ทำได้ไง? – ค่าจ้างเงินเดือนสูงขึ้น แต่ของกินของใช้ถูกลง!
ในโลกนี้ปัจจัยการผลิตทั้งสิ้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภทเท่านั้น คือ ที่ดิน แรงงาน (กายและสมอง) และ ทุน
ที่ดินหมายรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทุนคือเศรษฐทรัพย์ส่วนที่ใช้ช่วยการผลิตและค้า รวมทั้งสินค้า
(เศรษฐทรัพย์คือวัตถุที่มิใช่มนุษย์ มนุษย์ต้องการ และผลิตด้วยปัจจัยการผลิตสองปัจจัยแรกหรือทั้งสามปัจจัย)
แต่ละคนอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้หลายประเภท แต่ในการพิจารณา เราต้องแยกเจ้าของปัจจัยทั้งสาม
โดยเฉพาะคืออย่าสับสนระหว่าง นายทุน กับ เจ้าของที่ดิน

ลูกจ้างคนงานจะมีสภาพดีขึ้นมากมายถ้าเก็บภาษีการถือครองที่ดินเท่ากับค่าเช่าที่ควรเป็น
แล้วเลิก/ลดภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตและค้า เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทดแทนกัน
ถ้าเก็บภาษีแบบนี้ รายได้ของเจ้าของที่ดินก็จะหายไปเกือบหมด ส่วนรัฐบาลก็คงได้ภาษีเท่าเดิม

แล้วใครล่ะจะเป็นผู้ได้? แน่นอน – ผู้ใช้แรงงาน (แรงสมองและแรงกาย) และผู้ลงทุน
ผู้ทำงานมีเงินเดือน ค่าจ้าง และผู้ลงทุนมีกำไรหรือดอกเบี้ย ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียน้อยลง ก็ได้ผลตอบแทนสุทธิสูงขึ้น
ของกินของใช้จะถูกลงก็เพราะ “ภาษีทางอ้อม” ที่ลดลงหรือหายไป เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าเข้า ภาษีสรรพสามิต
ยิ่งกว่านั้น ผู้ลงทุนลงแรงที่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นจากการลด “ภาษีทางตรง” ก็อาจยอมเสียส่วนนี้ไปบ้างในการแข่งขันกันเชิงธุรกิจ

แถมค่าเช่าที่ดินขณะนี้สูงเกินจริงเพราะการเก็งกำไรเก็บกักปิดกั้นที่ดินไว้มหาศาล
ถ้าเก็บภาษีที่ดินสูงขึ้น เจ้าของที่ดินจะเก็บที่ดินไว้เฉย ๆ หรือใช้ประโยชน์น้อยไปเรื่อย ๆ ได้หรือ ?
ที่ดินก็จะเปิดออกหาคนทำงานในที่ดิน หรือขายออกไปในราคาต่ำลง
คนก็จะหาที่ดินเป็นที่อยู่ที่ทำกินเองหรือหางานทำได้ง่ายขึ้น การว่างงานลด ค่าแรงเพิ่ม
นายทุนเจ้าของกิจการจะกลับเป็นฝ่ายต้องง้อคนงาน

สหรัฐฯ ได้ใช้วิธียอมเสียรายได้จำนวนมหึมา *ลดภาษี* เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นครั้งคราวเรื่อยมา
แต่เราจะทำได้ถาวรกว่า เพราะชดเชยโดยเพิ่มภาษีมูลค่าที่ดินแทน ซึ่งจะกลับไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกแรงหนึ่ง

ด้านความเป็นธรรม การซื้อที่ดินไม่ใช่การลงทุนผลิต เจ้าของที่ดินไม่ได้มีส่วนร่วมในการผลิต
แต่เป็นการสืบต่อสิทธิ์เรียกผลตอบแทนการใช้ที่ดินจากผู้ลงแรงลงทุนผลิต
ถ้าเจ้าของที่ดินลงแรงหรือลงทุนในที่ดิน เขาก็ได้รับผลตอบแทนในฐานะผู้ลงแรงลงทุนอยู่แล้ว

ที่ดินย่านชุมชนมีราคาเพราะผู้คนมารวมกันเพื่อความปลอดภัยและซื้อขายแลกเปลี่ยนสะดวกรวดเร็ว
กิจกรรมการก่อสร้างการผลิตการค้าของเอกชนเอง ทำให้สังคมน่าอยู่ มีสิ่งให้ความสะดวกสบายมากขึ้น
ภาษีจากการลงทุนลงแรงนำไปบริการสังคม สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
มันกลับไปทำให้ราคา-ค่าเช่าที่ดินสูงขึ้น และสูงขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นประโยชน์แก่เจ้าของที่ดิน
แต่ผู้ทำงานและผู้ลงทุนเป็นฝ่ายต้องจ่ายภาษีนี้ และผู้ไร้ที่ดินยังต้องจ่ายค่าเช่ามากขึ้น ๆ อีกด้วย

ข้อที่ขอย้ำ คือ การเปลี่ยนแปลงควรค่อยเป็นค่อยไป อาจต้องนานหลายสิบปี
เพื่อให้ทุกคนมีเวลาปรับตัวได้พอควร และถือเป็นการชดใช้ให้แก่เจ้าของที่ดินไปด้วยในตัว
จะชดใช้ให้แก่เจ้าของที่ดินวิธีอื่นก็ไม่ควร เพราะเงินชดใช้นั้นจะได้มาจากใครถ้ามิใช่ผู้ลงแรงผู้ลงทุน
ซึ่งเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่นานมาแล้ว ไม่รู้ว่าจะต้องเสียเปรียบไปอีกนานเท่าไร และยิ่งรุนแรงขึ้น ๆ

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //geocities.com/utopiathai



Create Date : 24 มกราคม 2551
Last Update : 31 มกราคม 2551 7:10:32 น.
Counter : 856 Pageviews.

0 comments
"หลวงพ่อโต" วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มิ.ย. 2568 02:46:10 น.)
14 มิ.ย. 68 ไปเรียน kae+aoe
(19 มิ.ย. 2568 06:48:33 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
นกยางกรอกพันธุ์จีน tuk-tuk@korat
(5 มิ.ย. 2568 12:35:42 น.)

Utopiathai.BlogGang.com

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด