Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เก็บตก งานเสวนา หัวข้อ " มุมมองประชาสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ "



เก็บตก ความคิดเห็นของผมที่เสนอในงานเสวนา หัวข้อ " มุมมองประชาสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ "  เมื่อวันที่ ๓๐กย.๖๓  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

***** ความหมาย ‘ประชาสังคม’ (civil society) จะมีความหมายที่แปรเปลี่ยนและถูกใช้อย่างแตกต่างกันไปตามบริบทแวดล้อม
ประกอบด้วย สามส่วน
1. ประชาชน บุคคลหรือกลุ่ม  บางครั้งใช้คำว่า “ภาคที่สาม” (third sector) แทน ซึ่งหมายถึง ภาคที่ไม่ใช่รัฐบาลและธุรกิจ หรือ พรรคการเมือง หากแต่เป็นภาคอิสระ (independent sector) กลุ่ม อินดี้ หรือ ภาคประชาชน  
- NGO (non-goverment organization) ซึ่งอาจรู้สึกในทางลบ จึงมีผู้ใช้คำว่า NPO (non-profit organization) แทน

2. มีเป้าหมาย ความเชื่อ ทำกิจกรรม ร่วมกัน (ร่วมคิด ร่วมทำ) อย่างสมัครใจ
ในเชิงพัฒนา สร้างสรรค์ ทำประโยชน์

3. ผลลัพท์ เพื่อ สังคม สาธารณะ (ไม่ใช่เพื่อตนเอง-ครอบครัว) ไม่แสวงหาอำนาจ ไม่แสวงหากำไร

***** การเปลี่ยนแปลง
อดีต  เริ่มด้วย รัฐ (ราชการ) ให้การสนับสนุน กลุ่มใหญ่ (เน้นเป็นพื้นที่ ทั้งจังหวัดหรือประเทศ) เป้าหมายความต้องการของราชการ
ปัจจุบัน เริ่มด้วย ประชาชน กลุ่มเล็ก เน้นประเด็น เป้าหมายตอบสนองความต้องการเฉพาะประเด็น ไม่จำกัดด้วยพื้นที่(สถานที่) ใช้สื่อสังคมออน์ไลน์

***** รัฐบาล บทบาทต่อ ประชาสังคม
เป็นได้ทั้ง การส่งเสริม สนับสนุน ใช้ประโยชน์ หรือ ทำลาย ขึ้่นอยู่กับ ความต้องการ เหมือนหรือต่างกัน (อุดมการณ์ร่วม เป้าหมายร่วม ประโยชน์ร่วม)
ถ้าเป้าหมายเหมือนกัน ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย รัฐบาลก็จะส่งเสริม สนับสนุน  แต่ ถ้าเป็นการต่อต้านก็อาจทำลายหรือทำให้แตกแยก เช่น การใช้กฏหมายมาควบคุม
อาจแบ่งรูปแบบ ประชาสังคม เป็นแบบ ต้านรัฐ ร่วมรัฐ พึ่งรัฐ

***** ปัจจัยหนุนเสริม หรือ ขัดขวาง
1. ภายในกลุ่ม สมาชิก + กิจกรรม + ผล   โดยเฉพาะเรื่อง แนวคิดการทำงาน เป้าหมาย ความเชื่อ และ เงิน
2. ภายนอก เช่น
- ผู้บริหาร ภาคราชการ อปท. ว่ามีแนวคิดอย่างไร ถ้าเข้าใจ เปิดพื้นที่ให้พูดคุยปรึกษา ก็ช่วยเสริมกัน
- สื่อ ปชส. ให้สาธารณะชนได้เข้าใจภาคประชาสังคม รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริง ซึ่งจะส่งผลต่อ ความสนับสนุน

***** ตัวอย่าง
1. ระดับประเทศ เช่น อสม.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ กลุ่มชมรมที่ขึ้นด้วย อาสา
2. ระดับจังหวัด เช่น ศพม. ศปจ. สวัสดิการสังคม สภาเกษตร รักบริสุทธิ์( pure love ) ศิลป์ในสวน รักษ์กำแพง ตลาดย้อนยุคนครชุม

***** แนวโน้ม
จำนวนกลุ่มเพิ่มขึ้น แต่ จำนวนสมาชิกในกลุ่ม น้อยลง
กลุ่มที่ร้องเรียน ปัญหาความเดือดร้อน มากขึ้น แต่ กลุ่มที่สร้างสรรค์ น้อยลง

***** ลักษณะของประชาสังคมที่ดี
- เป้าหมายชัดเจน เกิดขึ้นจากความต้องการของ ตนเอง - กระบวนการจัดการ อย่างสร้างสรรค์ พัฒนา
- อิสระ (อินดี้) ไม่พึ่งพิงรัฐหรือเอกชนมากเกินไป
- ประสาน เชื่อมโยง สร้างเครือข่าย  เช่น ราชการ-เอกชน-วิชาการ(เช่น มรภ.กพ)-สื่อ
 
***** ทิศทางการขับเคลื่อน
- ประชาสังคม ไม่เกี่ยวกับ อายุ ฐานะ อาชีพ นักศึกษาก็ทำกิจกรรมประชาสังคมได้ เช่น สโมสรนักศึกษา ออกค่ายพัฒนาชุมชน
- ความสนใจ เปิดพื้นที่ และ เชื่อมโยง กับ ราชการ วิชาการ

***** การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
- เปิดพื้นที่ เปิดเวที พูดคุยเจรจา
- ข้อมูล ข้อเท็จจริง
- แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง
- เปิดใจ แก้ไขด้วย ความรัก
- เน้นผลประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน (สาธารณะ)

***** ข้อคิดก่อนกลับบ้าน
1. อยากทำอะไรที่คิดว่า ดี  ลงมือทำเลย ไม่ต้องรอ  ทำเท่าที่เราทำได้ ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น
2. การเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องมีผลกระทบ ถ้าอยากเปลี่ยน ก็ต้องยอมรับผลที่จะตามมา
ต้องคิดก่อนทำ แล้วว่า ผลกระทบที่แย่ที่สุด คืออะไร และ เรายอมรับได้ หรือไม่ ?
3. งานประชาสังคม เป็น งานอาสา (งานบุญ) ผลตอบแทนคือความสุขใจ .. ดังนั้น ถ้าทำแล้ว เบียดเบียนตนเองครอบครัว ทำแล้วทุกข์มาก ก็ไม่ควรทำ

******************************************
คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.กพ.
https://www.facebook.com/HusoKpru/posts/2881799088587418
  ·
📣วันที่ 30 กันยายน 2563 เวลา 13.00-16.00 น.  ณ ห้องประชุมพุทธชาด ชั้น 2 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
👉โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดงานเสวนา หัวข้อ มุมมองประชาสังคมไทย ในศตวรรษที่ 21
ซึ่งได้รับเกียรติท่านวิทยากร
⭐️ดร.สุรศักดิ์ บุญเทียน ประธานโปรแกรมวิชาการพัฒนาสังคม
⭐️นายแพทย์พนมกร  ดิษฐสุวรรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญออร์โธปิติกส์ อาชีวเวชกรรม เวชศาสตร์การกีฬา
🔰จัดโดย นักศึกษาโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ชั้นปีที่ 3
📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://huso.kpru.ac.th/h-publicad/?page_id=80
...
🍀#https://www.kpru.ac.th🍀
🍀#https://huso.kpru.ac.th🍀
🍀#https://huso.kpru.ac.th/h-publicad/🍀

****************************************************




Create Date : 01 ตุลาคม 2563
Last Update : 1 ตุลาคม 2563 15:37:10 น. 0 comments
Counter : 1866 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณnewyorknurse


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]