Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ขอเชิญชวน นักเรียนมัธยมปลายสายวิทย์ นิสิตนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ เขียนบทความฯ ชิงรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท


ขอเชิญชวน นักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ นิสิตนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ทุกท่าน ร่วมเขียนบทความเกี่ยวกับแรงบันดาลใจที่จะเป็นแพทย์ ความมุ่งมั่นที่จะเป็นแพทย์ที่ดี และประสบการณ์ที่ดีจากการทำหน้าที่แพทย์

เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือสำหรับงานนิทรรศการ รวมพลคนรักสุขภาพ 2555 ( Thailand Medical Expo 2012 )

ณ ศูนย์จัดนิทรรศการไบเทค บางนา

ในระหว่างวันพุธที่ 31 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน 2555



โดยส่งเป็นไฟล์เวิร์ด ตัวอักษรแบบอังสนา ขนาด 16 ความยาวไม่เกิน 2 หน้า A4
ส่งไปที่ email: sukitsi91@gmail.com หรือ am@tmc.or.th

ภายในวันที่ 25 กันยายน 2555




สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษาแพทย์ มีรางวัลชนะเลิศกลุ่มละ 1 รางวัลเป็นทุนการศึกษา 10,000 บาท

สำหรับแพทย์และผู้ที่ได้รับการลงพิมพ์จะได้เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติจากแพทยสภา





ลองแวะไปอ่านดูนะครับ  " เรื่องเล่านักเรียนแพทย์ " โดย มูลนิธิแพทย์ชนบท  

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&group=12









 

Create Date : 06 กันยายน 2555   
Last Update : 6 กันยายน 2555 15:43:22 น.   
Counter : 2234 Pageviews.  

การใส่ซองให้คุณหมอ ... กระทู้หลากความเห็น ..

L12570636 การใส่ซองให้คุณหมอ [คลินิกหมออาสา] เต็มแมกซ์ (24 - 28 ส.ค. 55 21:30)


เคยเห็นบางกระทู้พูดเกี่ยวกับการใส่ซองให้หมอ...เลยมีข้อสงสัยนิดนึงน่ะค่ะ

ด้วย ความสัตย์จริงว่าไม่ได้ต้องการสร้างประเด็นให้มีการวิจารณ์ค่อนแคะ หรือดูถูกอาชีพแพทย์ แต่ประการใด ด้วยเพราะเราเองกำลังคิด ๆที่จะตอบแทนน้ำใจเล็ก ๆ น้อยๆ ให้กับคุณหมอที่ดูแลรักษา ผ่าตัดให้ ทุกวันนี้ก็ยังไปติดตามอาการเป็นระยะ ๆทุกครั้งก็จะมีขนมติดไม้ติดมือไปฝาก...

เราไปรักษาที่ รพ. ของรัฐ รู้สึกชื่นชม และประทับใจในการดูแลรักษาเอาใจใส่ และเหนือสิ่งอื่นใดคือความเสียสละของคุณหมอซึ่งได้รับค่าตอบแทนไม่ได้มากเท่าไหร่เมื่อเทียบกับปริมาณงาน...ถ้าต้องการจะใส่ซองให้คุณหมอเค้าให้กันประมาณเท่าไหร่เหรอคะ แล้วเวลาให้ก็แอบใส่เข้าไปในกระเช้า หรือถุงขนมที่ฝากไปให้น่ะเหรอคะ(หวังว่าคุณหมอคงไม่เอาถุงนั้นไปให้พยาบาลหรือผู้ช่วยซะล่ะ อิอิ)

สำหรับ คุณหมอทุกท่าน เราเข้าใจนะคะว่าทุกคนเคารพในอาชีพของตัวเองและไม่ได้ทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนพิเศษ เช่น ขนม ของฝาก หรือ การใส่ซองให้...ด้วยความที่เมื่อก่อนไม่ได้มีโอกาสเข้าออกรพ. บ่อยนัก แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้นทำให้ต้องมีการเข้าออก รพ. เป็นระยะ(แต่อีกไม่นานก็คงไม่ต้องไปบ่อยๆ แล้ว ^^)...จึงขอชื่นชมในความเสียสละและความทุ่มเทของคุณหมอทุกคนขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เราได้รับการดูแลรักษาที่ดีจากคุณหมอท่านนั้น ...เป็นกำลังใจให้คุณหมอทุกคนนะคะ

จากคุณ : เต็มแมกซ์

เขียนเมื่อ : 27ส.ค. 55 14:46:23





ถ้าเป็นไปได้ อยากจะตอบแทน หรือแสดงความรู้สึกขอบคุณกับหมอ .. เป็น จดหมาย การ์ด สิ่งของ ขนมผลไม้ ( ไม่ต้องแพง ) ฯลฯ .. แบบนี้ดีกว่าครับ  ..


ส่วนตัวผม ..

ถ้า เป็น ของกิน .. ผมจะเก็บไว้กินเองส่วนหนึ่ง แล้วที่เหลือก็มอบให้ เจ้าหน้าที่ ...

     ให้ทั้งหมดเลย คนให้ เขารู้ ก็จะเสียน้ำใจ ..

     เก็บเอาไว้เองหมด .. ผมก็รู้สึกว่า ผลดีที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดจากหมอเราคนเดียว แต่เกิดจาก ทีมรักษา ทุกคนร่วมกัน ..ก็แบ่ง ๆ กันไป



ส่วนเรื่อง ซอง ( เงิน )  ... ( คงไม่มีใครให้ซองเปล่า ^_^ )


๑. ในแง่ของผู้ป่วย (ญาติ) ถ้าให้แล้วสบายใจ ไม่เดือนร้อน ให้เพราะอยากให้ ...

    แบบนี้ ผมว่า ให้ได้ครับ แต่ ควรให้ต่อหน้า บอกคุณหมอตรง ๆ คุยกันต่อหน้าจะได้เข้าใจตรงกัน

     - ถ้าคุณหมอไม่รับ ก็เอากลับมา บอกคุณหมอว่า ขออนุญาต นำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาล หรือ ทำบุญในนามของคุณหมอ


    แต่ถ้าให้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ให้ แล้ว ไม่สบายใจ .... ก็ไม่ต้องให้ครับ


    เหมือนกับการทำบุญ ทำแล้วสบายใจ บุญก็เกิด (มากน้อยแล้วแต่ปัจจัยอื่นประกอบ) ทำแล้วไม่สบายใจ บุญอาจไม่ได้เลย หรือบางที อาจได้ บาป มาเพิ่ม ..



๒. ในแง่ของแพทย์

    ไม่อยากรับ  ก็ตอบกับผู้ป่วย (ญาติ) ไปตรง ๆ  แต่ถ้าเขายังยืนยัน ผมก็อยากให้รับมา แล้ว บอกกับผู้ป่วย (ญาติ) ว่า ขอบคุณ และ จะนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาล เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน ..


     วิธีนี้ก็จะเป็นทางออกอย่างหนึ่ง เพื่อถนอมน้ำใจ ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ (ผู้สูงอายุ) บางท่านก็ถือเรื่องนี้เหมือนกัน ให้ แล้วไม่รับ ก็เหมือนรังเกียจดูถูกเขา หรือ บางคนก็รู้สึกผิด อาย ไม่กล้าเข้าหน้าหมอ ..

    ปล.  ฝากกับพยาบาล ฝากญาติ หรือ ถ้าจะไปบริจาคเอง (พาญาติไปด้วยก็ยิ่งดี) นะครับ เป็นการป้องกันตัวหมอเองด้วย ไม่งั้นคนไม่รู้ หรือ คนไม่หวังดี อาจเอาไปนินทาลับหลัง ว่า พูดอย่างทำอย่าง  ( ถึงแม้เอาไปบริจาคจริง คนพวกนี้ ก็ยังเอาไปพูดได้อยู่ดี )









 

Create Date : 29 สิงหาคม 2555   
Last Update : 29 สิงหาคม 2555 14:52:13 น.   
Counter : 5462 Pageviews.  

เลือกตั้งแพทยสภา .. รับสมัคร ๒๔ สค. - ๒๔ กย. ๕๕



สนใจเข้าไปดูรายละเอียดในเวบแพทยสภา ได้เลยครับ

//www.tmc.or.th/












ปล. วาระ ๒ ปี ผมคิดว่า เร็วไปหน่อย .. น่าจะเพิ่มเป้น ๔ ปี จะได้ทำงานต่อเนื่อง และ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ^_^




บทความที่เกี่ยวข้อง ..

คุณหมอ ทุกท่าน ... ขอเสียงเลือกตั้ง "กรรมการแพทยสภา " กันหน่อยยยยย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-12-2010&group=15&gblog=33






แถม ..

ข้อมูลที่น่าสนใจ จากจดหมายข่าวแพทยสภา ปีที่ ๑๕  ฉบับที่ ๑ / ๒๕๕๕

สนใจอ่านฉบับเต็ม โหลดได้ที่  //www.mediafire.com/?k25fyw40oq47zbe















ข้อมูลที่น่าสนใจ จากจดหมายข่าวแพทยสภา ปีที่ ๑๕  ฉบับที่ ๑ / ๒๕๕๕

สนใจอ่านฉบับเต็ม โหลดได้ที่  //www.mediafire.com/?k25fyw40oq47zbe





 

Create Date : 24 สิงหาคม 2555   
Last Update : 25 สิงหาคม 2555 16:24:39 น.   
Counter : 2392 Pageviews.  

ผมไปเป็นทนายให้แพทย์และพยาบาล ... โดย นาย บัณฑูร ทองตัน อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

ได้อ่านมุมมองอีกด้านหนึ่ง จากอีกอาชีพ (ซึ่งต่อไปน่าจะใกล้ชิดกับหมอมากขึ้น ???)  ... นำมาฝากกัน ..

//www.gotoknow.org/blogs/posts/280726?fb_action_ids=3955668142800%2C394409070621569&fb_action_types=og.likes&fb_source=other_multiline&action_object_map={%223955668142800%22%3A10151407318055215%2C%22394409070621569%22%3A10151407318055215}&action_type_map={%223955668142800%22%3A%22og.likes%22%2C%22394409070621569%22%3A%22og.likes%22}&action_ref_map


ผมไปเป็นทนายให้แพทย์และพยาบาล


อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๘(ภูเก็ต) ปฏิบัติหน้าที่รองอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค ๘
สำนักงานอัยการสูงสุด

·เลขที่บันทึก: 280726
·สร้าง: 27 กรกฎาคม 2552 16:11·แก้ไข: 20 มิถุนายน 2555 01:25



วันนี้ผมไปว่าความที่ศาลมาครับเป็นกรณีที่ผู้ป่วยฟ้องกระทรวงสาธารณสุข แพทย์และพยาบาลเรียกค่าเสียหาย ๑๑ ล้านบาทเศษกรณีคลอดบุตรแล้วสมองเด็กขาดออกซิเจนทำให้เด็กพิการผมเข้ามาเกี่ยวข้องเนื่องจากคดีนี้มีการเรียกค่าเสียหายเกินสิบล้านอำนาจการพิจารณาสั่งคดีอยู่ที่ท่านรองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีแรงงานเขต๘ เจ้าของสำนวนจึงต้องเสนอสำนวนตามลำดับชั้นจนถึงรองอธิบดีอัยการฯผมเป็นผู้เชี่ยวชาญสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต ๘จึงต้องตรวจผ่านสำนวนนี้

ในเบื้องต้นพิจารณาคำฟ้องแล้วผู้ป่วยฟ้องว่าแพทย์และพยาบาลไม่เอาใจใส่ดูแลในขณะเขาปวดท้องคลอดจนบุตรของเขาออกมาคาอยู่ที่ปากช่องคลอดนานถึง ๔๐ นาทีทำให้บุตรเขาขาดอากาศหายใจ สมองขาดออกซิเจนทำให้บุตรของเขาพิการทางสมองแถมพยาบาลคนที่ถูกฟ้องก็มัวแต่นั่งเล่นคอมพิวเตอร์ไม่มาช่วยเขาบอกให้เบ่งคลอดแล้วไม่สอนวิธีเบ่งเรียกค่าเสียหายจากการที่บุตรพิการไม่สามารถส่งเสียเลี้ยงดูบิดามารดา๓๕ ปี เป็นเงิน ๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าเศร้าโศกเสียใจอีก ๘๐๐,๐๐๐ บาทค่าใช้จ่ายต่างๆในการเดินทางไปมารักษาบุตร ฯลฯ รวมแล้ว ๑๑ล้านบาทเศษ


ผมได้เชิญคุณหมอมาอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นประกอบกับเอกสารที่ปรากฏอยู่ในสำนวนและเอกสารที่เกี่ยวกับวิชาการเกี่ยวกับการคลอดบุตรได้ความรู้เยอะมากและเราเดาด้วยว่าคนบรรยายฟ้องก็ไม่เข้าใจกระบวนการคลอดบุตรเพราะพวกเราเองอ่านคำฟ้อง อ่านคำชี้แจงแล้วแรกๆก็มึนกับปากมดลูกขยายกับปากช่องคลอดขยายมันอย่างเดียวกันไหมว้า....อิอิการตัดฝีเย็บในขณะปากช่องคลอดบางมากและมองเห็นศีรษะเด็กมีขนาดโตเท่าไข่ห่านถ้าตัดฝีเย็บในขณะที่ปากช่องคลอดยังไม่ขยายตัวเต็มที่จะเป็นอันตรายแก่มารดาเด็กได้คดีนี้คุณหมอตัดฝีเย็บแรกๆเราเข้าใจว่าศีรษะเด็กโผล่ออกมาขนาดเท่าไข่ห่านแล้วหมอจึงตัดฝีเย็บแต่พอคุยกับหมอจริงๆกลับได้ความว่า ปากมดลูกมารดาเปิดกว้าง ๑๐เซนติเมตร พร้อมที่จะคลอดแต่ยังไม่คลอดยังไม่เห็นศีรษะเด็กที่ปากช่องคลอดแต่จำเป็นต้องตัดฝีเย็บเพื่อใช้เครื่องดูดดูดทารกออกมาพอตัดฝีเย็บไม่ทันได้ใส่เครื่องดูดเด็กก็คลอดพรวดออกมาทันทีเลยต้องนั่งฟังหมอเลคเชอร์เรื่องการคลอดและเอาเอกสารวิชาการที่หมอถ่ายไว้ให้มานั่งอ่านนี่กว่าจะทำคดีนี้จบ ผมคงทำคลอดเองได้เลย ฮ่าๆ


ทราบมาว่าในการนัดไกล่เกลี่ยครั้งที่ผ่านมามารดาเด็กไม่อยากฟ้องหมอเพราะหมอดูแลผู้ป่วยดีมาก แต่หมั่นไส้พยาบาลหมออยากให้เรื่องจบยอมควักกระเป๋าจ่ายให้ส่วนตัวสองแสนบาทมารดาเด็กก็ไม่เอาอยากจะเอาจากพยาบาลเพราะเจ็บใจที่ไม่ยอมมาช่วยในขณะที่ตัวเองปวดท้องคลอดมัวแต่นั่งเล่นคอมพิวเตอร์และเขาก็บรรยายฟ้องในส่วนนี้ไว้ด้วยผมจึงต้องหาข้อมูลว่าพยาบาลนั่งเล่นคอมฯหรือเขาทำงานก็ได้ความว่าพยาบาลคนที่ถูกฟ้องไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบผู้ป่วยรายนี้แต่เป็นพยาบาลอีกท่านหนึ่งและพยาบาลท่านดังกล่าวก็ดูแลผู้ป่วยอย่างดีแต่จะให้ถึงขนาดนั่งเฝ้าผู้ป่วยรายนี้คนเดียวคงไม่ได้เพราะในวันดังกล่าวมีการคลอดต่อเนื่องหลายราย หมอก็กำลังทำคลอดท่าก้น(ฮ่าๆ..อย่านึกว่าหมอทำคลอดแล้วทำก้นกระดก อิอิ)คือมีผู้ป่วยอีกรายกำลังจะคลอดแต่เด็กอยู่ในท่าเอาก้นออกจากช่องคลอดซึ่งอันตรายกว่าการคลอดของผู้เสียหายซึ่งเป็นการคลอดธรรมดาและเป็นท้องที่สองแล้วด้วย หมอทำคลอดท่าก้นเสร็จก็วิ่งมาจัดการมารดาเด็กในคดีนี้เลยจะว่าช้าก็ไม่ช้าได้มาตรฐานการรักษาทุกประการการคลอดท้องแรกให้เวลาในการคลอดถึง ๑๒๐ นาทีส่วนการคลอดบุตรท้องต่อๆมาให้เวลาไม่เกิน ๖๐ นาทีถ้าตามเวลาดังกล่าวเด็กยังไม่คลอดออกมาแพทย์จะต้องช่วยดำเนินการให้ออกมาแล้วครับแต่ผู้ป่วยรายนี้ไม่ยังไม่เกินเวลามาตรฐาน


พยาบาลคนที่ถูกฟ้องมีหน้าที่ดูแลคนไข้อีกส่วนหนึ่ง(คนละโซนกันแต่บางทีเธอก็มาช่วยคนไข้ข้ามโซน) เมื่อเวลาเด็กคลอดออกมาแล้วก็หมดหน้าที่สูตินรีแพทย์ เด็กและมารดาจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางในขั้นตอนนี้ก่อนส่งตัวไปก็ต้องมีการลงทะเบียนในเครื่องคอมพิวเตอร์ป้อนข้อมูลเด็กมารดาเด็ก ยาที่หมอสั่งรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไม่เช่นนั้นแล้วแพทย์พยาบาลที่รับไปต่อจะไม่มีข้อมูลการรักษาพยาบาลก็ต้องถือว่าเขาทำงานส่วนที่เขารับผิดชอบอยู่ไม่ใช่เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ (คำว่าเล่นคอมฯในความหมายของผู้ป่วยคงหมายถึง พยาบาลอยู่ว่างๆคนไข้แหกปากร้องก็ไม่ดูแลมัวแต่นั่งเล่นเกมส์หรืออินเทอร์เน็ต หรือแชท เรื่องไร้สาระ ทำนองนั้นเธอถึงได้แค้นนักหนาเพราะไม่เข้าใจว่าพยาบาลคนที่ถูกฟ้องเขาทำหน้าที่อะไร)


ผมร่างคำให้การสู้คดีในส่วนของการคลอดที่ฝ่ายโจทก์เขาบรรยายว่าศีรษะเด็กมาคาที่ปากช่องคลอดนาน๔๐ นาที ทำให้เด็กขาดอากาศหายใจว่าไม่ใช่หรอกเพราะในขณะที่กระบวนการคลอดยังไม่สมบูรณ์เด็กยังอยู่ในครรภ์มารดาเด็กยังไม่หายใจเพราะเด็กยังอาศัยออกซิเจนจากรกที่เชื่อมระหว่างแม่สู่ลูกต่างหากดังนั้นที่ว่าศีรษะเด็กมาคาอยู่ปากช่องคลอดศีรษะถูกบีบจนออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่ได้นั้นไม่ใช่อย่างแน่นอนและมีการต่อสู้ถึงการปฏิบัติของแพทย์และพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพทั้งมาตรฐานของโรงพยาบาลและมาตรฐานสากล และอีกหลายข้อ


ที่สำคัญผมตัดฟ้องว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องแพทย์และพยาบาลให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้เพราะโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าแพทย์กับพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อไม่เอาใจใส่ดูแลจึงต้องว่ากันไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๕ ซึ่งบัญญัติว่า


หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้


เรื่องนี้เคยไปบรรยายให้แพทย์พยาบาลฟังทั้งที่โรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนตั้งแต่ยังเป็นอัยการจังหวัดประจำกรมหลายคนมาบอกว่าค่อยใจชื้นหน่อยที่มีกฎหมายตัวนี้วันนี้ได้ใช้จริงและเห็นผลเพราะศาลก็เห็นด้วยกับข้อต่อสู้ที่เราสู้ให้หมอและพยาบาลศาลท่านถามความเห็นทนายโจทก์ว่ามีความเห็นอย่างไร จะถอนฟ้องไปหรือไม่เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนตามข้อต่อสู้ของฝ่ายจำเลยที่ ๒ และ ๓แต่ถ้าไม่ยอมถอนศาลก็จะใช้มาตรการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา๑๘


ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ในคดีผู้บริโภคซึ่งดำเนินการโดยผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด


ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่าผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคนำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร ประพฤติตนไม่เรียบร้อย ดำเนินกระบวนพิจารณาอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดีหรือที่ไม่จำเป็น หรือมีพฤติการณ์อื่นที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ


ศาลถามทนายโจทก์ว่ารู้อยู่แล้วใช่ไหมเกี่ยวกับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ทนายก็ตอบว่ารู้ ศาลก็เลยให้ทนายคิดว่าจะเอาอย่างไรทนายโจทก์ก็เลยยอมถอนฟ้องจำเลยที่ ๒,๓ ออกจากคดี(เพราะคดีคุ้มครองผู้บริโภคเขามีเจตนาให้ชาวบ้านฟ้องง่ายไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมศาลแต่บางทีก็มีฟ้องแบบป่วนไปหมดทุกคนเกี่ยวนิดเกี่ยวหน่อยก็ฟ้องหมดเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายสำหรับคนถูกฟ้องเหมือนกันถ้าไม่มีมาตรการข้างต้นกำหนดไว้ผมว่าคดีเต็มศาลบานเบอะแน่นอนครับ)เหลือแต่กระทรวงสาธารณสุขจำเลยที่ ๑ ที่เราจะต้องมาว่ากันต่อ


โดยความเป็นจริงแล้วพวกเราหาได้มีเจตนาจะต้องต่อสู้เอาแพ้ชนะกันไม่เพราะผู้เสียหายเขาก็ได้รับความเสียหายลูกพิการทางสมองมันจะเกิดจากอะไรก็แล้วแต่ถ้าเราไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วยของเด็กเกิดจากปัญหาทางร่างกายของมารดาเด็กหรือเด็กโดยตรงแล้วผมว่ากระทรวงสาธารณสุขควรจ่ายค่าชดเชยให้กับมารดาเด็กตามสมควรผมทราบมาว่า สปสช.เขาจ่ายให้มารดาเด็กไปแล้ว ๒๐๐,๐๐๐ บาทหากจะเรียกร้องอีกก็ควรจะดูที่ความเหมาะสม


ผมเขียนเรื่องนี้เพราะเป็นห่วงปัญหาสังคมในอนาคตเรากำลังออกกฎหมายตามก้นฝรั่งเราฟ้องแพทย์พยาบาลเพราะถือว่าเป็นผู้ให้บริการในขณะที่ผู้ป่วยเป็นผู้บริโภค


ถามสักนิดเถอะว่าแพทย์พยาบาลบ้านเราเหมือนกับแพทย์ทางตะวันตกไหม จะเอาแบบเขาไหมครับแพทย์รักษาผู้ป่วยได้ไม่เกินวันละ ๒๐ คน เขาเรียกค่ารักษาพยาบาลสูงมากปวดฟันไปหาหมอ หมอนัดทำฟันอีกทีปีหน้า จะเอาอย่างนั้นไหมครับเวลาถูกฟ้องก็ถูกเรียกค่าเสียหายสูงมากเช่นกัน


แล้วบ้านเราในแต่ละวันแพทย์รักษาผู้ป่วยวันละกี่คนมีใครตอบผมได้ไหมเกินมาตรฐานอเมริกันกี่เท่าตัว รายได้เดือนละกี่ตังค์ครับ ไม่รักษาก็ถูกฟ้องฟ้องแล้วผิดพลาดต้องชดใช้ค่าเสียหาย ผมไม่ได้เข้าข้างหมอ


แต่ทำกับหมอและพยาบาลอย่างนี้เป็นธรรมกับหมอและพยาบาลไหม..ถามสักคำเหอะ.....








 

Create Date : 11 สิงหาคม 2555   
Last Update : 11 สิงหาคม 2555 15:41:49 น.   
Counter : 3427 Pageviews.  

คำเตือน ผู้ที่มีความประสงค์จะไปเรียน แพทย์ ในต่างประเทศ .. เวบแพทยสภา



//www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=632&id=1


คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่มา/ผู้ประกาศ : ประชาสัมพันธ์
วันที่ : 18 มิ.ย 2555

คำเตือน

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ด้วยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจำนวนมาก แพทยสภาขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน แพทยสภามีมติรับรองหลักสูตร6ปีที่มีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกเฉพาะที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น

นักศึกษาต้องยื่นเรื่องให้แพทยสภารับรองหลักสูตรและสถาบันเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักศึกษามีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้

การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ เป็นการรับรองเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านปรีเมด ปรีคลินิก คลินิก และชั่วโมงเรียนรวมเป็นจำนวนหน่วยกิต โดยเทียบเคียงกับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมไปถึงการบริหารจัดการของสถาบัน

แพทยสภาจึงขอเตือนผู้ที่จะไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับทราบถึงปัญหาการเรียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจและเตรียมตัวต่อไป ดังนี้

  1. การเรียนระดับปรีเมด ปรีคลินิก เป็นการบรรยายและฝึกปฎิบัติในห้องเรียนส่วนใหญ่ ต่างกับการเรียนหลักสูตรของประเทศไทยที่สอนผสมผสานสอดคล้องกับวิธีการประเมินขั้นตอนที่ 1 ของแพทยสภา นักศึกษาจะมีความยากลำบากในการสอบขั้นตอนนี้

  2. โรงพยาบาลทุกระดับใช้ภาษาจีนในการสื่อสารทั้งการอ่านการเขียนและเจรจาโดยเฉพาะคนไข้ ญาติ แพทย์พยาบาลที่ดูแลประจำหอผู้ป่วย แม้มีล่ามช่วยแปลก็ตาม ทำให้เรียนไม่เข้าใจต้องลาออกกลางทาง หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคลินิกเพียงพออาจทำให้ไม่สามารถสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทยได้ นอกจากนั้นระบบเวชระเบียน ใบสั่งยาเกี่ยวกับคนไข้เป็นภาษาจีนทั้งหมดด้วย

  3. นักศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้แตกฉานเรื่องภาษาจีนในช่วงระดับคลินิกซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มมากกว่าในหลักสูตรทั่วไป

  4. ปัจจุบัน นักศึกษากำลังศึกษาในระดับปีแรกๆที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงสิบคนที่เริ่มขึ้นชั้นคลินิกและพบปัญหาการเรียนดังกล่าวจนต้องลาออก

  5. ผลการประเมินขั้นตอนที่1 ของแพทยสภาสำหรับนักศึกษาที่มีสิทธิสมัครสอบทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์

  6. ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องประเมินตนเองให้มากที่สุดก่อนการตัดสินใจ เพราะการเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยในประเทศไทยจำเป็นต้องสอบผ่านได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อน ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับแพทย์ทุกคนทั้งที่จบในประเทศไทยหรือต่างประเทศ



//www.tmc.or.th/news06.php

เรียน ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ

     เนื่องจากแพทยสภาได้ออกประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา ที่ 42 /2548 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 เรื่องการยกเลิกการรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ที่แพทยสภารับรองมาแล้วเกินกว่า 5 ปี สำหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม มายังท่านเพื่อทราบ ตามหนังสือที่ พส. 021/1178 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2550 แล้ว และ แพทยสภาได้ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ พ.ศ. 2550 ใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาที่มีความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องยื่นคำขอให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมทั้งหลักฐานมาตรฐานหลักสูตรและสถาบันการผลิตแพทย์

     ในการนี้ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาให้ท่านแจ้งผู้มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศได้ทราบในเรื่องดังต่อไปนี้

1. แพทยสภาได้ยกเลิกการรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ที่
แพทยสภารับรองมาเกินกว่า 5 ปี ทั้งหมดแล้ว

2. ในกรณีที่หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศไม่ได้รับการ
รับรองจากแพทยสภา นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ดังกล่าวจะขาดคุณสมบัติที่จะสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

3. นักศึกษาผู้มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ ขอให้ติดต่อ
ฝ่ายสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา โทรฯ 02-590-1880 กด 420, 430 เพื่อขอทราบข้อมูลและ
ยื่นคำขอให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้เรียบร้อยก่อนการตัดสินใจ

คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 8/2550 วันที่ 9 สิงหาคม 2550
มีมติไม่รับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตของสถาบัน Bicol Christian College of Medicine ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2550


คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 9/2551 วันที่ 11 กันยายน 2551 มีมติไม่รับรองหลักสูตรแพทย์ศาสตรบัณฑิตของสถาบัน University of Perpetual Help-Dr.Jose G.tamayo Medical University ประเทศฟิลิปปินส์

......................................................................................





//www.tmc.or.th/news06_1.php


ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตร์ ในต่างประเทศ

รายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง(มีอายุการรับรอง 5 ปี)


เรียน ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ

           ตามที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาได้ออกประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาที่42/2548 เรื่อง การยกเลิกการรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ที่แพทยสภารับรองมาแล้วเกินกว่า 5 ปี สำหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไปแล้ว และแพทยสภาได้ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ในต่างระเทศ พ.ศ. 2550 ใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาที่มีความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องยื่นคำขอให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมทั้งหลักฐานหลักสูตรและสถาบันการผลิตแพทย์

           ในการนี้ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาขอแจ้งให้ผู้ที่มีความประสงค์ จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ โปรดติดต่อ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนและรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินทางไปศึกษา ทั้งนี้หากท่านเดินทางไปศึกษาก่อนที่แพทยสภาจะรับรองมาตรฐานหลักสูตร โรงเรียนแพทย์ นั้นๆ อาจไม่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา ซึ่งจะทำให้ท่านไม่สามารถมาเป็นแพทย์ฝึกหัด และสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้

           อนึ่งคนไทยส่วนใหญ่ ที่ไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ มักเลือกเรียนชั้นปีที่ 4 ในประเทศไทย เช่น ที่โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ฯลฯ ในอนาคต อาจพบปัญหาไม่สามารถรับเข้าเรียนได้ หรือรับน้อยลง เนื่องจากสถาบันเหล่านี้ รับเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ให้กับคณะแพทยศาสตร์ ของรัฐ ประกอบกับไม่มีสัญญาผูกพันในการรับนักศึกษาแพทย์ไทยที่ไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในจากต่างประเทศเข้าเรียน

           ทั้งนี้ ผู้ที่ไปเรียนวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ ถ้ามีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งการสอบเป็นการสอบรวมทั้งภาครัฐ เอกชน และต่างประเทศ ใช้ข้อสอบเดียวกัน โดยการสอบแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

           ประเภทการสอบ
           ขั้นตอนที่ 1 หมวดวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์
           ขั้นตอนที่ 2 หมวดวิทยาศาสตร์ทางคลินิก
           ขั้นตอนที่ 3 หมวดทักษะและหัตถการทางคลินิค "รายละเอียดตาม www.cmathai.org"

           ดังนั้น ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ โปรดติดต่อสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรให้เรียบร้อยก่อนที่จะไปศึกษาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้



ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตร์ ในต่างประเทศ

1. เขียนคำร้องให้รับรองสถาบัน  ดาวน์โหลดเอกสาร
พร้อมแนบเอกสารดังนี้
     1.1. สำเนาบัตรประชาชน
     1.2. สำเนาหลักฐานว่าสำเร็จการศึกษาก่อนสมัครเข้าเรียนแพทย์ (Transcript ที่มี GPA)
     1.3. หลักฐานการตอบรับเข้าศึกษาจากสถาบันการแพทย์
2. ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนเพื่อรับรองหลักสูตร 10,100 บาท


แพทยสภาส่งจดหมายถึง Dean  พร้อมแนบแบบฟอร์ม
Information sheet of Foreign Medical School


Dean  ตอบจดหมายกลับมาพร้อมแนบแบบฟอร์ม
Information sheet of Foreign Medical School
(ใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน)


แพทยสภาส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการพิจารณารับรอง
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ


คณะอนุกรรมการพิจารณารับรองหลักสูตรพิจารณาเสร็จ
แล้วส่งเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการ


คณะกรรมการแพทยสภา
มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง พฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน


......................................................................................


การยื่นเรื่องให้รับรองหลักสูตรและสถาบันแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศเป็นรายบุคคล สำหรับผู้มีสัญชาติไทย(*กรุณาอ่านข้อมูลด้านล่างให้ครบถ้วน)เพื่อให้มีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

//tmc.or.th/news06_1.php

ประกาศการรับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากต่างประเทศเข้ารับการฝึกปฏิบัติงานหลังปริญญาในฐานะแพทย์ฝึกหัด ประจำปี 2560 รอบพิเศษ (หมดเขตไปแล้ว )

//tmc.or.th/detail_news.php?news_id=987&id=4




 

Create Date : 14 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 27 สิงหาคม 2560 16:09:18 น.   
Counter : 6827 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]