Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

รพ.ชลบุรี จัดระบบคัดกรองห้องฉุกเฉิน ‘คนไข้-หมอ’ ปลอดภัย ลดเจ็บ ตาย 2P Safety




โรงพยาบาลรัฐ ที่เคยเกิดปัญหา วัยรุ่นตีกันยิงกันในห้องฉุกเฉิน .. ก็ลองศึกษา เผื่อนำไปปรับใช้บ้าง ..บางทีก็จำเป็นต้องลงทุนเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ร.พ.
“ 2P Safety "
P ตัวแรกคือ Patient หมายถึง ผู้ป่วย ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา และปลอดภัย
P ตัวที่สอง คือ Personal บุคลากรในโรงพยาบาลเองก็รู้สึกปลอดภัยในขณะทำการรักษา และปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ เริ่มจากให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทำประตูเซ็นเซอร์และไม้กั้นอัตโนมัติ และมีเครื่องสแกนโลหะและอาวุธที่หน้าห้องฉุกเฉินขึ้น

https://www.hfocus.org/content/2017/09/14571

‘รพ.ชลบุรี’ จัดระบบคัดกรองห้องฉุกเฉิน ‘คนไข้-หมอ’ ปลอดภัย ลดเจ็บ ตาย

รพ.ชลบุรีจัดระบบป้องกันความเสี่ยง 2P Safety เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาล หรือ “คนไข้-หมอ ปลอดภัย ลดเหตุเจ็บ ตาย ระหว่างรักษา”

นพ.ภานุวงส์ แสนสำราญใจ

นพ.ภานุวงส์ แสนสำราญใจ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกผู้ป่วยทำร้ายในหลาย ๆ โรงพยาบาล จนบาดเจ็บและเสียชีวิต ทำให้ทางกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและทางผู้บริหารหาแนวทางป้องกันในการไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น ภายใต้หลักการ 2P Safety โดย P ตัวแรกคือ Patient หมายถึง ผู้ป่วย ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา และปลอดภัย ขณะที่ P ตัวที่สอง คือ Personal บุคลากรในโรงพยาบาลเองก็รู้สึกปลอดภัยในขณะทำการรักษา และปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ เริ่มจากให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทำประตูเซ็นเซอร์และไม้กั้นอัตโนมัติ และมีเครื่องสแกนโลหะและอาวุธที่หน้าห้องฉุกเฉินขึ้น

นพ.คุณากร วงศ์ทิมารัตน์

นพ.คุณากร วงศ์ทิมารัตน์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า ห้องฉุกเฉิน คือส่วนที่มีโอกาสเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์มากที่สุด เนื่องจากต้องรองรับทั้งผู้ป่วยวิกฤติในเวลาปกติและผู้ป่วยหลังเวลาราชการ จึงมักเกิดภาวะห้องฉุกเฉินล้นเกิน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ป่วยที่รอรับรักษานานจนเกิดเหตุกระทบกระทั่งกัน

แนวทางแก้ไขที่โรงพยาบาลนำมาใช้ เริ่มจากการจัดทำระบบคัดแยกผู้ป่วย โดยอ้างอิง ตาม ESI (Emergency Severity Index) และปรับเป็น CSI (Chonburi Severity Index) โดยจะใช้แนวทางเดียวกันทั้งโรงพยาบาล แบ่งผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนเป็น 5 กลุ่ม

1.ฉุกเฉินวิกฤติ

2.ฉุกเฉินเร่งด่วน

3.ฉุกเฉินมาก

4.ฉุกเฉินไม่เร่งด่วน

5.ไม่ฉุกเฉิน

และในเวลานอกราชการ โรงพยาบาลได้เปิดห้องตรวจโรคทั่วไปแยกออกจากบริการห้องฉุกเฉินถึงเที่ยงคืนทุกวัน เนื่องจากบริบทของคนชลบุรี ทำงานโรงงานอุตสาหกรรมบางครั้งต้องรอเลิกงานค่ำจึงจะสามารถมาพบแพทย์ได้ และเพื่อให้ผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินเป็นกลุ่มที่ฉุกเฉินจริง เพื่อที่ทีมแพทย์และบุคลากรจะได้มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

นพ.คุณากร กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลชลบุรียังได้กำหนด Patient Safety Goal เป็นนโยบายความปลอดภัยของโรงพยาบาล โดยอ้างอิงจาก SIMPLE ของ สรพ. ซึ่งบุคลากรใหม่ทุกคนจะต้องได้รับการปฐมนิเทศเรื่องดังกล่าว โรงพยาบาลได้กำหนดนโยบายความปลอดภัยในด้านต่างๆ รวมถึงติดตามการปฏิบัติของบุคลากร ตลอดจนการแก้ไขจากรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งห้องฉุกเฉินมีการนำ SIMPLE มาใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น S มาจาก safe surgery เรามีการทำ Sticker Time out นอกห้องผ่าตัดสำหรับหัตถการที่ invasive เช่นการใส่ท่อระบายลมในช่องเยื่อหุ้มปอดเป็นต้น

ขณะที่ห้องฉุกเฉิน จะใช้หลัก E - emergency response คือมีระบบ Fast track ในกลุ่มโรคสำคัญ ที่เป็นปัญหาของจังหวัดและประเทศ ได้แก่ STEMI Stroke Head injury Sepsis และ Trauma โดยมีการร่วมดำเนินการเป็นเครือข่ายทั้งจังหวัดร่วมกับสหสาขาในโรงพยาบาลด้วย

“ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนถูกคัดแยกไปยังห้องตรวจโรคทั่วไป และห้องตรวจนอกเวลา ทำให้ห้องฉุกเฉินสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มฉุกเฉินได้ดีเต็มประสิทธิภาพ สามารถให้การดูแผลผู้ป่วยกลุ่ม Fast track ซึ่งต้องแข่งกับเวลาที่มีจำกัด ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงที” นพ.คุณากร กล่าว

นพ.ชุติเดช ตาบ-องครักษ์

นพ.ชุติเดช ตาบ-องครักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า โรงพยาบาลชลบุรี เป็นโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ตั้งแต่ ปี 2550 จนถึงปัจจุบันได้รับการต่ออายุการรับรอง (Re-Accreditation) เป็นครั้งที่ 3 จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และยังเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Joint Commission International (JCI) ซึ่งการรับรองโรงพยาบาลจะต้องมีการให้บริการที่มุ่งเน้นคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการเป็นสำคัญ

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ

ด้าน พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อำนวยการ สรพ. กล่าวว่า การจัดการเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขนับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของ สรพ. เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และที่สำคัญบุคลากรสาธารณสุขมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางสาธารณสุขขึ้น โดยสรพ.มีบทบาทในการดำเนินการร่วมกับ 15 องค์กรหลัก ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ เพื่อจะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวร่วมกัน รวมถึงมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และมีการวางทิศทางและระยะเวลาในการขับเคลื่อน มีการยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (Patient and Personnel Safety: 2P Safety) ที่ให้ความสำคัญ มุ่งเน้นในการวางระบบเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และมีการกำหนดเป็นเป้าหมายความปลอดภัย สื่อสารในโรงพยาบาล ควบคู่กับการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ด้วยคำที่หลายคนรู้จักคือ SIMPLE ขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติด้วย

พญ.ปิยวรรณ กล่าวต่อว่า วันที่ 17 กันยายนนี้ เป็นวัน Global Day of Patient Safety และเป็นวันที่สำคัญของไทยด้วยคือวัน Thailand Patient and Personnel Safety เป็นวันที่บุคลากรทางสาธารณสุข คนไข้ญาติ และประชาชนทั่วไป ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางสาธารณสุข เพราะทุกคนมีส่วนร่วม โดยจะมีการจัดงานขึ้นในวันนี้ และจะมีการประกาศยุทธศาสตร์ 2P Safety และ National Patient and Personnel Safety Goals รวมถึงการนำเสนอและเชิญชวนโรงพยาบาลเข้าร่วม National Reporting and Learning System ซึ่งจะเป็นระบบแห่งการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจกับคนไข้และประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และที่สำคัญบุคลากรสาธารณสุขมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานด้วย

ทั้งนี้ โรงพยาบาลใดสนใจสามารถสมัครเข้าร่วมครั้งนี้ได้ที่ https://goo.gl/aiTtWV หรือจะชมการถ่ายทอดสดบรรยากาศงาน ณ อิมแพคเมืองทองธานี ได้ ที่ Facebook/HA Thailand และ www.ha.or.th/Live



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

สธ.พัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพใน รพ.ทุกแห่ง ผู้ป่วยวิกฤตได้รักษาด่วน บุคลากรไม่ถูกคุกคาม
Fri, 2017-10-06 13:45 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/10/14655

สธ.เผยสถิติผู้รับบริการที่ห้องฉุกเฉินเฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี พบร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน พัฒนาห้องฉุกเฉินทั่วประเทศ มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจน ให้ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการรักษาปลอดภัย ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม ลดอัตราตาย ลดความพิการ ด้วยทีมแพทย์ และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐาน

วันนี้ (6 ตุลาคม 2560) ที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะลงพื้นที่ติดตามนโยบายการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 และตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

นพ.เจษฎา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ปฏิรูประบบสุขภาพ มีการเชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เบ็ดเสร็จภายในเขตสุขภาพ และระบบส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลขนาดเล็กกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน ทั่วถึง เป็นธรรม

นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันทั่วประเทศ มีสถิติผู้รับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER) เฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี ร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินทำให้เกิดความแออัด ประกอบกับการขาดแคลนบุคลากร รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด ลดอัตราการตาย และลดความพิการ โดยพัฒนาห้องฉุกเฉิน หรือห้องอีอาร์ ให้เป็นห้องอีอาร์คุณภาพ (ER QUALITY) อาทิ รถพยาบาลปลอดภัย มีเครื่องช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจนมีมาตรฐาน ผู้ป่วยวิกฤติต้องได้รับการรักษาด่วน ไม่อยู่ห้อง ER นานกว่า 4 ชั่วโมง เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ทุกสิทธิ (UCEP) ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ต้องจัดแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาเป็นแพทย์ที่ปรึกษากรณีจำเป็นตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

ตลอดจนพัฒนาบุคลากรแต่ละสาขาวิชาชีพให้เพียงพอ โดยให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ประเมินและปรับปรุงตนเองให้ได้ตามเกณฑ์ คาดว่าจะสามารถลดอัตราการตายที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ทั้งนี้ประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุ สามารถแจ้งเหตุทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

‘เมา-รอนาน-เจ็บหนัก’ กระตุ้นความรุนแรงใน รพ. ห้องฉุกเฉินเกิดเหตุมากสุด Sun, 2017-11-26 19:19 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/11/14965

ย้ำแก้ปัญหาคุกคาม-รุนแรงใน รพ.ต้องลดเคสที่ไม่ฉุกเฉินออกจากห้องฉุกเฉิน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-12-2017&group=27&gblog=29

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


รพ.ชลบุรีจัดระบบคัดกรองห้องฉุกเฉิน ‘คนไข้-หมอ’ ปลอดภัย ลดเจ็บตาย 2P Safety https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=16-09-2017&group=15&gblog=83

เปิดสารพัดปัญหาสิ่งแวดล้อมในรพ. ซ้ำเติมภาวะเจ็บป่วย สร้างทุกข์บุคลากร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-12-2016&group=15&gblog=74

สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาในรพ. ‘ทางออกลดทุกข์ผู้ป่วยหนุนประสิทธิภาพบุคลากร’ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-12-2016&group=15&gblog=75

สธ.สั่งทุกรพ.ปรับปรุง OPD ประหนึ่งห้องรับแขกบริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120นาที https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-06-2016&group=15&gblog=68

วิกฤต คุกคามความรุนแรงในโรงพยาบาล ทางออกคืออะไร ... จากงานสัมนาฯ จัดโดยคณะอนุกรรมการฯแพทยสภา https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-12-2017&group=27&gblog=29







Create Date : 16 กันยายน 2560
Last Update : 4 ธันวาคม 2560 4:01:14 น. 2 comments
Counter : 4860 Pageviews.  

 

สธ.พัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพใน รพ.ทุกแห่ง ผู้ป่วยวิกฤตได้รักษาด่วน บุคลากรไม่ถูกคุกคาม
Fri, 2017-10-06 13:45 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/10/14655

สธ.เผยสถิติผู้รับบริการที่ห้องฉุกเฉินเฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี พบร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน พัฒนาห้องฉุกเฉินทั่วประเทศ มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจน ให้ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการรักษาปลอดภัย ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม ลดอัตราตาย ลดความพิการ ด้วยทีมแพทย์ และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐาน

วันนี้ (6 ตุลาคม 2560) ที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะลงพื้นที่ติดตามนโยบายการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 และตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

นพ.เจษฎา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ปฏิรูประบบสุขภาพ มีการเชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เบ็ดเสร็จภายในเขตสุขภาพ และระบบส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลขนาดเล็กกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน ทั่วถึง เป็นธรรม

นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันทั่วประเทศ มีสถิติผู้รับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER) เฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี ร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินทำให้เกิดความแออัด ประกอบกับการขาดแคลนบุคลากร รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด ลดอัตราการตาย และลดความพิการ โดยพัฒนาห้องฉุกเฉิน หรือห้องอีอาร์ ให้เป็นห้องอีอาร์คุณภาพ (ER QUALITY) อาทิ รถพยาบาลปลอดภัย มีเครื่องช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจนมีมาตรฐาน ผู้ป่วยวิกฤติต้องได้รับการรักษาด่วน ไม่อยู่ห้อง ER นานกว่า 4 ชั่วโมง เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ทุกสิทธิ (UCEP) ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ต้องจัดแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาเป็นแพทย์ที่ปรึกษากรณีจำเป็นตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

ตลอดจนพัฒนาบุคลากรแต่ละสาขาวิชาชีพให้เพียงพอ โดยให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ประเมินและปรับปรุงตนเองให้ได้ตามเกณฑ์ คาดว่าจะสามารถลดอัตราการตายที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ทั้งนี้ประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุ สามารถแจ้งเหตุทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง


โดย: หมอหมู วันที่: 6 ตุลาคม 2560 เวลา:15:50:58 น.  

 

เปิดปากคำพยาบาล ‘ห้องฉุกเฉิน’ วอนผู้บริหารอย่ามองความรุนแรงเป็นแค่เรื่องเล็ก
Tue, 2017-12-05 10:48 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/12/15017

หัวหน้าพยาบาลห้องฉุกเฉิน รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ เปิดความรู้สึก พยาบาลถูกคุกคามกระทบขวัญและกำลังใจ ระบุจากประสบการณ์ 18 ปี พบบุคลากรน้อยเนื้อต่ำใจมาก วอนผู้บริหารอย่ามองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย

น.ส.กฤตยา แดงสุวรรณ หัวหน้าพยาบาลห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สภาพปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาล ภายใต้งานสัมมนา “วิกฤต คุกคาม ความรุนแรงในโรงพยาบาล ทางออกคืออะไร” ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบงานบริการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตแพทย์ แพทยสภา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 ตอนหนึ่งว่าพยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องอยู่หน้างานตลอด 24 ชั่วโมง และต้องเป็นผู้ปฏิสัมพันธ์กับคนไข้หรือญาติเป็นคนแรก แต่เมื่อเกิดเหตุความรุนแรงกับพยาบาล เช่น ถูกคนไข้ตบหน้า ผู้บริหารมักจะระบุอย่างบ่อยครั้งว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลโดยตรงกับขวัญกำลังใจของพยาบาล

“เมื่อขวัญกำลังใจไม่มี และต้องมาเจอกับงานที่เครียด กดดัน และภาระงานที่สูง แน่นอนว่าความอดทนก็จะต่ำ และผลลัพธ์ก็จะไปเกิดกับคนไข้ มันจะวนเวียนเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ที่สำคัญคือบางครั้งเราถูกมองโดยที่คนไม่ได้รู้ความจริงทั้งหมด” น.ส.กฤตยา กล่าว

น.ส.กฤตยา กล่าวว่า ในหลายครั้งที่แพทย์และพยาบาลตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ แต่ยังไม่ถึงขั้นเลือดตกยางออก ก็มักจะถูกปล่อยให้เป็นเรื่องเล็กๆ และยิ่งหากไม่ออกสื่อด้วยแล้วก็จะกลายเป็นเรื่องที่เล็กมาก ส่วนตัวอยากให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย

“มีอยู่เคสหนึ่งมีวัยรุ่นเป็นทอมพาแม่มาทำแผลโดยบอกพยาบาลว่าอย่าทำแม่เขาเจ็บนะ ระหว่างทำแผลไปแม่เขาก็ร้อง วัยรุ่นรายนั้นก็บอกว่าเดี๋ยวกูจะทำมึงบ้าง แล้วเขาก็ไปดักพยาบาลตามจุดที่พยาบาลจะลงเวร เราก็พยายามเข้าใจว่าเขาคุมอารมณ์ไม่ได้ เครียด แม่เขาป่วย และก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปแล้วก็จบ แต่จากนั้นวัยรุ่นคนนี้ก็เข้ามารับการรักษาเอง เมื่อพยาบาลเข้าไปทำแผลกลับถูกล็อคคอ รปภ.และพยาบาลวิ่งเข้าไปช่วยแต่ก็เอาไม่อยู่ โชคดีสุดท้ายพยาบาลมีวิธีการคุยและสามารถกดวัยรุ่นคนนี้ไว้ได้ สุดท้ายญาติก็มาฟ้องเราว่าเรารุมทำร้ายผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่โชคดีที่กล้องวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ได้ คำถามคือ เรื่องนี้คืออย่างมากก็ไปแจ้งความแล้วก็จบไป ถามว่าใครช่วยเราได้ ขวัญและกำลังใจคนทำงานอยู่ที่ไหน” น.ส.กฤตยา กล่าว

น.ส.กฤตยา กล่าวว่า โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ไม่ได้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี แต่ก็ไม่ค่อยมีเหตุรุนแรงหรือการชกต่อยทำร้ายร่างกายกันในห้องฉุกเฉิน ถ้าจะมีก็เป็นเหตุใหญ่เช่นระเบิดไปเลย อย่างไรก็ตามด้วยโรงพยาบาลอยู่ในพื้นที่เปราะบางมากจึงได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง แต่โรงพยาบาลไม่สามารถจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) มานั่งทุกจุดตลอด 24 ชั่วโมงได้ เนื่องจากค่าจ้างสูง จึงได้ติดปุ่มสัญญาณไว้ใต้โต๊ะทุกโต๊ะที่มีเจ้าหน้าที่นั่ง เมื่อกดปุ่มสัญญาณก็จะไปแจ้งทาง รปภ.ส่วนกลาง

“จากประสบการณ์แล้ว ขอแลกเปลี่ยนว่าจำเป็นต้องมีกล้องวงจรปิดในทุกๆ จุดของโรงพยาบาล โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉินนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง และอยากฝากถึงผู้บริหารว่าอยากให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ด้วย ดิฉันเป็นหัวหน้าพยาบาลห้องฉุกเฉิน 18 ปี พบว่าความน้อยเนื้อต่ำใจของเจ้าหน้าที่มีมาก เพราะเกิดเรื่องแล้วถูกละเลย หรือบางครั้งก็ไม่สามารถพูดความจริงได้ สุดท้ายเขาก็เลือกพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่สบายกว่า ต้องอย่าลืมว่างานฉุกเฉินเหนื่อยสุด หนักสุด และเราต้องให้อภัยคนไข้เสมอ ขณะเดียวกันเราได้รับแรงกดดันทั้งจากแพทย์เอง จากญาติและผู้ป่วยที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง ฉะนั้นอย่ามองปัญหาของเจ้าหน้าที่เป็นปัญหาเล็กอีกต่อไป” น.ส.กฤตยา กล่าว


โดย: หมอหมู วันที่: 5 ธันวาคม 2560 เวลา:13:51:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]