฆ่าเวลาแบบตอนที่แห้งเหี่ยวไร้แรงบันดาลใจแล้ว (แต่ก็มีช่วงขี้เกียจอยู่เหมือนสามัญมนุษย์ทั่วไปนั่นแล) และถึงแม้จะไม่ถึงขั้นนั่งลงปุ๊บ เด็ก (สมองซีกขวา) ก็มาเลย แต่ก็สบายกว่าเมื่อก่อนตอนที่พยายามลากมันลู่ถูกัง สมองซีกซ้ายตีกับซีกขวามาก

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจจะเหมาะกับเรา แต่ไม่เหมาะกับบางคนก็ได้ เพราะอย่างนั้นก็ใครชอบอย่างไหน ก็ต้องไปลองกันดูเอง



Create Date : 30 กรกฎาคม 2551
Last Update : 30 กรกฎาคม 2551 1:36:17 น. 7 comments
Counter : 480 Pageviews.

 
-.-/ เค้าทำ ได้ผลนะ


โดย: เลจัง IP: 58.9.54.69 วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:3:08:33 น.  

 
ดูทีวีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดูหนังโหดขึ้นเรื่อย ๆ etc. ไปคิดเอาเองแล้วกัน ตัวเราจะอ่านหนังสือ เล่นเกม กับเล่นเน็ตเป็นพื้นเวลาตกอยู่ในอารมณ์ "ไร้แรงบันดาลใจ" แบบนี้ (เคยถึงนั่งหน้าคอมทั้งวันไม่ทำอะไรเป็นแก่นสารเลย)
-ไอ้evening pageคราวก่อนของฉันมันสะท้อนสิ่งนี้เต็มๆ
Y-Yร้องไห้กระอืดๆ...


โดย: แมวแป้ง-อสิตา IP: 124.121.205.9 วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:4:46:58 น.  

 
กว่าจะอ่านจบนานเกินคาด(ยาวเกินคาด มีไปอีกหน้าด้วยนี่ แถมทำนิสัยเสีย อ่านสามสี่อย่างพร้อมกัน)

มอร์นิ่งเพจกับจอร์นอลสิบห้านาทีน่าใช้
ตอนนี้ที่กำลังเขียนอยู่ เรื่องยาวสองเรื่อง เขียนกระโดดไปกระโดดมาอย่างร้ายกาจ

ก็แปลกดี เพราะสมัยก่อนเคยเขียนแบบเขียนไปเรื่อยๆก็ได้เป็นตอนๆตั้งสิบห้าสิบหกตอนเข้าไป ไม่ได้เขียนเริ่มแล้วไปเขียนจบแล้วค่อยมายัดกลางอะไร ..อาจจะเกร็งไปหน่อยเพราะตั้งเป้าน่าดู

ขอบคุณค่าที่เขียนอะไรดีๆมาให้อ่าน ส่วนตัวรู้สึกว่า เขียนเหมือนพูดให้ฟังเนี่ย มันอ่านง่ายกว่าบทความที่เป้นทางการจริงๆซะอีกนะ(แต่บางจุดอาจมีการวกวนคลุมเครือได้ง่ายกว่า)


โดย: shiny IP: 87.65.136.209 วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:7:58:20 น.  

 
เอ่อ อ่านหนังสือ เล่มเกมส์ นั่งหน้าคอมทั้งวันโดยไม่เกิดแก่นสารอะไรนี่...อาจแค่ขี้เกียจก็ได้นะ

พยายามแก้ตัวสุดชีวิต


โดย: ยาคูลท์ วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:20:10:41 น.  

 
เห็นด้วยกับคุณยาคูลท์
เปรียบเทียบเป็นเด็กกับผู้ใหญ่นี่เข้าใจง่ายและได้ภาพชัดเจนนะคะ
แต่ถ้าในหัวไม่มีผู้ใหญ่เลยจะทำอย่างไรดีน้อ...
มีเด็กวิ่งเล่นทั้งสองฝั่งสมองเลยอ่ะ


โดย: kangsadal วันที่: 31 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:18:31 น.  

 
น่าสนใจทั้งมอร์นิ่งเพจ และ 15 นาทีเจอร์นัลเลยค่ะ

จะลองทำดูเนาะ ขอบคุณที่เอามาอธิบายให้ฟังให้เข้าใจง่ายๆ นะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 31 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:39:05 น.  

 
ชอบบบ....
ขอเซฟเป็น favorites link เลยแล้วกันนะครับ (หุหุ)

หวัดดีครับผม

+++++++++++


โดย: de luck (ploy666 ) วันที่: 4 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:38:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.