Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อมูลจำนวน แพทย์ และ การผลิตแพทย์ พ.ศ. 2539-2559



เริ่มด้วยข้อมูลกำลังคน ของ สธ.

จำนวนแพทย์ ที่มีในประเทศไทย ..




จำนวนนักศึกษาแพทย์ ที่รับได้ในแต่ละปี



แพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2539-2559
- จำนวน แพทย์ ต่อปี เพิ่มจาก 869 คน  เป็น 2,707 คน
- จำนวน คณะแพทย์ เพิ่มจาก  10 แห่ง  เป็น  19 แห่ง




แพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต แยกสถาบัน 2539-2559 (จำนวนนักศึกษาแพทย์) เช่น
- ศิริราช เพิ่มจาก 166 คน เป็น 293 คน 
- รามา เพิ่มจาก  114 คน เป็น 168 คน
- เชียงใหม่ เพิ่มจาก 116  คน เป็น 246  คน
- ขอนแก่น เพิ่มจาก 90  คน เป็น 279  คน
- จุฬา เพิ่มจาก 138  คน เป็น 313  คน
- สงขลา เพิ่มจาก 105 คน เป็น 196 คน

๒๐ ปีที่ผ่านมา เพิ่มการผลิตแพทย์ ทั้งจำนวนสถาบัน(คณะแพทย์) และ จำนวนแพทย์ (จนมีการคาดการณ์ว่า แพทย์อาจล้นราชการ เพราะ ตำแหน่งราชการถูกจำกัดไว้ ) ... แต่ ดูเหมือนการขาดแคลนแพทย์ ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ ...

ซึ่งอาจต่างจากความเข้าใจของหลายท่านที่บอกว่า " หมอใน รพ.รัฐ ขาดแคลน ทำไม ไม่เปิดเพิ่ม " 
บางที การเพิ่มการผลิต อาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ใน รพ.รัฐ ?

ถ้าสนใจ ก็ลองแวะไปอ่านในกระทู้นี้ นะครับ .. จะได้ทราบความเห็น ทัศนคติของบางท่านเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ด้วย ..

แพทย์ลาออกก่อนใช้ทุนครบมากกว่าครึ่ง
https://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9572145/L9572145.html

"สาธารณสุข-ก.พ.ร." แก้หมอขาด หลังกลุ่มแพทย์ล่าหมื่นชื่อเรียกร้องแยกตัวจากก.พ.ร.
https://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9603106/L9603106.html


อีก ๕ ปี แพทย์จบใหม่ อาจ "ล้น" ราชการ ?   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-01-2016&group=15&gblog=65

ข้อแนะนำ ถ้าต้องลาออกจากราชการ มีขั้นตอนอย่างไร?...

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-02-2008&group=27&gblog=19

ทำไมผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=27&gblog=20

สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=27&gblog=18

เปิดกับดัก'งานหนักฆ่าหมอ' คนในรู้จนชิน'เรื้อรังมานาน'... เดลินิวส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2017&group=27&gblog=21

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ข้าราชการ 51.5%, พนักงานกระทรวง 28.7%, ลูกจ้างชั่วคราว 9.8%, ลูกจ้างประจำ 5.7%, พนักงานราชการ 3.2% และเจ้าหน้าที่ของรัฐ 1.1%





ที่มา https://www.hfocus.org/content/2018/01/15233

****************************************



Create Date : 27 สิงหาคม 2553
Last Update : 16 มกราคม 2561 12:51:18 น. 5 comments
Counter : 14498 Pageviews.  

 
เข้ามาอ่านข้อมูล
และแวะมาเยี่ยมค่ะคุณหมอ ^ ^


โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 27 สิงหาคม 2553 เวลา:21:37:59 น.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 27 สิงหาคม 2553 เวลา:23:55:12 น.  

 

ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพในภาครัฐ

Churdchoo Ariyasriwatana
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154463421545208
6มีนาคม2560


๑.กระทรวงสาธารณสุข ในเขตกทม.มีแพทย์ ๑,๐๐๐ คน สังกัดกรมการแพทย์
ในต่างจังหวัดมีแพทย์ ๑๒,๐๐๐ คนอยู่ในโรงพยาบาล ๘๓๐ แห่ง และในกลุ่มนี้ มี ๑,๕๐๐-๑,๗๐๐ คน ไปเรียนต่อสาขาเฉพาะทางในรร.แพทย์ จึงเหลือหมอทำงานเพียง ๑๐,๐๐๐ คน ในขณะที่แพทย์ในรร.แพทย์มีหมอที่กำลังศึกษาอยู่ทั้งหมด ๔,๕๐๐ คน

๒. กระทรวงศึกษาธิการ และสภากาชาดไทย มีรพ. ๑๙ แห่ง มีอาจารย์รวม ๖,๐๐๐ คน และมีหมอที่กำลังเรียนเฉพาะทาง ๔,๕๐๐ คน จึงมีหมอรวม ๑๐,๐๐๐ คนใน ๑๙ โรงพยาบาล จำนวนแพทย์เท่ากับในรพ.กระทรวงสธ. ๘๓๐ แห่ง

๓. กระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีแพทย์อยู่ ๒,๐๐๐ คน

๔. แพทย์ในสังกัดกรุงเทพมหานครอีก ๑,๐๐๐ คน

๕. รพ.รัฐในสังกัดอื่นๆอีก ๑,๐๐๐ คน

รพ.เอกชน มีแพทย์ประจำ ๔,๐๐๐ คน

และมีแพทย์อีก ๓,๐๐๐ คนที่เปลี่ยนอาชีพไปทำงานอย่างอื่น เช่น ทำธุรกิจขายตรง นักการเมือง นักลงทุน และอื่นๆ

แพทย์ที่ขึ้นทะเบียนกับแพทยสภา ทั้งหมด ๕๒.๒๘๖ คน
มีการผลิตแพทย์ปีละ ๒,๔๐๐ -๒,๘๐๐ คน ขาด ๒,๔๑๖-๔,๗๓๓ ขาดทั้งแพทย์ทั่วไปและขาดแพทย์เฉพาะทาง
แนวโน้มแพทย์ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขปีละ ๕๐๐ คน โดยมีสาเหตุ คือไม่ได้รับอนุมัติให้เรียนต่อ ค่าตอบแทนต่ำกว่าภาคเอกชนมาก การเพิ่มขึ้นของผป.ต่างชาติในรพ.เอกช (ทำให้รพ.เอกชนมีความต้องการแพทย์ไปทำงานมากขึ้น) และผป.ในภาครัฐก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาระงานในรพ.รัฐบาลมากขึ้น มีปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทน ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น และความพยายามผลัดกันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (ซึ่งแพทย์มองว่าจะทำให้มีการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น เพื่อรับเงินชดเชยค่าเสียหายและไม่ตัดสิทธิ์ผู้ป่วยในการฟ้องต่อไม่ว่าศาลแพ่งหรือศาลอาญา)

ข้อมูลจากออสเตรเลีย แพทย์ที่อยู่ในชนบท มีความเห็นว่า มีภาระงานมากเกินควร การขาดแคลนผู้ช่วย ความไร้ประสิทธิภาพ(ของระบบ) และการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ แพทย์ที่ไม่อยากอยู่ในชนบทต่อ เนื่องจาก ต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทาง ความจำเป็นทางการศึกษาของบุตร และการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ภาระงานที่มากเกินควรและความยากลำบากในการใช้ชีวิตครอบครัว ส่วนแพทย์ที่อยากอยู่ชนบทต่อ เพราะมีความพึงพอใจในงานที่ทำอยู่ อิสรภาพในการทำงาน และความรู้สึกเป็นคนสำคัญของสังคม
การศึกษาวิจัยของเวียตนาม พบว่าแพทย์ในชนบทมีรายได้น้อยมาก ต้องหารายได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆไม่มีความรู้มากพอ มีทักษะอันจำกัด และมีภาระงานมาก

การศึกษาวิจัยของนงลักษณ์ พะไกยะ และคณะในปี 2555 ได้ออกแบบสอบถามแพทย์ 255 คน พบว่าแพทย์ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในเขตเมือง (ร้อยละ83 ) แพทย์ที่จบใหม่จะเลือกอยู่ในชนบทถ้าเป็นสถานที่
1.มีเงินเดือนสูง
2.อยู่ใกล้ภูมิลำเนา
3. แพทย์เลือกจะทำงานในเมืองเนื่องจากโรงพยาบาลมีขนาดใหญ่ มีปริมาณงานนอกเวลาน้อย จำนวนเวรไม่มากนัก มีโอกาสไปเรียนต่อเฉพาะทางมากกว่า มีความก้าวหน้าในอาชีพการงานและขั้นมากกว่า รวมทั้งมีแพทย์ที่ปรึกษา
ถ้าเงินเดือนสูงกว่าปกติ 30 เปอร์เซ็นต์ มีโอกาสศึกษาเฉพาะทาง และอยู่ใกล้กับภูมิลำเนา แพทย์จะเลือกทำงานในชนบทเพิ่มขึ้น ร้อยละ 63

เอกสารอ้างอิง สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
https://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Flibrary2.parliament.go.th%2Fgiventake%2Fcontent_nrcinf%2Fnrc2557-issue8-abst01.pdf&h=ATMDQERc-XX7_zoWw_TrNsKkpSRvNTJxJZvyHo2siKGtZhDNWgdyDFUrfWg8l5jA1Mr4TCnjDKGq1gCzQ9RBHdzDPqcLdTx-kG6YwLeWwqKZZhlVW_MD-lPgn8AjQMfb3VmGlw


โดย: หมอหมู วันที่: 6 มีนาคม 2560 เวลา:13:29:56 น.  

 
ผิดคาด!! “หมอ-พยาบาล” ไทยไม่ขาดแคลน แต่มีปัญหากระจายตัว ชี้ 10 ปีข้างหน้า “สาธารณสุข” ล้นตลาด
โดย MGR Online

3 เมษายน 2560 14:01 น. (แก้ไขล่าสุด 3 เมษายน 2560 21:10 น.)

สช. ชี้ “หมอ - พยาบาล” ไม่ขาดแคลน เผย อัตรารวม 2 วิชาชีพต่อคนไทยเกินกว่าสัดส่วนที่ WHO กำหนด 2.28 ต่อ 1,000 ประชากร แต่มีปัญหาการกระจายตัว นักวิชาการชี้ 10 ปี ข้างหน้า “หมอ - หมอฟัน - พยาบาล” เพียงพอ หากกำลังการผลิตเท่าเดิม แต่ขาดแคลน “เภสัชกร” ด้านกลุ่ม “นักสาธารณสุข” อาจล้นความต้องการ ชู “ทีมหมอครอบครัว” ดูแลประชาชนใกล้บ้าน คนไทยดูแลสุขภาพตัวเองเป็น ลดการไป รพ. ได้

วันนี้ (3 เม.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ผศ.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวในเวที สช. เจาะประเด็น ครั้งที่ 1/2560 เรื่อง “ล้นตลาดหรือขาดแคลน! ถึงเวลาสแกนกำลังคนด้านสุขภาพ” ว่า บุคลากรด้านสุขภาพเพียงพอต่อการดูแลประชากรหรือไม่นั้น ในระดับสากลองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดจำนวน “แพทย์และพยาบาล” ต่อประชากรไว้ที่ 2.28 คนต่อประชากร 1,000 คน หากประเทศใดน้อยกว่าอัตราส่วนนี้ ถือว่าขาด หากมากกว่าสัดส่วนดังกล่าวถือว่ากำลังคนอยู่ในระดับที่ใช้ได้ สำหรับประเทศไทยอัตรารวมของแพทย์และพยาบาลต่อประชากรไทยถือว่าเกินสัดส่วน 2.28 คนต่อประชากร 1,000 คน หมายความว่าจริงๆ แล้วประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลน แต่เป็นปัญหาเรื่องของระบบการจัดการและการกระจายกำลังคน ที่จะต้องกระจายลงสู่ชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พยายามแก้ปัญหา เช่น มีการโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งก็ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ทั้งนี้ หากมองในสัดส่วนของแพทย์ต่อพยาบาล ประเทศไทยสัดส่วนจะอยู่ที่หมอ 1 คนต่อ พยาบาล 5 คน ซึ่งถือเป็นโอกาสในการดำเนินการเรื่องสุขภาพอย่างเป็น “ทีม” ซึ่ง สธ. กำลังดำเนินการในเรื่องทีมสุขภาพ

ผิดคาด!! “หมอ-พยาบาล” ไทยไม่ขาดแคลน แต่มีปัญหากระจายตัว ชี้ 10 ปีข้างหน้า “สาธารณสุข” ล้นตลาด
นพ.ฑินกร โนรี คณะอนุกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในทศวรรษหน้า กล่าวว่า ประเทศไทยควรมีแพทย์และพยาบาลกี่คน ถือเป็นคำถามเชิงนโยบายที่มาเสมอและประชาชนเองก็อยากทราบ ซึ่งจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่เหมาะสมโดยเฉพาะในอนาคตประมาณ 5 - 10 ปีข้างหน้า จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะวางแผน ดังนั้น การจะศึกษาว่ากำลังคนทางสุขภาพของประเทศไทยในอนาคตควรมีประมาณเท่าไร จึงต้องพิจารณาก่อนว่า ประเทศไทยต้องการระบบสุขภาพแบบใดใน 10 ปีข้างหน้า เช่น หากยึดระบบสุขภาพแบบสหรัฐอเมริกา คือ มีแต่แพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ก็จะมีการวางแผนกำลังคนแบบหนึ่ง แต่หากจะเน้นความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิ รูปแบบกำลังคนก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วประเทศไทยกำลังเจอความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร คือ คนเกิดน้อยลง และมีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มมากขึ้น ต้องการการดูแลเพาะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น การดูแลในระดับที่เหมาะสม รัฐสามารถดูแลได้ ก็คือ การสร้างความเข้มแข็งของระบบปฐมภูมิ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันกำลังคนด้านสุขภาพถือว่าเพียงพอ แต่มีปัญหาระบบการกระจายบุคลากร โดยพบว่าบางจังหวัดมีแพทย์เกินกรอบ ส่วนบางจังหวัดก็มีแพทย์น้อยกว่ากรอบ เช่นเดียวกับวิชาชีพพยาบาลทีมีปัญหาการกระจายบุคลากรเหมือนกัน

นพ.ฑินกร กล่าวว่า เมื่อดูจากข้อมูลปริมาณกำลังคนด้านสุขภาพ ปัจจุบันพบว่า แพทย์มีจำนวนประมาณ 50,000 คน สัดส่วนการดูแลประชาชนอยู่ที่ประมาณ 1 ต่อ 1,292 คน พยาบาลมีประมาณ 158,000 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 419 คน ทันตแพทย์ประมาณ 11,500 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 5,643 คน เภสัชกรประมาณ 26,100 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 2,494 คน เป็นต้น ขณะที่เมื่อดูการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพพบว่า อัตราการผลิตแพทย์อยู่ที่ประมาณ 3,000 คนต่อปี พยาบาลผลิตได้ปีละ 11,000 คน ทันตแพทย์ผลิตได้ปีละ 616 คน และกำลังจะเพิ่มเป็น 826 คน เป็นต้น ซึ่งการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ถือว่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น อย่างแพทย์เมื่อช่วง 40 - 50 ปีก่อน ประเทศไทยจะรู้สึกว่ามีจำนวนแพทย์น้อย จึงเร่งการผลิตเพิ่มมากขึ้นจากเดิมปีละประมาณ 800 คน ก็เพิ่มมาเป็นประมาณ 3,000 คน ซึ่งหากผลิตแพทย์ในอัตรานี้ ใน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีแพทย์เพิ่มอีกเกือบ 30,000 คน

“สิ่งที่ต้องคำนึงคือ อัตราประชากรของประเทศไทยจะไม่ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างอดีตที่ผ่านมา เพราะคนไทยเกิดน้อยลง ดังนั้น การคาดการณ์จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ในอนาคต เมื่อคำนวณจากจำนวนประชากรที่มีการเกิดน้อยลง เป็นผู้สูงอายุมากขึ้น อัตราค่าเฉลี่ยของการเข้าโรงพยาบาลในสัดส่วน 3 ครั้งต่อคนต่อปีแล้ว และอัตราการผลิตในปัจจุบัน พบว่า อนาคต 10 ปีข้างหน้า กำลังคนบางวิชาชีพที่จะมีสัดส่วนที่เพียงพอหรืออาจบวกลบนิดหน่อย คือ กลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล ดังนั้น จึงเสนอว่าควรผลิตตามอัตราเท่านี้ไม่ต้องเพิ่มการผลิตแล้ว กลุ่มที่มีน้อยกว่าความต้องการ คือ เภสัชกร เพราะพบว่าหลังเรียนไป 1 ปี แล้วบางส่วนหันไปเรียนทางด้านอื่น ดังนั้น ต้องเพิ่มแรงจูงใจให้อยู่ในระบบ ส่วนกลุ่มที่จะเกินความต้องการของตลาดคือ นักสาธารณสุข เพราะมีกำลังผลิตปีละหมื่นกว่าคน ถ้าผลิตในอัตรานี้จะมีเป็นแสนๆ คน” นพ.ฑินกร กล่าว

ดร.กฤษดา แสวงดี นักวิจัยอาวุโสด้านนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพ และอุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ระบบสุขภาพของประเทศไทยถือว่าดีมาก เพราะมีสถานพยาบาลในทุกพื้นที่ คือ มี รพ.สต. ทุกตำบล มีโรงพยาบาลชุมชนในทุกอำเภอ และมีโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางอีก เพียงแต่ประชาขนเมื่อเจ็บป่วยจะเลือกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลใหญ่ๆ จึงทำให้เกิดปัญหาคนไข้ล้น คือไม่ได้ไปตามโครงข่ายที่วางไว้ที่ว่าควรไปในระดับปฐมภูมิก่อน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าขาดแคลนกำลังคนซึ่งค้านกับตัวเลขทางวิชาการ ดังนั้น สธ. จึงแก้ปัญหาด้วยการจัดทีมหมอครอบครัว เพื่อไปดูแลใกล้ประชาชนในชุมชน เน้นการดูแลแบบปฐมภูมิ ในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่ชาวบ้านก่อนว่าอาการเช่นนี้ควรดูแลตัวเองอย่างไร จำเป็นต้องไปพบแพทย์หรือไม่ เพราะบางอย่างไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ก็ได้ แต่แค่ดูแลตัวเองให้ดีก็หายจากการเจ็บป่วยได้

นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ผอ.รพ.แก่งคอย จ.สระบุรี กล่าวว่า ประเทศไทยยึดค่านิยมตามสหรัฐฯ คือแพทย์แผนปัจจุบันดีที่สุด หากเป็นอะไรให้ไปพบแพทย์ก่อน ทำให้ขาดการดูแลตัวเอง ชุมชนดูแลตัวเอง เป็นอะไรเล็กน้อยก็ต้องพบแพทย์ ซึ่งในมุมมองของแพทย์บางโรคก็ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ก็ได้ ซึ่งจากการให้บริการในพื้นที่พบว่ามีถึงประมาณ 30 - 40% ที่ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ เช่น ไข้หวัด หรือ อุจจาระร่วง ซึ่งสามารถดูแลตัวเองให้ดี ก็สามารถหายเองได้โดยที่ไม่ต้องมาพบแพทย์ เป็นต้น ทั้งนี้ ตนมองว่ากำลังคนด้านสุขภาพ อาจต้องมองรวมไปถึงประชาชน ครอบครัว และชุมชนด้วย ซึ่งหากทำให้พวกเขามีความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ รู้ว่าอาการแบบใดควรไปพบแพทย์ เกิดอาการแบบนี้จะดูแลตัวเองอย่างไร ก็จะช่วยลดการไปใช้บริการในโรงพยาบาลลงได้

ปริมาณกำลังคนด้านสุขภาพในปัจจุบัน
แพทย์ มีจำนวน 50,573 คน สัดส่วนการดูแลประชาชนอยู่ที่ 1 ต่อ 1,292 คน
พยาบาล มีจำนวน 158,317 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 419 คน
ทันตแพทย์ มีจำนวน 11,575 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 5,643 คน
ทันตาภิบาล มีจำนวน 6,818 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 9,581 คน
เภสัชกร มีจำนวน 26,187 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 2,494 คน
เทคนิคการแพทย์ มีจำนวน 15,200 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 4,298 คน
นักกายภาพบำบัด มีจำนวน 10,065 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 6,490 คน
สัตวแพทย์ มีจำนวน 8,000 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 8,165 คน
นักวิชาการสาธารณสุข มีจำนวน 27,035 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 2,416 คน
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน มีจำนวน 27,006 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 2,419 คน
แพทย์แผนไทย/ประยุกต์ มีจำนวน 30,371 คน สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 2,151 คน

สถานการณ์การผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ
แพทย์ มีการผลิต 21 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 3,121 คน
พยาบาล มีการผลิต 86 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 11,000 คน
ทันตแพทย์ มีการผลิต 13 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 616 คน และจะเพิ่มเป็น 826 คน
ทันตาภิบาล มีการผลิต 7 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 400 คน
เภสัชกร มีการผลิต 19 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 2,000 คน
เทคนิคการแพทย์ มีการผลิต 12 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 911 คน
กายภาพบำบัด มีการผลิต 16 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 850 - 900 คน
สัตวแพทย์ มีการผลิต 9 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 650 คน
สาธารณสุข มีการผลิต 69 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 10,988 - 14,197 คน
แพทย์แผนไทย/ประยุกต์ มีการผลิต 27 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 1,080 คน

//manager.co.th/QOL/viewNews.aspx?NewsID=9600000033816


โดย: หมอหมู วันที่: 13 กรกฎาคม 2560 เวลา:9:26:32 น.  

 
Ittaporn Kanacharoen ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 13 ภาพลงในอัลบั้ม: 12กค.60 ประชุม กมธ.สาธารณสุข สนช.
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1503746589686142

12 กค.60 กมธ.สธ.พิจารณาเกี่ยวกับปัญหาบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขในส่วนที่ไม่ใช่แพทย์และพยาบาล โดยทางกรรมาธิการได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560

ท่านประธานกรรมาธิการการสาธารณาสุข นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ กรุณาเขียนสรุปใน Facebook ไว้ว่า

๑๒ กค. กมธ.สธ.เชิญ๗วิชาชีพสาธารณสุขเข้าชี้แจงประกอบหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมในการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการ ประกอบด้วยนักกายภาพบำบัด,นักเทคนิคการแพทย์,นักรังสีการแพทย์,นักจิตวิทยาคลีนิก,นักกิจกรรมบำบัด,นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก,นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย รวมบุคคลากรทุกประเภท๑๕,๗๓๔คน มากที่สุดคือนักเทคนิคการแพทย์มีจำนวน๘,๓๙๓คน น้อยที่สุดคือนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายที่มีเพียง๖๕คน

ทุกประเภทมีทั้งข้าราชการ,พนักงานราชการ,พนักงานกระทรวงสาธารณสุขและลูกจ้างชั่วคราว มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นลูกเมียน้อย สธ.ให้ความสำตัญเฉพาะแพทย์พยาบาลเท่านั้น ขาดการเหลียวแลพวกตนที่เป็นฝ่ายสนับสนุน ทุกวิชาชีพต้องการให้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่ไม่มีตำแหน่งรองรับ บางคนเป็นพนักงานสธ.หรือลูกจ้างชั่วคราว รอมา๕-๖ปีก็ไม่ได้รับการบรรจุ ถูกน้องๆบรรจุแซงหน้าไป

บางวิชาชีพต้องรอให้รุ่นพี่เกษียณอายุไปจึงจะมีความหวังที่จะได้รับการบรรจุในตำแหน่งของรุ่นพี่นั้น รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม ท้อแท้ ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน งานก็หนักเมื่อเทียบกับกำลังคนที่มีตำแหน่งที่เรียกร้องนั้นเป็นจำนวนเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับข้าราชการที่มีถึง๒.๒ล้านคน

สธ.เองก็พยายามช่วยคนของตัว แต่เมื่อวิเคราะห์ตัวเลขบุคคลากรย้อนหลัง๑๐ปี พบว่าจำนวนข้าราชการแทบจะไม่ได้เพิ่ม แต่ลูกจ้างและพนักงานราชการเพิ่มถึง๖เท่า งบบุคคลากรรวมสวัสดิการ บำเหน็จบำนาญก็ร่วม๑.๑ลลบ.เข้าไปแล้ว งบประจำที่เพิ่มขึ้นมากมีหลายสาเหตุแต่สาเหตุหนึ่งคือเพิ่มกระทรวงใหม่๖กระทรวง เพิ่มกรม๔๐กรม รวมเป็น๑๖๘กรมนับจากปี๒๕๔๕

การเป็นลูกจ้างหรือแม้แต่พนักงานกระทรวงสาธารณสุข สิทธิประโยชน์ต่างจากข้าราชการแยะ ไม่ได้เครื่องราช ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนเพียงปีละครั้งในขณะที่ข้าราชการปีละสองครั้ง เป็นระบบสัญญาจ้างไม่เกินสี่ปี ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ แหล่งเงินมาจากเงินบำรุงรพ.ไม่ใช่งบประมาณจึงไม่มีความมั่นคง ทุกคนจึงต้องการเป็นข้าราชการเพื่อเป็นหลักประกันของชีวิตและเพื่อสวัสดิการของครอบครัว
กมธ.สธ.รับรู้ถึงความเดือดร้อนและจะช่วยประสานสป.สธ.เพื่อหาทางแก้ไขเยียวยาต่อไปครับ

ข้อสำคัญกมธ.มีกำหนดสัมมนาใหญ่ถึงปัญหาอัตรากำลังคนทุกๆวิชาชีพของสธ.ในภาพรวมอีกครั้ง ในต้นเดือนหน้า ครับ



โดย: หมอหมู วันที่: 13 กรกฎาคม 2560 เวลา:9:48:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]