Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สธ.สั่งทุก รพ.ปรับปรุง OPD ประหนึ่งห้องรับแขก บริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120 นาที



สธ.สั่งทุก รพ.ปรับปรุง OPD ประหนึ่งห้องรับแขก บริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120 นาที
โดย MGR Online


10 มิถุนายน 2559 15:57 น.(แก้ไขล่าสุด 10 มิถุนายน 2559 17:25 น.)

ปลัด สธ. สั่งทุกโรงพยาบาลพัฒนาแผนกผู้ป่วยนอก เป็นเหมือนห้องรับแขก ชี้ต้องสะอาด สะดวก สบาย สวยงาม แนะเพิ่มคุณภาพ ทำระบบยื่นบัตร รอคิว ชัดเจน เป็นขั้นตอน บริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120 นาที จุดมุมพักผ่อน ทำความสะอาดประจำ



       วันนี้ (10 มิ.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ผู้ตรวจราชการ สธ. เขตสุขภาพที่ 9 และประธานกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลในระบบ Quality Service Clean (QSC) ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เรื่องการปรับปรุงบริการด่านหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอก

       นพ.โสภณ กล่าวว่า รมว.สาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาโรงพยาบาลทุกระดับ ทั้งคุณภาพบริการ ความสะอาด และสะดวกสบาย โดยเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอกที่เป็นด่านหน้ารับผู้ป่วย เปรียบเสมือนเป็นห้องรับแขกในบ้าน ต้องมีคุณภาพตามมาตรฐาน 4 ส. คือ สะอาด สะดวก สบาย สวยงาม ให้ผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลมีความพึงพอใจ สามารถเข้ารับบริการที่จุดต่าง ๆ ได้ลื่นไหลไปตามขั้นตอน โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่ง จัดทำโครงการพัฒนาโรงพยาบาลในระบบคิวเอสซี (QSC : Quality Service Clean) ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคน ร่วมปรับปรุงสภาพแวดล้อม และบรรยากาศในการทำงานให้สดใสใน 3 ด้าน คือ คุณภาพ (Quality) บริการ (Service) และความสะอาด (Clean) โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้

       1. ด้านคุณภาพ ได้แก่ จัดทำผังหรือช่องทางการยื่นบัตรและการรอคิวที่เป็นระบบ มีขั้นตอนให้ผู้รับบริการและญาติรับทราบอย่างชัดเจน จัดทำระบบประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ ให้ข้อมูล พร้อมจิตอาสาดูแลให้บริการและอำนวยความสะดวกแก้ปัญหาทุกจุดบริการ มีป้ายชื่อความหมาย ป้ายบอกทางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่เกะกะ ขวางทางสัญจร มองเห็นได้อย่างชัดเจน และจัดห้องบริการให้คำปรึกษาพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำ

       2. ด้านบริการได้แก่ มีช่องทางการตรวจในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ที่ลื่นไหลและรวดเร็วภายใน 120 นาที จัดบริเวณที่นั่งรอตรวจให้เพียงพอต่อผู้รับบริการและญาติ และสะดวกสบาย ร่มรื่น ปลอดภัย จัดให้มีสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ในช่องทางการเดินเชื่อมระหว่างตึกของการให้บริการ จัดมุมพักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้ป่วยและญาติ จัดให้มีร้านกาแฟ ร้านอาหาร สหกรณ์ร้านค้า บริการผู้ป่วยและญาติ

       3. ด้านความสะอาด ได้แก่ การดำเนินการกิจกรรม 5 ส. มาตรการ 3 ก. ในโรงพยาบาลทุกวันศุกร์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการส้วมสะอาด ปลอดภัย ปราศจากโรค เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (ห้องน้ำสะอาด สวยงาม) มีบริการตู้น้ำดื่มสะอาดที่เป็นระเบียบ สวยงาม และมีแม่บ้านคอยดูแลความสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ปรับปรุงตึก อาคาร สิ่งก่อสร้างภายในให้สีสันสวยงาม ดูสะอาด สวยงาม สดใส ภูมิสถาปัตย์ แสง สี เสียง สวนหย่อม สวยงาม ปลอดภัย ทั้งนี้ จะตรวจประเมินผลโรงพยาบาลทุกแห่งในเดือนสิงหาคม 2559 และมอบรางวัลโรงพยาบาลคุณภาพ สะอาด สะดวกมาตรฐานคิวเอสซี ในที่ประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข 2559 เดือนกันยายน 2559 นี้


" ขอให้ทำได้สมดังตั้งใจ ในเร็ววันนะครับ "

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


"โพลล์ชี้คนไทยกว่า 50% ใช้เวลาในรพ.กว่า 8 ชม."

7 สิงหาคม 2560 16:20 น.เรื่องโดย คมชัดลึก | ภาพโดย คมชัดลึก 6,265แชร์



สยามเทคโนฯโพลล์ เผยคนไทยกว่า50%ใช้เวลาในรพ.กว่า8 ชม. ระบุ สาเหตุล่าช้า60% เกิดจากปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการ อีก 40.32% ชี้แพทย์พยาบาลมีน้อย

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(STC)แถลงผลการสำรวจ"ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ"สำรวจระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,203 คน

ปัจจุบันการให้บริการทางด้านสาธารณะสุขของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการในสถานพยาบาลยังคงเกิดปัญหาดังที่ปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การที่มีแพทย์พยาบาลไม่เพียงพอกับการให้บริการโดยเฉพาะในสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือขนาดกลาง การที่แพทย์พยาบาลต้องทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน การกระจุกตัวของแพทย์พยาบาลในเมือง การรอรับบริการตรวจรักษาพยาบาลเป็นเวลานานในแต่ละครั้ง หรือการบริหารจัดการการให้บริการของสถานพยาบาล เป็นต้น

ถึงแม้ภาครัฐจะได้พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาและความเอาใจใส่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันได้มีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น คือ ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับความรวดเร็วและความเอาใจใส่ของแพทย์พยาบาลในการดูแลรักษา

ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวส่วนมากจะถูกเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งนอกจากการเล่าเป็นตัวอักษรแล้วบ่อยครั้งยังมีการนำเสนอภาพหรือคลิปวิดิโอด้วยซึ่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และการถกเถียงระหว่างผู้คนในสังคม ซึ่งผู้คนส่วนหนึ่งได้แสดงความห่วงใยถึงปัญหาดังกล่าวและเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบแก้ไขและทำความเข้าใจให้กับประชาชนมากขึ้น

จากประเด็นดังกล่าวสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.71 เพศชายร้อยละ 49.29 อายุ 15 ปีขึ้นไป สรุปผลได้ดังนี้

ในด้านระยะเวลาการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐโดยเฉลี่ยต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 46.22 ระบุว่าตนเองใช้เวลาในการตรวจรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลของรัฐต่อครั้ง ในฐานะผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 8 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เดินทางมาถึงสถานพยาบาลจนกระทั่งเวลาที่เดินทางออกจากสถานพยาบาล รองลงมาระบุว่าใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 5 ชั่วโมงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 32.25 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.47 ยอมรับว่าใช้เวลามากกว่า 8 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยต่อครั้ง โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.06 ระบุว่าใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง

เมื่อเปรียบเทียบสาเหตุที่ส่งผลทำให้ผู้ใช้บริการต้องรอรับบริการในสถานพยาบาลของรัฐเป็นเวลานานระหว่างปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อยกับปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 59.68 มีความคิดเห็นว่าเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการมากกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.32 ระบุว่าเกิดจากปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อยมากกว่า

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.93 เชื่อว่าในปัจจุบันแพทย์พยาบาลส่วนใหญ่ในสถานพยาบาลของรัฐจำเป็นต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาในสถานพยาบาลติดต่อกันยาวนานเกินไป

โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.14 มีความคิดเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่สนใจแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

เมื่อปรากฏข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.27 รู้สึกเห็นใจทั้งสองฝ่ายเท่าๆ กัน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 25.52 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกเห็นใจผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมากกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.21 รู้สึกเห็นใจแพทย์พยาบาลมากกว่า

ในด้านความคิดเห็นต่อปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยนั้น
กลุ่มตัวอย่างประมาณสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.15 มีความคิดเห็นว่าผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยไม่สมควรนำภาพ/คลิปวีดีโอที่ปรากฏใบหน้าแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินที่ตนเองมีปัญหากระทบกระทั่งมาเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 57.94 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมีส่วนบั่นทอนกำลังใจในการทำงานของแพทย์พยาบาลโดยรวมได้

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.27 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐได้

อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53.2 ระบุว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยจะไม่ส่งผลให้ตนเองกลัวการไปใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ

กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.78 และร้อยละ 54.61 มีความคิดเห็นว่าหากมีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอน/วิธีปฏิบัติ/ลำดับความสำคัญ-ความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและมีการเพิ่มจำนวนแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยกับแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐได้ตามลำดับ"

อ่านต่อที่: //www.nationtv.tv/main/content/social/378560503/




 

Create Date : 17 มิถุนายน 2559   
Last Update : 9 สิงหาคม 2560 22:34:02 น.   
Counter : 3171 Pageviews.  

โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น.






นำมาเล่าสู่กันฟัง  ^_^  

โครงการสัมมนา CME สัญจร ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา
ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙ วันศุกร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ห้องสโลป CC 2802 ชั้น ๘ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา ๒

๑. ผู้เข้าร่วมสัมมนา ค่อนข้างน้อย (ประมาณ ๕๐ คน ?) แต่ คณะกรรมการการศึกษาต่อเนื่องมาถึง ๑๑ ท่าน ( อ.สมศรี บอกว่า เยอะกว่าทุกเวทีที่จัดมา) ทางฝ่ายจัดการสัมมนาอาจต้องร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุ เพื่อแก้ไขในครั้งต่อไป  (อาจเป็นจาก ประชาสัมพันธ์น้อย หรือ ชื่อโครงการ เนื้อหากำหนดการไม่น่าสนใจ หรือ แพทย์เราไม่สนใจเอง ?)  
ทาง ท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มน. บอกว่า จะมีการบันทึกวิดิทัศน์เพื่อเผยแผ่ต่อไป ท่านใดที่สนใจก็รอติดตามชมกันได้  

๒. เวลาในการสัมมนาน้อยไป (เริ่ม ๙.๓๐ น.) น่าจะเริ่มเช้าอีกหน่อย ตัดเนื้อหาบางช่วงออก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีเวลาพูดคุยซักถามแสดงความคิดเห็น มากขึ้น ( ครั้งนี้อาจารย์พูดก็หมดเวลา เปิดให้แสดงความเห็นแค่ ๑ – ๒ คนเท่านั้นเอง)

๓. เนื้อหาของการสัมมนา เน้นเรื่องระเบียบกฎหมาย ตัวอย่างคดีความ คดีฟ้องร้อง มากกว่าเรื่องของ CME (บางที ถ้าตั้งหัวข้อเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การฟ้องร้อง คดีตัวอย่าง ข้อระมัดระวังฯลฯ อาจทำให้แพทย์สนใจเข้าร่วมสัมมนาเยอะขึ้น ?)

๔. มีประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับคดีความ การฟ้องร้องหลายเรื่อง ทั้งหมอสูติ ศัลย์ ออร์โธ หมอเด็ก รวมถึงคดีทั่วไป เช่น แพทย์จบใหม่ ไปทำงานที่คลินิกเสริมความงาน แล้วไปลงชื่อเป็นผู้ดำเนินการคลินิก เจ้าหน้าที่ในคลินิกจ่ายยาเสพติดให้โทษกับผู้ป่วยเก่า (ให้ยาเดิม โดยที่แพทย์ไม่อยู่) แพทย์จบใหม่ก็ต้องโดนฟ้องคดีด้วย  หรือ คดีใบรับรองแพทย์เป็นเท็จทำให้แพทย์ติดคุก เป็นแพทย์ จังหวัดใกล้กรุงเทพ ต้องติดคุก จากการออกใบรับรองแพทย์ (ถูกจับวันศุกร์นอนคุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เพราะติดวันหยุดเลยไม่ได้ประกัน) แพทย์เขียนใบรับรองแพทย์ ให้กับเจ้าหน้าที่ ด้วยความสนิทสนม แต่เจ้าหน้าที่เอาไปขายต่อ แล้วคนซื้อนำไปอ้างเพื่อเลื่อนนัดศาล เลยกลายเป็นเรื่องคดีอาญา ออกเอกสารเท็จ  เป็นต้น ถ้ามี cme สัญจรครั้งหน้า แพทย์ท่านใดที่สนใจเรื่องเหล่านี้ ห้ามพลาด ได้อะไรเยอะจริง ๆ เป็นการเรียนรู้จากความเจ็บปวดความผิดพลาดของคนอื่น เราจะได้ทำหน้าที่แพทย์ของเราอย่างปลอดภัย

๕. ผมเสนอความเห็นเกี่ยวกับ CME ไปบางส่วนแบบสรุปย่อมาก เพราะ ไม่มีเวลา หลายประเด็นทางคณะกรรมการ ศ.น.พ. แจ้งว่าได้ดำเนินการไปแล้ว บางประเด็นก็จะนำไปดำเนินการต่อ

๖. ผมเสนอให้มีการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์ เกี่ยวกับ กฎหมาย ตัวอย่างคดีความ การแสดงความคิดเห็นในอินเตอร์เนต เฟสบุ๊ค ซึ่งมีหลายประเด็นที่ต้องระมัดระวัง  รวมถึงการสอนเรื่องที่ไม่ใช่วิชาการแพทย์ เพราะ การใช้ชีวิตหลังจากเรียนจบ มีเรื่องอีกเยอะที่จำเป็นต้องรู้แต่อาจารย์ไม่ได้สอน  

NU Live Streamed live on Jun 23, 2016  (แต่ไฟล์สะดุด ?)
https://youtu.be/DA4y3kwDWN4
https://youtu.be/v8zsLkT77a8
https://youtu.be/hpA748EMIfE

หัวข้อ 34607: โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น. (เล่าสู่กันฟัง)
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1466863922

34580: โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น. ข้อเสนอ ?
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1466411924

หัวข้อ 34448: โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น.  (จำนวนคนอ่าน 473 ครั้ง)
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1464102726

หัวข้อ 34034: แพทยสภา ดัน “ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม” คิดเห็นอย่างไร ?  (จำนวนคนอ่าน 2190 ครั้ง)
//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1455696146

โครงการสัมมนา CME สัญจร ๒๔ มิย.๕๙ @ คณะแพทย์ ม.น.   
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-05-2016&group=15&gblog=67
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1335440969804909.1073742210.100000170556089&type=3


................................

โครงการสัมมนา CME สัญจร ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา
ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙ วันศุกร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ห้องสโลป CC 2802 ชั้น ๘ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา

แบบตอบรับเข้าร่วมประชุมฯ
ไฟล์ pdf      //bit.ly/1TBhpKP
ไฟล์ word   //bit.ly/1TUbgXp


หมายเหตุ .. โปรดส่งแบบตอบรับฯ ภายในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ 
สามารถส่งได้ทั้งทาง อีเมล์ admin@ccme.or.th โทรสาร 02-591-7049 หรือ ไปรษณีย์ฯ

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา
อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ ( สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ) 02-590-1894 กด 7
โทรมือถือ 08-5685-9009 โทรสาร 02-591-7049
อีเมล์ admin@ccme.or.th
เวบ //www.ccme.or.th










...............................................

สำหรับ ผม ..

๑. เห็นด้วยที่จะมีการมี "ต่อ" ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

-ผู้ที่จะเข้าเรียนแพทย์ ในอนาคต รับทราบข้อกำหนดนี้ และถือว่าเป็นการบังคับตามกฏหมาย (กฏหมายออกบังคับใช้แล้ว ถือว่ารู้และยอมรับ)

-ส่วนนักศึกษาแพทย์ (ที่กำลังศึกษาอยู่) และ แพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพแล้ว ถือว่าเป็น ทางเลือก (กฏหมายไม่มีผลย้อนหลัง)

๒.ควรมีระบบวิธีการ ที่จะใช้ในการพิจารณาต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรบ้าง และ มีระบบที่ช่วยสนับสนุน เช่น การเก็บคะแนน CMEควรมีข้อสอบ บทความเนื้อหาความรู้ที่ทันสมัยและจำนวนมากเพียงพอ ที่จะให้แพทย์เข้าไปศึกษา

สิ่งที่จะต้องปรับปรุงเป็นเรื่องแรกเลยก็คือเวบ www.ccme.or.th

เพราะตอนนี้เวบร้าง ไม่มีข้อสอบให้ทำเพิ่ม ทั้งที่ น่าจะเป็นวิธีทำได้และง่ายที่สุดด้วยซ้ำแถมยังสะดวกที่สุดสำหรับแพทย์ต่างจังหวัด แพทย์ที่ไม่ได้อยู่ในคณะแพทย์ใครที่สนใจที่จะติดตามความรู้และเก็บคะแนน ก็เข้าไปอ่าน ไปอัพเดตความรู้พักอยู่บ้าน ทำงานอยู่โรงพยาบาลคลินิก ก็สามารถทำได้ ไม่ต้องเดินทางไม่ต้องเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไปอบรมวิชาการ ฯลฯ

๓.ควรมีมาตรการจูงใจ ให้แพทย์ มาต่อใบอนุญาต ถ้าไม่ต่อใบอนุญาตฯ ก็ทำงานเป็นแพทย์ได้แต่ถ้ามาต่อใบอนุญาตฯ จะมีข้อดี มากกว่าเพราะถือว่าเป็นหลักฐานเพิ่มความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ป่วย เช่น การสมัครงาน หรือเรียนต่อ จะต้องมีหลักฐานการศึกษาต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลหรือคลินิกถ้ามีแพทย์ที่ไม่ต่อใบอนุญาต พอมีคดี ทนายหรือศาล อาจมองว่าโรงพยาบาล(คลินิก)นั้นไม่ได้มาตรฐาน หรือถ้ามีเรื่องร้องเรียน ก็อาจถูกลงโทษที่หนักขึ้นดังนั้นถ้าจะไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน อาจไม่รับเข้าทำงาน เป็นต้น

หรืออาจจะมีการออกใบรับรองหรือประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องครบตามหลักเกณฑ์ สามารถเอาไปติดแสดงให้คนไข้และญาติได้ดูเพื่อให้คนไข้เกิดความมั่นใจว่าหมอที่ให้การดูแลรักษานั้นเป็นหมอที่ใฝ่รู้สนใจเรียนต่อ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีการบังคับ ใช้มาตรการจูงใจเชิงบวกอย่างเดียวก็ไม่มีหลักประกันว่าทุกคนจะทำ เกิดมีหลายมาตรฐาน จึงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันเราจึงต้องพิจารณากันให้รอบคอบ

๔. ผมคิดว่า จุดประสงค์ของ การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิชาชีพเวชกรรม หรือการเก็บคะแนน CME คือเพื่อยืนยันกับประชาชนทั่วไปว่า แพทย์ที่รักษาเขานั้น มีการเรียนรู้ต่อเนื่องติดตามความรู้ใหม่ๆ สม่ำเสมอ จึงต้องหาวิธีสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนทั่วไปได้รับรู้รับทราบ

ประเด็นสำคัญที่สุดคือ การประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้ทราบว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรบ้างมีวิธีการตรวจสอบ หรือ มีข้อสังเกตเครื่องหมายสัญลักษณ์ใบรับรอง ได้อย่างไร เช่นสัญลักษณ์ หรือ เอกสารรับรองว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (รับรอง ๓ ปี หรือ ๕ปีมีกำหนดว่าหมดอายุเมื่อไหร่ ) และ ควรมีวิธีให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบคะแนน CMEของแพทย์แต่ละท่านได้สะดวกเพื่อให้ประชาชนรับรู้และเลือกตัดสินใจเองว่า จะรักษากับแพทย์ท่านนั้นหรือไม่

ถ้าประชาชนทราบแล้ว แต่ยังยืนยันที่จะไปรักษากับแพทย์ที่ไม่ได้ต่อใบอนุญาตฯไม่ได้ติดตามความรู้ให้ทันสมัย ก็ถือว่า เป็นความเสี่ยงที่ผู้ป่วยยอมรับเอง

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ผู้ที่เสียค่าใช้จ่ายเองอยากได้รับการรักษาจากแพทย์ที่ติดตามความรู้ต่อเนื่อง มากกว่าหมอที่ไม่เคยอัพเดตเลย

ดังนั้น"มาตรการทางสังคม " จึงน่าจะเป็นมาตรการที่ "จูงใจ" (ทางอ้อม)ให้แพทย์ ที่ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วยอยู่ สนใจสมัครใจที่จะเข้ามาต่อใบอนุญาต ^_^

ปล. ถ้าเทียบง่าย ๆ เหมือนกับไปกินอาหารในต่างถิ่น ถ้าร้าน มีเครื่องหมาย หรือ ข้อมูล ที่แสดงว่า อาหารอร่อยก็น่าจะดีกว่า (เสี่ยงน้อยกว่า) ไปกินร้านที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย ส่วนว่าเราไปกินแล้วจะอร่อย หรือเปล่า ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

.................................................

ผมได้ตั้งกระทู้ในเวบไทยคลินิก มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นพอสมควร และส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการต่ออายุใบประกอบฯ สนใจแวะไปอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้

หัวข้อ 34034:แพทยสภา ดัน “ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม”คิดเห็นอย่างไร ? (จำนวนคนอ่าน2065 ครั้ง)

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1455696146;start=56

วัตถุประสงค์เพื่อแพทย์พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีการรักษาผู้ป่วย

การแก้ไขการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้นจะให้มีผลเฉพาะผู้ที่สอบและรับใบอนุญาตใหม่เท่านั้นโดยมีการกำหนดชัดเจนว่าจะต้องต่ออายุเมื่อครบกี่ปีแต่จะไม่มีผลย้อนหลังไปยังแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาติฯ ก่อนหน้านี้โดยให้ขึ้นทะเบียนต่อใบอนุญาตโดยไม่ต้องจ่ายเงินและให้แสดงหลักการเข้าร่วมอบรมหรือประชุมวิชาการแทนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการติดตามและพัฒนาองค์ความรู้วิชการแพทย์ต่อเนื่องเป็นลักษณะการบังคับ

ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขในประเด็นนี้นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นแนวโน้มเดียวกับทั่วโลกซึ่งหลังแพทย์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วบางคนสงสัยว่าในกลุ่มแพทย์ที่เรียนจบมานานแล้วจะยังมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการรักษาและดูแลผู้ป่วยอีกหรือไม่และมีการพัฒนาการรักษาและเทคโนโลยีการแพทย์ที่รุดหน้าหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยดังนั้นแพทยสภาจึงได้เสนอในเรื่องนี้ซึ่งเรื่องนี้ทุกวิชาชีพต่างต้องทำเหมือนกันหมดเพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน โดยหลักเกณฑ์ที่จัดทำขึ้นได้ดูตัวอย่างจากต่างประเทศและประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้

แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงว่าการแสดงถึงการอบรมและการศึกษาจะประกันได้อย่างไรว่าแพทย์มีความรู้ดีขึ้น แต่ก็ดีกว่าไม่ได้เข้ารับการอบรมหรือศึกษาใดๆ เลยส่วนที่ในอดีตที่ไม่มีการกำหนดการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพแพทย์นั้นหากไปดูทุกประเทศเหมือนกันหมดโดยพึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อใบอนุญาตทีหลังทั้งสิ้น

..................................................

หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการต่อใบอนุญาตของสภาวิชาชีพต่างๆ

//www.dentalcouncil.or.th/dentist/relicense.php

ทันตแพทย์
ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2559กำหนดให้ทันตแพทย์ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมไปแล้วไม่ต้องต่อใบอนุญาตกำหนดให้ทันตแพทย์ซึ่งจบใหม่ต้องต่ออายุใบอนุญาตทุก 5 ปีเท่านั้นและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการต่อใบอายุวิชาชีพ แต่ทั้งทันตแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตแล้วและทันตแพทย์ใหม่ต้องเก็บหน่วยกิตให้ได้ 100 คะแนนภายใน 5 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 20 คะแนน

เภสัชกร

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 (ตั้งแต่ 27 มีนาคม 2558)ใบอนุญาตให้มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และต้องเสียค่าต่ออายุใบอนุญาตทุก 5 ปี ต้องมีการศึกษาต่อเนื่องรวมไม่น้อยกว่า 100 หน่วยกิต ในทุกรอบระยะเวลา 5 ปีโดยจะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องทุกปี ปีละไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

พยาบาล

กำหนดในพระราชบัญญัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ให้มีการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ในพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขออกเป็นข้อบังคับสภาการพยาบาลการต่อทะเบียนใบอนุญาตใช้ 50 หน่วยการศึกษาต่อเนื่องและเสียค่าธรรมเนียมต่อ 500บาท

เทคนิคการแพทย์

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์พ.ศ. 2547 การออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาเทคนิคการแพทย์ค่าต่อใบอนุญาตฉบับละ 2,500 บาทข้อบังคับกำลังอยู่ในระหว่างการร่าง

สัตวแพทย์

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์พ.ศ. 2545 การออกใบอนุญาตต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสัตวแพทยสภาสัตวแพทยสภากำหนดอายุใบอนุญาตใช้ได้ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่อใช้ 100 หน่วยการศึกษาต่อเนื่องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

กายภาพบำบัด

กำหนดในพระราชบัญญัติกายภาพบำบัดพ.ศ. 2547การออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากายภา พบำบัดค่าต่อใบอนุญาตฉบับละ 2,500 บาทข้อบังคับกำลังอยู่ในระหว่างการร่าง

ทนายความ

กำหนดในพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 ใบอนุญาตมีอายุใช้ได้ 2 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาตเว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่เสียค่าธรรมเนียมในอัตราตลอดชีพให้มีอายุตลอดชีพของผู้ได้รับใบอนุญาต หลักเกณฑ์วิธีการ กำหนดในกฎกระทรวงค่าต่อใบอนุญาตทนายความตลอดชีพ 4,000 บาทใบอนุญาตทนายความ 2 ปี เสียค่าธรรมเนียม800 บาท ผู้มีใบอนุญาตเป็นทนายความ 2 ปี จะขอต่อใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพได้แต่ต้องก่อนใบอนุญาตเดิม(2 ปี) หมดอายุโดยเสียค่าธรรมเนียม 800 บาท

วิศวกร

กำหนดในพระราชบัญญัติวิศวกรพ.ศ. 2542 ว่า การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาตการพักใช้เพิกถอนใบอนุญาตให้ออกเป็นข้อบังคับสภาวิศวกร ข้อบังคับกำหนดให้ต่อทะเบียน ทุก 5ปี นับแต่วันออกใบอนุญาตหรือนับแต่วันอนุมัติให้ต่อใบอนุญาตค่าต่อใบอนุญาตระดับวุฒิวิศวกร 3,000 บาท ระดับสามัญ 2,000 บาท ระดับภาคีวิศวกร1,000 บาท

สถาปนิก

กำหนดในพระราชบัญญัติสถาปนิกพ.ศ. 2543 ว่าการออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตการพักใช้เพิกถอนใบอนุญาตให้ออกเป็นข้อบังคับสภาสถาปนิกข้อบังคับกำหนดให้ต่อทะเบียน ทุก 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือนับแต่วันที่ต่อใบอนุญาตค่าต่อใบอนุญาตระดับวุฒิสถาปนิก 3,000 บาท สามัญสถาปนิก 2,000 บาท ภาคีสถาปนิก1,000 บาท

บัญชี

กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชีพ.ศ. 2547ไม่กำหนดอายุใบอนุญาตแต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามที่สภาวิชาชีพกำหนด สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ปีละ1,000 บาท นับจากวันที่ออกใบอนุญาต (ไม่ใช้หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง)







 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 25 มิถุนายน 2559 21:25:12 น.   
Counter : 4285 Pageviews.  

13 หลุมดำ การศึกษาของประเทศไทย : ดร.ศราวุธ สุตะวงค์ (นำมาฝาก)

"13 หลุมดำ" การศึกษาของ "ประเทศไทย"
ดร.ศราวุธ สุตะวงค์   18/02/2559
https://www.facebook.com/StockThai4You/posts/1254953067867676

1).การเมืองไทยเป็นปัญหาใหญ่การศึกษาของชาติชอบปรับเปลี่ยนนโยบาย ไม่ต่อเนื่อง และไม่บริหารการศึกษาตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 และ (แก้ไขเพิ่มเติม) มีกฎหมายการศึกษาแล้วไม่ทำ ชอบคิดใหม่ แก้ใหม่อยู่เรื่อย

2).การสอบ O-Net เป็นตัวทำลายระบบการศึกษาไทย ส่งเสริมระบบติวเตอร์ ที่เรียนไม่ออกข้อสอบ ที่สอบไม่ได้เอาไปใช้ คนได้ Top O-Net ยังทำอะไรไม่เป็น : คนเราเก่งคนละด้าน ไม่ได้เก่งทุกวิชา สมองถูกออกแบบมาให้เก่ง หรือ มีอัจฉริยภาพที่แตกต่างกัน ประเทศไทยยังไม่มีหมอ หรือวิศวกรเป็นนายกรัฐมนตรี ต่างประเทศเขาใช้วิธีการสุ่มตรวจ ไม่ใช่เอาเป็นเอาตาย บางโรงเรียนไม่สอนติวข้อสอบโอเนตอย่างเดียวทั้งเทอม บางโรงเรียนโอเนตสูงเพราะเด็กไม่เยอะ มีผลดีต่อค่าเฉลี่ย หรือเด็กเก่งด้านนั้น ๆ มีมากในรร.แห่งนั้น เพราะตัวป้อนมีเยอะคัดเด็กสอบเข้าตั้งแต่อนุบาล

3).การจัดอันดับโรงเรียน ทำลายขวัญกำลังใจครู นักเรียน และผู้ปกครอง ตลอดถึงสถานศึกษาเป็นช่องทางให้เกิดธุรกิจการศึกษาในโรงเรียน และสถาบันกวดวิชาข้างโรงเรียนชื่อดัง ตลอดถึงครูผู้สอนรร.ดังแสวงหาผลประโยชน์จากการสอนพิเศษ ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็มิได้เก่งกาจอะไร เพียงเพราะมีตัวป้อนนักเรียนกลุ่มเก่งเหล่านั้นมาเรียน

4).โรงเรียน ดี เด่น ดัง ไม่มีจริงในประเทศไทย มีแต่โรงเรียนเฉพาะทางเท่านั้น ที่เน้นเฉพาะเด็กเก่งวิทย์ คณิต และหลงไหลได้ปลื้มว่าโรงเรียนเหล่านั้นสอนดี สอนเก่ง เป็นเพียงเป็นแหล่งรวมของเด็กเก่งด้านนี้มาอยู่รวมกันมากเท่านั้นเอง ขึ้นป้ายหน้ารร.ชื่นชมติดหมอติดวิศวะหน้ารร. แต่ทิ้งเด็กเก่งด้านอื่นอีก 700-800 คนที่จบม.6 ต้องผจญภัยกับชะตากรรมชีวิตของตนเอง ตามบุญตามกรรม และเด็กเก่งกลุ่มน้อยเหล่านั้นจะมองเพื่อนในรร.ของตนเองด้วยหางตา ส่งเสริมให้มองคนไม่เท่าคน ไม่เชื่อ สมมุติฐานนี้ลองย้ายผอ.และครูทั้งโรงเรียนที่ได้อันดับ 1-2 ของประเทศไปดำรงตำแหน่ง โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โดยให้เงินเดือน 2-3 เท่า และทำให้นักเรียนที่นั้นได้อันดับ 1 ของประเทศภายใน 3-5 ปี ฟันธงว่าทำไม่ได้ เด็กอมก๋อยก็เก่ง แต่ เก่งคนละด้าน ต่างประเทศมีรร.พิเศษเฉพาะทาง แต่เขาไม่เอามาเปรียบเทียบกัน รร.เตรียมวิศวะ กับรร.เตรียมทหาร เปรียบเทียบความเก่งเฉพาะทางกันไม่ได้ เก่งกีฬา เก่งศิลปะ เก่งคอมพิวเตอร์ก็เปรียบเทียบ เก่ง ไม่ได้

5).ได้คนไม่เก่งมาเรียนครู เพราะเงินเดือนไม่จูงใจเหมือนต่างประเทศ ฟินแลนด์คนที่สอบได้ที่ 1-5 ของโรงเรียนเท่านั้นที่จะสามารถสอบเข้าเรียนครูได้และเงินเดือนของอาชีพครูสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอาชีพอื่น อาทิ ศาล ทนายความ และแพทย์ สร้างคนต้องสูงกว่าซ่อมคน(หมอ) ครูประถม ครูมัธยม ครูมหาลัย ยังท่องความรู้ (มือสอง) มาเล่าต่อให้นักเรียนฟังเท่านั้นเอง จะมีเด็ก 5-10% เท่านั้นสำเร็จจากการสอนด้วยวิธีนี้นี้ ท่อง จำ สอบจบ และสอบเข้าทำงาน

6).การแข่งขัน ประกวด ทักษะวิชาการ เป็นตัวปัญหาทำให้เด็กและครูเห็นแก่ตัว จริง ๆ แล้วแข่งครูไม่ใช่แข่งเด็ก โรงเรียนไหนมีครูเก่งอะไร เด็กโรงเรียนนั้นก็จะเก่งสิ่งนั้น ต้องสมมุติฐานว่าเด็กพร้อมจะให้ครูพัฒนาบนบริบท ความชอบและความถนัดของเขา ครูไทย "ล่ารางวัล" หรือ "กระดาษ" กันทั้งปี โดยทิ้งเด็กอยู่กับ หนังสือ โทรศัพท์ อินเตอร์เนต หรือทิ้งอยู่กับ "ห้องสอน" มิใช่ "ห้องเรียน" เด็กไทยจึงโตแต่หัวทำอะไร คิดอะไรไม่เป็น

7).สังคมไทยเป็นสังคมโหยหากระดาษ ปริญญา เกียรติบัตร รางวัล โล่ และทำอะไรไม่เป็น เรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ จบม.6 ไปต่อปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ยังโง่ เจ็บ และจน ยังเชื่อโชคลางและไสยศาสตร์ อาทิ "กรณีลูกเทพ" บางคนเรียนจบปริญญาถึง 18 ใบ ไล่ทะเลาะคนอื่นไปทั่ว เพราะคิดว่ามีกระดาษหลายใบ คงฉลาดกว่าคนอื่นแน่ ๆ

8).กระทรวงที่ดูแลการศึกษาของประเทศใหญ่ เทอะทะ เจ้าหน้าที่ธุรการคิดนโยบายรายวันให้รัฐมนตรีสั่งการไปยังโรงเรียน ข้าราชการสายสนับสนุนอยู่กระทรวง ทบวง กรม ล้วนมีแต่เส้นสายล้วนแต่สะสมผลงานที่สั่งรร.กระทำเพื่อสนองความสำเร็จของตนเอง จึงมีนโยบายใหม่ ๆ แปลก ๆ ออกมาสม่ำเสมอ ครูจึงไม่ได้ทำหน้าที่หลักด้านการจัดการเรียนรู้ ทำธุรการ การเงิน พัสดุ และยุ่งกับเอกสารประเมิน และเอกสารเพื่อทำวิทยฐานะเสียส่วนมากของเวลาทั้งหมด

9).ความเหลื่อมล้ำการศึกษาของไทยสูงมาก ลูกเศรษฐีเรียนต่างประเทศ ลูกคนรวยเรียนโรงเรียนชื่อดังกทม.หรือชื่อดังประจำจังหวัด ลูกคนจนให้เรียนรร.ดีใกล้บ้าน(ซึ่งไม่พร้อมที่จะดีจริง) โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพไม่เท่าเทียมกันเลย

10).หนังสือเรียน คือ ตัวปัญหา ให้ครูติดนิสัยสอนหนังสือ มิใช่ สอนคน รัฐกำหนดหนังสือเรียนหรือสำนักพิมพ์ ครูออกแบบการเรียนรู้ไม่เป็น อบรมหลักสูตรทั้งปี ออกแบบและเขียนแผนการสอนที่เอาไปใช้จริงไม่เป็น ลอกแผนที่มีขายตามท้องตลาดเพื่อส่งมิใช่เพื่อสอน และลอกแผนการสอนที่ผ่านการตรวจบ้างแล้วเผื่อส่งผลงานทางวิชาการ ลอกกันไปลอกกันมา คนที่ได้แล้ว เป็นแล้ว ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ "ไม่จริง"

11).ห้องสอน เป็นตัวปัญหาของการปฏิรูปการเรียนเพราะ มิใช่ ห้องเรียนรู้ ยึดเนื้อหา ตำรา เป็นตัวตั้ง แทนที่จะยึด เด็กหรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง "วิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิต" ต้องไปพร้อมกัน

12).ผู้บริหารโรงเรียน คือ ตัวปัญหาในการขับเคลื่อนการศึกษา เป็นแล้วเป็นเลย ขาด Leadership ทางวิชาการ และ CEO องค์กร ไม่มีระบบการประเมินผลงานหรือปรับเปลี่ยนสถานะ ผู้บริหารไม่ได้ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาในทุก ๆ ด้าน อาทิ การจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับกิจกรรมนอก รร. อาทิ ประชุม สัมมนา ดูงาน รับแขก ติดตามนายหรือผู้บังคับบัญชา

13.ครูพัฒนาแล้วไม่เอาไปใช้จริง เพราะอบรม สัมมนาตามหน่วยเหนือสั่ง มิได้ อบรม สัมมนาตามความต้องการพัฒนาของตนเองเป็นหลัก เพื่อเอาไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่ตนเองประสบอยู่ การประเมินวิทยฐานะ มิได้ประเมินจากความมุ่งมั่น ความทุ่มเท ความเสียสละในวิชาชีพ หรือประผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากเด็กเก่งทุก ๆ ด้านทุกบริบท ครูหลายคนจะไม่แย่งกันไปสอนโรงเรียนดี เด่น ดัง เพราะผลสัมฤทธิ์ คะแนนโอเนต การประกวดแข่งขัน หรือล่ารางวัล เพื่อขอผลงาน รร.เหล่านั้นย่อมได้เปรียบ รร.ที่มีความขาดแคลนในทุกเรื่อง รร.ห่างไกลธุรกันดาร เป็นต้น

ต้องขออภัยนะครับ หาก "13 หลุมดำ" ไปตรงกับสถานศึกษา องค์กร หรือสถานะตำแหน่งหน้าที่ของผู้ใด ซึ่งผู้เขียนมิได้เจตนา พาดพิง หรือกระทบกับแหล่งที่กล่าวถึงนั้น ๆ ข้อมูลที่ได้จากการอ่าน การสนทนาแลกเปลี่ยนกับกัลยาณมิตรผู้ที่คลุกคลีกับปัญหาการศึกษาของชาติไทย

จุดใหญ่ ใจความ จะช่วยกันพัฒนาและยกระดับการศึกษาของชาติไทยอย่างไรดี ปัจจุบันผู้เขียนเองเป็นส่วนหนึ่งกับ อบจ.เชียงราย/รร.อบจ.เชียงราย ขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ของไทย โดยใช้แนวทาง Thinking School Base Classrooms ต้องเริ่มที่ "ห้องเรียน" และร่วมยกระดับการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีคุณภาพไปพร้อมกันทั่วประเทศ กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแห่งการพัฒนา SBMLD เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของประเทศไปพร้อม ๆ กัน.





 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2559   
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2559 23:54:53 น.   
Counter : 4437 Pageviews.  

อีก ๕ ปี แพทย์จบใหม่ อาจ "ล้น" ราชการ ?



อีก ๕ ปี แพทย์จบใหม่ อาจ "ล้น" ราชการ ?

//pantip.com/topic/34647063




จากที่เคยเชื่อว่า จบแพทย์ ยังไง ก็ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ... ต่อไป อาจไม่แน่ เพราะ ราชการ ก็จะ "จำกัด" ตำแหน่ง เพื่อลดจำนวนของข้าราชการ
แพทย์จบใหม่ อาจไม่ได้บรรจุเป็น "ข้าราชการ"  อาจเป็น  พนักงานของรัฐ หรือ ลูกจ้างชั่วคราว ?  เหมือนกับ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร หรือ บุคลากรด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ที่ถูกเปลี่ยนไปแล้ว ..

ถ้า ไม่มีตำแหน่งในราชการ ..  แพทย์จบใหม่ ก็เตรียมตัวเตรียมใจ เผื่อไว้ว่า อาจต้องไปอยู่ เอกชน คลินิก หรือ ทำงานอย่างอื่น  

ช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มจำนวนนักศึกษาแพทย์ เพิ่มคณะแพทย์ .. จำนวนแพทย์จบใหม่ ก็เพิ่มขึ้น ปัญหาเดิม เหมือนยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาใหม่ ก็ตามมา ?

ที่มา : หมายเหตุแพทยสภาฉบับ 4  //tmc.or.th/pdf/letter29-12-15.pdf


..............

ข้อมูลเพิ่มเติม ของ แพทยสภา ...







( จากภาพ จะเห็นว่า มีการเพิ่มจำนวน โรงเรียนแพทย์ จำนวนนักศึกษาแพทย์ อย่างมากในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา .. ซึ่งอาจต่างจากความเข้าใจของหลายท่านที่บอกว่า หมอใน รพ.รัฐ ขาดแคลน ทำไม ไม่เปิดเพิ่ม )

ข้อแนะนำ ถ้าต้องลาออกจากราชการ มีขั้นตอนอย่างไร?...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-02-2008&group=27&gblog=19

ทำไมผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=27&gblog=20

สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=27&gblog=18

เปิดกับดัก'งานหนักฆ่าหมอ' คนในรู้จนชิน'เรื้อรังมานาน'... เดลินิวส์

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2017&group=27&gblog=21




จริงหรือ ? อาชีพในฝันปัจจุบัน ไม่ใช่ยุคของ "แพทย์" ! .... //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-03-2009&group=7&gblog=20
ดราม่าหมอมากมาย กับกำลังใจที่หดหาย สังคมกำลังลงโทษแพทย์? แน่ใจเหรอว่าแพทย์เลวทุกคน? //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-05-2015&group=7&gblog=188

ปัญหาสาธารณสุขไทย ความจริงของ “แพทย์ไทย” กับอนาคตไร้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-11-2012&group=7&gblog=169
มุมมองต่อหมอของคนไทยสมัยนี้เปลี่ยนไปแล้วล่ะมั้ง โดย ปวัน ประสิทธิ์วุฒิ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-06-2011&group=15&gblog=40
เวลาเปลี่ยน คนไข้ (ญาติ) เปลี่ยน แต่ หมอ (บางคน) ไม่ยอมเปลี่ยน ... //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-06-2011&group=15&gblog=39
ห้องตรวจในโรงพยาบาลของรัฐ ... กับ ... ความลับของผู้ป่วย //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-05-2010&group=7&gblog=55
หมอ ... มีสิทธิ... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ??? //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29
หมอไทยวิกฤติแล้ว คนเก่ง ยี้ เรียนแพทย์ ....  //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-03-2009&group=7&gblog=19

ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...  //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
แขวนป้าย แขวน ใบ ว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ได้ไม่เท่าเสีย ....โดย สุนทร นาคประดิษฐ์ ( ความเห็น เกี่ยวกับ การฟ้องร้องแพทย์ ) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-03-2009&group=7&gblog=21
นศ.แพทย์ เจอดี! ประชาชนฟ้อง ฉีดยาชุ่ย! ฆ่าทารก ! //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-01-2009&group=7&gblog=11
ฟ้องร้องแพทย์ ความยุติธรรมแก่ใคร ฤๅ??? //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2009&group=7&gblog=12
ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ... //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61




 

Create Date : 07 มกราคม 2559   
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 13:25:28 น.   
Counter : 2047 Pageviews.  

บริจาค "ห่วง" จะได้ "หมดห่วง"

ร่วมกันบริจาค " ห่วง "จะได้ “หมดห่วง”




การบริจาคอลูมิเนียม

การนำอลูมิเนียมที่ได้รับบริจาคมาใช้ในการทำขาเทียมของมูลนิธิขาเทียมฯทางมูลนิธิขาเทียมฯ ใคร่ขอชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่องการใช้ประโยชน์จากอลูมิเนียมที่ได้รับบริจาคโดยในอดีต มูลนิธิขาเทียมฯได้คิดค้นขาเทียมที่มีราคาถูกและน้ำหนักเบาจากวัสดุที่เหลือใช้ได้แก่ขวดเครื่องดื่มยาคูลท์ซึ่งทำจากพลาสติกและอลูมิเนียมจากห่วงดึงฝากระป๋องเพื่อทำขาเทียมให้แก่คนพิการขาขาด โดยไม่คิดมูลค่า

ผลจากการใช้งานขาเทียมชนิดดังกล่าวนั้นจัดอยู่ในระดับน่าพอใจมีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรงพอที่รับแรงกดจากน้ำหนักตัวของคนพิการขาขาดได้แต่ก็พบว่าชิ้นส่วนที่ทำจากอลูมิเนียมเกิดการผิดรูปเมื่อได้รับแรงบิดเนื่องจากคุณสมบัติเชิงกลของอลูมิเนียม ซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งมากแต่มีความยืดหยุ่นต่ำกว่าโลหะหลายชนิด

เมื่อองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นโดยเฉพาะวัสดุศาสตร์มูลนิธิขาเทียมฯจึงค้นคว้าพัฒนาหาวัสดุที่มีความคงทนแข็งแรงและเพิ่มอายุการใช้งานของขาเทียมที่มอบให้คนพิการขาขาดปัจจุบันโลหะที่ใช้ทำชิ้นส่วนขาเทียมตามแบบของมูลนิธิขาเทียมฯ ทำมาจากโลหะ 2ชนิดคือ อลูมิเนียม และเหล็กกล้าไร้สนิม (หรือสเตนเลสสตีล)ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีความเหนียวมากกว่าอลูมิเนียม

ด้วยเหตุนี้ทางมูลนิธิขาเทียมฯจึงต้องนำอลูมิเนียมที่ท่านบริจาคมานั้น จำหน่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อนำไปแปรรูปและปรับส่วนผสมให้ได้ตามมาตรฐานผลิตออกมาเป็นชิ้นส่วนของขาเทียมเพื่อนำไปใช้กับคนพิการขาขาดต่อไป

จะเห็นได้ว่าชิ้นส่วนอลูมิเนียมที่ท่านได้บริจาคมาให้แก่มูลนิธิขาเทียมฯนั้นยังประโยชน์ต่อการพัฒนาขาเทียมของประเทศไทย และต่อคนพิการขาขาดที่ด้อยโอกาส

ฉะนั้นหากท่านบริจาคห่วงดึงฝากระป๋องและ/หรือวัสดุที่ทำด้วยอลูมิเนียมท่านยังคงมีส่วนร่วมในการมอบขาเทียมให้แก่คนพิการขาขาดเช่นเดิม

หากท่านมีความประสงค์จะบริจาคอลูมิเนียมสามารถติดต่อและจัดส่งอลูมิเนียมมายังสถานที่ที่เข้าร่วมโครงการรับบริจาคอลูมิเนียมให้กับมูลนิธิขาเทียมฯ

 1. "มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี"

- สำนักงานเชียงใหม่

199 หมู่ 4 ต.ดอนแก้ว

อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ 50180

โทร. 0-5311-2271-3 แฟกซ์ : 0-5311-2275

- สำนักงานกรุงเทพฯ

693 ถนนบำรุงเมือง

แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพฯ 10100

โทร/แฟกซ์ : 0-2224-5764

เวบ ://www.prosthesesfoundation.or.th/th/


2. "บริษัทบางกอกแคนแมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด"

เลขที่ 1,13 ซอยรังสิต - นครนายก 46 ต.ประชาธิปัตย์

อ.ธัญบุรี จ. ปทุมธานี 12130

โทร. 02-5330277


3 “สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล”

802/410 ม.12หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค ซ.10/4 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130

โทรศัพท์ 081-7352316, 085-1206235

อีเมล apdi9000@gmail.com

เวบ //www.apdi2002.com/

เฟสบุคส์เพจ //goo.gl/sDzW7I

>> ไส้ลูกแม็กซ์สามารถนำมาหลอมทำไม้ค้ำ ไม้เคน วอร์คเกอร์ เพื่อช่วยเหลือคนพิการผู้สูงอายุได้

>> ห่วงฝาอลูมิเนียม ใช้หลอมทำขาเทียมได้...

เห็นประโยชน์อย่างนี้แล้ว..ก็อย่าเพิ่งทิ้งนะคะ สามารถเก็บรวบรวมแล้วส่งมาได้ที่สมาคมฯค่ะ ..

………………………………………..

การบริจาคเงิน

ท่านสามารถมีส่วนช่วยให้คนพิการขาขาดมีขาเทียมเดินได้มีอาชีพสุจริต สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้โดยสามารถบริจาคเป็นเงินได้ตามแต่จิตศรัทธา

การบริจาคสามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้(เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มการบริจาคเงิน)

1. บริจาคด้วยตนเองที่มูลนิธิขาเทียมฯ

- สำนักงานเชียงใหม่

- สำนักงานกรุงเทพมหานคร

2. ธนาณัติสั่งจ่าย “มูลนิธิขาเทียม”

- ปณ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

- ปณ.พระสิงห์ 50205

- ปณ.แม่ริม 50180

หากสั่งจ่ายเป็นธนาณัติออนไลน์กรุณาแจ้งมายังมูลนิธิขาเทียมฯ สำนักงานเชียงใหม่หรือแฟกซ์สำเนาใบนำส่งธนาณัติออนไลน์มายังมูลนิธิเพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปติดต่อรับเงินกับไปรษณีย์

3. เช็คขีดคร่อม AccountPayee Only สั่งจ่าย “มูลนิธิขาเทียม” ส่งถึง

- สำนักงานเชียงใหม่

- สำนักงานกรุงเทพมหานคร

4. โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ชื่อบัญชี“มูลนิธิขาเทียม”

สำนักงานกรุงเทพมหานคร

- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาชิดลมเลขที่บัญชี 001-4-76000-8

หากโอนเงินเข้าบัญชี(กรุงเทพมหานคร)กรุณาแฟกซ์ ใบ Pay-in หรือส่งสำเนาใบ Pay-inมาทางไปรษณีย์ที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร

สำนักงานเชียงใหม่

- ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาคณะแพทย์ศาสตร์เชียงใหม่ เลขที่บัญชี 566-2-50375-3

- ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนสุเทพเลขที่บัญชี 471-2-02394-0

- ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนสุเทพเลขที่บัญชี 504-0-15260-4

หากโอนเงินเข้าบัญชี(เชียงใหม่) กรุณาแฟกซ์ใบ Pay-inหรือส่งสำเนาใบ Pay-in มาทางไปรษณีย์ที่สำนักงานเชียงใหม่

5. ทางมูลนิธิขาเทียมยินดีรับบัตรเครดิต ของธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย,ธนาคารไทยพาณิชย์

วีซ่าและมาสเตอร์การ์ดของแต่ละธนาคารโดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มการบริจาคเงินให้ครบถ้วนพร้อมลงลายมือชื่อส่งถึง“มูลนิธิขาเทียม” ทางไปรษณีย์ หรือแฟกซ์มาที่

- สำนักงานเชียงใหม่

กรุณาเขียนชื่อ-นามสกุล ที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ให้ชัดเจนเพื่อทางมูลนิธิจะได้ทำหนังสือตอบขอบคุณและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ท่าน สามารถนำไปคำนวณลดหย่อนภาษีเงินได้ ได้ด้วย

…………………………………………….


จังหวัดกำแพงเพชร สามารถบริจาค"ห่วง" ได้ที่ ..

@ อ.พรานกระต่าย ...

- ร้านพรนิมิตร ( ร้าน เฮียต๋อง )เลขที่ 51/1 ม. 4 อ. พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร 62110 โทรฯ 087-735-8222

@ อ.ขาณุวรลักษบุรี ...

- สำนักงาน ตลาดไทยพิทักษ์ เลขที่ 193 หมู่ 1 ต.สลกบาตร อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร 62140

- ร้าน 7-11สาขาสลกบาตรหน้าตลาดไทยพิทักษ์ และ 7-11สาขาขาณุฯ (ตลาดตาซ่วน)

- ปลัดทิวาพรรณ สหอารักขาสำนักงานท้องถิ่นอำเภอขาณุวรลักษบุรี ที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี ชั้น ๑ โทร.๐๕๕ - ๗๗๙ ๔๖๙ , ๐๘๑-๗๘๕-๗๖๐๙

- ร้านใต้ฟ้ายานยนต์สาขาสี่แยกตลาดสลกบาตร โทร ๐๕๕-๗๗๑ ๓๖๗ สาขาข้างห้างโลตัสสลกบาตร โทร ๐๕๕-๗๗๒ ๓๔๓

@ อ.คลองลาน ...

- ร้านอัมพร 701/3 ม.22 (สี่แยกคลองน้ำไหล) อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 62180

@ อ.เมืองกำแพงเพชร ...

- คลินิก แพทย์พนมกร เลขที่ 201 ถ.บำรุงราษฎร์ (หน้าโรงแรมเพชร) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000

...................................................



ไปรษณีย์ไทย ชวนส่ง “วัสดุอะลูมิเนียม” ฟรี! เพื่อทำขาเทียมพระราชทาน

19 มกราคม 2559 - บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) จับมือกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เชิญชวนประชาชนส่งวัสดุอะลูมิเนียมใช้แล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อจัดทำอุปกรณ์ขาเทียมสำหรับผู้พิการที่ขาดแคลน ภายใต้ “โครงการบริจาคอะลูมิเนียมเพื่อจัดทำขาเทียมพระราชทานปี 2559” ซึ่งเป็นโครงการที่ ปณท ให้ความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง

โดยประชาชนสามารถร่วมบริจาควัสดุอะลูมิเนียมที่ใช้แล้ว อาทิ ห่วงจากฝาหรือกระป๋องเครื่องดื่ม ฝาเครื่องดื่มแบบฝาเกลียว กระป๋องน้ำอัดลม เศษอะลูมิเนียมจากข้อต่อ/บานพับ/รั้ว ชิ้นส่วนจากเครื่องจักรหรืออะไหล่รถยนต์ เพื่อนำไปใช้จัดทำอุปกรณ์ขาเทียม ได้แก่ เบ้า แกน หน้าแข้ง เท้าเทียมและไม้เท้า ซึ่งอะลูมิเนียมประมาณ 1 กิโลกรัม สามารถจัดทำขาเทียมพระราชทานได้ 1 ข้าง

สำหรับขั้นตอนการฝากส่งนั้น เพียงทำความสะอาดวัสดุอะลูมิเนียมให้เรียบร้อยและบรรจุกล่องหรือซอง น้ำหนักไม่เกินกล่องละ 5 กิโลกรัม

จ่าหน้าถึง กรมควบคุมมลพิษ เลขที่ 92 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

และบริเวณกึ่งกลางหรือเหนือจ่าหน้า ให้เขียนคำว่า “วัสดุอะลูมิเนียมใช้แล้ว”

โดยสามารถฝากส่งได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือ //www.thailandpost.co.th

//www.thailandpost.com/index.php?page=article_detail&topic_id=2251&group_id=11&addon=article





 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2558   
Last Update : 23 มกราคม 2559 20:49:05 น.   
Counter : 11537 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]