Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เปิดกับดัก'งานหนักฆ่าหมอ' คนในรู้จนชิน'เรื้อรังมานาน' ... เดลินิวส์



เปิดกับดัก'งานหนักฆ่าหมอ' คนในรู้จนชิน'เรื้อรังมานาน'

งานหนักไม่เคยฆ่าคนจริงหรือ? อย่าให้ต้องสูญเสียคนดีแบบนี้อีก กับดักที่คนในระบบสาธารณสุข รู้และเคยชิน หากทำงานหนักกันแบบทุกวันนี้ วันหนึ่งโศกนาฏกรรมก็อาจจะเกิดขึ้นกับแพทย์ได้เช่นกัน

อาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2560 เวลา 09.30 น.
https://www.dailynews.co.th/article/574914


การทำหน้าที่อุทิศตนเพื่อคนไข้ ไม่หยุดทำงานจนวาระสุดท้ายของชีวิต ทำให้คิดถึงคำพูดที่ว่า “งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน” แต่ทว่า “นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร” ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ยืนยันเสียงแข็งว่า “ไม่มีจริงหรอกคำนั้น งานหนักมันฆ่าคน มันฆ่าหมอใช่หรือไม่?”

จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะแพทย์ บุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศก็ทราบกันดีว่า การทำงานในส่วนภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลเล็กหรือใหญ่ ต้องดูแลคนไข้แตกต่างกันออกไป ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ไม่เป็นเวลาที่แน่นอน “เป็นกะเป็นเวร” จึงเป็นผลลบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อความปลอดภัย

ในขณะที่คนอื่นเขานอน เขาพักผ่อนกัน แต่บุคลากรเหล่านี้ทั่วประเทศในโรงพยาบาลศูนย์ 28 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 88 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 780 แห่ง ต้องตื่นทำงานกันด้วยชั่วโมงที่ยาวนานกว่าสาขาอาชีพอื่น ไม่รู้ว่ามีโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง วันไหนบ้าง หรือมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าแพทย์ยังทำงานหนักกันแบบทุกวันนี้ วันหนึ่งโศกนาฏกรรมก็อาจจะเกิดขึ้นกับแพทย์ได้เช่นกัน

“เวลาเจ็บป่วย พวกเขาลาได้ไหม หลายคนรู้ว่าลาไม่ได้ บางคนหน้าที่เข้าเวร 30-40 เวรต่อเดือน จะหาคนมาทำงานแทนบ้างก็ได้บางครั้ง แต่ละคนก็มีธุระกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่แลกเวรกันไม่ค่อยได้ ไม่ใช่เพราะหมอไม่อยากแทนเวรกัน แต่หมอชำนาญด้านนี้ จะให้สลับหน้าที่กับหมอที่ชำนาญอีกด้าน แล้วความรับผิดชอบที่เรียนมาอยู่ตรงไหน มันก็ไม่ใช่จริงหรือไม่ คนภายนอกเขาไม่ค่อยทราบตรงนี้”

แล้วทำงานแค่ไหนถึงจะพอดี??? มีการเรียกร้องเดินขบวนประท้วง เสียเลือดเสียเนื้อมามากมายในอดีต ที่จะให้มีการทำงานวันละ 8 ชม. ซึ่งต่อมากลายเป็นมาตรฐานการทำงานในปัจจุบัน และที่ประสบผลสำเร็จเป็นแห่งแรก คือ “ออสเตรเลีย” จากการเดินขบวนเรียกร้องในนครเมลเบิร์นในปี ค.ศ.1856 ส่วนในประเทศญี่ปุ่นเคยมีข่าว “หมอห้องฉุกเฉินทำงานจนตาย” เพราะงานหนักเกินไปไม่ได้พักผ่อน แต่ญี่ปุ่นมีระบบช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบจากการทำงานเป็นอย่างดี และมีการชดเชยให้



ในประเทศไทยเรา กฎหมายคุ้มครองเฉพาะผู้ใช้แรงงาน แต่ยกเว้นข้าราชการ ซึ่งแพทย์บางส่วนเป็นข้าราชการ คำถามที่ผุดขึ้นมาก็คือ “แล้วระบบสาธารณสุข คุ้มครองคุณภาพชีวิตความปลอดภัยของแรงงานเสื้อกราวน์จากการทำงานมากแค่ไหน” กว่าจะมีหมอที่เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง เรียนกันเป็น 10 ปี ไม่ใช่ระยเวลาน้อยๆ เลยทีเดียว

เสียงเล็กๆ นี้อาจส่งถึงผู้ที่มีอำนาจมาดูแลบุคลากรสาธารณสุข หวังจัดระเบียบเรื่องการทำงานอยู่เวร จนไม่มีเวลาพัก ดูแลตัวเองและครอบครัว จนกลายเป็นวัฒนธรรมความเคยชินของบุคลากรสาธารณสุขไปแล้ว ยอมรับสภาพ “กับดัก” คือ “สมัยก่อนนะ...ก็อยู่เวรกันแบบนี้แหละ ไม่ได้กิน ไม่ได้นอนกันเลย เงินเดือนก็น้อยกว่าสมัยนี้อีก” หรือกับดักอีกอัน คือ “อ้าว...ถ้าเราไม่ทำ แล้วใครจะดูคนไข้ล่ะ”



“ถ้าคิดว่าการที่ยอมทำงานหนักเหนื่อยแบบนี้ เราทำดีแล้วเราเสียสละเราได้บุญ มองอีกมุมคือ เราทำลายสุขภาพตัวเอง ถ้าเราสุขภาพไม่ดีทั้งกายและจิต เราจะไปสร้าง ซ่อมสุขภาพให้ชาวบ้านได้ดีได้ยังไง เรายังทำร้ายครอบครัวของเราเอง ดูแลลูก สามี ภรรยา พ่อ-แม่ของคนอื่น ขณะที่เราไม่มีเวลาดูแลคนเหล่านั้นในครอบครัว และเราจะทำร้ายระบบสาธารณสุข ยอมแบกภาระจนดูเหมือนไม่มีปัญหา หรือเป็นแค่ปัญหาเล็กๆ การแก้ปัญหาจึงไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจัง กลายเป็นเรื่องเรื้อรังมานานจนถึงวันนี้ ออกจากกับดักกันเถอะครับ”

“ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา” ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดเชื้อ โรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ต้องยอมรับบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลรัฐ รับภาระสูงมาก ทั้งดูแลผู้ป่วยนอกและใน ต้องเจอกับเคสหนักๆ แทบทุกเคส เพราะระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ “14-16 ปีก่อน มันก็เป็นแบบนี้ แต่ละระบบไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน” ซึ่งระบบสาธารณสุขควรจะมีการปกป้องคนเหล่านี้ ไม่ให้ต้องได้รับผลกระทบจากการเสียสละเวลาเพื่อคนไข้



โรคบางโรคต้องอาศัยให้ข้อมูลชาวบ้าน สร้างการรับรู้ให้ชาวบ้านมารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อชะลอโรคไม่ให้เป็นหนักแล้วค่อยมารักษาในระยะลุกลาม งบที่ใช้รักษาต่อรายจึงบานปลาย “ชาวบ้านมารอตี 5 ได้ตรวจบ่าย 2 เขาก็ไม่อยากมาตรวจ เพราะรอหมอนาน คนในวงการสาธารณสุขรู้อยู่เต็มอก จะรีเฟอร์คนไข้ไปโรงพยาบาลอื่นก็ทำได้ยาก” เพราะหากจะดูการทำงานของแพทย์ต่อคน ไม่ใช่จะนำตัวเลขคนไข้ตั้ง แล้วหารด้วยจำนวนคนรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ลักษณะคนไข้ ความรุนแรงของโรค อาการแทรกซ้อน ก็เป็นอีกตัวกำหนดที่สำคัญ

โดยข้อมูลของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งทางภาคอีสาน เฉพาะแผนกอายุรกรรม มีแพทย์ทั้งหมด 60 คน ซึ่งในหนึ่งวันมีแพทย์ 15 คน ต้องดูแลผู้ป่วยนอก 400-800 คน จึงไม่ใช่งานสบายๆ เลยแม้แต่น้อย เพราะคนไข้มาด้วยอาการที่สาหัส ความรุนแรงโรคที่ค่อนข้างหนัก และในหนึ่งวันนั้น แพทย์ 15 คนก็จะต้องดูแลผู้ป่วยในอีกด้วย บางคนขึ้นวอร์ด หรือมีเคสคนไข้หนักๆ ต้องเข้าห้องไอซียู

“โรงพยาบาลแห่งนี้มีผู้ป่วยหนัก ICU มี 3 ห้อง รวม 30 เตียง ผู้ป่วยหนักทางเดินหายใจ 16 เตียง ผู้ป่วยหนักทาง หัวใจ 13 เตียง หอผู้ป่วยชาย 3 วอร์ด 180 เตียง หอผู้ป่วยหญิง 3 วอร์ด 150 เตียง หอผู้ป่วยพิเศษ 48 เตียง หอเฝ้าดูอาการผู้ป่วย 50 เตียง นี่ยังไม่รวมแผนกล้างไต ส่องกล้องปอด กระเพาะลำไส้ บอลลูนหัวใจ ฉีดยาสลายลิ่มเลือดคนไข้อัมพฤกษ์ และรับปรึกษาผู้ป่วยแผนกสูตินารี ศัลยกรรม แล้วปกติโรงพยาบาลศูนย์ก็จะมีคนไข้ที่คัดเลือกว่าหนักหนาเป็นพิเศษ หรือส่งต่อมาอีกที หากผู้ใหญ่จะวางระบบกัน ต้องลงไปดูโรคเอง อย่ามานั่งคำนวณขีดเขียน ผู้บริหารที่ไม่ได้อยู่เวรแล้วอาจจะลืมความรู้สึกแบบนี้ไปแล้ว”

นี่แหละ...คนที่ยังทำงานจะรู้ว่า ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นยังไง เวลาที่เหนื่อยล้าจากการทำงานมันรู้สึกยังไง และคงไม่มีใครอยากตกเป็นเหยื่อรายต่อไป เสียดายคนเก่ง และคนดี...จึงต้องมาอายุสั้น??? เรื่องราวอันน่ายกย่องของนายแพทย์หนุ่ม “นพ.ฐาปกรณ์ ทองเกื้อ” วัย 30 ปี แต่กลับมาเสียชีวิตอย่างน่าใจหาย ต้องเป็นเหตุสุดท้าย.

ขอบคุณภาพ : @Pradit Chaiyabud, @SirNam Wittawad Raksapon, bloggang... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/574914

.........................................................

Vee Chirasreshtha
26 กรกฎาคม

ก่อนที่คุณจะตั้งคำถามว่า ทำไมช้าจัง คุณลองคิดถามดูก่อนว่า เอ๊ะ หมอ กับ พยาบาลเหล่านี้ "ทานข้าวตอนไหน"

คนไทยกำลังทำให้ทุกอย่างแย่ลง
และคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือคนไทยนั่นเอง
.
เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ในตอนนี้
มันเป็นผลจากความไม่รู้ของคนไทยเอง
และระบบที่แย่มานานมาก
.
๑. แพทย์พยาบาลขาดแคลนมานานแล้
เรามีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการตรวจรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันมาเป็นเวลานาน
แต่เราก็ตรวจรักษาเช่นนี้มาตลอด เพราะไม่มีการแก้ไขใดๆที่เป็นรูปธรรม

เอาง่ายๆให้มองเห็นภาพ
ตอนนี้ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก ๑๐ เตียงที่ผมเคยอยู่
จะมีคนไข้ที่มาตรวจรักษาวันหนึ่งประมาณ ๑๐๐ คน (อันนี้ขึ้นต่ำ)
ผมเป็นหมอคนเดียวของโรงพยาบาลแห่งนี้
ดังนั้นเวลาที่ผมใช้ตรวจคนไข้ในหนึ่งวันคือ ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ = ๘ ชั่วโมง
หักพักเที่ยงออกไปก็เหลือ ๗ ชั่วโมง = ๔๒๐ นาที
ดังนั้นผมจะเวลาตรวจคนไข้หนึ่งคน = ๔.๒ นาที
เวลา ๔.๒ นาที คุณคิดว่าผมสามารถทำอะไรได้บ้างครับ
.
๒. เชื่อมั้ยครับว่าโรคที่คนไข้มาหาหมอที่โรงพยาบาล มากว่า ๘๐% เป็นโรคที่หายเองได้
เพียงแค่ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการโรคหวัดไข้น้ำมูก ฯลฯ
แต่เมื่อมาตรวจที่โรงพยาบาลก็ต้องมาใช้เวลา ๔.๒ นาทีนั้น ทำให้คนไข้ที่ป่วยจริงๆและต้องการการตรวจรักษาอย่างละเอียดจากแพทย์เสียโอกาสไป
เพราะผู้ป่วยที่ต้องการการตรวจรักษาอย่างละเอียดจริงๆ ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงเพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง หรือส่งตัวไปรักษาต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า

ดังนั้นเมื่อใช้เวลานาน คนไข้ที่รอ ที่เป็นโรคเล็กๆน้อยๆก็บ่นก็ร้องเรียน ทำให้มันเป็นเหมือนวงจรที่ทำให้แพทย์ต้องรีบและอาจเกิดความผิดพลาดได้
.
๓. นอกเวลาราชการเราจะตรวจเพียงแค่ผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น
ซึ่งคำว่าฉุกเฉินเป็นอย่างไรคนไทยก็ไม่เข้าใจในความหมา
และสิ่งที่เจอที่ไม่น่าจะมี คือ คนไข้ที่มานอกเวลาเพราะบอกว่าในเวลารอนาน ก็เลยมาตรวจเอาตอนดึกๆ
หรือพวกที่เป็นป่วยเล็กน้อยมาสองสามวัน มาเพื่อขอใบรับรองแพทย์
สิ่งเหล่านี้มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ
ซึ่งนอกเวลาราชการคนที่ทำงานก็มีไม่มากอยู่แล้ว จึงทำให้คนที่ป่วยจริงๆต้องรอตรวจมากขึ้น
แต่เมื่อเรามีระบบคัดกรองใครป่วยมากสุดควรได้ตรวจก่อน คนที่อาการหนักมากก็จะตรวจก่อน
ก็จะมีการโวยวายว่ารอนาน ด่าทอเจ้าน้าที่ ถ่ายรูปลง social
.
๔. เจ้าหน้าที่ของรัฐมีจำนวนน้อยและทำงานกันหนักมาก
จนบางครั้งก็มีคำเปรียบเปรยว่าเราคือ กรรมกรปริญญา
แพทย์ทำงานช่วงกลางวัน ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ และอยู่เวรต่อ ๑๖.๐๐ - ๐๘.๐๐ ของอีกวัน
จากนั้นเราก็ทำงานในเวลาราชการต่ออีก ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐
สรุปแล้วเราทำงาน ๓๖ ชั่วโมง ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่เรียกว่า basic แล้วของการทำงาน
คุณพยาบาลก็เช่นกันทำงานเป็นกะ กะละ ๘ ชั่วโมง
ลงกะนี้แล้วได้พักหน่อยก็มาขึ้นกะต่อไป บางทีก็ทำสองกะติดกัน
แบบนี้ก็เป็น basic ของการทำงานเช่นกัน
แล้ว “คุณภาพชีวิต” และ "คุณภาพของงาน" จะอยู่ที่ไหน
.
.
เมื่อทุกอย่างเริ่มแย่ลงจากการที่เราทำตัวเราเอง
และทำให้คนที่ทำงาน “หน้างาน” ซึ่งเป็นคนทำงานจริงๆของโรงพยาบาล
และเป็นคนที่ช่วยรักษาชีวิตของพวกเรามากที่สุดแล้ว
เริ่มท้อแท้และทะยอยลาออกเรื่อยๆ
รวมทั้งเรื่องฟ้องร้องมากมายที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ
จากความไม่เข้าใจกันของทั้งสองฝ่าย
.
สิ่งที่มีผลตามมานั้น
คนที่มีผลกระทบมากที่สุดก็คือตัวเราเอง
เพราะ
.
๑. เมื่อหมอมีเวลาตรวจน้อยลง ตรวจผิดพลาดได้ง่าย และเรื่องร้องเรียนและฟ้องร้องต่างๆมากขึ้น
หมอก็จะส่งตัวผู้ป่วยเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ๆหมด
ไม่กล้าที่จะรักษาที่โรงพยาบาลขนาดเล็ก แม้ว่าจะสามารถรักษาได้ก็ตา
ดังนั้นคนที่ได้รับผลกระทบคือตาสีตาสาที่มีรายได้น้อย ต้องใช้เงินเก็บที่มีทั้งหมดเหมารถมาที่ในเมือง และเสียค่ากินค่าอยู่อีกมากมาย
แม้ว่าจะรักษา “ฟรี” แต่ค่าเดินทางและค่ากินอยู่ไม่ฟรีนะครับ
และมันก็มีค่ามากจริงๆสำหรับชาวบ้านที่หาชาวกินค่ำ
.
๒. เมื่อส่งตัวมาโรงพยาบาลใหญ่มากขึ้น
โรงพยาบาลใหญ่ก็จะแออัดมากขึ้น
คนไข้ก็จะได้ตรวจช้ามากขึ้น
คิวการรักษาก็จะนานมากขึ้น
นานจนบางครั้งรักษาไม่ได้แล้ว
พอเป็นเช่นนี้เรื่องร้องเรียนต่างๆ เช่นได้ตรวจช้าบ้าง หมอวินิจฉัยล้าช้าบ้างก็จะตามมา
แล้วมันก็จะเป็นวงจร ทำให้หมอและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานจริงๆท้อแท้ และเริ่มลาออกกันมากขึ้น
และจะเป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
.
.
เรากำลังทำร้ายคนที่พยายามช่วยรักษาชีวิตของเรากันอยู่ครับ
.
ดังนั้นทางแก้ไข้คือ
.
๑. คนไทยต้องมีความรู้ในเรื่องของสุขภาพมากกว่านี้ และดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานให้ได้
รวมทั้งการเปิดใจรับสิ่งที่ถูกต้องที่ผู้รู้ได้อธิบายได้บอกกล่าว
ไม่ใช่ปิดกั้นทุกอย่าง คิดว่าตัวเองถูกเสมอ
และเชื่อในสิ่งที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ที่ส่งมาตามไลน์ตาม social
.
๒. อันนี้สำคัญมาก
คือผู้ใหญ่ข้างบนคงต้องมีมาตรการที่จริงจังมากกว่านี้
ต้องจริงใจที่จะแก้ปัญหามากกว่านี้
และคิดถึงสวัสดิภาพและขวัญกำลังใจของ “ผู้ปฏิบัติงาน” มากกว่านี้
อะไรที่ต้องเด็ดขาดก็เด็ดขาดครับ
อย่ามาอ้อยอิ่งกลัวร้องเรียนกลัวเสียฐานเสียง
กลัวที่จะไม่ได้ไปต่อ...
ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่เหลือคนที่ทำงานจริงๆครับ
.
.
หากยังเป็นเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ
คนไทยนั่นแหละครับที่จะได้ผลกระทบ
และเมื่อมันเลวร้ายมากขึ้น
คนไทยจะได้รับการรักษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ที่รักษาคุณ “ด้วยหน้าที่” ไม่ใช่ "ด้วยหัวใจ”
.
.
ผมไปดูแลรักษาคุณลุงคุณป้าของผมก่อนนะครับ
ผ่าตัดไปหลายราย นอนรออีกหลายราย
มาไกลกันทีเดียว
ทุกคนรอผมอยู่... รอด้วยใจ
ผมก็จะพยายามรักษาด้วยใจเช่นกันครับ

cr หมอหนุ่ม

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155040912168264&set=a.400083088263.178340.722948263&type=3&theater

...........................................


สภาพการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ : เมื่อแพทย์ป่วยและทนไม่ไหวจนต้องลาออกหรือเสียชีวิต

โดย อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์


24 พฤษภาคม 2560 08:33 น.

https://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000052413
สภาพการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ : เมื่อแพทย์ป่วยและทนไม่ไหวจนต้องลาออกหรือเสียชีวิต
แฟ้มภาพ
อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
       สาขา Business Analytics and Intelligence และวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
       คณะสถิติประยุกต์
       ผู้อำนวยการศูนย์คลังปัญญาและสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


       ข่าวแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐทำงานหนักจนเสียชีวิตติดเชื้อในปอดจากการทำงาน แล้วยังมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขออกมาให้สัมภาษณ์ว่าน้องหมอนั้นเพราะอยากได้เงินจึงขึ้นเวรมากเกินไป ต้องการเก็บเงินเพื่อจะไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง ผมว่าเป็นคำพูดที่ไม่ควรหลุดออกมาจากปากของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเลย

       หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้แพทย์ไทยทำงานหนักที่สุดในโลก โดยได้ผลตอบแทนที่ต่ำมาก แต่แน่นอนว่ามีแพทย์บางพวกที่ไปเป็นผู้บริหารหรือไปเป็น NGO หรือ บริหารองค์กรอิสระ ที่ไม่ต้องทนทำงานหนัก การขึ้นเวรที่เหน็ดเหนื่อยกว่ามาก แต่ได้เงินน้อยกว่า เรื่องนี้ต่างชาติตะลึงมากว่าไทยทำได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เงินน้อยมาก ไม่ใช่ผลงานอะไรของ สปสช. หรอกครับผม นั่นเป็นการตีกินโดยคนทำงานจริงๆ ต้องกรอกข้อมูลส่งเพื่อแลกเงิน คนทำงานหน้างานนั้นหนักและเหนื่อยมากในการรักษาและดูแลคนไข้ แต่อีกคนได้ผลงานไปโดยไม่ต้องทำอะไรมากนักนอกจากรวบรวมตัวเลข ดังนั้นก็อย่าได้แปลกใจว่าทำไมแพทย์ไทยถึงได้ลาออกมากนัก

       ส่วนเรื่องขึ้นเวรไม่เคยต่อเนื่องกันเกินกว่า 24 ชั่วโมงนั้นก็ไม่เป็นเรื่องจริงแต่อย่างใด ผลการศึกษาชื่อ ชั่วโมงการทำงานของแพทย์เพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ใน Srinagarind Medical Journal (//www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1691)

       ซึ่งพบว่าแพทย์เพิ่มพูนทักษะจำนวน 168 จาก 182 ราย ตอบแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 92.3 แพทย์เพิ่มพูนทักษะส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80-90) ทำงานมากกว่า 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์เพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปอยู่เวรนอกเวลาราชการมากกว่าแพทย์เพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ระยะเวลาที่ทำงานติดต่อกันนานที่สุดเป็น 48 + 36, 48 + 36 , 72+ 57 ชั่วโมงในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปตามลำดับ แพทย์เพิ่มพูนทักษะส่วนใหญ่รายงานว่ามีการทำการรักษาหรือทำหัตถการผิดพลาด 1-2 ครั้งและเหตุเกิดที่แผนกอายุรกรรมมากที่สุด

สภาพการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ : เมื่อแพทย์ป่วยและทนไม่ไหวจนต้องลาออกหรือเสียชีวิต


สภาพการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ : เมื่อแพทย์ป่วยและทนไม่ไหวจนต้องลาออกหรือเสียชีวิต


สภาพการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ : เมื่อแพทย์ป่วยและทนไม่ไหวจนต้องลาออกหรือเสียชีวิต
       ได้อ่านดังนี้ก็น่าตกใจมากว่าอยู่กันได้อย่างไร ทำงานหนัก อดหลับอดนอน จนร่างกายทรุดโทรม และเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานได้ด้วย แล้วก็เสี่ยงที่จะถูกฟ้องอีก

        ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า

สาเหตุแพทย์พยาบาลเสียชีวิตจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ นั้นเกิดจาก
       1.ภูมิคุ้มกันต่ำ จากการทำงานหนักจนหมดสภาพเพราะมีผู้เข้ามารับบริการทั้งกลางวันและกลางคืน แบบไม่สามาถแยกได้ว่าหากไม่ฉุกเฉินควรมานอกเวลา ทำให้ ระบบภูมิต้านทานโรคอ่อนแอลงเนื่องจากการรับภาระงานที่หนักตลอด 24 ชั่วโมงขาดการพักผ่อน
       2.ระบบไหลเวียนอากาศไม่ดีทำให้ไม่สามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในอาคาร การปรับปรุงการระบายอากาศของอาคารและการแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทำได้ยากเพราะโรงพยาบาลขาดทุนไม่มีเงินบำรุงใช้ทางออก โรงพยาบาลควรหารายได้เพิ่มโดยไม่เป็นภาระของบุคลากร และลดงานบริการที่ไม่จำเป็นลง

       ดังนั้น

       1.ควรเก็บเงินค่าบริการนอกเวลาหากไม่ใช่ฉุกเฉิน
       2.monitor เวลาทำงานอย่างเปิดเผย
       3.รัฐบาลให้งบประมาณเร่งด่วนปรับปรุงสภาพการระบายอากาศในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อวัณโรคและเชื้อดื้อยาอื่น ๆ


       ทั้งนี้มีแพทย์ใช้ทุนคนหนึ่งที่กำลังจะลาออกเขียนไว้ว่า

ทำไมหมอถึงลาออกจากราชการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ น่ะหรอ
       เพราะ...
       1. “รุ่นก่อนหน้านี้ เค้าก็ผ่านกันมาได้ น้องก็ต้องผ่านไปได้”
       .... อะไรที่มันแย่ มันก็เลยแย่อยู่แบบนั้น ....
       2. ตอนตีสาม “หมอ แสบท้องค่ะ กินน้ำพริกไปตอนตีหนึ่ง ขอใบรับรองแพทย์ด้วยนะคะ หมอเขียนว่า สมควรลาหยุด ด้วยนะคะ ไม่งั้นหนูเบิกไม่ได้”
       .... ใบรับรองแพทย์ คือ เครื่องมือที่เอาไว้ใช้สำหรับหยุดงานและเบิกเงิน ....
       3. “จริงๆ มีอาการมาเป็นเดือนละ มาตรวจตอนตีสอง เพราะว่าคนน้อยดี ไม่ต้องรอคิว”
       .... มักง่าย เห็นแก่ตัว ....
       4. “นี่หมอ ผมเสียภาษีนะ รักษาให้มันดีๆ หน่อย รอก็นาน รู้งี้ไปเอกชนแต่แรกก็สิ้นเรื่อง”
       .... หมอก็เสียภาษีนะ เผื่อคุณไม่รู้ ....
       5. “หมอ ขอฉีดยาได้ปะ เอาแบบหายเลยอะ”
       .... ถ้ามันมียาแบบนั้นอยู่บนโลกก็คงจะดี ....
       6. “เมื่อไหร่จะได้ทำแผลอะคะ รอมาจะเกือบ 1 ชม. ละ ทำงานกันภาษาอะไร คนต้องทำมาหากินนะ”
       .... ปั๊มหัวใจและใส่ท่อช่วยหายใจคนอื่นอยู่ เลยไม่ว่างน่ะ ....
       7. หมอแก่: “เออ น้อง ผมติดประชุมน่ะ ตรวจได้แค่ ชม. เดียวนะ ที่เหลือฝากน้องด้วย”
       หมอจบใหม่: .... พี่มีประชุมทุกสัปดาห์ เวลาเดิม วันที่พี่ต้องออกตรวจตลอดเลยแฮะ ....
       8. เดือนที่ 9 ของการทำงาน...
       me: “อาจารย์คะ ไม่ทราบว่าเดือนนี้ จะได้เงินเดือนตกเบิกมั้ยคะ”
       อาจารย์: “เรื่องเงินเดือน ถาม กพ. นะ 555”
       .... ทำงานไม่ได้เงินมา 9 เดือนนี่มันตลกมาก!?...
       คงต้องรอจนกว่าผู้บริหารจะเป็นคนที่เคยใช้ทุน เคยอยู่เวรแบบเรา มันถึงจะเปลี่ยนแปลง
       แต่เราคงไม่รอ
       #CountDown10Days
       #ทีมสองแสนหก
       #มีลูกจะไม่ให้ลูกเรียนหมอ


       ขณะที่แพทย์ใช้ทุนอีกท่าน เขียนจดหมายเปิดผนึกว่าต้องลาออกจากราชการเพราะสาเหตุดังนี้

#คนในอยากออก #คนนอกอยากเข้า
       เสียดายไหม ตอบเลยว่ามาก ทุกวันนี้ยังมีความสุข (เป็นส่วนมาก) เมื่อตรวจคนไข้ เมื่อเช้าคนไข้ยังขอบคุณและขอให้ผมถูกหวยเลย เราก็ได้แต่ยิ้มๆแล้วบอกว่า ผมไม่เล่นหวยครับ
       วันนี้จะมาขอระบายความในใจ ตลอด 6 ปี ที่เรียนและ 2 ปี ที่ก้าวเข้ามาเป็นหมอ
       1. ตอนเรียนจบ เราภูมิใจมาก เพราะค่านิยมคนไทย หมอยังเป็นอาชีพที่นับหน้าถือตาอันดับต้นๆ
       2. เด็กอายุ 18 จะรู้อะไร ว่าหมอต้องอดหลับอดนอนตั้งแต่ตอนเรียนและตลอดชีวิต สอบทุก 2 สัปดาห์ อ่านหนังสือยิ่งกว่าเตรียมสอบ admission ในเวลา 1 เดือน เจอคำดูถูกถากถางมานับไม่ถ้วน กว่าจะสร้างหมอคนนึงขึ้นมาได้
       3. ต้องขอบคุณอาจารย์ทุกคนมากจริงๆที่สร้างผมมา ถึงแม้วันนี้ผมจะทำตามปณิธานที่ให้ไว้ไม่ได้ก็ตาม
       4. ที่ตัดสินใจแบบนี้ เราใช้เวลาคิดไตร่ตรองอยู่ 8 เดือน ไม่มีวันไหนเลยที่เราเปลี่ยนใจ เราไม่ได้เบื่อคนไข้ แต่เราเบื่อระบบ
       5. ตอนแรกจะเรียนต่อสูติ ทำงานวันแรกเคสแรกก็รับเด็กคลอดตายในมือเลยจ้า CPR + UVC เอง อ.เด็กอึ้งเลย บอกทำเป็นด้วยหรอ แต่ก็นะเลยกลัวมาก เลยเบนไปรังสี ก็คะแนนรังสีไม่ดีอีก เลยจะเรียนพยาธิ แฟนก็ทักว่า เธอจะเอาอะไรกิน เลยมาใช้ทางพระพุทธเจ้า มองดูต้นเหตุ คิดไตร่ตรองกับตัวเอง ว่าทำไมเราโลเลจัง เราเลยมีสติ รู้แจ้ง อ๋อ เป็นเพราะเราไม่ได้ชอบอะไรเลยไง เราแค่จะเรียนต่อเพราะอยากจะออกไปจากการเป็นแพทย์ intern สุดท้าย เราไม่อยากเอาตัวเองเข้าไปสู่บรรยากาศแบบนั้นอีกแล้ว
       6. เวลาเป็นสิ่งที่ หมอไม่มี และมันเคยทำให้เรากับแฟนมีปัญหากัน เค้าบอกว่าเราไม่มีเวลาให้เขาเลย เคยต้องตื่นตี 4-5 ไป รพ. บางวันอยู่เวร 2 วันติด เหนื่อยมาก (เพื่อนเคยโดนจัดให้อยู่เวร 9 วันติด ไปท้วง อาจารย์บอกว่า “ถ้าพวกมึงมีปัญหามาก อยู่ไม่ไหวก็ไม่ต้องอยู่” เลยต้องไปช่วยเพื่อน แบ่งเวรมาอยู่โดยที่ไม่ได้บอกอาจารย์) กลับมาตอนเย็นไม่กินข้าวเย็นเพราะง่วงมาก ต้องนอนเลย ตื่นมา รพ. วนไป ทำแบบนี้ทุกวันหลายเดือน ไม่ได้คุยกับแฟน ไม่ได้เจอหน้าพ่อแม่ ทั้งๆที่อยู่บ้านเดียวกัน
       7. ปัญหาที่มีผลกระทบมากคือ การนอนหลับ เพราะเราเป็นคนหลับยาก ตื่นง่ายมาก แค่เปิดสวิตไฟก็ตื่นแล้ว อยู่เวรทุกครั้ง เครียดมากกับการต้องตื่นมาดูคนไข้หลังเที่ยงคืน เพราะมันจะทำให้เรานอนไม่หลับเลย เลยต้องพึ่งยา ativan 1 mg ต้องกินทุกครั้งก่อนอยู่เวร มันเลยกลายเป็นว่า วันที่ไม่อยู่เวร มันจะนอนไม่หลับ ถ้าไม่ได้กินยา ทุกวันนี้เลิกละ
       8 .เอาเรามาทำงานหนัก ไม่ได้พัก เสียสุขภาพกายและจิต และต้องเสียอะไรหลายๆอย่างในชีวิต เราก็หวังว่าสิ่งตอบแทนที่ได้กลับมามันจะต้องสมผลกัน เงินมากน้อยไม่ว่า แต่คุณต้องจ่ายตรงเวลา ไม่ใช่ติดค้างจนจะเท่าเงินเดือน 1 เดือน บางที่มีการไม่จ่ายบอกหมอว่าให้บริจาคเงินให้ รพ.
       9. หลายคนพูดว่าเป็นหมอต้องเสียสละ เวลาเราไปจ่ายตลาด เราไม่ได้เอาความเสียสละไปซื้อกับข้าว หรือเปล่า เลิกพูดสักทีเถอะ ว่ามึงเป็นหมอนะ ต้องเสียสละ
       10. ต้องมีการกระจายงานที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่ให้แค่แพทย์ใช้ทุนทำงาน อยู่เวรเป็นคนขับเคลื่อน รพ. โอเคให้เราทำงานหนัก แต่พอขอปรึกษาเคส แพทย์เฉพาะทางมีอารมณ์เวลารับปรึกษา (บางกรณี) และปฏิเสธการดูเคสด้วยซ้ำไปทั้งๆที่เป็นสาขาของตัวเอง บางทีก็สงสัยนะว่าที่เรียนต่อกันเพราะอยากสบายหรือ อยากจะเป็นหมอเฉพาะทางกันจริงๆ
       11. ระบบเดิมเป็นมาอย่างไร วันนี้ก็คงยังเป็นเต่าล้านปีอย่างนั้น เราคนเดียวยากที่จะเปลี่ยน มันง่ายกว่าคือการเอาตัวเองออกมา
       12. ผมแนะนำน้องๆ หรือญาติคนไข้หลายๆ คนที่อยากให้มาเป็นหมอแบบผมว่า อย่ามาเรียนเลย และไม่อายปากด้วย ไม่อยากให้ใครมาเจอประสบการณ์แบบผม
       13. ตอนไปสวิส คุยกับคนสิงคโปร์ เค้าถามเราว่า เวลาเข้า รพ. ครั้งนึงเสียตังประมาณเท่าไหร่ เราบอกว่าไม่ทราบ เพราะประเทศไทย ทุกคนฟรี และ doctor ต้อง hard working จริงๆ เค้าก็อึ้ง ทำหน้าตกใจ แล้วถามกลับ “งี้ก็แปลว่าคุณทำงานฟรีอะสิ”
       14. ทำไมคน Gen ก่อนๆถึงมีความคิดว่า ข้าราชการ สธ. มันมั่นคง ผมกลับคิดว่ามันล่มแล้ว และมันจะแย่ลงเรื่อยๆ
       สุดท้าย ผมอาจจะขาดคุณสมบัติกับตำแหน่งข้าราชการด้วยประการทั้งปวงที่กล่าวมา ขอมอบตำแหน่งให้คนอื่นๆที่พร้อมจะเสียสละสิ่งต่างๆข้างต้นมาทำงานแทนผมละกันครับ


       ทุกวันนี้ ค่าตอบแทนแพทย์ชนบท ได้ค่อนข้างดีมาก เช่น แพทย์ชนบทอยู่ในพื้นที่มานานกว่า 21 ปีได้เงินเพิ่มเจ็ดหมื่นบาทต่อเดือน แต่เมื่อรายได้ดีแล้วพอสมควรทำไมถึงไม่สามารถรักษาแพทย์ไว้ในระบบราชการไว้ได้ ถ้าจะโทษ Pull Factor เช่น เอกชน ให้ค่าตอบแทนที่ดีกว่าก็อาจจะใช่ หรือสาเหตุที่แท้จริงเป็น Push Factor ที่เกิดจากความไม่ได้เรื่องของระบบที่ผลักให้คนออกจากระบบราชการกันแน่

       ก็ลองรับฟัง และน่าขบคิด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการเปิดใจรับฟังครับ

...................................

บาปกรรมที่เกิดจากผู้บริหารระดับสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุข

credited นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานสมาพันธ์แพทย์รพ.ศูนย์/รพท.

การที่แพทย์/พยาบาลต้องทำงาน ในหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย ในเวลานานเกินไป(ทำงานติดต่อกันเกิน 8 ชั่วโมง) ทำงานมากเกินปกติของคนทั่วไป (ทำงานสัปดาห์ละมากกว่า 80ชั่วโมง) ปริมาณงานมากเกินไป (ตรวจรักษผู้ป่วยมากกว่า 80-100 คนต่อวัน) ต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยนอนเตียงครั้งละมากกว่า 5คน) ต้องทำงานเช้าต่อบ่ายต่อดึกต่อเช้าโดยไม่ได้หยุดพักผ่อนนอนหลับ

เราคิดว่าเราเป็นคนมีคุณธรรมสูง ยอมเสียสละทำงานเพื่อผู้ป่วยโดยไม่คิดถึงตนเอง

แต่การที่เรายอมทำเช่นนี้ เป็นการคิดผิด เพราะนอกจากจะเบียดเบียนตนเองแล้ว ยังเป็นการทำร้ายผู้ป่วยโดยที่เราไม่รู้ตัว

เนื่องจากมีผลการวิจัยทั่วโลกว่าชั่วโมงการทำงานติดต่อกันอย่างยาวนาน (long working hours) การทำงานเป็นกะ (shift) การทำงานในตอนกลางคืน (night work) ทำให้เกิดผลเสียหายต่อสุขภาพ (health) ของผู้ทำงาน ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ส่งผลต่อความเสี่ยงในความปลอดภัยของผู้ป่วย (risk to patient’s safety) มีผลเสียหายต่อผลลัพธ์ของงาน

กล่าวคือผลงานลดลง ( less productivity) ประสิทธิผลตกต่ำ (less effectiveness) ขาดประสิทธิภาพ (less efficiency)  มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ทำงาน (lower quality of life) ขาดสมดุลระหว่างงานและการดำรงชีวิต (work-life imbalance) มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคม ขาดsocial participation

สรุปแล้วการที่กระทรวงสาธารณสุข ยังบังคับให้แพทย์/พยาบาลต้องทำงานมากเกินไป นอกจากจะเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแพทย์และพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังส่งผลร้ายต่อผู้ป่วยเช่น เกิดผลเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจหรือจากอุบัติเหตุในการทำงาน

เราคิดว่าการที่เรายอมทำงานหนักเหนื่อยแบบนี้ เราทำดีแล้ว เราเสียสละ เราได้บุญ
มองอีกมุม คือ


หนึ่ง เราทำลายสุขภาพตัวเอง ถ้าเราสุขภาพยังไม่ดี(ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต) เราจะไปสร้าง/ซ่อมสุขภาพให้ชาวบ้านได้ดีได้อย่างไร

สอง เราทำร้ายครอบครัวของเราเอง เราดูแลลูก/สามี/ภรรยา/พ่อ/แม่ของคนอื่นโดยไม่มีเวลาดูแล ลูก/สามี/ภรรยา/พ่อ/แม่ของตัวเองรึเปล่า (ถามคนในครอบครัวเราดูหน่อยก็ดี)

สาม เราทำร้ายคนไข้ ถ้าให้คนอื่นที่ร่างกาย/จิตใจพร้อมกว่าเรามาดูแลคนไข้ ผลลัพธ์จะดีกว่าเราที่เหนื่อยและล้ารึเปล่า

สี่ เราทำร้ายระบบสาธารณสุข เรายอมแบกภาระจนดูเหมือนไม่มีปัญหา หรือเป็นแค่ปัญหาเล็กๆ จึงไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังเรื่อยมา กลายเป็นเรื่องเรื้อรังมานานจนถึงวันนี้

พอสรุปได้ว่า นาย “งาน” กำลังทำร้าย นาย “บุคลากร” โดยที่ นาย”ผู้บริหาร” รู้เห็นเป็นใจ ในขณะที่นาย”องค์กรวิชาชีพ”อยู่ในเหตุการณ์แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น

ตามภาษากฎหมาย หากนาย”บุคลากร”บาดเจ็บหรือตายจากการกระทำของนาย”งาน” ถือว่า นาย”ผู้บริหาร”เป็นผู้สมรู้ ผู้สมคบ และถือว่านาย”องค์กรวิชาชีพ”กระทำโดยละเว้น ตามภาษาธรรม .......... บาปกรรม








Create Date : 13 กรกฎาคม 2560
Last Update : 1 สิงหาคม 2560 21:12:34 น. 4 comments
Counter : 2879 Pageviews.  

 
รู้ทันหมอ By Dr.P
21 พฤษภาคม ·

"ตีแผ่ค่าตอบแทนและชั่วโมงการทำงานของหมอไทย"
...เรื่องจริง ที่คุณอาจไม่เคยรู้

ไหนใครบอกไม่มีนโยบายทำงานเกิน 24 ชั่วโมง

คนทั่วไป มักคิดว่า อาชีพหมอ งานสบาย เงินดี มีเวลาพัก
เพราะดูในละครทีไร ก็ เห็นนั่งชิลๆ ว่างๆ ในห้องแอร์
ไม่ก็ ออกมาพูดว่า "ผมเสียใจด้วยครับ คุณมาช้าเกินไป"

คนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยป่วยหนักครับ เวลาไปรพ.ก็ อย่างมากก็ไปตรวจที่ห้องตรวจผู้ป่วยทั่วไป ในเวลา ซึ่ง ก็มักจะเห็นหมอนั่งตรวจสบายๆ ในห้องมีแอร์
เหมือน ทำงาน office มาสายๆ บ่ายก็เลิก
งานง่ายๆ สบายๆ ครับ เด็กๆ ไฝ่ฝัน

แต่เบื้องหลังจริงๆ แล้ว ยังมี
การออกตรวจคนไข้ที่หอผู้ป่วยตั้งแต่ 6-7 โมงเช้า 30-60 เตียง
ต่อมาตรวจ OPD 50-100 คน ต่อวัน
(ที่ใครหลายๆ คนชอบบ่นว่าหมอไปไหนมาช้าจัง)
ตอนบ่าย บางคน อาจจะต้องเข้าห้องผ่าตัด/มีคลินิกพิเศษ
(คือ คลินิกเฉพาะทางใน รพ.นะครับ อย่าดราม่า ว่า ไปรับจ๊อบเปิดคลินิก มันไม่ใช่)
/บางคน เป็นผู้บริหาร มีประชุม/บางคนออกเยี่ยมชุมชน/บางคนไปออกตรวจอนามัย
ตอนเย็น ต้องไปดูผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยอีกหรือเรียกว่าราวด์เย็น
กลางคืนอยู่เวร อาจจะดูผู้ป่วยที่หอผู้ป่วย หรือว่า อยู่ห้องฉุกเฉิน
ถึงเช้า ก็มาตรวจคนไข้ต่อ

"การอยู่เวร" คืออยู่ต่อจากทำงานตั้งแต่เช้า จนข้ามคืนไปอีกวัน และทำงานต่อในอีกวัน
เช่น เริ่มทำงานวันจันทร์ 7 โมงเช้าถึงเย็น อยู่เวรต่อถึงเช้าวันอังคาร พอเช้าวันอังคารทำงานต่อ ถึงเย็น เท่ากับ อยู่เวร 1 วัน = ทำงานติดกัน 34 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

ถ้าอยู่เวรติดหลายวัน เช่น ศ ส อา คือเริ่มทำงาน 7 โมง เช้าวันศุกร์ ข้ามคืนวันศุกร์ วันเสาร์ทั้งวัน ข้ามคืนวันเสาร์ วันอาทิตย์ทั้งวัน ข้ามคืนวันอาทิตย์ วันจันทร์ถึงเย็น ประมาณ 82 ชั่วโมงติด
บาง รพ. เวรวอร์ดอยู่ข้ามคืน ไม่มีพัก งีบได้เมื่อว่าง
บาง รพ. เวรฉุกเฉิน คือ 8 ชั่วโมง อาจเป็นเวรบ่าย หรือดึก แต่กลางวันทำงานปกติ วันถัดไปก็ทำงานปกติ
บาง รพ. เวร ก็คือเวรจริงๆ ดูมันทั้งวอร์ด ห้องฉุกเฉิน ห้องคลอด +-ห้องผ่าตัด ดูทั้งคืน ยันเช้า แล้วทำงานต่อ
ทั้งหมดนี้คือไม่ได้มีช่วงพัก ถ้ามีคนไข้ ทำงานตลอด

แล้วแบบนี้ ถ้าพอจะว่าง พอจะงีบได้มั้ยครับ
หรือคุณอยากตรวจกับหมอที่ถ่างตารอ เหมือนต้อนรับคุณ
แบบเซเว่น 24 ชั่วโมง สภาพเบลอๆ มึนๆ

ทีนี้ลองมาดู ชั่วโมงการทำงาน
เคยนั่งดูข่าว ชม. การทำงานเฉลี่ย
-ประเทศพัฒนาแล้ว อยู่ที่ 26 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
-ประเทศไทย อยู่ที่ 56 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หมอไทย เฉลี่ยการทำงาน
:จ-ศ 7.00-17.00 = 10*5 = 50
:ส-อา 7.00-10.00 = 3*2 = 6
:เวรวันธรรมดา ~2วันต่อสัปดาห์ = 14*2 = 28
:เวร ส-อา ~1วันต่อสัปดาห์ = 21
:เวรห้องฉุกเฉินอีก 2 วันต่อสัปดาห์ =8*2 = 16

เฉลี่ยก็แค่ "121 hrs/wk" สองเท่ากว่าๆ คนทั่วไป
ของค่าเฉลี่ยประเทศไทยเท่านั้นเองครับ 55+

ส่วนค่าตอบแทน เฉลี่ยให้ ประมาณ 60,000 บาทนะครับ จริง ๆ อาจจะมากน้อยกว่านี้แล้วแต่รพ.

60,000 หาร 121*4 = ประมาณ 123 บาท ต่อชั่วโมง
เห็นมั้ยครับว่า ตัวเลขเหมือนจะเยอะ แต่ ตกชั่วโมงหนึ่ง
น้อยมากๆ TT-TT

และการที่ได้เงินมา มันแลกมาด้วย การทำงานในเวลาที่คนอื่นเค้านอน
การที่ไม่ได้หยุดช่วงเทศกาล และการไม่ได้อยู่กับครอบครัว เพราะต้องไปใช้ทุนต่างจังหวัด
(โลกสวย: เหนื่อยนัก ทำไมไม่หยุดละ จะบ่นทำไม เห็นแก่เงินละสิ)
...ไม่ใช่ไม่อยากพักครับ บางครั้งป่วยแทบตาย
หรือคนที่บ้านไม่สบาย แต่ยังไงก็ต้องไปอยู่เวร

เวรที่ต้องอยู่ 15-20 เวรต่อเดือนเนี้ย คือเวรบังคับอยู่นะครับ ไม่ได้เลือกได้
ไม่ใช่เหมือนงาน office วันนี้งานไม่เสร็จ ทำ OT ต่อ วันนี้อยากพักกลับดีกว่า
ไม่ไหวก็ให้คนอื่นอยู่แทนสิ ใครละครับ แต่ละ รพ.หมอไม่ได้มีมากขนาดนั้น
คนนี้เพิ่งอยู่เวรมา คนนั้นกำลังจะอยู่เวรต่อ ให้เค้ามาอยู่แทน เค้าจะไหวมั้ยครับ

เพราะงั้น ถ้ามีธุระด่วน แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้คนอื่นมาอยู่เวรแทน
สรุปก็ต้องอยู่เอง
เห็นแบบนี้แล้ว ใครยังจะบอกว่า งานสบาย เงินดี มีเวลาพัก
ห้ามหลับในเวร ก็ตามสบายครับ
สำหรับบางคน

ปล. โพสต์นี้ของดดราม่า ประเด็น อาชีพอื่นก็งานหนัก เหนื่อย เงินน้อย ไม่มีเวลาพัก เหมือนกัน จะบ่นทำไม อันนี้หมอทราบและเข้าใจดีครับ
แต่ขอพื้นที่ส่วนตัว ชี้แจงเกี่ยวกับวิชาชีพของหมอสักนิด ให้คนนอกที่ยังไม่รู้ จะได้เข้าใจนะครับ

สุดท้ายแล้ว นโยบายมี ห้ามทำงานเกิน 24 ชั่วโมงมีจริงมั้ย อันนี้หมอไม่ทราบจริงๆ ครับ แต่ที่รู้ๆ หมอที่ต้องทำงานเกิน 24 ชั่วโมงมีอยู่จริง และแทบจะส่วนใหญ่ที่ต้องทำแบบนี้ครับ

By Dr.P
ที่มา .. https://www.facebook.com/easyeasydoctorp/posts/1463297020360264


โดย: หมอหมู วันที่: 16 กรกฎาคม 2560 เวลา:19:57:30 น.  

 
รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม???

ทุกครั้งที่มีข่าวแพทย์ลาออก โดยเฉพาะแพทย์ที่จบใหม่ ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่า

"รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนทำไม"
"ทำไมแค่นี้ทนไม่ได้ อาชีพอื่นเหนื่อยกว่าตั้งเยอะเขายังทนกันได้"
"ลาออกทำไม"
และคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งจากคนรอบข้างและจากสังคม

รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม
คำตอบ คือ ไม่รู้ครับ
ไม่มีใครรู้ตั้งแต่แรกหรอกครับว่าการเรียนหมอ จบแล้วจะมีชีวิตอย่างไร

ผมเองก็ยอมรับว่าก่อนมาเรียนก็ไม่รู้หรอก ว่าหลังจากเรียนจบแล้วจะทำงานยังไง ได้เงินเท่าไหร่ มีเวลาหรือไม่มีเวลายังไง ภาวะกดดันยังไง

และผมก็มั่นใจว่า เด็ก ๆ ส่วนมากก็ไม่มีวันรู้หรอกครับ เพราะตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนมากอายุประมาณ 17-18 ปี อย่าว่าแต่อาชีพหมอเลย แม้กระทั่งคณะอื่น ๆ อาชีพอื่น ๆ ที่เลือกเข้าไป ก็รู้แค่ผิวเผินเท่านั้นแหละครับ ไม่มีใครรู้รายละเอียดข้างในลึก ๆ หรอก

ก่อนมาเรียน
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเป็นหมอต้องทำงานติดกัน เกิน 24 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ ครั้ง
- ไม่มีใครรู้หรอครับ ว่าจะต้องมีวันทำงานรวมทั้งวันที่อยู่เวรมากกว่าวันหยุด ในปีแรกวันหยุดจะน้อยมาก เดือนนึงที่ได้หยุดจริงๆ ไม่ถึง 10 วันเสียด้วยซ้ำ และวันนักขัตฤกษ์หรือหยุดยาวนี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยครับว่าจะได้หยุดหรือไม่ บ้านช่องแทบจะไม่ได้กลับ บางทีไม่เห็นหน้าพ่อแม่เป็นเดือนก็มีบ่อย ไปครับ
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลามาทำงานจริงๆ มันลาแทบจะไม่ได้เลย เพราะเราลาหนึ่งคน ก็ส่งผลกระทบต่องานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต่อเพื่อนร่วมงาน หรือต่อคนไข้ เช่นอยู่โรงพยาบาลอำเภอมีหมอ 3 คน คนที่ 1 เป็น ผอ คนที่ 2 และ 3 เป็นหมอ คนหนึ่งตรวจคนไข้ประมาณร้อยคน ถ้าเราลาสักวัน เพื่อนก็ต้องทำงานเป็นสองเท่า เป็นต้น
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งสารคัดหลั่ง หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานภายใต้สภาวะกดดันมากมาย บางครั้งต้องตัดสินใจให้เร็ว เพื่อแข่งกับเวลา และมีโอกาสผิดพลาดได้ทุกนาที
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าใช้เวลาในการเรียน 6 ปี เรียนรู้โรคเป็นร้อยเป็นพันโรค เรียนรู้ยาเป็นร้อยเป็นพันตัว แต่เวลาเอามาใช้งานจริง ๆ จำมาได้แค่ 20% ของที่เรียนก็เก่งมากแล้ว มิหนำซ้าเวลาตรวจคนไข้เจอโรคที่คาดไม่ถึงอีก ก็เกิดความผิดพลาดได้อีก พอผิดพลาดก็เกิดผลกระทบต่างๆ นา ๆ ตามมา
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าตอนที่เรียนนอก ไม่ใช่แค่นั่งเรียนหนังสืออย่างเดียว ยังมีการทำหัตถการพื้นฐานอีกมากมาย เวลาไปผ่านแต่ละแผนก ก็ได้ทำนิด ๆ หน่อย ๆ บางครั้งแทบไม่ได้เห็น เคยเห็นแต่ในตำรา แต่พอมาทำงานจริง กลับต้องทำโดยที่ไม่มีความถนัด ก็เสี่ยงต่อความผิดพลาด และการถูกฟ้องร้อง
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าการทำงานแต่ละนาที เสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน หรือถูกฟ้องร้อง ขาข้างหนึ่งแทบจะก้าวเข้าไปอยู่ในตะรางตลอดเวลา
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเงินเดือนจริง ๆ ไม่กี่หมื่นบาท เวลาอยู่เวร ถ้าจบใหม่ ๆ บางที่ 8 ชั่วโมงก็ 400 - 800 บาท แต่แทบไม่ได้นั่งเลยก็มีนะครับ บางคนเปรียบเทียบว่าเป็นแรงงานชั้นดีค่าตอบแทนถูกนั่นเอง
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่ารายได้มันไม่ได้มากอย่างที่คิด รายได้รัฐบาลบางทีทำแทบตาย ต่อให้ทำทั้งวันทั้งคืนติดกันทั้งเดือน รายได้ก็หลักหมื่น รายได้จะมากหน่อยก็ตอนใช้ทุนปี 2 -3 พอมาเรียนเฉพาะทางแทบไม่มีรายได้เลยอีก 3 - 5 ปี (รับแต่เงินเดือนกับค่าเวร หมื่นสองหมื่นต่อเดือน) บางสาขาจบมา รายได้กลับน้อยกว่าตอนใช้ทุนเสียอีก
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าจะต้องมาเจออะไรในระบบราชการบ้าง ปัญหาร้อยแปด เช่น เอาหมอไปทำงานเอกสาร งานบริหารบ้าง เป็นต้น หรือปัญหาพื้นฐานเช่นเงินเดือนออกไม่ตรงเวลา 6 เดือนแรกไม่มีเงินเดือนให้ ค่าตอบแทนบางอย่างค้างเป็นปี ๆ ก็ยังไม่ออก
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลาเข้ามาเรียนแล้ว จะต้องเรียนต่อยอดไปเรื่อยๆ สามปี ห้าปี และมากกว่านั้นอีก กว่าจะจบและเริ่มเก็บเงินจริงๆ ก็เกือบจะสามสิบห้าแล้ว มีเวลาในการเก็บออมอีกไม่กี่ปี ก็หมดแรงทำงานแล้ว กว่าชีวิตจะสบาย เอาเข้าจริง ๆ ก็วัยห้าสิบกว่า ๆ หรือหลังเกษียณนะครับ

แล้วจะรู้เมื่อไหร่ ว่าการเป็นหมอลำบากขนาดไหน ต้องเจอกับอะไรบ้าง
- สามปีแรกยิ่งไม่ได้แตะตัวคนไข้ นั่งเรียนในห้องสี่เหลี่ยม ๆ กับเรียนแล็บต่าง ๆ
รวมทั้งผ่าอาจารย์ใหญ่ ยิ่งแทบไม่มีโอกาสได้สัมผัสชีวิตจริงของหมอเลยครับ
- ปีสี่ ปีห้า เริ่มเข้ามาสัมผัสกับงานมากขึ้น เริ่มอยู่เวรแต่การอยู่เวรก็แค่เที่ยงคืน และยังมีชั่วโมงเรียนปนกับชั่วโมงฝึกงาน ก็ยังแทบจะไม่รู้อะไร
- ปีสุดท้าย ใกล้ชิดกับความเป็นหมอมากที่สุด แต่ก็ยังไม่ได้ดูคนไข้ทั้งตัวตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการสักเท่าไหร่ การรักษาส่วนมากยังอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่อยู่
- กว่าจะรู้จริงๆ ก็ตอนมาเป็นแพทย์ใช้ทุนแล้ว โดยเฉพาะแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 ที่ต้องออกไปทำงานเอง รับผิดชอบเองทุกอย่าง

ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจเลยครับ ว่าทำไมหมอถึงลาออกในช่วงนี้
ถ้าใครชอบชีวิตที่เล่ามา ก็ดีไป ทำงานต่อไปได้
ถ้าใครไม่ชอบ ก็จะพบสภาวะกดดันต่าง ๆ นา ๆ ทั้งจากสังคมและคนรอบข้าง

ดังนั้น ถ้าหมอสักคนจะลาออก ไม่ผิดหรอกครับ
สังคมไม่ควรตั้งคำถาม หรือควรประณามใด ๆ เพราะอย่างน้อยเขาก็รู้ตัวเองว่าไม่เหมาะกับงานนี้ ให้คนที่เหมาะสมทำจะดีกว่า
ถ้ารู้ตัวเร็วว่าไม่ถนัดกับงานสายนี้ ดีกว่าดันทุรังทำไปด้วยใจไม่รักอีกหลายสิบปี

การเป็นหมอนั้นถ้าเป็นด้วยใจรักก็จะอยู่ได้ถึงวัยเกษียณ แต่ถ้าใจไม่รักก็จะรู้สึกเหน็ดเหนือยและท้อในแทบจะทุกวัน
การเป็นหมอนั้นไม่ได้สบายอย่างที่หลายต่อหลายคนคิด ในส่วนของรายได้ จริงอยู่ว่าไม่ได้อดตาย แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยอย่างที่หลายคนคิด

ลูกเพจของผมหลายๆ ท่านที่ถามมา รวมถึงผู้ปกครอง
นี่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง จากประสบการณ์ตรง
ที่อยากเล่าสู่กันฟัง
ว่าการเป็นหมอ ไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ และชีวิตไม่ได้สวยงามอย่างที่คิดนะครับ
แต่ถ้าใครคิดว่าใจรักจริง ๆ หากมีญาติพี่น้องทำงานในโรงพยาบาล ก็ไปตามดูชีวิตของหมอก่อนได้ก็จะดีครับ
และที่สำคัญ พ่อ แม่ ที่มีความคาดหวังกับลูกมาก ๆ ว่าลูกเรียนเก่ง อยากให้เรียนหมอ จบหมอแล้วจะสบาย รายได้ดี ความคิดแบบนั้น ผมยืนยันว่า "ผิด" อย่างสิ้นเชิงครับ

OR No.9 เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัด
16กค60 เวลา 11:43 น.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=705040683015508&id=495293923990186


โดย: หมอหมู วันที่: 29 กรกฎาคม 2560 เวลา:14:35:24 น.  

 
ผลสำรวจชี้ ‘แพทย์-พยาบาล’ รพ.รัฐทำงานล่วงเวลานานเกิน ด้าน ปชช.รอรักษา 5-8 ชม.
Wed, 2017-08-30 19:53 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/08/14508

เปิดผลสำรวจพบกลุ่มตัวอย่าง
46.22% ใช้เวลาใน รพ.รัฐครั้งละ 5 – 8 ชั่วโมง
59.68% ระบุปัญหาล่าช้าเกิดจากการบริหารจัดการ
ขณะที่ 62.93% ชี้ แพทย์-พยาบาล รพ.รัฐทำงานล่วงเวลานานเกิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องใส่ใจแก้ปัญหามากกว่านี้

เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส, นายพรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ, ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และ นายวัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,203 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันการให้บริการทางด้านสาธารณสุขของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการในสถานพยาบาลยังคงเกิดปัญหาดังที่ปรากฎเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การที่มีแพทย์พยาบาลไม่เพียงพอกับการให้บริการโดยเฉพาะในสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือขนาดกลาง, การที่แพทย์พยาบาลต้องทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน, การกระจุกตัวของแพทย์พยาบาลในเมือง, การรอรับบริการตรวจรักษาพยาบาลเป็นเวลานานในแต่ละครั้ง หรือการบริหารจัดการการให้บริการของสถานพยาบาล เป็นต้น

ถึงแม้ภาครัฐจะได้พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นยังคงปรากฎอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาและความเอาใจใส่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันได้มีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งปรากฎเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นคือปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับความรวดเร็วและความเอาใจใส่ของแพทย์พยาบาลในการดูแลรักษา

ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวส่วนมากจะถูกเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากการเล่าเป็นตัวอักษรแล้วบ่อยครั้งยังมีการนำเสนอภาพหรือคลิปวิดิโอด้วย ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และการถกเถียงระหว่างผู้คนในสังคม ผู้คนส่วนหนึ่งได้แสดงความห่วงใยถึงปัญหาดังกล่าว และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบแก้ไขและทำความเข้าใจให้กับประชาชนมากขึ้น จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.71 เพศชายร้อยละ 49.29 อายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถสรุปผลได้ดังนี้

ด้านระยะเวลาการใช้บริการตรวจรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐโดยเฉลี่ยต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 46.22 ระบุว่า ตนเองใช้เวลาในการตรวจรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลของรัฐต่อครั้งในฐานะผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 8 ชั่วโมง นับจากเวลาที่เดินทางมาถึงสถานพยาบาล จนกระทั่งเวลาที่เดินทางออกจากสถานพยาบาล รองลงมาระบุว่าใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 5 ชั่วโมงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 32.25 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.47 ยอมรับว่าใช้เวลามากกว่า 8 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยต่อครั้ง โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.06 ระบุว่าใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง

เมื่อเปรียบเทียบสาเหตุที่ส่งผลทำให้ผู้ใช้บริการต้องรอรับบริการในสถานพยาบาลของรัฐเป็นเวลานาน ระหว่างปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อย กับปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 59.68 มีความคิดเห็นว่าเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการมากกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.32 ระบุว่าเกิดจากปัญหาจำนวนแพทย์พยาบาลมีน้อยมากกว่า

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.93 เชื่อว่าในปัจจุบันแพทย์พยาบาลส่วนใหญ่ในสถานพยาบาลของรัฐจำเป็นต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาในสถานพยาบาลติดต่อกันยาวนานเกินไป โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 3 ใน 4 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.14 มีความคิดเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่สนใจแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

เมื่อปรากฏข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.27 รู้สึกเห็นใจทั้ง 2 ฝ่ายเท่าๆ กัน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณ 1 ใน 4 หรือคิดเป็นร้อยละ 25.52 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกเห็นใจผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมากกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.21 รู้สึกเห็นใจแพทย์พยาบาลมากกว่า

ในด้านความคิดเห็นต่อปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐ กับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยนั้น กลุ่มตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.15 มีความคิดเห็นว่าผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยไม่สมควรนำภาพ/คลิปวิดิโอที่ปรากฎใบหน้าแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินที่ตนเองมีปัญหากระทบกระทั่งมาเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 57.94 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยมีส่วนบั่นทอนกำลังใจในการทำงานของแพทย์พยาบาลโดยรวมได้

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.27 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเอาใจใส่ในการแก้ปัญหาการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐได้

อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53.2 ระบุว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐกับผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยจะไม่ส่งผลให้ตนเองกลัวการไปใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ

กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.78 และร้อยละ 54.61 มีความคิดเห็นว่าหากมีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอน/วิธีปฏิบัติ/ลำดับความสำคัญ-ความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง และมีการเพิ่มจำนวนแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยกับแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินในสถานพยาบาลของรัฐได้ตามลำดับ



โดย: หมอหมู วันที่: 1 กันยายน 2560 เวลา:20:37:14 น.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:18:00:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]