Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คำเตือน ผู้ที่มีความประสงค์จะไปเรียน แพทย์ ในต่างประเทศ .. เวบแพทยสภา



//www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=632&id=1


คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่มา/ผู้ประกาศ : ประชาสัมพันธ์
วันที่ : 18 มิ.ย 2555

คำเตือน

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ด้วยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจำนวนมาก แพทยสภาขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน แพทยสภามีมติรับรองหลักสูตร6ปีที่มีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกเฉพาะที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น

นักศึกษาต้องยื่นเรื่องให้แพทยสภารับรองหลักสูตรและสถาบันเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักศึกษามีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้

การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ เป็นการรับรองเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านปรีเมด ปรีคลินิก คลินิก และชั่วโมงเรียนรวมเป็นจำนวนหน่วยกิต โดยเทียบเคียงกับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมไปถึงการบริหารจัดการของสถาบัน

แพทยสภาจึงขอเตือนผู้ที่จะไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับทราบถึงปัญหาการเรียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจและเตรียมตัวต่อไป ดังนี้

  1. การเรียนระดับปรีเมด ปรีคลินิก เป็นการบรรยายและฝึกปฎิบัติในห้องเรียนส่วนใหญ่ ต่างกับการเรียนหลักสูตรของประเทศไทยที่สอนผสมผสานสอดคล้องกับวิธีการประเมินขั้นตอนที่ 1 ของแพทยสภา นักศึกษาจะมีความยากลำบากในการสอบขั้นตอนนี้

  2. โรงพยาบาลทุกระดับใช้ภาษาจีนในการสื่อสารทั้งการอ่านการเขียนและเจรจาโดยเฉพาะคนไข้ ญาติ แพทย์พยาบาลที่ดูแลประจำหอผู้ป่วย แม้มีล่ามช่วยแปลก็ตาม ทำให้เรียนไม่เข้าใจต้องลาออกกลางทาง หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคลินิกเพียงพออาจทำให้ไม่สามารถสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทยได้ นอกจากนั้นระบบเวชระเบียน ใบสั่งยาเกี่ยวกับคนไข้เป็นภาษาจีนทั้งหมดด้วย

  3. นักศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้แตกฉานเรื่องภาษาจีนในช่วงระดับคลินิกซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มมากกว่าในหลักสูตรทั่วไป

  4. ปัจจุบัน นักศึกษากำลังศึกษาในระดับปีแรกๆที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงสิบคนที่เริ่มขึ้นชั้นคลินิกและพบปัญหาการเรียนดังกล่าวจนต้องลาออก

  5. ผลการประเมินขั้นตอนที่1 ของแพทยสภาสำหรับนักศึกษาที่มีสิทธิสมัครสอบทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์

  6. ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องประเมินตนเองให้มากที่สุดก่อนการตัดสินใจ เพราะการเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยในประเทศไทยจำเป็นต้องสอบผ่านได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อน ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับแพทย์ทุกคนทั้งที่จบในประเทศไทยหรือต่างประเทศ



//www.tmc.or.th/news06.php

เรียน ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ

     เนื่องจากแพทยสภาได้ออกประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ที่ 42 /2548 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 เรื่องการยกเลิกการรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ที่แพทยสภารับรองมาแล้วเกินกว่า 5 ปี สำหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม มายังท่านเพื่อทราบ ตามหนังสือที่ พส. 021/1178 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2550 แล้ว และ แพทยสภาได้ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ พ.ศ. 2550 ใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาที่มีความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องยื่นคำขอให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมทั้งหลักฐานมาตรฐานหลักสูตรและสถาบันการผลิตแพทย์

     ในการนี้ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาให้ท่านแจ้งผู้มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศได้ทราบในเรื่องดังต่อไปนี้

1. แพทยสภาได้ยกเลิกการรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ที่
แพทยสภารับรองมาเกินกว่า 5 ปี ทั้งหมดแล้ว

2. ในกรณีที่หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศไม่ได้รับการ
รับรองจากแพทยสภา นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ดังกล่าวจะขาดคุณสมบัติที่จะสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

3. นักศึกษาผู้มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ ขอให้ติดต่อ
ฝ่ายสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา โทรฯ 02-590-1880 กด 420, 430 เพื่อขอทราบข้อมูลและ
ยื่นคำขอให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้เรียบร้อยก่อนการตัดสินใจ

คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 8/2550 วันที่ 9 สิงหาคม 2550
มีมติไม่รับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตของสถาบัน Bicol Christian College of Medicine ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2550


คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 9/2551 วันที่ 11 กันยายน 2551 มีมติไม่รับรองหลักสูตรแพทย์ศาสตรบัณฑิตของสถาบัน University of Perpetual Help-Dr.Jose G.tamayo Medical University ประเทศฟิลิปปินส์

......................................................................................





//www.tmc.or.th/news06_1.php


ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตร์ ในต่างประเทศ

รายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง(มีอายุการรับรอง 5 ปี)


เรียน ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ

           ตามที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาได้ออกประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาที่42/2548 เรื่อง การยกเลิกการรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ที่แพทยสภารับรองมาแล้วเกินกว่า 5 ปี สำหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไปแล้ว และแพทยสภาได้ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ในต่างระเทศ พ.ศ. 2550 ใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาที่มีความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องยื่นคำขอให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมทั้งหลักฐานหลักสูตรและสถาบันการผลิตแพทย์

           ในการนี้ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาขอแจ้งให้ผู้ที่มีความประสงค์ จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ โปรดติดต่อ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนและรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินทางไปศึกษา ทั้งนี้หากท่านเดินทางไปศึกษาก่อนที่แพทยสภาจะรับรองมาตรฐานหลักสูตร โรงเรียนแพทย์ นั้นๆ อาจไม่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา ซึ่งจะทำให้ท่านไม่สามารถมาเป็นแพทย์ฝึกหัด และสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้

           อนึ่งคนไทยส่วนใหญ่ ที่ไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ มักเลือกเรียนชั้นปีที่ 4 ในประเทศไทย เช่น ที่โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ฯลฯ ในอนาคต อาจพบปัญหาไม่สามารถรับเข้าเรียนได้ หรือรับน้อยลง เนื่องจากสถาบันเหล่านี้ รับเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ให้กับคณะแพทยศาสตร์ ของรัฐ ประกอบกับไม่มีสัญญาผูกพันในการรับนักศึกษาแพทย์ไทยที่ไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในจากต่างประเทศเข้าเรียน

           ทั้งนี้ ผู้ที่ไปเรียนวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ ถ้ามีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งการสอบเป็นการสอบรวมทั้งภาครัฐ เอกชน และต่างประเทศ ใช้ข้อสอบเดียวกัน โดยการสอบแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

           ประเภทการสอบ
           ขั้นตอนที่ 1 หมวดวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์
           ขั้นตอนที่ 2 หมวดวิทยาศาสตร์ทางคลินิก
           ขั้นตอนที่ 3 หมวดทักษะและหัตถการทางคลินิค "รายละเอียดตาม www.cmathai.org"

           ดังนั้น ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ โปรดติดต่อสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรให้เรียบร้อยก่อนที่จะไปศึกษาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้



ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตร์ ในต่างประเทศ

1. เขียนคำร้องให้รับรองสถาบัน  ดาวน์โหลดเอกสาร
พร้อมแนบเอกสารดังนี้
     1.1. สำเนาบัตรประชาชน
     1.2. สำเนาหลักฐานว่าสำเร็จการศึกษาก่อนสมัครเข้าเรียนแพทย์ (Transcript ที่มี GPA)
     1.3. หลักฐานการตอบรับเข้าศึกษาจากสถาบันการแพทย์
2. ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนเพื่อรับรองหลักสูตร 10,100 บาท


แพทยสภาส่งจดหมายถึง Dean  พร้อมแนบแบบฟอร์ม
Information sheet of Foreign Medical School


Dean  ตอบจดหมายกลับมาพร้อมแนบแบบฟอร์ม
Information sheet of Foreign Medical School
(ใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน)


แพทยสภาส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการพิจารณารับรอง
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ


คณะอนุกรรมการพิจารณารับรองหลักสูตรพิจารณาเสร็จ
แล้วส่งเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการ


คณะกรรมการแพทยสภา
มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง พฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน


......................................................................................


การยื่นเรื่องให้รับรองหลักสูตรและสถาบันแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศเป็นรายบุคคล สำหรับผู้มีสัญชาติไทย(*กรุณาอ่านข้อมูลด้านล่างให้ครบถ้วน)เพื่อให้มีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

//tmc.or.th/news06_1.php

ประกาศการรับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากต่างประเทศเข้ารับการฝึกปฏิบัติงานหลังปริญญาในฐานะแพทย์ฝึกหัด ประจำปี 2560 รอบพิเศษ (หมดเขตไปแล้ว )

//tmc.or.th/detail_news.php?news_id=987&id=4




Create Date : 14 กรกฎาคม 2555
Last Update : 27 สิงหาคม 2560 16:09:18 น. 1 comments
Counter : 6829 Pageviews.  

 
ถามอากู๋ว่า " เรียนแพทย์ต่างประเทศ แพทยสภา "
ได้คำตอบมาเพียบ เลือกมาให้ลองอ่านดู .. สงสัยอะไร ไม่แน่ใจ สอบถามแพทยสภา โดยตรง ดีที่สุด

//tmc.or.th/news06_1.php

//www.tmc.or.th/news06.php

//www.tmc.or.th/service_law02_18.php

https://www.facebook.com/themedicalcouncil/photos/?tab=album&album_id=341630715963990

//visitdrsant.blogspot.com/2015/09/blog-post.html

//visitdrsant.blogspot.com/2015/03/2.html

คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน .. เวบแพทยสภา

//www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=632&id=1

มุมมองแพทยสภา-การเรียนแพทย์ที่จีน

https://youtu.be/0tmZ4kj_FtY

คิดสักนิดก่อนมาเรียนแพทย์ที่จีน

https://docjin.wordpress.com/


โดย: หมอหมู วันที่: 29 กรกฎาคม 2559 เวลา:17:19:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]