ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
หอยงับๆ ตัวจริงมาแล้ว....“หอยนักล่า” วงศ์ใหม่ของโลก กัดกินลูกแมลงด้วยฟันคมกริบ

จุฬาฯ โชว์ “หอยนักล่า” วงศ์ใหม่ของโลก กัดกินลูกแมลงด้วยฟันคมกริบ






จุฬาฯ เปิดตัว “หอยนักล่า” ระดับวงศ์ใหม่ของโลก พบในแนวเขาหินปูนภาคตะวันออกของไทย พฤติกรรมหากินตัวอ่อน-ไข่แมลงตามซอกหิน กัดกินเหยื่อด้วยฟันคมกริบ พร้อมสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่พบในไทยรวม 23 ชนิด ฉลอง 23 ปีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจุฬา

“หอยนักล่าเกลียวเชือก” (Diaphera pirma Panha) เป็นหอยนักล่าวงศ์ไดอาฟิริเด (Diapheridae) ซึ่งเป็นหอยวงศ์ใหม่ของโลกที่ค้นพบในเมืองไทย โดยนักชีววิทยาจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีถิ่นอาศัยกระจายอยู่ตามแนวเขาหินปูน ทางภาคตะวันออกของไทย ในเขต จ.ชลบุรี จ.ระยอง และ จ.สระแก้ว โดยมักพบหอยชนิดนี้อยู่พื้นที่ชื้น มีเศษใบไม้ทับถมเน่าเปื่อย ออกหากินหลังฝนตก ตอนที่มีอากาศชื้นและตอนกลางคืน

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่าหอยนักล่าชนิดนี้ กัดกินตัวอ่อนและไข่ของแมลงด้วยฟันที่แหลมคมมาก ซึ่งถือเป็นการช่วยควบคุมประชากรแมลงที่มักจะวางไข่ตามซอกหินเพื่อให้ตัวอ่อนมีที่หลบซ่อนตัว หอยชนิดนี้จึงเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการเพื่อตามไปล่าเหยื่อที่หลบซ่อน

สำหรับหอยล่าเกลียวเชือกนั้น ศ.ดร.สมศักดิ์กล่าวว่า ครั้งแรกที่เห็นนึกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ธรรมดาๆ แต่เมื่อวิเคราะห์รหัสพันธุกรรม โดยส่งไปตรวจที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (University of Nottingham) อังกฤษ จึงพบว่าเป็นสิ่งมีชีวิตวงศ์ใหม่ของโลก และได้ตีพิมพ์ลงวารสารลินเนียนโซไซตี (Linnean Society) วารสารวิชาการด้านอนุกรมวิธานที่มีอายุเก่าแก่กว่า 160 ปี อีกทั้งอวัยวะภายในของหอยชนิดนี้ยังมีความแตกต่างกับหอยชนิดอื่นอย่างชัดเจน มีเปลือกคอยาวออกและมีฟันคมกริบเหมือนใบมีด และเป็นเครื่องผลักดันในการล่าของหอยวงศ์นี้

“ต้องเห็นตอนที่มันกินเหยื่อ กัดกร๊วบๆ ฟันมันคมมาก” ศ.ดร.สมศักดิ์กล่าวพร้อมออกท่าทางการกัดกินเหยื่อของหอยนักล่าชนิดใหม่ที่มีขนาดเพียง 4-5 มิลลิเมตร

ในการออกสำรวจพื้นที่นั้น ทางทีมวิจัยจะใช้ตะแกงร่อนดินซึ่งปกติจะพบซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ทำให้นักสำรวจความหลากหลายทางชีวิคพบว่ามีร่องรอยของสิ่งมีชีวิตอะไรบ้างแล้วจึงหาตามหาสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ทั้งนี้กว่าจะทราบว่าเป็นสิ่งชีวิตใหม่ของโลกต้องใช้เวลาและกระบวนการพิสูจน์หลายอย่าง บางครั้งใช้เวลานาน 2-3 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งมีชีวิตที่พบนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่จริงๆ

สำหรับสัตว์นั้น มีหน่วยงานคณะกรรมการระบบตั้งชื่อสัตว์นานาชาติหรือไอซีแซดเอ็น (International Commission on Zoological Nomenclature: ICZN) ในการรับรองและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ โดยแต่ละปีมีการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ 100-150 ชนิด ส่วนพืชนั้นมีโอกาสค้นพบน้อยกว่าสัตว์เพราะมีจำนวนสปีชีส์น้อยกว่า โยแต่ละปีพบพืชชนิดใหม่อย่างมากเพียง 20 ชนิด อย่างไรก็ดี ในกรณีของสัตว์นั้นแม้จะพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ทุกปี แต่ก็มีสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากที่สูญพันธุ์ไปก่อนจะมีการค้นพบ โดยทุกๆ 50 ชนิดที่พบใหม่ในแต่ละปีจะมีสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป 5-10 ชนิดโดยที่ยังไม่ได้ค้นพบ

“การค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่นั้น ทำให้เรารู้จักระบบนิเวศน์และได้เห็นว่าความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเป็นอย่างไร และเป็นเสมือนลายแทงชีวภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางยาและอาหาร การเกษตรและอุตสาหกรรม อย่างเช่น ไส้เดือนและกิ้งกือ ซึ่งมีกว่า 100 ชนิด และแต่ละชนิดมีบทบาทที่แตกต่างกัน ไส้เดือนชนิดหนึ่งเหมาะกับสภาพแวดล้อมชนิดหนึ่ง หรือสิ่งมีชีวิตบางชนิดมีฤทธิ์ทางยา แต่หากเราไม่รู้ความหลากหลายชีวภาพ อาจหยิบผิดตัวได้” ศ.ดร.สมศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ หอยนักล่าเกลียวเชือกถูกนำไปจัดแสดงร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ที่ค้นพบโดยนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งหมด 23 ชนิดในนิทรรศการ “การค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งจัดขึ้นโดยโครงการพัฒนาพิพิธภัณธ์วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ณ โถงรูปไข่ ชั้น 1 อาคารจตุรัสจามจุรี ระหว่างวันที่ 13-16 ธ.ค.53

สำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่เหลือ ซึ่งจัดแสดงในนิทรรศการดังกล่าว ได้แก่ ไรแมกซีชีเลสไทย (Mexecheles thailandensis) ไรแซมซินาเคียจารณศรี (Samsinakia charanasriae) ไรอะดามิสทิสไทย (Phyllochthonius thailandensis) ไรไฟลอคโทเนียสขนรูปไข่ (Phyllochthonius ovatosetosus) ไรไฟลอคโทเนียสขนพวง (Phyllochthonius peniculus) ตะเข็บน้อยเอ็นฮอฟ (Orthomorpha enghoffi) ตะเข็บน้อยหนังช้าง (Orthomorpha alutaria) ตะเข็บน้อยปีกเรียวเล็ก (Orthomorpha asticta) ตะเข็บน้อยปีกกว้าง (Orthomorpha parasericata) กิ้งกือกระบอกเมืองฉอด (Heptischius lactuca) แตนเบียนหนวดยาวเฟลิเซีย (Ischnobracon feliciae) แตนเบียนหนวดยาวสุพจน์ (Ischnobracon hannongbuai) แตนเบียนหนวดยาวเหลือง (Ischnobracon xanthoflagellaris) แตนเบียนขาขาว (Ischnobracon albitarsus) แตนเบียนหนวดยาวบัลทาซ่า (Ischnobracon baltazaree) แตนเบียนหนวดยาวมอลเล่ย์ (Ischnobracon morleyi) หอยต้นไม้ลายจุด (Rhachistia conformalis) กบห้วยขาปุ่มจารุจินต์ (Limnonectes jarujini) กบห้วยขาปุ่มเทเลอร์ (Limnonectes taylori) หญ้าข้าวป่าไทย (Mnesithea thailandica)


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000175175


Create Date : 14 ธันวาคม 2553
Last Update : 14 ธันวาคม 2553 0:15:56 น. 0 comments
Counter : 1779 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.