Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อคิดการเลือก กรรมการแพทยสภา ... จาก 716:16


          ผมนำเนื้อหาบางส่วน ของ บทความ ชื่อ
“มองอดีต การเลือกตั้ง ..2548 ถึง..ยุทธศาสตร์แพทยสภา 2550 “ เขียนโดย 716:16 ลงในเวบไทยคลินิก www.thaiclinic.com เมื่อปี ๒๕๔๙ เกี่ยวกับการเลือกตั้งแพทยสภา ซึ่งยังมีเนื้อหาที่ทันสมัย สามารถนำมาปรับใช้ได้ในการเลือกตั้งแพทยสภาปีนี้ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด แล้วค่อยกลับไปดูว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการแพทยสภา ท่านใด ที่เราน่าจะเลือกเข้าไปทำงานเป็นตัวแทนของแพทย์ไทย

 .........................................

น่าจะมาถามตัวเรากันเองว่าเราเลือกกรรมการแพทย์สภากันไปทำอะไร?? ภาระหน้าที่ ที่ต้องการหรือโจทย์ทางยุทธศาสตร์ที่วงการแพทย์ต้องการขณะนี้คืออะไร??

เลือกคนไปใช้ให้ถูกคุณจะไปเกาะกลางทะเลข้ามน้ำ ข้ามทะเล คุณเอารถถังไปไม่ได้?? คุณต้องเอาเรือ ไป คุณอยากให้แพทยสภาทันสมัย คุณเอาอาจารย์ สูงอายุ 65-69ที่ไม่ทันสมัยเข้าไป จะทำได้อย่างไร (หลายท่านอายุมากแต่ทันสมัยนั้นอยู่ในข้อยกเว้นนะครับดูจากผลงาน)คุณต้องเป็นคนเลือก body ของแพทยสภา..แพทยสภาจะพิกลพิการง่อยหรือ smart ต้องเกิดจากแพทย์ที่เลือกเข้าไป

เลิกเถอะค่านิยมเอาอาจารย์นั้น-อาจารย์นี้เข้าไปเพราะเคยสอน...เขาไม่ได้เอาแพทย์สภาไว้สอน อันด้านวิชาการนั้นเป็นเรื่องของราชวิทยาลัย แพทยสภาเขาไว้ดูแล ปกป้องคุ้มครองแพทย์และประชาชน ต้องบริหาร ต้องบริการ ต้องรู้กฏหมาย ต้องสื่อสารดีพอเข้าใจเรา เข้าใจประชาชน ขจัดหมอพาล อภิบาลหมอดี จรรโลงคุณธรรม ..นั่นคือโจทย์ อาจารย์รร.แพทย์นะครับเลือกได้ไม่ขัอข้องแต่ต้องมีวิสัยทัศน์เป็นที่ประจักษ์ ติดดินติดกับปัญหา พร้อมแก้ไข และมีผลงานครับ ถึงจะช่วยพวกเราได้..

..............................

ควรเลือกใคร??

อันนี้ไม่ขอชี้นำ ท่านผู้มีเสียงในมือย่อมเลือกเองได้ดีที่สุดหากแต่มีข้อสังเกตว่า

- จำนวนสัดส่วนแพทย์ที่เป็นภาครัฐ กับ โรงเรียนแพทย์น่าจะสมดุลย์กันเพื่อมุมมองการแก้ปัญหาจะครอบคลุมครบถ้วน

- กรรมการที่เข้ามาควรมีทุกรุ่น และ มีอายุคาบเกี่ยวการทำงานที่มองปัญหาเหมือนกับแพทย์ประสบจริง อย่าสูงวัยเกินยุคจนเกินไป แต่อันนี้ยกเว้นหลายท่านที่อาวุโสแต่ตามงานบ้านเมืองสังคมทันสมัยรู้แจ้งไปหมด เลือกได้ครับ บางท่านพูดได้แต่ไม่ค่อยทำ บางท่านทำแต่ไม่พูด ดูผลงานดีกว่าครับ

- หากพึงพอใจอาจารย์แพทย์ที่สอนท่านมา5ปี 10ปี 20 ปี กรุณานึกว่าท่านต้องไปแก้ปัญหาให้เราได้ ไม่ได้เชิญไป lecture หรือสอนครับ ไม่ต้องการท่านมายืนชี้นิ้วสอนหรือบอกว่าสมัยอาจารย์ไม่เห็นมีปัญหา ตรวจ100คนได้ คนไข้ดี มีคุณธรรมมากคนไข้รักทั้งอำเภอ เธอทำไมไม่เขียนเวชระเบียนแบบเรียนที่ รร.แพทย์ล่ะ สอนไปหมดแล้วทำไมไม่ถามประวัติ ไม่ตรวจร่างกาย สอนแล้วทั้งนั้น..อาจารย์ต้องมานั่งตรวจกับพวกเราแบบ 100คนต่อ3ชม ราวน์ วอร์ด อยู่เวร ดูไอซียู ..ทำงาน8ชม.อยู่เวร 16ชม.ล้วต่ออีก8ชม.ไม่ได้พัก ..ในต่างจังหวัดซิครับจะเข้าใจด้านนิติเวชนี่จำเป็นผมว่าจะช่วยงานได้ดี ส่วนด้านวิชาการอื่น ค่อยเลือกอาจารย์ไปทำราชวิทยาลัยเถอะครับ..

-หากลุ่มตอบสนองยุทธศาสตร์เข้าไปให้มากขึ้น

1.เลือกนิติเวช อันดับ 1 สำคัญมากไปแก้ไขงานกฏหมาย พรบ.วิชาชีพที่ออกมาก10-20ปีเอามายกเครื่องได้แล้วครับอย่ารอให้หมอดีติดคุกมากเกินไป

2.เลือกผู้สื่อสารกับประชาชน เลือกแบบ สุนทรียสนทนาไปรักษาน้ำใจกันมากกว่าเลือกแบบรถถังไปลุย อยากได้ผลแบบเดียวกัน เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังครับใช้การฑูต วาทะศิลป์ดีกว่าครับให้แพทยสภาน่าคบหาในสังคมต่อไปแบบเคียงข้างประชาชนครับ เอาอาจารย์ที่ติดดิน อย่าอยู่บนหอคอยงาช้าง

3. เลือกนักบริหารจัดการ วางยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ได้ แบบมืออาชีพ..ประสาน10ทิศครับ เชื่อมโยงเครือข่ายเข้าหากันทุกรูปแบบแบบพันธมิตรทั้งการเมืองและต่างประเทศยิ่งดี

4.เลือกนักจัดการด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ทางการแพทย์ถ้ามี และหรือให้ท่านที่มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจ จะช่วยพวกเราได้มาก

5.เลือกท่านที่มีวิสัยทัศน์ทันสมัยทางไอทีที่สามารถสร้างระบบให้ทันสมัยมากพอ หากไม่มีคงต้องเลือกคนที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านนี้มากๆหรือกลุ่มที่อายุน้อยลง เข้าใจระบบสารสนเทศปัจจุบันเพียงพอ

6.อย่าเลือก ท่านที่เป็นคนดังมีชื่อเห็นบ่อยๆแต่ไม่รู้เขาจะทำอะไรให้ เพราะอาจไปกันให้กรรมการที่คุณอยากได้ตกรอบ

ประการสุดท้าย เลือกใครให้ดูว่า“เขาเสถียรหรือยัง” หากชีวิตยังไม่ลงตัว ต้องรับภาระตำแหน่งมากมาย แก้ปัญหารักษาองค์กรตนเองก็แทบไม่มีเวลาแล้ว หรือต้องออกโอพีดี ทำเอกชนเพียบ ... อย่าไปเลือกท่านมาใช้เลยครับ แพทยสภาไม่ใช่งาน routine ต้องเป็นงาน-เท่าทันคน-เท่าทันสังคมต้องมีเวลาให้ครับ

แพทยสภามีหน้าที่ต้องมาดูแลปลาทั้งข้อง..จัดระเบียบปลา หากปลาตัวใดเน่า..แล้วทำข้องเหม็นต้องรีบย้ายออกนอกข้องนะครับ..ลงโทษเลยให้ชัดเจน แพทย์เลวจะติดคุก ต้องไม่ช่วย เพื่อให้แพทย์ดีๆซึ่งเป็นแพทย์ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ได้ครับ แต่ถ้าแพทย์ดีๆต้องปกป้องสุดตัวครับอันนี้ชี้ให้ประชาชนเห็นว่าเราเป็นธรรม เรารักประชาชน และรักษามาตรฐานตัวเองได้ผมคิดว่าไม่มีองค์กรไหนอยากมายุ่งกับเราหรอกครับ..และองค์กรวิชาชีพอื่นก็แทบไม่มีใครที่มีคนนอกเข้าไปนะครับ..เราต้องจริงจังกับมาตรฐาน..ถ้าคุมกันไม่ได้เราจะเสียเมือง..ถึงเวลานั้นจะต้องเสียใจเสียดาย..เพราะเราเป็นคนเลือกผู้บริหารเองกับมือครับ..

..แพทยสภาจะเป็นอย่างไรอยู่ในมือท่านแล้ววันนี้...

............................................

หมายเหตุ ... สำหรับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ.๒๕๕๘- ๒๕๖๐

เลือกได้ไม่เกิน ๒๘ หมายเลข (ผู้สมัคร ๙๘ คน)

บัตรลงคะแนน ต้องส่งก่อน๑๐ มกราคม ๒๕๕๘




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2557   
Last Update : 27 ธันวาคม 2557 13:05:38 น.   
Counter : 1554 Pageviews.  

คู่มือการรับมือแผ่นดินไหวฉบับย่อ ...สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว


ถึงเวลาที่เราจะต้องเรียนรู้เรื่องนี้ ..
บางทีคำกล่าวที่ว่า เมืองไทย ปลอดภัย ไม่มีภัยพิบัติร้ายแรง .. อาจไม่จริงอีกแล้ว ?




เครดิต
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว 
//www.thaiembassy.jp/rte3/images/stories/_PDF/earthquake.pdf

ลิงค์ดาวน์โหลดหนังสือ คู่มือการรับมือแผ่นดินไหวฉบับย่อ
//www.thaiembassy.jp/rte3/images/stories/_PDF/earthquake.pdf






เครดิต
Nation Channel   รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหว สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา  รายงาน บริเวณแผ่นดินไหว ที่ อ.พาน จ.เชียงราย ขนาด 6.1 #nationtv








 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2557   
Last Update : 5 พฤษภาคม 2557 22:19:43 น.   
Counter : 2460 Pageviews.  

ข้อพึงปฏิบัติของแพทย์ที่ดี ( Good Medical Practice for Thai Physicians )






















ประกาศแพทยสภา ที่ ๔๕ / ๒๕๕๕ ข้อพึงปฏิบัติของแพทย์ที่ดี ( Good Medical Practice for Thai Physicians )

ดาวน์โหลด pdf file ได้ที่ //www.mediafire.com/download/1k510wa87f1737o/code_of_conduct_4dr.pdf







 

Create Date : 23 สิงหาคม 2556   
Last Update : 23 สิงหาคม 2556 13:51:49 น.   
Counter : 5610 Pageviews.  

จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย




จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย

(ThaiMedical Student’s Code of Conduct)

1. ข้อพึงปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาไทยโดยทั่วไป(ThaiMedical Student’s General Practice)

1.1 ยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่งประโยชน์ตนเป็นที่สอง

1.2 มีคุณธรรม โดยเน้น การมีวินัยอดทน ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญู กตเวที มีเหตุผลแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามกาลเทศะ

1.3 ปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบจารีตแห่งวิชาชีพ (Professionalism) ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีงามต่อสังคม

1.4 ใฝ่รู้ เรียนรู้ รอบด้าน และประยุกต์ใช้ได้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคสมัยและให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์

1.5 มีวิจารณญาณในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและอย่างคุ้มค่า ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.6 ละเว้นการรับผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆที่มีความเกี่ยวข้องหรืออาจมีผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียหรือนำไปสู่ความไม่เหมาะสมต่อความเป็นนิสิตนักศึกษาแพทย์องค์กรนิสิตนักศึกษาแพทย์ สถาบันแพทย์ และต่อวิชาชีพเวชกรรมหรือจรรยาแพทย์

2. ข้อพึงปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาไทยต่อผู้ป่วย(ThaiMedical Student’s Practice to Patient)

ต้องเคารพสิทธิผู้ป่วยให้เกียรติและปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเสมือนครูบาอาจารย์ โดย

2.1 เก็บความลับผู้ป่วยและห้ามเผยแพร่ยกเว้นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่ว

2.2 สื่อสารกับผู้ป่วยอย่างสุภาพแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องและอย่างเหมาะสม

2.3 ไม่แสวงหาผลประโยชน์อื่น ๆ จากผู้ป่วย ยกเว้นเพื่อการศึกษา

2.4 คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและตัวนิสิตนักศึกษาเองในการให้การรักษาโดยตระหนักในข้อจำกัดของตนเอง

2.5 ปฏิบัติต่อผู้ป่วยตามกาลเทศะโดยคำนึงถึงความรู้สึกและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย

3. ข้อพึงปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาไทยต่อผู้อื่น(ThaiMedical Student’s Practice to Others)

3.1 ให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของอาจารย์รุ่นพี่ เพื่อน รุ่นน้อง และบุคลากรทุกฝ่าย ทุกระดับในสถาบันการศึกษาและสถานพยาบาล รวมทั้งผู้อื่นในสังคม

3.2 ช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจต่อเพื่อนนิสิตนักศึกษาแพทย์และเพื่อนร่วมสหวิชาชีพด้วยกัน


ฉบับเต็ม pdf file
//www.ra.mahidol.ac.th/mededrama/download/Thai%20Medical%20Student%27s%20Code%20of%20Conduct%28Full%29.pdf

พิธีลงนามในคำประกาศ “จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย”
//www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=666&id=4






แถม ...

แพทย์ต้องมีจรรยาแพทย์ (จรรยาบรรณ) แล้วคนอื่น อาชีพอื่น ไม่ต้องมีหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-08-2009&group=7&gblog=31

จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2013&group=15&gblog=60

Medical Ethics in OB-GYN

//www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=464:medical-ethics-in-ob-gyn&catid=45&Itemid=561

กฏหมายแพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-10-2014&group=7&gblog=184

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-06-2014&group=7&gblog=181

การระมัดระวังการใช้SocialMedia สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2014&group=7&gblog=179

แพทยสภา เตือนแพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง socialmedia

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=7&gblog=178





 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2556   
Last Update : 7 มกราคม 2560 13:38:20 น.   
Counter : 5529 Pageviews.  

ความเชื่อที่ไม่เป็นจริง เกี่ยวกับแพทยสภา


Myth ความเชื่อที่ไม่เป็นจริง เกี่ยวกับแพทยสภา


แพทยสภาคือหน่วยงานอะไร ทำอะไร ที่ไหน ผลออกมาเป็นอย่างไร ความเชื่อที่ไม่จริงเกี่ยวกับแพทยสภามีอะไรบ้าง วันนี้มาเรียนรู้กันค่ะ

ความเชื่อที่ไม่จริง1 แพทยสภาเป็นหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขมีฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดูแลและควบคุมการทำงานของสมาชิกและให้คำแนะนำแก่กระทรวงสาธารณสุข

ที่ถูกต้อง แพทยสภาเป็นสภาวิชาชีพไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานใด เพียงแต่มีสำนักงานตั้งอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ ดังนี้

๑. ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
๒. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๓. ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
๔. ช่วยเหลือแนะนำเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข
๕. ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุข
๖. เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย


ความเชื่อที่ไม่จริง2 สมาชิกของแพทยสภา คือแพทย์ทุกคน ทำได้โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกที่สำนักงานแพทยสภา

ที่ถูกต้อง สมาชิกของแพทยสภาเป็นแพทย์ แต่ไม่ใช่แพทย์ทุกคน แพทย์ที่เป็นสมาชิกเป็นได้โดยอัตโนมัติ หากมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

๑. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
๒. มีความรู้ในวิชาชีพเวชกรรม โดยได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาแพทยศาสตร์ที่แพทยสภารับรอง
๓. ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
๔. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
๕. ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของแพทยสภา


ความเชื่อที่ไม่จริง3 คณะกรรมการแพทยสภาไม่ว่ามาจากเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน จึงได้รับสมญานามว่าแพทยสภาพาณิชย์

ที่ถูกต้อง กรรมการแพทยสภาแต่ละชุดประกอบไปด้วยกรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, อธิบดีกรมการแพทย์, อธิบดีกรมอนามัย, เจ้ากรมแพทย์ทหารบก, เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ, เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ, นายแพทย์ใหญ่กรมตำรวจ, คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย, ผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์, และกรรมการแพทยสภาโดยการเลือกตั้งซึ่งมีจำนวนเท่ากับกรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง

ในปีพ.ศ. 2556 คณะกรรมการแพทยสภามีทั้งหมด 52คน มาจากภาครัฐ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 88 มาจากภาคเอกชน6 คน คิดเป็นร้อยละ12 การกล่าวหาว่าเป็นแพทยสภาพาณิชย์โดยไม่มีมูลความจริงถือว่าไม่เป็นธรรมต่อแพทยสภา


ความเชื่อที่ไม่จริง4 แพทย์ปัจจุบันจริยธรรมเสื่อมทรามลง เมื่อมีเรื่องฟ้องร้องแพทย์โดยประชาชนมาถึงแพทยสภา เชื่อขนมกินได้เลยว่า แพทยสภาจะตัดสินให้แพทย์พ้นผิด แพทยสภาไม่เคยปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการกระทำของแพทย์

ที่ถูกต้อง จำนวนแพทย์ทั้งหมดที่มีชีวิตนับมาถึงวันที่ 18 เมษายน 2556 มีจำนวน 45,542คน มีจำนวนเรื่องร้องเรียนมาที่แพทยสภาในปี 2554จำนวน 193 เรื่อง ในปี2555จำนวน 137เรื่อง ในปี2556 นับมาถึงสิ้นเดือนเมษายน จำนวน44เรื่อง เรื่องร้องเรียนแพทย์จึงนับว่าเป็นส่วนน้อย เพียงร้อยละ0.3-0.4 ของแพทย์ทั้งหมด เรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาลในทำนองโอ้อวดการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และทำนองให้ส่วนลด เมื่อมีเรื่องร้องเรียนมาถึงแพทยสภาจะมีอนุกรรมการถึงสามชุดดูแลและให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ได้แก่ คณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวน และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองจริยธรรม การตัดสินกระทำแบบโปร่งใส ตรงไปตรงมา เพื่อปกป้องคนดีและลงโทษผู้กระทำผิด



พญ. ชัญวลี ศรีสุโข(chanwalee@srisukho.com)
กรรมการแพทยสภา
โฆษกแพทยสภา
------------------------------


พฤษภาคม ๒๕๕๘



แพทยสภามีกรรมการ 56 ท่าน เป็นข้าราชการบำนาญ และข้าราชการภาครัฐ 48 ท่าน คณบดีคณะแพทย์ เอกชน 2 ท่าน และ ภาคเอกชน 6 ท่าน

กรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง โดยแพท
ย์ทั่วประเทศ 28 คน และ กรรมการโดยตำแหน่ง 28 คน

มีกรรมการที่มาจาก ภาคเอกชน 6 ท่าน จาก 56 ท่าน ... แต่มักถูกเข้าใจผิดหรือเลี่ยงประเด็น ว่าเป็นกรรมการแพทยสภา มี "ภาคเอกชน " เป็นเสียงส่วนใหญ่ ...ในขณะที่ ความจริง คือ แพทย์ใน โรงพยาบาลเอกชน เป็นเสียงส่วนน้อยของแพทยสภา ..

ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูล อย่างชัดเจนถึงที่มาของกรรมการแพทยสภา แต่ก็ยังมี กลุ่มบุคคล บางกลุ่มที่ยังพูดให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า กรรมการแพทยสภา เป็นตัวแทนของแพทย์ในระบบธุรกิจเอกชน ?  เขา (เธอ) ไม่รู้ หรือ แกล้งไม่รู้ ?








 

Create Date : 11 มิถุนายน 2556   
Last Update : 23 พฤษภาคม 2558 22:44:27 น.   
Counter : 2008 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]