Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คู่มือประชาชน ในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
























::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::



https://www.facebook.com/633712913387627/photos/a.637434123015506.1073741830.633712913387627/1590311674394408/?type=3&theater

 

#ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลเอกชน หรือคลินิก ได้ที่เว็ปไซด์ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ https://privatehospital.hss.moph.go.th/



:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::





คลินิกเถื่อน คลินิกแท้ ดูยังไง

ปัจจุบันพบว่ามีคลินิกเถื่อนเปิดให้บริการจำนวนมาก และผู้ป่วยบางรายที่หลงเข้าไปใช้บริการคลินิกเหล่านี้ก็ได้รับอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตตามที่เป็นข่าวอยู่เนืองๆ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว คลินิก (สถานพยาบาลเอกชน) ต้องขออนุญาตเปิดและให้บริการอย่างถูกต้อง ได้มาตรฐาน ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

การที่จะรู้ได้ว่าคลินิกใด เป็นคลินิกที่ให้บริการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้

1.คลินิกต้องมีป้ายรายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพในคลินิกติดไว้ในที่เปิดเผย และผู้ทำการรักษาต้องเป็นคนเดียวกับป้ายที่ติดไว้

2.มีป้ายชื่อคลินิก และเลขที่ใบอนุญาต ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ติดบริเวณหน้าคลินิก สามารถเห็นได้ชัดเจน

===============
#Smartแน่แค่followเรา
FB: Smart Consumer
https://www.facebook.com/smartconsumer4.0/photos/a.290627251349713/764055240673576/?type=3&theater

**********************************************

" ร้องคลินิก ต้องไปที่ไหน ? "  ( ๑๙ พค.๖๒ )
Ittaporn Kanacharoen

มีปัญหา สงสัยคลินิกเถื่อน ค่ารักษาพยาบาลที่คลินิกไม่ถูกต้อง ค่ารักษา รวมถึงคลินิกไม่รับผิดชอบผลของการผ่าตัดต่างๆ จะรักษา ด้วยการเจาะเลือดแปลกๆ สเต็มเซลล์ที่ยังไม่อนุญาต และไม่เป็นมาตรฐาน ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกรม สบส. สามารถแจ้งได้ตาม โปสเตอร์ หรือ โทร 02193 7057 หรือ Facebook มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน

ขอบคุณหลายท่านที่ส่งมาที่แพทยสภา ผมได้ส่งต่อให้แล้วนะครับ แต่ถ้าเป็นไปได้ส่งตรงเลย แพทยสภา จะดูแลได้ตามอำนาจ ใน พรบ วิชาชีพเวชกรรม ซึ่งจะดูเฉพาะตัวแพทย์ไม่เกี่ยวกับตัวคลินิก และลงโทษได้เฉพาะผู้ถือใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีอำนาจในการไกล่เกลี่ย ขอเงินคืนต่างๆ รวมถึงให้จ่ายชดเชย อันนั้นของ สบส.และ สคบ.ครับ



"สบส.ฮอทไลน์"
เบอร์โทรศัพท์สายด่วนกรณีปัญหาจากคลินิกและ รพ.เอกชน ตามพระราชบัญญัติ สถานพยาบาลครับ

1. ร้องเรียน/ปรึกษา จากการไปรับบริการกับคลินิก และ รพ.เอกชน และได้รับความเสียหายหรือเกิดผลกระทบจากการไปใช้บริการ
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18833

2. แจ้งเบาะแส คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18822

3. ตรวจสอบคลินิกที่ไปใช้บริการได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18407

4. ปรึกษาเรื่องอื่นๆ
เบอร์โทร 02-193-7000 หรือ 02-590-2999

เครดิต Ittaporn Kanacharoen   25 พฤศจิกายน 2017


" มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน "  คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เฟสบุ๊ค  https://goo.gl/F1MjlO
โทร 02-193-7999  ,  02-590-2999  ต่อ 1280



***********************************************

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2560   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:28:06 น.   
Counter : 12756 Pageviews.  

รพ.เอกชน โวย "ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน" : นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย




รพ.เอกชน โวย "ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน"

27 มิถุนายน 2017

//www.bbc.com/thai/thailand-40414635

โรงพยาบาลเอกชนโวย "ขาดทุน" จากนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉิน" ของรัฐบาล ขณะที่ สปสช. ระบุว่าเป็นการสร้างมาตรฐานของราคา รพ.เอกชน และลดความเหลื่อมล้ำ

แม้เป็นโรงพยาบาล (รพ.) ขนาดกลาง แต่ รพ.ธนบุรีได้รับอานิสงส์จากทำเลที่ตั้งในฝั่งธนบุรีที่อยู่ใกล้ รพ.ศิริราช ซึ่งมักอัดแน่นไปด้วยผู้คนจากทุกสารทิศ จนกลายเป็นเอกชนที่รับคนไข้ฉุกเฉินมากที่สุดในประเทศ ด้วยห้องไอซียู 60 ห้อง

แต่ "โอกาส" ในการเข้าถึงผู้ป่วย เริ่มกลายเป็น "วิกฤต" เมื่อ 5 ปีที่แล้ว หลังรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉิน" โดยให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุก รพ. ที่ใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องสอบถามสิทธิและไม่ต้องสำรองจ่ายเงินก่อน ทำให้ รพ.เอกชนที่ค่าใช้จ่ายสูงกว่า รพ.รัฐ ต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า "ขาดทุน"

"เดี๋ยวนี้ใครมีเคสฉุกเฉินยิ่งเยอะ ยิ่งเจ๊ง ยิ่งขาดทุน" นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของเครือ รพ. ธนบุรี กล่าวกับบีบีซีไทย

"มันจะทำให้ทุก รพ.อยู่ไม่ได้หมด โดยเฉพาะ รพ.ขนาดเล็กที่มีเงินหมุนเวียนน้อย ถ้าขาดทุนเดือนละล้าน เขาก็ไม่ไหวแล้ว ของเราขาดทุนเดือนละ 3 ล้านบาท เรายัง absorb (รับ) ได้"

นพ.บุญ กล่าวว่า ตัวเลขขาดทุนเดือนละ 3 ล้านบาท เป็นผลจากผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับการรักษาเฉลี่ย 20,000-50,000 บาทต่อราย ขณะที่รัฐบาลให้เงินคืนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของต้นทุน

ก่อนถูกซ้ำเติมอีกครั้งในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อมีการแก้ไข พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กำหนดบทลงโทษ ทั้งจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณี รพ.เรียกเก็บเงินจากคนไข้ หรือปฏิเสธคนไข้ และในเดือน เม.ย. 2560 ได้ออกวิธีปฏิบัติใหม่ตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่ กำหนดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไม่ต้องสำรองเงินค่ารักษาพยาบาลในระยะ 72 ชั่วโมงแรก


นพ.บุญคาดว่า รพ.น่าจะขาดทุนหนักขึ้น ซึ่งผ่านมากว่า 2 เดือน รัฐบาลก็ยังไม่ได้จ่ายเงินคืนให้ รพ.

ซึ่งหลังประกาศนโยบาย ตัวเลขจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า รพ.แห่งนี้มียอดผู้ป่วยฉุกเฉิน 60 ราย ระหว่าง 1 เม.ย. - 13 มิ.ย.

การประกาศนโยบายนี้ ทำให้ รพ.เอกชนหลายแห่งรู้สึกเหมือนถูก "มัดมือชก" และส่อขาดทุนจากนโยบายนี้ แต่ สปสช. ไม่เชื่อ

"[รพ.เอกชน]ไม่มีทางล่มจม ถ้าจะบอกว่าเจ๊ง แปลว่าเดิม[ผู้ป่วยฉุกเฉิน]เป็นรายได้หลักของ รพ." นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการ สปสช. และอดีตรองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าว

พร้อมชี้ให้มองอีกมุมว่านโยบายนี้ ถือเป็นความพยายามลดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่าง "ผู้ป่วยมีสตางค์" กับ "ผู้ป่วยอนาถา"


อ้าง รพ.เอกชนปฏิเสธคนไข้ไร้เงินหนา

ในอดีตมักปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับการที่ รพ. เอกชนปฏิเสธผู้ป่วยอนาถาด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกเงินมัดจำ การดูแลอย่างเร็วๆ แล้วบอกสารพัดข้อจำกัดเพื่อกีดกันคนเหล่านี้ให้ไปรักษาตัวต่อที่อื่น หรือแม้กระทั่งไม่รับไว้เลยตั้งแต่เริ่มต้น

"เขาจะใช้วิธีไม่รับคนไข้มาอยู่ในระบบเลย โดยใช้ยามที่ไม่ใช่บุคลากรแพทย์บอกว่าไม่ต้องลงจากรถ เพื่อไม่บันทึกลงในระบบของ รพ. บ่อยครั้งที่เจออย่างนี้ คนก็จะจงเกลียดจงชัง รพ.เอกชนพอสมควร รัฐบาลเห็นว่าปล่อยไปอย่างนี้เกิดทั้งความเสียหายเชิงภาพลักษณ์ และเกิดความเหลื่อมล้ำ" นพ.ประจักษวิชกล่าว

นั่นคือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนประกาศใช้นโยบายภายใต้แนวคิด "เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น" เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อดูแลเรื่องความเหลื่อมล้ำของ 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ได้แก่ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนประกันสังคม เนื่องจากทั้ง 3 กองทุนมีระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินแตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน เช่น มีการจำกัดวงเงิน

สปสช. ในขณะนั้นถูกมอบหมายให้มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยเป็นที่รับข้อมูลจาก รพ.เอกชน และเป็นหน่วยงานกลางในการจ่ายเงินให้แก่ รพ.ไปก่อน โดย สปสช. จะไปเรียกเก็บเงินคืนจากแต่ละกองทุน ซึ่งนโยบายดังกล่าวไม่ได้มีการตั้งงบประมาณเพิ่มเติมจากงบปกติ

ทั้งนี้ รพ. จะได้เงินคืนตามอัตราของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (diagnosis-related groups หรือ DRGs) ซึ่งเป็นระบบแบ่งกลุ่มผู้ป่วยอย่างหนึ่ง เพื่อประเมินว่าจะจ่ายเงินให้ รพ. เป็นจำนวนเงินเท่าใด แต่เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเป็นข้อมูลจาก รพ. ของรัฐ ทำให้ รพ. เอกชนได้เงินคืนน้อยกว่าต้นทุน

"เขา [รพ. เอกชน] ก็ไม่ค่อยทำตาม เพราะไม่มีมาตรการอะไรในการบังคับเขาทั้งสิ้น และไม่มีมาตรการอะไรในการจูงใจ รพ.เอกชนจำนวนหนึ่งก็ค่อยๆ ถอยออกไป ไม่ได้ร่วมอยู่ในโครงการ คือยอมให้เข้ามารักษา แต่เรียกเก็บเงินผู้ป่วยเหมือนปกติ หรือขอเก็บเงินมัดจำล่วงหน้า และจะคืนให้เมื่อ สปสช. จ่ายเงินมา" นพ.ประจักษวิชกล่าว


เกณฑ์ใหม่

ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ สปสช. ตกเป็นผู้ถูกร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จนนำไปสู่รายงานผลการพิจารณาของ กสม. ที่ออกเมื่อเดือน ก.พ. 2558 โดยรายงานดังกล่าวชี้แจงว่า เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ร้องเรียนกับ กสม. ว่า ในทางปฏิบัติมีผู้ป่วยและญาติจำนวนมากต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และไม่สามารถเบิกรักษาค่าพยาบาลได้เต็มจำนวน

"มันไม่ฟรีจริง โดนหลอก เป็นนโยบายลวงโลกในขณะนั้น" นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวกับบีบีซีไทย

กระทั่งปลายปี 2559 จึงมีการแก้ไข พ.ร.บ.สถานพยาบาล กำหนดโทษสถานพยาบาลที่ปฏิเสธรับผู้ป่วยฉุกเฉิน และต่อมาเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินเพื่ออุดช่องโหว่ของนโยบายเดิม ภายใต้ชื่อใหม่ "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางอย่าง เช่น ให้ รพ. สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงจากรัฐบาล จากเดิมที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลา

"จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่าช่วงเวลาที่วิกฤต จะมีการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดใน 72 ชั่วโมงแรก รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มากๆ ก็อยู่ในช่วงนี้ นอกจากนี้เวลาที่ใช้ในการประสานหาเตียง ที่ รพ. ในระบบของแต่ละกองทุนที่อยู่ในวิสัยที่สามารถจัดการได้" นพ.ประจักษวิช กล่าว

นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินจากกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เป็นการเรียกเก็บตามรายการที่ให้บริการจริง (fee schedule) โดยกำหนดเป็นบัญชีรายการและราคา เพื่อให้ รพ. ใช้เบิกค่าใช้จ่าย


คุมราคาทางอ้อม

หนึ่งในข้อเสนอแนะของ กสม. ต่อนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือให้รัฐกำหนดมาตรการควบคุมอัตราค่ารักษาพยาบาลของ รพ.เอกชน ในลักษณะสินค้าควบคุมราคา หรือเป็นสินค้าหรือบริการภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

นพ.ประจักษวิชชี้ว่า นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นเหมือน "มาตรฐานของราคา รพ.เอกชน" ในรูปแบบหนึ่ง โดยรัฐเริ่มเข้าแทรกแซงเรื่องการกำหนดราคาขายเฉพาะเรื่องที่จำเป็น เช่น กรณีฉุกเฉิน เพราะถือเป็นสิ่งที่รัฐควรคุ้มครองช่วงที่คนไม่สามารถดูแลตัวเองได้


รพ.เอกชนขู่ปิดห้องฉุกเฉิน

แม้ว่าการคำนวณเงินรูปแบบใหม่จะให้เงินชดเชยสูงกว่าเดิม แต่ รพ.เอกชนบางแห่งเห็นว่าอัตราค่ารักษาพยาบาลที่กำหนด ไม่สะท้อนต้นทุนค่ารักษาพยาบาลตามที่เกิดขึ้นจริง โดยตัวเลขประมาณการจาก สปสช. ระบุว่า การจ่ายชดเชยหลังเดือน เม.ย. จะสูงกว่าการจ่ายชดเชยในอดีตเพียงร้อยละ 1

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่ รพ. เรียกเก็บตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555-2560 เป็นเงินจำนวน 6,231.72 ล้านบาท ได้รับการจ่ายชดเชยเป็นเงินจำนวน 1,655.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.57

นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า การที่ รพ.เอกชนเบิกได้ประมาณร้อยละ 30 ของราคาขายโดยเฉลี่ย หมายความว่า รพ.เอกชน ต้องมีกำไรร้อยละ 70 ถึงจะอยู่ได้ แต่ รพ.เอกชนทั่วไปกำไรเพียงร้อยละ 5-10 ของราคาขาย ทำให้ รพ.เอกชนส่วนใหญ่ขาดทุน

"เรื่องดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ถือเป็นจรรยาบรรณของทุก รพ. อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าแบบเก่าเนี่ย คนมีตังค์ก็จ่ายเงิน คนไม่มีเงิน รพ. ก็ write off (ตัดหนี้สูญ) ตัวเอง ก็ถือว่าทำบุญ แต่วันนี้พอรัฐบาลไปประกาศว่าห้ามเก็บเงิน ให้ไปเก็บกับกองทุน และกองทุนยังไม่มีมาตรการการจ่ายเงินที่เหมาะสม มันเป็นภาระกับ รพ. ทั้งนั้น" นพ.พงษ์พัฒน์กล่าว

พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาล "เพิ่มวงเงินอุดหนุนกรณีรับผู้ป่วยฉุกเฉิน" โดยเร่งปรับค่าใช้จ่ายที่ให้ รพ. เบิกจากร้อยละ 30-40 ของบิลไปสู่ร้อยละ 70-80 โดยเร็วที่สุด หากยังยืนยันจะคงนโยบายนี้เอาไว้

"ความเป็นจริงคือ เอกชนไม่ใช่คนที่เหลือเฟือที่จะมาทำ CSR (กิจกรรมเพื่อสังคม) หรือมาแบ่งคนอื่น ถ้าจะแบ่งก็ควรจะให้เขาแบ่งด้วยจิตใจ ความตั้งใจของเขา และอีกไม่นานก็ต้องเกิดปัญหา" นพ.พงษ์พัฒน์กล่าว "จ่ายร้อยละ 30-40 มันก็ฆ่าเขา ถามว่าเราต้องการให้เลิก รพ.เอกชนหรือเปล่า อีกหน่อย รพ. ก็ต้องปิดแผนกห้องฉุกเฉิน รพ. ใหญ่ๆ ก็จะลดตัวลง แล้วจะได้อยู่แต่ รพ.รัฐบาลอย่างเดียว"

อย่างไรก็ตาม บีบีซีได้ตรวจสอบข้อกฎหมาย พบว่าการปิดห้องฉุกเฉินไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.สถานพยาบาล กำหนดให้มีห้องฉุกเฉิน แต่เป็นไปได้ที่ รพ. อาจลดขนาดของห้องฉุกเฉินลง

เช่นเดียวกับอีกข้อเสนอให้ลดการครอบคลุมเวลาจาก 72 ชั่วโมง เหลือ 6-12 ชั่วโมง ซึ่งนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนเห็นว่า "เพียงพอต่อการช่วยชีวิต" แต่ รองเลขาธิการ สปสช. ชี้ว่าไม่ควรดูมิติตัวเงินอย่างเดียว เพราะวัตถุประสงค์ตั้งต้นของโครงการนี้คือการดูแลรักษาชีวิตคน

"ปัญหาคือใครจะมาประเมินว่าพ้นวิกฤต แล้วถ้าเกิดยังวิกฤตอยู่แล้วไปตายกลางทาง คนนี้รับผิดชอบนะ ผมว่า รพ. เอกชนก็ไม่กล้าบอกหรอกว่าพ้นวิกฤตแล้ว" นพ.ประจักษวิช กล่าว

ข้อมูลจาก สปสช. ระบุว่า รพ.ธนบุรีเป็น รพ. ที่ส่งเบิกกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินมากที่สุด ในปีงบประมาณ 2559 มีค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจาก สปสช. ทั้งหมด 126.65 ล้านบาท จากจำนวน 460 ครั้ง โดยได้รับจำนวนเงินชดเชยเพียงร้อยละ 25.10 หรือไม่ถึงร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ


ทั้งนี้ รพ.ธนบุรีเป็นหนึ่งใน รพ. ที่อยู่ภายใต้ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งปีที่แล้วมีรายได้รวม 6,228.67 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 543.99 ล้านบาท และเมื่อปลายปีที่แล้วได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว


::::::::::::::::::::::::::::::::::::
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

infographic 9ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์”

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง^_^ )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Onlineได้ที่ //www.hospitalprice.org หรือสายด่วนสุขภาพ 02 193 7999

//www.hospitalprice.org




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2560   
Last Update : 28 มิถุนายน 2560 22:21:21 น.   
Counter : 2876 Pageviews.  

สุนัขจรจัด ปัญหาสังคม ระดับประเทศ ...สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา แถมเรื่อง ขี้หมา(คนอื่น) หน้าบ้าน(เรา)

 



ปัญหาสุนัขจรจัดสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา

https://straydogg.blogspot.com/2012/05/first-post.html

จากการสัมมนาร่วมระหว่างสมาคมคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์แห่งโลก(THE WORLD SOCIETY FOR THE PROTECTION OF ANIMALS หรือWSPA) กับกรุงเทพฯเพื่อหากลยุทธ์การควบคุมสุนัขจรจัดให้มีประสิทธิภาพ

วิธีที่จะควบคุมจำนวนสุนัขให้ได้ผลที่ควรพิจารณา คือ เข้มงวดในการเคลื่อนย้ายสัตว์ ควบคุมแหล่งที่อาศัย และการให้อาหาร โดยมี 3 องค์กรสำคัญที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือ

ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ มีงบประมาณ มีคน

ความรู้ สัตวแพทย์ สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานสาธารณสุข (โรคพิษสุนัขบ้า)มหาวิทยาลัย

เครือข่ายภาคประชาสังคม ประชาชน

 

โดยมีมาตรการสำคัญ 4 ประการ (THEKEY PRINCIPLE OF STRAY CONTROL) ที่ต้องทำไปด้วยกันจึงจะสำเร็จ คือ

การออกกฎหมายในระดับประเทศหรือท้องถิ่น

การจดทะเบียนสุนัขเพื่อควบคุมสุนัขมีเจ้าของ การฉีดวัคซีน

การทำหมัน

การให้ความรู้เพื่อให้เจ้าของสัตว์เกิดความรับผิดชอบและให้ประชาชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของการทำหมัน

 

“”””””””””””””””””

ข้อกำหนดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(OIE) การควบคุมจำนวนประชากรสุนัขอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องประกอบด้วยการให้การศึกษาและการบังคับใช้กฎหมายสำหรับสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบของเจ้าของสุนัขอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการตามหลัก animal welfare มีการขึ้นทะเบียนสุนัขและการควบคุมการขยายพันธุ์มีการควบคุมเคลื่อนย้ายทั้งภายในและต่างประเทศ มีการป้องกันสิ่งแวดล้อมมีมาตรการควบคุมการค้าสุนัขที่ผิดกฎหมายมีการป้องกันและลดการถูกสุนัขกัดและมีการทำลายสุนัขในกรณีที่จำเป็น

https://news.sanook.com/1844938/

 

 

ตัวอย่าง วิธีการแก้ไขปัญหาฯ

- การขึ้นทะเบียนและควบคุมสุนัขอย่างเป็นระบบทั้ง สุนัขที่มีเจ้าของและสุนัขจรจัด (การกรองสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของออกจาก สุนัขที่มีเจ้าของให้ชัดเจน) ให้เจ้าของสุนัขนำสุนัขทุกตัวที่ต้องการจะเลี้ยง ไปทำการสักเบอร์หูพร้อมกับขึ้นทะเบียนตัวและทำประวัติให้เรียบร้อย ถ้าใช้วิธีการสักเบอร์หูแทนการฝังไมโครชิพ จะช่วยประหยัดงบประมาณ

- การทำหมันและ การให้ความรู้ประชาชนถึงประโยชน์ของการทำหมันเพื่อไม่ให้มีการเพิ่มของจำนวนประชากรมากเกินไป (OVER POPULATION) รณรงค์และขอความร่วมมือ กับเจ้าของสุนัขให้ทำหมันสุนัขที่ไม่ต้องการจะมีลูก เพื่อป้องกันการแพร่ขยายพันธุ์ของสุนัขโดยไม่ตั้งใจ

- เปลี่ยนสุนัขจรจัดเป็นสุนัขชุมชน แนวทางนี้คือการให้ ผู้ที่รักสุนัขหรือชมรมคนรักสุนัขฯลฯ ผู้แทนตามวัดวาอาราม และ คนในชุมชนมีโอกาสในการตัดสินใจร่วมกันว่าจะให้สุนัขจรจัดตัวใดเป็นสุนัขชุมชนบ้าง หากประสงค์จะให้เป็นสุนัขชุมชนทางชุมชนจะดูแลด้านอาหาร สุขภาพ และจัดที่อยู่อาศัยอย่างเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน(คอกสุนัขจรจัด ประมาณ 50 ตรว.)จะได้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ทำความสกปรก ไม่ก่อความรำคาญ โดยทางกทม.จะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างคอกสุนัข อาหารเลี้ยง ฉีดวัคซีนทำหมัน และให้การรักษาเวลาเจ็บป่วยและหากมีลูกสุนัขใหม่เกิดขึ้นชุมชนนั้นจะต้องรับผิดชอบในการขึ้นทะเบียนและเป็นผู้ดูแลสุนัขเหล่านี้ด้วย

- สถานพักพิงสุนัขชุมชนโดยเชิญชวน 'กลุ่มคนรักสุนัข-ผู้ใจบุญ' ที่เลี้ยงสุนัขในบ้านเป็นจำนวนมากๆมาขึ้นทะเบียนกับกทม. โดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องไม่เลี้ยงเพิ่ม โดยกทม.จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำหมันและฉีดวัคซีนให้สม่ำเสมอเข้าไปปรับปรุงด้านกายภาพการเลี้ยงให้ดูสะอาดให้สุนัขเหล่านี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

- หาเจ้าของให้สุนัขจรจัดหาบ้านใหม่ให้สุนัข นำสุนัขจรจัดไปเลี้ยงไว้ในสถานที่จัดไว้ โดยนำสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของไปทำความสะอาดดูแลขน ทำการฉีดวัคซีน ทำหมัน รวมถึงการฝึกคำสั่งพื้นฐานอย่างง่าย ๆ เพื่อแจกจ่ายสู่ประชาชนหรือหน่วยงานที่ต้องการสุนัขเหล่านี้ไปเลี้ยงดูต่อไปโดยจัดทำประวัติทะเบียนสุนัขให้ผู้นั้นเป็นเจ้าของ อันเป็นการสนองตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด

- จับสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของทั้งหมดไปไว้ยังสถานที่รับเลี้ยงสุนัขจรจัดให้แยกเลี้ยงสุนัขเพศผู้และสุนัขเพศเมียออกจากกัน เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์โดยวิธีนี้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำหมันสุนัขแต่อย่างใด

- ปลูกฝังเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ ให้เด็กและเยาวชนโดยเริ่มตั้งแต่การสร้างหลักสูตรการเลี้ยงสุนัขเลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้องซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดระยะยาว

 

https://www.oknation.net/blog/kriengsak/2008/06/07/entry-2

https://www.thaigsdclub.org/gsdboard/index.php?topic=790.0

https://www.dogilike.com/board/view.php?id=2649

 

 

ให้อาหารสุนัขจรจัด ...ให้มาเห่าหอนกันอย่างบ้าคลั่ง...

โดย ดร.วีรสิทธิ์ พุฒิไพโรจน์ หัวหน้าปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต https://www.facebook.com/notes/591493994213125/

มีสุนัขจรจัดอยู่มากมายใน จ.ภูเก็ตเนื่องจากผู้คนมีเมตตาและให้อาหารพวกเขา เมื่อคุณให้อาหาร พวกเขาก็จะมาอยู่ใกล้ๆ ยิ่งให้อาหารพวกเขามากเท่าไหร่ก็ยิ่งมากันมาก นี่ทำให้เกิดปัญหา ปัญหาหนึ่งจากพวกสุนัขจรจัดคือการเกิดเชื้อโรคภูเก็ตเป็นจังหวัดปลอดเชื้อพิษสุนัขบ้ามาตั้งแต่ปี 2007และเราก็อยากจะให้เป็นเช่นนี้ตลอดไป

ถ้าคุณต้องการที่จะช่วยเหลือสุนัขจรจัดวิธีที่ดีที่สุดคือไม่ให้อาหารพวกเขา แต่โทรแจ้งเรา หรือสำนักงานเขตท้องถิ่นเราจะไปต้อนจับสุนัขจรจัดและนำมาไว้ที่ศูนย์พักพิงสุนัขในอำเภอถลางซึ่งเป็นที่ที่เราดูแลพวกเขา เราดูแลพวกสุนัข เราไม่ฆ่าพวกเขาเพราะขัดกับหลักคำสอนทางพุทธศาสนา ขณะนี้มีสุนัขอยู่ประมาณ 400ตัวที่ศูนย์พักพิงสุนัขที่อำเภอถลาง ซึ่งเราเปิดให้ประชาชนสามารถมารับสุนัขไปอุปการะได้

เรารับบริจาคอาหารสุนัขแต่ไม่รับบริจาคเงิน ท่านสามารถนำไบสั่งซื้ออาหารสุนัขมาให้เราและเราจะไปรับอาหารจากร้านค้าเอง

การให้อาหารสุนัขแต่ปล่อยให้พวกเขาอาศัยอยู่บนท้องถนนไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือพวกเขามีมูลนิธิแห่งหนึ่งในภูเก็ตที่จ้างผู้คนให้ให้อาหารสุนัขตามท้องถนนและตามวัดต่างๆในภูเก็ตมูลนิธิฯนี้ยังทำการตอนทำหมันให้กับสุนัขจรจัดด้วย จริงอยู่นี่เป็นการหยุดยั้งการผสมพันธุ์ของสุนัขแต่สุนัขเหล่านี้ก็ยังคงอาศัยอยู่ตามท้องถนน เราชื่นชมในความช่วยเหลือของมูลนิธิฯนี้แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการให้พวกเรานำสุนัขมาไว้ที่ศูนย์พักพิงสุนัข

อีกปัญหาหนึ่งของสุนัขจรจัดที่อยู่ตามท้องถนนคือบางครั้งพวกเขาทำร้ายผู้คน แต่คนที่ให้อาหารสุนัขเหล่านี้ก็ไม่อยากจะรับผิดชอบ มีกรณีหนึ่งที่เป็นเรื่องราวขึ้นศาลมีคนถูกสุนัขจรจัดกัด สุนัขตัวนี้มีคนให้อาหารอยู่ผู้ถูกกัดได้ยื่นฟ้องร้องเอาผิดแก่ผู้ให้อาหารสุนัขศาลได้ตัดสินว่าผู้ที่ให้อาหารสุนัขจรจัดและสุนัขตัวนี้ไม่ได้ไปไกลจากบริเวณนั้นก็ถือว่าคนที่ให้อาหารนี้เป็นเจ้าของสุนัข มีอีกกรณีหนึ่งครั้งหนึ่งเราออกไปจับสุนัขจรจัด มีชายคนหนึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของสุนัขผมได้บอกเขาไปว่าผมจะขอถ่ายรูปเขาและขอเก็บสำเนาบัตรประจำตัวเขาเพื่อบันทึกไว้ในกรณีที่ถ้าสุนัขตัวนี้ไปกัดใคร เขาจะต้องรับผิดชอบเขาจึงปฏิเสธว่าไม่ใช่เจ้าของของสุนัขตัวนี้อีก

ถ้าท่านโชคร้ายโดนสุนัขกัดสิ่งแรกที่ต้องทำคือดูแลบาดแผลของตนเอง ล้างแผลด้วยน้ำให้มากๆเพราะเชื้อโรคมาจากน้ำลายของสุนัข ดังนั้นการยิ่งล้างแผลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีจากนั้นก็ไปพบแพทย์ ถ้าเป็นไปได้ให้ถ่ายรูปสุนัขที่กัดท่านจากนั้นก็แจ้งให้เจ้าของสุนัขทราบ หรือไม่ก็แจ้งความกับตำรวจ

ถ้าท่านถูกสุนัขกัดในอาณาบริเวณบ้านของผู้ใดก็ตามท่านจะไม่สามารถโทษเจ้าของ เพราะท่านไปอยู่ในเขตบ้านของเขาการชดเชยค่าเสียหายจะขึ้นอยู่กับเจ้าของท่านมีสิทธิที่จะปกป้องตนเองเมื่อถูกสุนัขโจมตี ภายใต้หลักของเหตุผลแต่ถ้าท่านถูกสุนัขกัดอยู่ในอาณาบริเวณบ้านของคนอื่น มันก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เพื่อประโยชน์ของพวกเราทุกท่านและเพื่อสุนัขเหล่านี้มาร่วมมือกันในการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในภูเก็ต


...................................




TheerapatCharoensuk 7มีนาคม

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155076052901809&set=a.179824101808.128902.684336808&type=3&theater&ifg=1

มาเรียง Timeline เรื่อง สตง.กับวัคซีนพิษสุนัขบ้าของ อปท. แล้วตลกดี

1. ปี57หลังรัฐประหาร สตง. ออกไล่ล่าตรวจสอบการใช้งบของ อปท. ย้อนหลังปี 56

2. ปลายปี2557สตง. ทำหนังสือเสนอแนะว่า เทศบาลตำบลสุรนารี ใช้เงินซื้อวัคซีนพิษสุนัขบ้าไม่ตรงกับจุดประสงค์ของ พรบ. โรคพิษสุนัขบ้า 2535 ที่ให้เป็นหน้าที่กรมปศุสัตว์ให้เรียกเงินคืน สอบวินัยย้อนหลังเทศบาล ฯลฯ

3. เทศบาลตำบลสุรนารีสู้โดยยื่นต่อกรมปศุสัตว์ ให้กรมปศุสัตว์ยื่นเรื่องตีความ

4. การเรียกเงินคืนนี้สตง. ออกหนังสือเวียนแจ้งข้อเตือนไปยัง อปท.ทั่วประเทศอปท.เลยระงับการซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัด.

5. กรมปศุสัตว์ยื่นตีความต่อกฤษฎีกา ลงวันที่ 29 มกราคม 2558

6. กฤษฎีกา2คณะ ตีความว่ากรมปศุสัตว์มีอำนาจ แต่กรมปศุสัตว์ก็ยังมีอำนาจมอบให้ อปท.ซื้อวัคซีนมาฉีดให้สัตว์แทนด้วย ในต้นปี 2559

7. แต่โรคพิษสุนัขบ้าก็เริ่มระบาดรุนแรงในระดับหนึ่งแล้วในปี2560

8. ระเบียบที่กฤษฎีกาตีความว่าทำได้สตง. ดันไม่เผยแพร่ ไม่มีหนังสือเวียนแจ้ง อปท. เหมือนตอนห้าม

9. สตง.เสไปบอกว่าจะตรวจสอบเรื่องวัคซีนที่ซื้อไม่มีคุณภาพ สต็อกแล้วเสื่อม แทนในปี 2560โดยไม่เอ่ยถึงเรื่องที่ตัวเองไปเสือกว่า อปท.ไม่มีอำนาจตอนปี 2557สักคำ

10. ปี2561พิษสุนัขบ้าระบาดหนักกว่าเดิมเกินครึ่งประเทศ และอปท.หลายแห่งก็ยังไม่กล้าซื้อวัคซีนมาฉีด เพราะ สตง.ก็ยังจะไปตามจิกเค้าอยู่(ต้นปี 2561อดีตผู้ว่าสตง. ยังลงข่าวตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยความภูมิใจ)

11. หลังจากเจรจากันเรียบร้อยว่าอปท สามารถซื้อวัคซีนได้ กลับกลายเป็นว่า ปี 2560 อย.เข้มงวดกับการนำเข้าวัคซีนโดยบอกว่ามีวัคซีนที่อุณหภูมิไม่ได้ขณะขนส่ง ทำให้ปี 60 วัคซีนพิษสุนัขบ้าถึงกับขาดตลาดไปช่วงหนึ่ง

(ขอบคุณภาพจากข่าวสด)

อ้างอิง

https://www.isranews.org/isranews-scoop/46262-krd.html

https://news.thaipbs.or.th/content/270806

https://thaigcd.ddc.moph.go.th/…/Vaccin%20Rabies%2027-04-59.…

https://www.dailynews.co.th/regional/393237

https://www.oag.go.th/…/%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%A…

Off Possatorn
ตามความเห็นกฤษฎีกาคณะ 10กรณีเทศบาลสุรนารี

ข้อเท็จจริงคือเทศบาลสุรนารีฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าฟรี สตง. เลยโวย ว่าไม่ใช่อำนาจท้องถิ่นและฉีดฟรีไม่ได้ เรียกให้คืนเงิน

กฤษฎีกามีความเห็น 2ประเด็น

1) ท้องถิ่นมีอำนาจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเช่นเดียวกันกับกรมปศุสัตว์ครับ ไม่จำเป็นต้องได้รับมอบหมายจากปศุสัตว์

2) การฉีดวัคซีนฟรีจะทำได้ต่อเมื่อมีการประกาศกำหนดเขตท้องที่ ให้เจ้าของนำสัตว์ไปฉีดวัคซีนซึ่งกรณีสุรนารีนี้ ไม่มีการประกาศแต่กฤษฎีกามองว่าเทศบาลสุจริตเนื่องจากมีหนังสือจากจังหวัดขอความร่วมมือและปีที่ผ่านๆ มามีการประกาศตลอด จึงสามารถทำได้

ซึ่งส่วนตัวได้มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการในชั้นต้นเคสนี้นอกจาก สตง. จะผิดแล้ว ปศุสัตว์ก็พอๆ กันครับ เพราะจริงๆการประกาศท้องที่ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ไม่ยอมประกาศให้ครอบคลุม เทศบาลเลยซวยไปทำตามหนังสือจังหวัด แต่โดน สตง. ไล่บี้

การพิจารณามีประเด็นเรื่องวัคซีนด้วยว่าทำไมไม่รอวัคซีนจากปศุสัตว์ ปศุสัตว์ก็ชี้แจงว่าวัคซีนขาดตลาดไม่สามารถจัดหาให้ อปท ได้ อปท เลยต้องจัดซื้อจากเอกชนเอง


****************************************


ผู้ว่าฯ สตง.แถลงข้อเท็จจริงกรณีสตง.ถูกกล่าวหาเป็นต้นเหตุทำพิษสุนัขบ้าระบาด

วันที่ 12มีนาคม 2561 - 14:41 น.

https://www.prachachat.net/general/news-128827

 

นายประจักษ์ บุญยังผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเปิดเผยว่าตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนกรณีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ทักท้วงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงปลายปี ๒๕๕๗ และมีการกล่าวอ้างว่าทำให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องหยุดชะงักเป็นเวลา๑-๒ ปี จนเป็นเหตุให้มีการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบันนั้น สตง. ขอเรียนชี้แจงว่า สตง.ในฐานะองค์กรตรวจเงินแผ่นดินได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน สตง.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือเพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

ทั้งนี้หลังจากที่กรมปศุสัตว์ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้าพ.ศ. ๒๕๓๕ ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๕๘ สตง.ได้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกับกระทรวงมหาดไทยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค รวมทั้งผู้แทนจากสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทยสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย

จนกระทั่งต่อมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๙๑.๓/ว ๑๒๐๓ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ เรื่องการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัดว่าจากการประชุมร่วมกันของผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความเห็นสอดคล้องกันว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สามารถดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นทางจังหวัดก็ได้มีหนังสือแจ้งไปยังนายอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆโดยอ้างผลจากการประชุมร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป

การกล่าวอ้างว่าการทักท้วงของ สตง.มีผลทำให้การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องหยุดชะงักเป็นเวลา๑-๒ ปี จนเป็นเหตุทำให้เกิดการแพร่ระบาดในช่วงปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบันน่าจะคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง เนื่องจาก สตง. มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอดในขณะเดียวกันกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นก็ได้มีหนังสือเวียนแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้มีหนังสือแจ้งไปยังนายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันแล้วผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงเดือนมีนาคม ๒๕๕๙คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัย เรื่องเสร็จที่ ๔๔๒/๒๕๕๙แล้วว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าแต่เนื่องจากยังไม่มีการออกระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้มีการกำหนดให้นำแนวทางปฏิบัติตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๙๑.๓/ว ๑๒๐๓ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ดังกล่าวข้างต้นมาใช้ไปพลางก่อนซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้มีการหารือร่วมกันระหว่าง สตง.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

๑) ประเด็นการจัดหาวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดหาวัคซีน โรคพิษสุนัขบ้าเพื่อการป้องกันและระงับโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๓๕โดยดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามมาตรา ๕เจ้าของสัตว์ควบคุมต้องเสียค่าธรรมเนียมยกเว้นกรณีมีการประกาศเขตป้องกันและการแพร่ของโรคฯ ของอธิบดีกรมปศุสัตว์ ตามมาตรา๑๗ เจ้าของสัตว์ควบคุมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

๒)กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับประกาศหรือมีคำสั่งเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขอันเนื่องจากการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่จะเกิดกับคนหรือสัตว์ซึ่งตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๒๓กำหนดให้คนหรือสัตว์ได้รับการป้องกัน และสามารถจัดหาและให้เครื่องอุปโภครวมถึงการจัดหาเวชภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสามารถจัดหาและให้วัคซีนเพื่อป้องกันและระงับพิษสุนัขบ้าทั้งกับสัตว์ที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

๓)ประเด็นการจัดหาและให้วัคซีนกับสัตว์ควบคุมที่ไม่มีเจ้าของหรือเจ้าของไม่แสดงตนนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ โดยทำให้สัตว์ควบคุมนั้น ตกเป็นสัตว์ของราชการส่วนท้องถิ่นตามมาตรา ๓๐แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ นอกจากนี้ ตามมาตรา ๙แห่งพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ยังให้อํานาจกับเจาพนักงานทองถิ่นในการทําลายสัตวควบคุมนั้นได้

๔) สำหรับสัตว์ควบคุมที่มีเจ้าของเจ้าของควรต้องมีความรับผิดชอบต่อสัตว์และสังคม รวมถึงความรับผิดชอบต่อการให้ยาคุมกำเนิดของสัตว์ควบคุมหรือให้ความยินยอมต่อหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการโดยเฉพาะกรณีของประชาชนยากจนที่ไม่สามารถรับผิดชอบภาระนั้นได้สำหรับสัตว์ควบคุมที่ไม่มีเจ้าของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการตามแนวทางวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ ๔๔๒/๒๕๕๙ นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังสามารถทำหมันคุมกำเนิดสัตว์ควบคุมได้เพื่อเป็นการป้องกันและระงับโรคติดต่อ

๕)การดำเนินการทุกกรณีที่กล่าวมาข้างต้นต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดี สามารถตรวจสอบได้เช่น ต้องมีทะเบียนสัตว์ควบคุมในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีทะเบียนคุมสัตว์ควบคุมที่ไม่มีเจ้าของที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการเก็บรักษาวัคซีนอย่างถูกวิธีและเหมาะสม ผู้ฉีดวัคซีน เป็นต้นและต้องมีวินัยทางการเงินการคลังเพื่อการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๖) กระทรวงมหาดไทยได้ออกหนังสือ ด่วนที่สุดที่ มท ๐๘๑๐.๕/ว ๐๑๒๐ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๐กำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งก็สอดคล้องกับแนวทางที่ สตง. ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ และ สตง. ก็มีข้อเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามหนังสือฉบับดังกล่าว

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกล่าวในตอนท้ายว่าปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๖๐ และ สตง. ได้เสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางข้างต้นสำหรับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งระบุว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่กล้าที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าเนื่องจากเกรงว่าจะถูกทักท้วงจาก สตง. นั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ สตง.จะต้องประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยในเบื้องต้นจะได้มอบหมายให้สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดทำความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป

 

 

******************************************************************************************

สุนัขจรจัดปัญหาสังคม ระดับประเทศ ...สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา (นำมาฝาก) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-02-2017&group=15&gblog=78

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า... ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-08-2012&group=4&gblog=94

โรคพิษสุนัขบ้า https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=20-03-2008&group=4&gblog=23


............................



ขี้หมา (คนอื่น) หน้าบ้าน (เรา) .. ปัญหาของคนเลี้ยงหมาในเมือง
 

 

สรุปวิธี ป้องกันหมาอึ หน้าบ้าน

๑. เปลี่ยนที่อึเป็นที่กิน ล้างบริเวณนั้นให้สะอาด แล้วนำภาชนะใส่อาหาร เช่น อาหารเม็ด กระดูกไก่ไปวางไว้ตรงนั้นแทน หรือ เปลี่ยนที่อึ ไปที่อื่น ตักอึสุนัขไปวางไว้บริเวณที่ต้องการให้สุนัขไปอึก

๒. ใช้สารที่มีกลิ่นฉุนล้างบริเวณนั้นให้สะอาด แล้วนำสารที่มีกลิ่นฉุนมาวางไว้ เช่น พริกไทยป่นพริกป่น ลูกเหม็น น้ำส้มสายชู .น้ำส้มสายชูผสมเบกกิ้งโซดา น้ำหมักชีวภาพน้ำมันสน น้ำมันก๊าด แอมโมเนีย ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำยาฉีดปลวก

๓. การสะท้อน เช่น.ขวดพลาสติกใส่น้ำ แผ่น CD กระจก

สุดเจ๋ง!!วิธีเด็ด!! ป้องกันหมาอึ..หน้าบ้าน ได้ผลจริง!! https://kaijeaw.com/ป้องกันหมาอึ/

เคล็ดลับวิธีการป้องกันสุนัขอึหน้าบ้าน https://www.thaihometown.com/knowledge/651


ส่วนเรื่องทางกฎหมาย ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือเทศบาลเมืองกำแพงเพชร อาจแจ้งได้ที่

- สำนักงานเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โทรศัพท์ 0-5571-8200

- ศูนย์ดำรงธรรมเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ชั้น ๒ หน้าห้องนายกเทศมนตรี โทรศัพท์ 0-5571-8200 ต่อ201

- FB@เทศบาลเมืองกำแพงเพชร งานประชาสัมพันธ์ https://www.facebook.com/pr.kppmu


ปล. เท่าที่ค้นหาจากเวบเทศบาลเมืองกำแพงเพชร หน้า กฎหมายที่เกี่ยวข้อง https://www.kppmu.go.th/services_09.php พบมีเทศบัญญัติ๒ ฉบับ (ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และ ๒๕๔๙ ) ไม่แน่ใจว่า มีใหม่กว่านี้หรือไม่ ?
- เทศบัญญัติเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2544 https://www.kppmu.go.th/peo/03-04-2550_13-20-08-1.pdf

- เทศบัญญัติเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2549 https://www.kppmu.go.th/peo/03-04-2550_13-23-56-1.pdf


อยากเลี้ยงสุนัขต้องรู้! มีกฎหมายอะไรเกี่ยวข้องบ้าง

https://today.line.me/TH/pc/article/bf4c40cf4bcee0503db40b03930cbd12cab5b722290481514fe8903ef2d58086

สำหรับในกรุงเทพมหานครมีการออกมาตราทางกฏหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัขเพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันตรายจากการเลี้ยงสุนัขอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัข โดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ข้อ 26 ประกอบกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 73 วรรค 2 ดังนี้

1.เจ้าของสุนัขต้องควบคุมสุนัขไม่ให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญเช่น การก่อให้เกิดเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น

2.ต้องรักษาสถานที่เลี้ยงสุนัขให้สะอาดอยู่เสมอจัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุนัขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อื่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

3.ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลอันเกิดจากสุนัขในที่หรือทางสาธารณะหรือในที่อื่นใดในเขตกรุงเทพมหานครโดยทันที

4.เมื่อสุนัขตายเจ้าของสุนัขต้องกำจัดซากสุนัขให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพราะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรคทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญและไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ

รวมถึงทุกครั้งที่เจ้าของจะพาสุนัขออกไปในที่สาธารณะโดยเฉพาะกับสุนัขควบคุมพิเศษ ซึ่งได้แก่สุนัขสายพันธุ์ที่ดุร้าย เช่นพิทบูลเทอเรีย บูลเทอเรีย สเตฟฟอร์ดเชอร์บูลเทอเรียรอทไวเลอร์และฟิล่าบราซิลเรียโร เป็นต้น จะต้องมีเจ้าของติดตามรวมทั้งจะต้องผูกสายลากจูงตลอดเวลาโดยจะต้องใส่อุปกรณ์ครอบปากและใช้สายลากจูงมีความยาวไม่เกิน 50 ซม.

 

ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทโดยประชาชนทั่วไปที่พบเห็นการฝ่าฝืนสามารถแจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเทศกิจ ให้ดำเนินการปรับได้ทันทีแต่จะต้องมีหลักฐานบ่งชี้ชัด เช่น ภาพถ่ายและหากสุนัขไล่กัดทำร้ายผู้อื่นก็จะมีโทษปรับ 2 เท่า คือปรับเป็นเงินไม่เกิน 5,000 บาท แล้วจะต้องชดใช้ค่าเสียหายค่ารักษาพยาบาล และค่าทำขวัญให้กับผู้เสียหายอีกด้วย

 

เรื่อง ขี้หมา ขี้หมา

https://www.kraisornlawyer.com/15937061/เรื่อง-ขี้หมา-ขี้หมา

ถ้าเจ้าของน้องหมาปล่อยน้องหมา ออกมาขี้บนถนน แล้วไม่เก็บขี้หมาให้หมดไป หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บแต่ไม่ยอมเก็บ เจ้าของน้องหมามีความผิด ถูกปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท

ถนน หมายถึงทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้

ถ้าเป็นถนนหน้าบ้านในหมู่บ้านไม่มีทางเชื่อมออกไปเส้นทางอื่น แม้จะเป็นถนน แต่ไม่ใช่ถนนส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้ คงต้องไปว่ากล่าวกันเป็นส่วนตัว

ประชาชนทุกคนที่เห็นเจ้าของน้องหมา ปล่อยให้น้องหมาขี้แล้วไม่ยอมเก็บ สามารถแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่(เทศกิจ) จับกุมดำเนินคดีได้ และมีสิทธิได้ค่าปรับกึ่งหนึ่ง

ในกรณีที่ไม่พบผู้กระทำความผิดประชาชนสามารถแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มาเก็บขี้หมาได้ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มาเก็บ มีความผิดต้องโทษปรับเช่นเดียวกันครับ 555

 

ข้อกฎหมาย พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕

มาตรา ๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใด (๒) ปล่อยให้สัตว์ถ่ายมูลบนถนนและมิได้ขจัดมูลดังกล่าวให้หมดไป

มาตรา ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔....ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา ๔ ถนนหมายความรวมถึงทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้ามตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอยสะพาน หรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้

มาตรา ๕๑ ในกรณีที่มีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ประชาชนผู้พบเห็นอาจแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยไม่ชักช้าและให้ถือว่าประชาชนผู้พบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ได้จับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้กระทำความผิดจัดการลบ ล้าง กวาด เก็บ ตกแต่งปรับปรุงสิ่งที่เป็นความผิดมิให้ปรากฏอีกต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนดถ้าผู้กระทำความผิดยินยอมปฏิบัติตาม ให้คดีเป็นอันเลิกกันถ้าผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจัดทำหรือมอบหมายให้ผู้อื่นจัดทำให้เกิดความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยและให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเข้าจัดทำความสะอาดหรือความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามที่ได้ใช้จ่ายไปจริงให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่การชดใช้ค่าใช้จ่ายไม่ลบล้างการกระทำความผิดหรือระงับการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด

มาตรา ๔๘ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งและพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสิบห้าวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป

ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งตามมาตรา ๕๑กึ่งหนึ่ง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจรหรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ผู้จับกุมอีกกึ่งหนึ่ง

มาตรา ๔๕ เมื่อมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นในท้องที่ใดและพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจทราบตัวผู้กระทำผิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นนั้นทุกคนร่วมกันขจัดหรือแก้ไขไม่ให้สิ่งที่ผิดกฎหมายปรากฏอยู่ในที่สาธารณะหรือสถานสาธารณะอีกต่อไป

มาตรา ๕๙ พนักงานสอบสวนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๑ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามที่มีการแจ้งความนั้น

คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๕๒๑๕/๒๕๕๔เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ.๒๕๓๕

 


***************************************************

มีกฎหมายเอาผิดคนเลี้ยงหมามั้ยครับ
https://pantip.com/topic/37443047



 

การเอาผิดกับเจ้าของสัตว์ที่ปล่อยปละละเลยไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นแบบนี้ มีกฎหมายคุ้มครองเยอะแยะมากคับ ผมจะขอไล่เป็นข้อ ๆ ไปละกัน

 

1. การที่เจ้าของปล่อยสัตว์ดุร้ายออกเที่ยวไปลำพังไม่ดูแล จนสัตว์นั้นไปสร้างความเสียหาย หรืออาจจะไปสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นความผิดตามกม.อาญา ม. 377 มีโทษจำคุกไม่เกิน1 เดือน ปรับไม่เกิน1 พัน

 

2. เจ้าของปล่อยให้สัตว์ปล่อยสิ่งปฏิกูลตามหน้าบ้านคน โดยไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ผิดตามพรบ.รักษาความสะอาด ม.14 (2) ประกอบมาตรา 52 มีโทษปรับ 500 บาท

 

3. เจ้าของปล่อยสัตว์ ละท้ิงสัตว์ไปจากความดูแล โดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดตามพรบ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ มาตรา 23 ประกอบ มาตรา 31 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท

 

4. และกรณีที่สัตว์ที่เราดูแล ไปก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น ไปกัดหรือไปทำข้าวของเสียหาย เจ้าของสัตว์ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 433

 

บ้านเรามีกฎหมายครอบคลุมทุกอย่าง แต่เรามักไม่ค่อยใช้กันเคร่งครัด เลยทำให้เจ้าของสัตว์ปล่อยสัตว์ไปสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นแบบไม่สนใจ พอสัตว์ไปทำร้ายคน หรือทำข้าวของเสียหาย ก้อชอบอ้างว่า ไม่ได้ดูแล เพียงแต่ให้อาหารเฉย ๆโดยไม่รับผิดชอบอะไรเลย


สมาชิกหมายเลข 1184862

 

 

เจ้าของสุนัขเลินเล่อปล่อยสุนัขหลุดมาทำความเสียหาย ต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
https://natjar2001law.blogspot.com/2010/12/blog-post_07.html?m=1

 

เมื่อวันก่อนผู้เขียนได้พบบ้านใกล้เคียงกับผู้เขียน ซึ่งเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัวเมื่อเปิดประตูเพื่อนำรถยนต์ออกจากบ้าน สุนัขก็หลุดออกมาด้วย และวิ่งไล่เห่ารถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานที่ขี่ผ่านมา เป็นภาพที่ผู้เขียนพบเห็นอยู่เป็นประจำเลยพาให้นึกว่า หากผู้ขับขี่เกิดความตกใจ ควบคุมรถไม่ได้รถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงบาดเจ็บ ความรับผิดทางกฎหมายจะเป็นเช่นไรจะได้ขอนำมาบอกเล่าดังนี้

 

กรณีเจ้าของบ้านหรือก็คือเจ้าของสุนัขนั่นเองเปิดประตูบ้านเพื่อถอยรถออกจากบ้านแล้วสุนัขที่เลี้ยงไว้หลุดออกมาวิ่งไล่จักรยานยนต์ที่กำลังขี่ผ่านมาทำให้คนขี่จักรยานยนต์ตกใจบังคับรถไม่ได้ ล้มลงบาดเจ็บสาหัสทั้งคนขี่และคนซ้อน

เจ้าของสุนัขมีความรับผิดอย่างใดหรือไม่ขอแยกเป็นสองกรณีคือความรับผิดทางอาญาและความรับผิดทางแพ่ง ดังนี้

 

ธรรมดาการเลี้ยงสุนัขต้องเลี้ยงและดูแลให้อยู่ภายในเคหะสถานหากจะนำออกนอกเคหะสถานจะต้องมีการดูแลให้ปลอดภัยไม่ให้ไปก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อื่นได้ จะปล่อยไปเที่ยววิ่งเล่น อึ ฉี่หน้าบ้านผู้อื่นให้เขาเดือดร้อนรำคาญไม่ได้ กรณีนี้ก็เช่นกันเมื่อเจ้าของบ้านจะเปิดประตูบ้านเพื่อถอยรถออกไปทำงาน ควรจะต้องเก็บสุนัขใส่กรงให้เรียบร้อยเสียก่อนเมื่อ เจ้าของสุนัขไม่เก็บสุนัขของตนให้เรียบร้อย จึงเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นผู้เลี้ยงสุนัขนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้โดยนำสุนัขขังกรงให้เรียบร้อยเสียก่อน แต่ก็หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59ประกอบมาตรา 300

 

มาตรา300 ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ในส่วนคดีแพ่งหรือความรับผิดทางแพ่งนั้น เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโดยมีมูลจากความรับผิดทางอาญาเราเรียกว่า คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หรือ อาญาสินไหมซึ่งปัจจุบันอยู่ในความรับผิดทางละเมิดโดยผู้ได้รับความเสียหายสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้

 

มาตรา433 ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่สัตว์นั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

 

ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้นศาลจะพิจารณาตามความเป็นจริงว่าเกิดความเสียหายไปอย่างไรบ้าง อันได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วยและหากรถจักรยานยนต์เกิดความเสียหาย เจ้าของสุนัขต้องรับผิดซ่อมแซมชดใช้หรือกระทำอย่างใดๆ ให้รถกลับมาใช้การได้ดังเดิม

 

โดยปกติเมื่อเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีอาญา หากพนักงานอัยการเป็นผู้ยื่นฟ้องให้ผู้เสียหายควรจะต้องติดตามเรื่องให้ดี เมื่อมีนัดศาลครั้งใดให้ไปแสดงตัวทุกครั้งศาลจะจัดการไกล่เกลี่ยเรื่องค่าเสียหายให้ไปพร้อมกันเลยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีมาฟ้องเป็นคดีละเมิดใหม่ แต่หากผู้เสียหายมิได้ติดตามคดีและไม่ได้เข้าระบบไกล่เกลี่ยจะต้องนำคำพิพากษาคดีอาญานั้นมาฟ้องเป็นคดีละเมิดภายในอายุความคดีอาญาผู้เสียหายจึงควรใส่ใจติดตามคดีอย่างใกล้ชิด ใบเสร็จหรือเอกสารต่างๆต้องเก็บรวบรวมไว้ให้ดีพร้อมที่จะนำมาแสดงได้เมื่อมีการตกลงเรื่องค่าสินไหมทดแทนกัน


*****************************************



 




















#ในกรณีหมาจรจัดกัดคนใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ


ระหว่าง

คนที่ให้อาหาร เป็นครั้งคราวด้วยความเมตตา

คนที่ให้อาหารหมา เป็นประจำ

หรือเทศบาล / อบต / กรมปศุสัตว์

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า

หมาจรจัด #ที่คนให้อาหารเป็นครั้งครา เป็นบางครั้งบางโอกาส ด้วยความเมตตา #รวมถึงคนที่ให้อาหารประจำ แต่ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงรับผิดชอบชีวิต ของสุนัขจรจัด #ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัด

มีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 764/2556 ที่อธิบายในเรื่องนี้ว่า

การให้คำนิยามความหมายของคำว่า "เจ้าของสุนัข" หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" นั้น

"มีผลทำให้ประชาชนที่เพียงแต่ให้อาหารแก่สุนัขจรจัดเป็นประจำด้วยความเมตตา ต้องมีภาระหน้าที่ในการพาสุนัขจรจัดไปฝังไมโครชิปและจดทะเบียนสุนัข มิเช่นนั้น อาจทำให้บุคคลนั้นกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่หน้าที่ในการจัดการ ควบคุม ดูแลสุนัขจรจัด #เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นกลับผลักภาระดังกล่าวมาให้กับประชาชน

ดังนั้น การให้บทนิยามดังกล่าว ที่ให้หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" จึงเป็นข้อบัญญัติที่

1. สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
2. สร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
3. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนข้อบัญญัติ ฯ ข้อ 5 เฉพาะที่ให้ความหมาย "เจ้าของสุนัข" ว่า ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย"

#แต่ถ้าหมาไม่มีเจ้าของกัดค #ใครต้องรับผิดชอบ

เมื่อหมาจรจัดไม่มีเจ้าของ และจะไปบังคับคนที่เลี้ยงประจำมารับผิดชอบก็ไม่ได้

เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์ #ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่
อ.1751/2559


ได้วินิจฉัยไว้ว่า #เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล #หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการดูแลสุนัขจรจัดซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เมื่อสุนัขจรจัดไปทำลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้น


Cr. เกิดผล เเก้วเกิด

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2952999688093167&set=a.406514496075045&type=3&theater

******************************************
 

พบตัวเลข ‘สุนัข-แมว ไม่มีเจ้าของ’ อปท.สำรวจต่ำกว่ากรมปศุสัตว์เป็นอย่างมาก

ทีมข่าว TCIJ | 23 ก.พ. 2563
 

ตั้งแต่ปี 2551 ไทยตั้งเป้ากำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2563 พบตัวเลข ‘สุนัข-แมว ไม่มีเจ้าของ’ จากการสำรวจของ อปท. มีเพียงหลักแสนตัว ส่วนกรมปศุสัตว์ประเมินไว้ 1.2-3.6 ล้านตัว ‘โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าปี 2563’ ตั้งเป้า 'ทำหมันสุนัข-แมว' ฟรี 120,000 ตัว ใช้งบประมาณ แค่ 27 ล้านบาท หรือแค่ 225 บาท/ตัว

พบว่าตั้งแต่ปี 2551 ประเทศไทยมีการตั้งเป้ากำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศ โดยจาก แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ระบุว่าปัญหาคนถูกสุนัขกัดในประเทศไทยนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ผู้ที่ถูกสุนัขกัดในแต่ละปีมีจำนวนเท่าใดไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในระบบที่ต้องรายงาน แต่จากข้อมูลผู้ถูกสุนัขกัดที่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี หากรวมผู้ที่ไปรับบริการจากสถานบริการของมหาวิทยาลัยและเอกชนด้วยแล้วประมาณการว่าน่าจะถึงปีละ 5 แสนคน ซึ่งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินสูงถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี นับว่าเป็นภาระที่รัฐบาลต้องนำเงินภาษีอากรมาใช้จ่ายเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก หากมีผู้ถูกสุนัขกัดและผู้ที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าลดลง ค่าใช้จ่ายที่ลดลงจะได้นำไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้มากมาย ผู้ที่มาขอรับบริการเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกสุนัขที่มีเจ้าของกัด มีบางรายถูกสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดแล้วไม่ได้รับการล้างบาดแผล และไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างถูกต้อง ทำให้ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้อย่างต่อเนื่องตลอดมา จากรายงานการสอบสวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าถูกลูกสุนัขอายุ 1-3 เดือน กัดแล้วไม่ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันเนื่องจากไม่คิดว่าลูกสุนัขจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ เช่นเดียวกับที่มีคนเข้าใจผิดคิดว่าโรคนี้เป็นเฉพาะฤดูร้อนเท่านั้น จึงไม่สนใจที่จะไปพบแพทย์เพื่อขอรับการฉีดวัคซีนเมื่อถูกสุนัขกัด

จากการสำรวจการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศไทยที่ผ่านมาพบว่าโรคนี้ยังเป็นปัญหาก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตคน สัตว์และเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน แผนยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นได้ทั้งในคนและสัตว์ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลการป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ โดยอาศัยพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เป็นแม่บท ส่วนกระทรวงสาธารณสุขดูแลการป้องกันควบคุมโรคในคน โดยอาศัยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 เป็น แม่บทโดยทั้งสองหน่วยงานจะต้องประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน

ประกอบกับในปี 2552 องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่าง ประเทศ (OIE) ได้ตกลงร่วมกันกำหนดเป้าหมายให้ประเทศที่มีอุบัติการณ์ของโรคจะต้องร่วมมือกันกำจัดโรคนี้ ให้หมดไปภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ยังคงพบโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงจำเป็นต้องเร่งรัดการป้องกันและควบคุ เพื่อให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไป ภายในปี 2563 จึงได้ทำแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคขึ้น เพื่อจะได้นำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องตามสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและนอกประเทศ [1]

ต่อมากรมปศุสัตว์ร่วมกับกรมควบคุมโรค จัดทำโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและส่งเสริมการเลี้ยงสุนัขที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้าและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสุนัขโดยไม่เป็นภาระต่อสังคม โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล เป็นศูนย์กลางในการรณรงค์ ตามแผนยุทธศาสตร์กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศภายในปี 2563 นี้ [2]

นอกจากนี้ไทยยังมี 'แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปี 2560-2563' ซึ่งมียุทธศาสตร์ฯ 8 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการระบบศูนย์พักพิงสัตว์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกัน และดูแลรักษาโรคพิษสุนัขบ้าในคน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรคพิษสุนัขบ้าในท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 การประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบูรณาการและการบริหารจัดการข้อมูลโรคพิษสุนัขบ้า ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการติดตามและประเมินผล และยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนานวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี [3]

ตัวเลข สุนัข-แมวจรจัดมีเท่าไรกันแน่?

พบตัวเลข ‘สุนัข-แมว ไม่มีเจ้าของ’ จากการสำรวจของ อปท. ต่ำกว่าตัวเลขของกรมปศุสัตว์เป็นอย่างมาก | ที่มาภาพประกอบ:  I'm home

ในปี 2561 ประมาณการว่าทั่วโลกมีสุนัขที่มีเจ้าของ 471 ล้านตัว แมวที่มีเจ้าของ 373 ล้านตัว [4] สำหรับประเทศไทยจากข้อมูล จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 โดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นข้อมูลการสำรวจครั้งล่าสุดของกรมปศุสัตว์ ระบุว่าไทยมีจำนวนสุนัขที่มีเจ้าของ 6,622,364 ตัว (แบ่งเป็นตัวผู้ 3,625,733 ตัว ตัวเมีย 2,996,631 ตัว) แมวที่มีเจ้าของ 2,541,009 ตัว (แบ่งเป็นตัวผู้ 1,293,921 ตัว ตัวเมีย 1,247,088 ตัว) มีครัวเรือนที่เลี้ยงสุนัขรวม 4,251,832 ครัวเรือน ครัวเรือนที่เลี้ยงแมว 2,402,326 ครัวเรือน [5]

สำหรับสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของนั้น ข้อมูลจาก จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 โดยกรมปศุสัตว์ ระบุว่ามีสุนัขไม่มีเจ้าของในกรุงเทพ 141,455 ตัว แมวไม่มีเจ้าของ 89,269 ตัว รวมทั้งประเทศมีสุนัขไม่มีเจ้าของ 758,446 ตัว แมวไม่มีเจ้าของ 474,142 ตัว รวมสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของทั่วประเทศ 1,232,588 ตัว [6]

และข้อมูลเมื่อปลายปี 2562 จากสื่อที่อ้างข้อตัวเลขจากกรมปศุสัตว์ระบุว่ามีสุนัขจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 2.6 ล้านตัว แมวจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 1 ล้านตัว รวมทั่วประเทศประมาณ 3.6 ล้านตัว [7]

ส่วนข้อมูลจากส่วนข้อมูลจาก แผนที่แสดงจำนวนสุนัข - แมว (ปี 2562 รอบที่ 1) สำรวจโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เข้าถึงข้อมูล ณ 22 ก.พ. 2563) ระบุว่าทั่วประเทศยกเว้นกรุงเทพฯ มีสุนัขไม่มีเจ้าของ 109,123 ตัว แมวไม่มีเจ้าของ 55,021 ตัว รวมสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของ 164,144 ตัว เท่านั้นซึ่งตัวเลขนี้ต่ำกว่าของกรมปศุสัตว์เป็นอย่างมาก

โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าปี 2563 ตั้งเป้า 'ทำหมันสุนัข-แมว' ฟรี 120,000 ตัว

เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย กรมปศุสัตว์ ได้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายสัตวแพทย์ทั้ง ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ สามารถผ่าตัดทำหมันสุนัข- แมวจรจัดหรือด้อยโอกาสได้ 282,845 ตัว แบ่งออกเป็น สุนัข 160,445 ตัว และแมว 122,400 ตัว ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจล่าสุดพบว่ามีสุนัขจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 2.6 ล้านตัว แมวจรจัดหรือด้อยโอกาสประมาณ 1 ล้านตัว รวมทั่วประเทศประมาณ 3.6 ล้านตัว

ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์มีเป้าหมายการผ่าตัดทำหมันสุนัข-แมวจรจัดหรือ ด้อยโอกาส รวม 3 แสนตัวต่อปี แต่ปริมาณสุนัข-แมวจรจัด ยังคงมีจำนวนมากและมีอัตราการเพิ่มจำนวนที่รวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมจำนวนสุนัข-แมวจรจัด มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้สั่งการให้ กรมปศุสัตว์จัดทำโครงการรณรงค์และเพิ่มเป้าหมาย การผ่าตัดทำหมันสุนัข-แมวจรจัดหรือด้อยโอกาส ในปีงบประมาณ 2563 จากเดิมเป้าหมาย 3 แสนตัว เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็น 6 แสนตัวทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงการให้บริการเพิ่มมากขึ้นและลดจำนวนสุนัข-แมวจรจัดได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น [8]

ข้อมูลจาก 'โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัข-แมว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563' ระบุว่ามีเป้าหมายทำหมันสุนัข 86,095 ตัว แมว 33,905 ตัว รวม 120,000 ตัว งบประมาณค่าวัสดุเวชภัณฑ์ 12 ล้านบาท ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ 15 ล้านบาท รวมงบประมาณ 27 ล้านบาท (เฉลี่ย 225 บาท/ตัว) มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2563 [9]

 https://www.tcijthai.com/news/2020/2/scoop/9923

ข้อมูลอ้างอิง
[1] แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ก.ย. 2552)
[2] ปศุสัตว์-สธ.จับมือองค์กรท้องถิ่นรณรงค์ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้านทั่วปท. (หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 10 ม.ค. 2553)
[3] แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปี 2560-2563 (สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 20 ก.พ. 2563)
[4] Number of dogs and cats kept as pets worldwide in 2018 (Emma Bedford, Statista, 12 Sep 2019)
[5] จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 (สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์, กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 18 ก.พ. 2563)
[6] จำนวนประชากรสุนัขและแมว ปี 2559 (สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์, กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 18 ก.พ. 2563)
[7] เฉลิมชัยสั่งปศุสัตว์ทำหมัน'หมา-แมว'จรจัดทั่วประเทศ (หนังสือพิมพ์คมชัดลึกฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2562)
[8] อ้างแล้ว
[9] โครงการประชารัฐร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัข-แมว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 20 ก.พ. 2563)

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คน กทม. อยากให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองปลอด ‘สุนัข-แมวจรจัด’
 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2560   
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2563 14:31:56 น.   
Counter : 28523 Pageviews.  

อัพเดทรายได้แพทย์ 2017 ... ที่มา กรธัช หัวใจ (รายได้หมอ รพ.รัฐเยอะขึ้น ที่ผมเคยอยู่ แต่ยังน้อย ?)





FB กรธัช หัวใจ

https://www.facebook.com/banphot.huajai/posts/608350866037994

อัพเดทรายได้แพทย์ 2017!!!!

1. แพทย์ทั่วไป(ไม่ได้จบเฉพาะทาง)
- โรงพยาบาลรัฐเฉพาะเงินเดือนและเงินเพิ่ม 40,000-60,000฿ (ได้จริง 20,000-30,000฿ ที่เหลือตกเบิกทุก 3-6เดือน) ทำงานจันทร์ถึงศุกร์ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
ค่าเวรโอที (บังคับอยู่เวรเพราะโรงพยาบาลต้องเปิด 24 ชั่วโมงทุกวัน) 300-1,200฿/8 ชั่วโมงหรือ 38-150฿/ชั่วโมง (ไม่ต้องขยี้ตา)
- โรงพยาบาลเอกชน การันตี เดือนละ 80,000-140,000฿ ทำงาน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
ค่าเวรโอที (ไม่บังคับ) 400-800฿/ชั่วโมง
- คลินิกตรวจบัตรทอง 400-550฿/ชั่วโมง
- คลินิกความงาม (ไม่มีประสบการณ์ สอนให้ได้)
ทำงาน 12.00-20.00 น. 6 วันต่อสัปดาห์การันตี 100,000-140,000฿/เดือน ค่าคอมต่างหาก
เวรโอทีสำหรับคนมีประสบการณ์ 600-900฿/ชั่วโมง
หรือเหมาจ่ายสำหรับฟรีแลนซ์ 5000-6,000฿/ 8ชั่วโมง

2. แพทย์เฉพาะทาง(ตามแต่สาขา)
2.1 อายุรกรรมทั่วไป(หมอผู้ใหญ่) หรือหมอเด็กทั่วไป
- โรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ 40,000-60,000฿ อาจมีบังคับเวรโอทีน้อยนิด ส่วนมากจะเป็นโอฟรี (ทำเพื่อการกุศล)
- โรงพยาบาลเอกชนการันตี 160,000-250,000฿/เดือนทำงาน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ โอที 650-1,000฿/ชั่วโมง
- ตอนนี้มีหมอรับจ้างประจำด้วย คือไม่ได้บรรจุข้าราชการ แต่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์จะได้เงินเดือน 40,000-80,000฿ หมอบางคนไม่ชอบโรงพยาบาลเอกชนแต่ถ้าบรรจุราชการแล้วรับเงินเดือนอย่างข้าราชการก็จะไม่พอสำหรับเลี้ยงชีพครอบครัว(อย่าลืมว่ากว่าหมอจะเรียนจบเฉพาะทางใช้เวลารวมใช้ทุน 11-13 ปี พ่อแม่แก่พอดี ในขณะที่เพื่อนๆ เรียนอาชีพอื่น แค่ 4 ปี จบทำงานเลยไม่ต้องขอตังพ่อแม่)

2.2 อายุรกรรมเฉพาะทางหรือหมอเด็กเฉพาะทาง
- โรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ ได้เงินเดือนตามฐานเงินเดือน รายได้ไม่ต่างกันในแต่ละสาขาและไม่ได้ปรับสูงกว่าอายุรกรรมทั่วไปหรือหมอเด็กทั่วไปที่ได้มากกว่าก็เพราะอายุงานมากกว่าและค่าตำแหน่งบริการและฝ่ายวิชาการเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย
- โรงพยาบาลเอกชน รายได้แตกต่างกันตามสาขา สาขาที่เป็นโรคยากๆหัตถการเยอะ เช่น
หัวใจ หรือทางเดินอาหาร การันตีที่ 250,000-350,000฿/เดือน ทำงาน 45 ชั่วโมง/สัปดาห์
สาขาระบบประสาท ไต และ ปอด การันตีที่ 200,000-250,000฿/เดือน 45 ชั่วโมง/สัปดาห์หมอไตจะมีค่าดูแลคนไข้ฟอกไตด้วย
สาขาอื่นๆ 180,000-250,000฿/เดือน 45 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือจะทำงานเป็นฟรีแลนซ์รายชั่วโมงก็ได้ 800-1,000฿/ชั่วโมง
- คลินิกความงาม เฉพาะจบสาขาผิวหนัง (ต้องเรียนต่างหากอีก 4-7ปี ไม่รวมเรียนหมอ 6 ปี) การันตีที่ 250,000-300,000฿/เดือน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
- โอที ส่วนมาก 650-1,200฿/ชั่วโมง ตามแต่สาขา
- เวรดึก 4,000-8,000/10-12 ชั่วโมง

3. ศัลยกรรมทั่วไป(หมอผ่าตัด)และสูตินรีเวช(ทำคลอด)
การันตี 220,000-350,000฿ ต่อเดือนในเอกชนซึ่งบางท่านที่ผ่าตัดเยอะๆ อาจจะมีรายได้สูงถึง 1,000,000฿/เดือน
แต่สำหรับโรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ รายได้เหมือนหมอข้อ 2.เอาง่ายๆ ไม่ถึงแสนบาท เว้นแต่ออกไปเปิดคลินิกเองหรือรับจ็อบโรงพยาบาลเอกชนนอกเวลาทำงานราชการ
- ค่าเวรโอทีการันตีที่ 650-1,000฿/ชั่วโมง
- ค่าเวรดึก 4,000-8,000฿/10-12 ชั่วโมง
ส่วนมากจะเกินการันตี

4. หมอกระดูกและหมอผ่าสมอง
รายได้ในโรงพยาบาลรัฐพอๆ กับข้อ 2 และ 3
แต่รายได้ในโรงพยาบาลเอกชนส่วนมากเกินการรันตี มากกว่า 300,000฿/เดือน
เพราะคนไทยเกิดอุบัติเหตุบ่อย มีค่ารักษาจาก พรบ.ที่เต็มที่ 30,000-80,000฿
(ยิ่งอุบัติเหตุมากเท่าไร ยิ่งได้กำไรมากเท่านั้น(ต้องไม่ตายคาที่นะ) ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน)

5. หมอตาและหูคอจมูก
มักทำงานในเวลาเนื่องจากภาวะฉุกเฉินนอกเวลางานจะเป็นหมอศัลยกรรมหรืออายุรกรรมดูแลก่อนเบื้องต้น
รายได้ตามชั่วโมงทำงาน
ตกชั่วโมงละ. 650-1,000฿ /ชั่วโมง
มีค่าหัตถการและผ่าตัดที่เพิ่มเติม

สำหรับหมอสาขาอื่นๆที่ไม่ได้ตรวจคนไข้โดยตรง เช่น รังสีแพทย์ พยาธิแพทย์ รายได้ตามชั่วโมงทำงานเหมือนข้อ 5.

อย่างไรก็ดี....
แพทย์ 1 คนกว่าจะทำงานได้ต้องเรียนมากกว่าคนอื่น นานกว่าอาชีพอื่นๆ
และแพทย์บางสาขาก็ทำงานได้จำกัดอายุ
ยิ่งอายุมากขึ้น ข้อจำกัดในการทำงานก็มากขึ้น
หรือแม้แต่หมอผู้หญิง ก็จะเริ่มมีครอบครัวตอนจบเฉพาะทางแล้วเริ่มมีลูก ต้องดูแลลูกและงานบ้าน ก็ต้องเลือกทำงานที่มีเวลาให้ครอบครัว ไม่รับงานดึกไม่รับงานที่ทำทุกวัน

และมีหมออีกไม่น้อยที่รู้สึกได้ว่า มีหลายอาชีพที่ทำเงินได้มากกว่าการเป็นหมอ

หมอ ได้เงินเยอะเพราะมีเวลา 24 ชั่วโมงให้ทำเท่าที่ทำไหวจึงได้รายได้เยอะ
ถ้าไม่ทำ หรือทำน้อย ก็ได้รายได้น้อยหรือไม่ได้เลยแม้แต่บาทเดียว

มีหลายอาชีพ เช่น หุ้นนักลงทุนทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ เจ้าของธุรกิจ หรือแม้แต่นายหน้าก็ทำเงินได้มากเหมือนกัน
อย่างเพื่อนหมอเอาเศษผ้าโรงงานนี้ขนไปขายอีกโรงงานนึงทำเดือนละครั้งได้หลายหมื่นบาท
พี่ที่รู้จักเอาของจากที่นึงไปกระจายขายทั่วภาคใต้ มีรายได้ปีละ 20ล้านบาท
วันๆ ไปทำบุญตรงนั้นตรงนี้

สิ่งที่ต้องเห็นใจหมอโรงพยาบาลรัฐ
ทำไมเขาถึงลาออกมาทำงานฟรีแลนซ์หรืออยู่ประจำโรงพยาบาลเอกชน
ก็เพราะรายได้ที่แตกต่างกันมากๆ หนึ่ง
อีกสาเหตุคือ เวรบังคับ ทำให้ขาดอิสระในการเลือกใช้ชีวิต
ยิ่งยุคหลังๆ หมอจบใหม่เป็นคนเจนเนอเรชั่นวายที่ไม่ยึดติดตำแหน่งหรือความก้าวหน้าในอนาคต
แต่ขอให้มีความสุขในการใช้ชีวิตและการทำงานในปัจจุบัน
ยิ่งเห็นคนไข้เห็นแก่ได้หรือเห็นแก่ตัว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทนทำงานเพื่ออุดมการณ์ที่ปลูกฝังกันมายาวนาน
แต่ที่ทำกันได้ถึงทุกวันนี้
ก็เพราะมีหมอรุ่นพี่รุ่นน้องและมีคนไข้ซื่อๆ ให้รักษาสร้างบรรยากาศการทำงานที่ไม่อยากหนีไปไหน

หมออาชีพที่ได้เงินด้วยและได้บุญด้วย
แม้ว่าผมอาจจะได้ไปรวยจากอาชีพอื่น ผมก็ยังจะทำงานหมอต่อไป

หมอเอ้

ป.ล.1 หมอที่คุมงบบัตรทอง ได้เงินเดือน200,000฿ ค่าเบี้ยประชุมครั้งละ 12,000฿ น่าเป็นที่สุดครับตอนนี้

ป.ล. 2 เวลาแพทย์ถูกคนไข้ฟ้องร้อง ก็เริ่มต้น 2 ล้านบาท มีพี่ของเพื่อนต้องขายคอนโดและรถยนต์ เงินเก็บหมดเครียดกันทั้งบ้าน เพราะตอนที่ศาลตัดสินกำลังเรียนเฉพาะทาง รายได้แค่ 2 หมื่นบาทต่อเดือน (7 ปี ก่อน)

ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจากประกาศรับสมัครแพทย์ในเวปไซต์และสุ่มโทรสอบถามในจังหวัดใหญ่ๆเรตที่สูงมักมาจากความต้องการแพทย์เร่งด่วน


....................

แถม

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-11-2016&group=7&gblog=207

ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61








 

Create Date : 17 มกราคม 2560   
Last Update : 17 มกราคม 2560 16:03:19 น.   
Counter : 7903 Pageviews.  

เทศกาลปีใหม่ 2560 ตายเจ็บเพียบ สูงสุดในรอบ 10 ปี .. รอลุุ้นสงกรานต์ อีกรอบ ?



เทศกาลปีใหม่ ตายเจ็บเพียบ สูงสุดในรอบ 10 ปี ??

ยอด 7 วันอันตรายปีใหม่ ตายพุ่ง 478 ศพเพิ่มจากปีก่อน ชลบุรีครองแชมป์ดับ

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_171256

สรุปผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่พ.ศ.2560 กล่าวว่า ปภ.ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนน ของการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร”

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน วันที่ 29ธ.ค.59-4 ม.ค.60 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,919 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 478 รายผู้บาดเจ็บรวม 4,128 คน

(สถิติอุบัติเหตุทางถนนปีใหม่ช่วง 7 วันที่29 ธ.ค.58-4 ม.ค.59 ที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุรวม 3,379 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 380ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,505 คน )

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่เมาสุรา ร้อยละ 36.59 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 31.31

ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.82 รถปิคอัพ ร้อยละ 8.00 รวมถึงผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ69.15

ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.78ถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 36.92 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.49

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่เวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 29.24

ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานร้อยละ 52.22

จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต(ตายเป็นศูนย์) มี 4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง และสตูล

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่อุดรธานี และเชียงใหม่ 152 ครั้ง

จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ชลบุรี 33 ราย

จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่เชียงใหม่ และอุดรธานี 164 คน

นายสุธี กล่าวว่า ทั้งนี้ ในช่วง 7 วันเรียกตรวจยานพาหนะรวม 4,419,430 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี 727,438 รายสำหรับข้อมูลปริมาณรถของศูนย์ปฏิบัติการคมนาคมพบว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 29ธันวาคม 2559-4 มกราคม 2560 มีปริมาณรถบนท้องถนนทั้งขาเข้าและขาออกกรุงเทพฯ จำนวน11,053,835 คัน เมื่อเทียบกับช่วงปกติ มีปริมาณรถ 8,765,808 คัน เพิ่มขึ้น จำนวน2,288,027 คัน คิดเป็นร้อยละ 26.10 จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ต้องให้กำลังใจข้าราชการทุกภาคส่วนทั้งตำรวจ ทหาร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครองและอาสาสมัครทั้งหมด โดยตลอด 7 วันอันตรายเราใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมด กว่า4,700,000 คนโดยมียานพาหนะที่สัญจรไปมาในช่วงดังกล่าวประมาณ 11 ล้านคันซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากจึงเป็นสัดส่วนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุค่อนข้างมากด้วย

ซึ่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ประสานให้จังหวัดยึด 5เสาหลักตามแนวทางทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนเป็นกรอบในการดำเนินงานครอบคลุมทั้งการวางกลไกการบริหารจัดการอุบัติเหตุทางถนนที่เป็นระบบการยกระดับการสัญจรและยานพาหนะที่ปลอดภัย การสร้างจิตสำนึกและวินัยจราจรในกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนและการจัดการหลังเกิดอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนนโดยเฉพาะการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับรถเร็ว เมาแล้วขับและอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ การกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและการส่งเสริมการคาดเข็มขัดนิรภัยในผู้โดยสารทุกที่นั่งเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ทันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2560พร้อมเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญขอให้จังหวัดสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2560ถอดบทเรียน วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงรวมถึงสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนภารกิจการสร้างความปลอดภัยทางถนนในระดับพื้นที่

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วง 7 วันอันตราย เทศกาลปีใหม่

ปี

อุบัติเหตุ

ผู้เสียชีวิต

ผู้บาดเจ็บ

2552

3,824

367

4,107

2553

3,534

347

3,827

2554

3,497

358

3,750

2555

3,093

335

3,375

2556

3,176

365

3,329

2557

3,174

366

3,345

2558

2,997

341

3,117

2559

3,379

380

3,505

2560

3,919

478

4,128


สำหรับตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดกำแพงเพชรช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 สะสม 7 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2559 ถึง วันที่ 4มกราคม 2560 ศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จังหวัดกำแพงเพชรรายงานว่า

มีผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนทั้งสิ้น 21ครั้ง มีผู้เสียชีวิตจำนวน 8 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 18 ราย

มีสาเหตุหลักมาจากขับขี่เกินความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดหลับใน ตัดหน้ากระชั้นชิด

มีการเรียกตรวจยานพาหนะทั้งสิ้น 99,961 คัน มีการดำเนินคดีทั้งสิ้น 9,270 ราย โดยส่วนใหญ่มีความผิดไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และไม่มีใบขับขี่ ซึ่งพบมากที่สุดใน อำเภอเมืองอำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอพรานกระต่าย

ปล. จ.กพ สาเหตุของอุบัติเหตุ ... ไม่มีเมาแล้วขับ ???

ช่วงเทศกาลปีใหม่ สถิติอุบัติเหตุทางถนนทำลายสถิติ สูงที่สุดในรอบ ๑๐ ปี เราก็ต้องมาลุ้นกันว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีการทำลายสถิติอุบัติเหตุทางถนน คนตายคนเจ็บ ด้วยหรือเปล่า?

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์

ปี

อุบัติเหตุ

ผู้เสียชีวิต

ผู้บาดเจ็บ

2557

2,992

322

3,225

2558

3,373

364

3,559

2559

3,447

442

3,656




 

Create Date : 06 มกราคม 2560   
Last Update : 6 มกราคม 2560 12:49:03 น.   
Counter : 1148 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]