ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
7 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
พบโลกใหม่ ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายโลกของเราแล้ว ครั้งแรก!

พบ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ดาวเคราะห์คล้ายโลกมีชั้นบรรยากาศ ครั้งแรก!


ภาพวาจำลองดาวเคระห์นอกระบบสุริยะ จีเจ 1214บี ที่โคจรรอบดาวแคระแดงที่อยู่ห่างจากโลก 40 ปีแสง และมีจันทรืบริวาร 2 ดวง (David A. Aguilar /ไซน์เดลี)



นักดาราศาสตร์เผยผลวิเคราะห์พบชั้นบรรยากาศในดาวเคราะห์หิน “ซูเปอร์เอิร์ธ” นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก ชี้เป็นก้าวสำคัญในการสำรวจเพื่อจำแนกดาวเคราะห์ของระบบสุริยะอื่นที่มีศักยภาพเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในรูปแบบที่เราจะทำความรู้จักได้

ทั้งนี้ “ซูเปอร์เอิร์ธ” (super-Earth) คือชื่อเรียกดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ขนาดใหญ่กว่าโลกเพียง 2-3 เท่า โดยดาวเคราะห์ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบชั้นบรรยากาศคือดาวที่มีชื่อ “จีเจ 1214บี” (GJ 1214b) ซึ่งไซน์เดลีระบุว่าดาวเคราะห์ดวงนี้โคจรอยู่รอบดาวแคระแดงที่อยู่ห่างออกจากโลกออกไป 40 ปีแสง และเป็นดาวเคราะห์ที่มีรัศมีกว่าโลก 2.7 เท่า และมีมวลมากกว่าโลก 6.5 เท่า

นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้ตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปี ค.ศ.2009 ซึ่งครั้งนั้นพวกเขารายงานว่าโลกใหม่ที่ค้นพบนั้นมีสัญญาณของชั้นบรรยากาศหนาๆ อยู่ มาถึงตอนนี้งานวิจัยที่นำทีมโดย เจค็อบ บีน (Jacob Bean) ศาสตราจารย์จากศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน (Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics) ได้วัดและคำนวณขนาดของชั้นบรรยากาศออกมาได้เป็นครั้งแรก

“นี่เป็นดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธดวงแรกที่เรารู้จักว่ามีชั้นบรรยากาศ แต่ด้วยการวัดคำนวณชั้นบรรยากาศครั้งนี้เรายังไม่อาจบอกได้ว่าชั้นบรรยากาศนั้นเกิดจากอะไร ดาวเคราะห์ดวงนี้ค่อนข้างขี้อายและปิดบังธรรมชาติของมันไม่ให้เราเห็น” ศ.บีนให้ความเห็น และบอกด้วยว่าตอนนี้เรามาถึงหลักไมล์บนถนนที่มุ่งหน้าสู่การระบุลักษณะของดาวเคราะห์ลักษณะนี้

ดาวเคราะห์ จีเจ 1214บี โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเล็กๆ ที่ไม่สว่างมาก ทำให้ง่ายต่อนักวิทยาศาสตร์ที่จะศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้ โดยทีมวิจัยอาศัยช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของตัวเอง ระหว่างนั้นแสงของดาวฤกษ์จะถูกกรองผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ ก๊าซในชั้นบรรยากาศจะดูดกลืนความยาวคลื่นแสงบางช่วงหรือบางสีของคลื่นแสง ซึ่งจะทิ้งหลักฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีให้นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบกันบนโลก คล้ายกับนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบไอก๊าซไฮโดรเจนและโซเดียมในชั้นบรรยากาศของ “ดาวพฤหัสบดีเดือด” ที่อยู่แสนไกล

ด้าน เดวิด ชาร์บอนนิว (David Charbonneau) นักดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยครั้งนี้แต่เป็นผู้นำทีมค้นพบดาวเคราะห์ จีเจ 1214แสดงความเห็นด้วยว่าการค้นพบล่าสุดนี้มีความสำคัญ และเป็นหลักไมล์ในการศึกษาคุณลักษณะของดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธนี้

“ในเวลาไม่ถึง 10 ปี เราได้ก้าวไปถึงการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์อื่นที่คล้ายดาวพฤหัสบดี ไปจนถึงดาวเนปจูนและดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธ ดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกจะเป็นคิวถัดไป แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากมากก็ตาม” ชาร์บอนนิวให้ความเห็น

ศ.บีนบอกทางเอเอฟพีว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้ร้อนเกินกว่าที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ โดยในบริเวณที่มีความดันบรรยากาศเท่าๆ กับที่พบในระดับน้ำทะเลของโลกนั้น มีอุณหภูมิสูงถึง 500 องศาเซลเซียส ถึงกระนั้นดาวเคราะห์ดวงนี้ก็เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กกว่า เย็นกว่าและคล้ายโลกมากกว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงอื่นๆ อีกกว่า 500 ดวงที่พบแล้ว และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะส่วนใหญ่ที่พบนั้นคล้าย “ดาวพฤหัสบดีเดือด” เสียมากกว่า เนื่องจากดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่พบมีขนาดใหญ่ มีก๊าซมากและยังร้อนจัดอีกด้วย

จีเจ 1214บี โคจรครบรอบดาวฤกษ์ของตัวเองทุกๆ 38 ชั่วโมง ด้วยระยะทางห่างแค่ 2 ล้านกิโลเมตร ซึ่งใกล้กว่าระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ถึง 70 เท่า ทั้งนี้ ทีมวิจัยศึกษาดาวเคราะห์ดวงนี้ในย่านรังสีอินฟราเรดใกล้ที่มีความยาวคลื่น 780-1,000 นาโนเมตร โดยใช้กล้องโทรทรรศน์บนภาคพื้นดินเวรีลาร์จ (Very Large Telescope) ขององค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ในหอดูดาวพารานัล (Paranal Observatory) ที่ชิลี และการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ย่านรังสีอินฟราเรดกลางและไกล อาจช่วยตอบคำถามได้ว่าดาวดวงนี้เป็นไอน้ำร้อนหรือดาวก๊าซกันแน่น

ผลการศึกษาครั้งนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature) โดย ศ.บีนยังได้ร่วมกับ เอลิซา มิลเลอร์-ริซซี เคมป์ตัน (Eliza Miller-Ricci Kempton) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานครูซ (University of California, Santa Cruz) และ เดเรค โฮเมียร์ (Derek Homeier) จากสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (Institute for Astrophysics) ใน กอตติงเกน เยอรมนี


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000170931

โห! นึกว่าพบแล้วจริงๆ รออีก 10 กว่าปี แน่ะ แก่ไปอีกเยอะเลยเรา กะว่าจะไปซะหน่อย


Create Date : 07 ธันวาคม 2553
Last Update : 7 ธันวาคม 2553 15:51:25 น. 0 comments
Counter : 1507 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.