ชาวพุทธคิดอย่างไรกับคนที่เลิกนับถือพุทธแล้ว


ดู กท.นี้ด้วยพันๆกันอยู่  

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=28-09-2021&group=6&gblog=72

 
ถาม 450

231ศาสนาไหนบ้างเป็นแล้วออกไม่ได้ และชาวพุทธคิดอย่างไรกับคนที่เลิกนับถือพุทธ

สวัสดีค่ะทุกคน

เกริ่นก่อนนะคะว่าข้อสงสัยนี้เริ่มมาจากที่เราไปทราบมาว่าศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้คนเลิกเป็นอิสลาม    ถึงขนาดที่ว่ามี 13 ประเทศอิสลาม   มีกฎหมายให้ประหารชีวิตคนที่เลิกเป็นอิสลาม (ตามข้างล่าง) และต่อให้ไม่ได้อยู่ในประเทศเหล่านี้   ครอบครัวหรือสังคมอิสลามในประเทศอื่นมักจะคว่ำบาตร หรือตามข่มขู่คนที่ออกจากศาสนาอิสลาม   นี้เป็นเหตุให้ดิฉันเริ่มสงสัยว่ามีศาสนาไหนอีกบ้างที่ไม่ให้ หรือ เกลียดคนเลิกนับถือ   แล้วชาวพุทธล่ะ  คิดอย่างไรกับคนที่เลิกนับถือพุทธ   
นอกจากนี้  อยากถามว่าคุณมีความเห็นกับกฎที่ไม่ให้ออกจากศาสนาอย่างไร   ส่วนตัวดิฉัน  ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงเลย    เพราะความเชื่อมันบังคับกันไม่ได้
(ดิฉันเคยเป็นพุทธ    แต่ตอนนี้ไม่มีศาสนาแล้ว   แต่ไม่ได้เลิกเพราะไม่ชอบเลิกเพราะคิดว่าศาสนาไม่ใช่ส่วนสำคัญในชีวิตดิฉันขนาดนั้น)

Afghanistan, Brunei, Iran, Malaysia, Maldives, Mauritania, Nigeria, Pakistan, Qatar, Saudi Arabia, Somalia, United Arab Emirates, Yemen (Wikipedia)

https://pantip.com/topic/41008169

ตัดบทความจาก กท. ลิงค์ข้างบนมานิดหนึ่งสำหรับพิจารณาและใช้อ้างอิง  (ผู้นั้นนับถืออิสลาม)

"ในช่วงแรกนั้น   ด้วยความที่ยังเกรงกลัวสิ่งที่เรียกว่าพระเจ้าอยู่  จึงคิดจะไปนับถือศาสนาคริสต์    แต่ก็พักความคิดชั่วระยะหนึ่ง    เพราะต้องการเลือกศาสนาของตัวเองจริงๆ ตัวเองเลือกที่จะไม่นับถือศาสนาอะไรเลยก็ได้   แต่ตัวเองไม่เลือก  เพราะเข้าใจว่าชีวิตทางโลกนั้น ควรมีชีวิตทางธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งเข้าด้วย   จึงจะใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุขโดยแท้จริง  

(เนื่องจากส่วนตัว   คิดว่า กลุ่มคนไม่มีศาสนานั้น  ใช้ชีวิตโดยไม่คิดอะไรมากมาย และทำๆ ไปตามที่ใจต้องการ และมีปรัชญาชีวิตที่เน้นจากเรื่องราวทางโลกเกือบล้วนๆ  ซึ่งคงไม่ใช่แนวทางของตัวเองที่ต้องการแสวงหาทางสว่าง และความสงบสุขในจิตใจอยู่ตลอดเวลา)

173

    ที่บอก   (ดิฉันเคยเป็นพุทธแต่ตอนนี้ไม่มีศาสนาแล้ว   แต่ไม่ได้เลิกเพราะไม่ชอบ เลิกเพราะคิดว่าศาสนาไม่ใช่ส่วนสำคัญในชีวิตดิฉันขนาดนั้น)

    คติพุทธบอกว่า คนเราประกอบด้วยร่างกายส่วนหนึ่ง  (รูปธรรม) จิตใจส่วนหนึ่ง (นามธรรม) มีทั้งสองส่วนนี้ครบจึงเรียกชีวิต  แล้วชีวิตแต่ละส่วนๆ ก็มีอาหาร คือ  อาหารกาย  กับ อาหารใจ  (พักไว้แค่นี้) 

ที่ถาม   "ชาวพุทธคิดอย่างไรกับคนที่เลิกนับถือพุทธ"  

คิดว่า เป็นสิทธิส่วนบุคคล  จะอยู่จะไปเป็นสิทธิ์เฉพาะตน   (แค่นี้สั้นไป)  ต่ออีกหน่อย เปรียบให้เห็นภาพก็ประมาณหนุ่มสาวทีแรกก็รักกัน   ก็จึงตกลงปลงใจแต่งงานกันอยู่ด้วยกัน   แต่พออยู่ๆไป ชักนั่นนี่โน่นทัศนะไม่ตรงกันเข้ากันไม่ได้ว่ากันไป   ก็เลยเลิกกันหย่ากัน   พ่อแม่พี่น้องทั้งสองฝ่าย จะยื้อจะห้ามก็ไม่มีสิทธิ์ ฉันใดก็ฉันนั้น 3 

พระพุทธเจ้าก็ไม่บังคับให้ใครมานับถือ  เช่น ตัวอย่างที่สนทนากับชาวบ้านกาลามะชน  กับ พระสารีบุตร  กล่าวคือ  พระสารีบุตรบอกถึงความเลื่อมของตนต่อพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าจะถามก่อนว่า คุณมานับถือฉันด้วยเรื่องอันใด   ฉันมีอะไรดีให้คุณมานับถือ  คุณรู้ได้ยังไง ว่านั่นนี่โน่นฉันดี  ถามก่อนเลย   107  ถามแล้วก็ฟังเขาพูด  (ข้อความข้างล่าง)

ที่ว่า  "นอกจากนี้  อยากถามว่าคุณมีความเห็นกับกฎที่ไม่ให้ออกจากศาสนาอย่างไร  ต่อให้ไม่ได้อยู่ในประเทศเหล่านี้   ครอบครัว หรือ สังคมอิสลามในประเทศอื่น มักจะคว่ำบาตร หรือตามข่มขู่คนที่ออกจากศาสนาอิสลาม" 

ปกติคนไม่ชอบความเป็นเผด็จการ.    คงถูกปลูกฝังความคิดเช่นนั้นจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นพันๆปี เหมือนเรื่องวรรณะของชาวฮินดู เหมือนว่ามันฝังอยู่ในหัวสมองเลย 9

ดูตัวอย่าง  https://dhammachati.blogspot.com/2021/09/blog-post_45.html  

ลัทธินี้ ถ้าเป็นพวกเดียวกันนับถือพระเจ้าด้วยกัน  ต่อให้สังคมโลกว่า ผิดว่าไม่ดี  เขาก็ช่วยกัน ดังคำพูดเขาที่ว่า "เป็นเรือนร่างเดียวกัน เป็นเนื้อเดียวกัน"   ตย.450

https://1.bp.blogspot.com/-nfdX2yrBaRY/YTidShRUIVI/AAAAAAAAAxA/ZQrNzpc05ms4y0P6m7Oc3ZUJCy0kUOrYwCLcBGAsYHQ/s320/240945177_375106270832564_6932298028383012252_n.jpg

เขาถือบุคคลเป็นใหญ่  ไม่ใช่ถือธรรม (กุศลธรรม) เป็นใหญ่

ดูตาลีบันออกจากป่าจากถ้ำได้เข้าเมือง ก็เล่นเครื่องเล่นกันสนุกสนาน 107 แต่อาวุธไม่เคยห่างตัว เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต  ไปตลาดก็มีอาวุธในมือ ไปละหมาดก็มีปืนวางข้างหน้า

https://www.facebook.com/watch/?v=844671299431524

5


     เมื่อมีผู้ใด   ประกาศตัวเอง   แสดงความเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะประทานความเห็นชอบ จะทรงสอบสวนก่อนว่า  ศรัทธาปสาทะของเขามีเหตุผลเป็นมูลฐานหรือไม่ เช่น ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  กราบทูลแสดงความเลื่อมใส และพระพุทธเจ้าตรัสตอบ ดังต่อไปนี้

  พระสารีบุตร:   พระองค์ผู้เจริญ   ข้าพระองค์ เลื่อมใส ในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี อื่นใด ที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางสัมโพธิญาณได้นั้น ไม่เคยมี จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้”

  พระพุทธเจ้า:  สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจาครั้งนี้ยิ่งใหญ่นัก เธอบันลือสีหนาทถือเด็ดขาดลงไปอย่างเดียว...ดังนี้นั้น  เธอได้ใช้จิตกำหนดรู้จิตของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์เท่าที่มีมา แล้วในอดีต หรือว่าพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น มีศีลอย่างนี้ เพราะเหตุดังนี้ ๆ ทรงมีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ หลุดพ้นแล้ว เพราะเหตุดังนี้ๆ”

พระสารีบุตร: มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

   พระพุทธเจ้า. เธอได้ใช้จิตกำหนดรู้จิตของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ที่จักมี ในอนาคตแล้วหรือว่า พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจัก...เป็นอย่างนี้ เพราะเหตุดังนี้ๆ”

พระสารีบุตร:  มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

   พระพุทธเจ้า.   ก็แล้วเราผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ เธอได้ใช้จิตกำหนดรู้จิตแล้วหรือว่า พระผู้มีพระภาค...ทรงเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุดังนี้ๆ”

พระสารีบุตร: มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

   พระพุทธเจ้า.    ก็ในเรื่องนี้ เมื่อเธอไม่มีญาณเพื่อกำหนดรู้จิตในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้ง ในอดีต อนาคต และปัจจุบันเช่นนี้แล้ว ไฉนเล่า เธอจึงได้กล่าวอาสภิวาจาอันยิ่งใหญ่นักนี้ บันลือสีหนาทถือเป็นเด็ดขาดอย่างเดียว (ดังที่กล่าวมาแล้ว)”

  พระสารีบุตร:  พระองค์ผู้เจริญ    ข้าพระองค์ ไม่มีญาณกำหนดรู้จิตในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ก็จริง   แต่กระนั้น   ข้าพระองค์ทราบการหยั่งแนวธรรม

  พระองค์ผู้เจริญ   เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของพระราชา มีป้อมแน่นหนา มีกำแพงและเชิงเทินมั่นคง มีประตูๆ เดียว คนเฝ้าประตูพระนครนั้น เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก ยอมให้แต่คนที่รู้จักเข้าไป เขาเที่ยวตรวจดูทางแนวกำแพงรอบเมืองนั้น ไม่เห็นรอยต่อหรือช่องกำแพง แม้เพียงที่แมวลอดออกได้ ย่อมคิดว่า สัตว์ตัวโตทุกอย่างทุกตัวจะเข้าออกเมืองนี้ จะต้องเข้าออกทางประตูนี้เท่านั้น ฉันใด

   ข้าพระองค์ก็ทราบการหยั่งแนวธรรม ฉันนั้นเหมือนกันว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ เท่าที่มีมาแล้วในอดีต ทรงละนิวรณ์ ๕ ที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้อ่อนกำลังได้แล้ว   มีพระทัยตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗  ตามเป็นจริง จึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ    แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่จะมีในอนาคต ก็จัก (ทรงทำอย่างนั้น) แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕....มีพระทัยตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (เช่นเดียวกัน) ฯลฯ”  (ที.ม.10/77/97 ฯลฯ)

  ความเลื่อมใสศรัทธาต่อผู้ใดผู้หนึ่งนั้น    ถ้าใช้ให้ถูกต้อง คือ เป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยให้ก้าวหน้าต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีข้อเสีย เพราะมักจะกลายเป็นความติดในบุคคล และกลายเป็นอุปสรรคบั่นทอนความก้าวหน้าต่อไป.


233ได้ข้อคิดอีกอย่างหนึ่งว่า  พระพุทธศาสนา  เริ่มด้วยศรัทธาเหมือนกัน   แต่เป็นศรัทธาที่มีเหตุผล  ถามได้ตอบได้  แล้วใช้ศรัทธานั้นไต่ไปให้ถึงปัญญาแล้วจบที่ปัญญา (ญาณ) ส่วนลัทธิศาสนาอื่นๆเริ่มด้วยศรัทธาจบที่ศรัทธา


   ปัญญา   แปลกันว่า   ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถืงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ

แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา

(ปัญญา   มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding)

   ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้ แต่อาจเป็นทางเชื่อมไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น   ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่งและอาศัยความรู้ของผู้อื่น หรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน  ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป  ศรัทธานั้นก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญา และการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้นหรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง  และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา  แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงาย คือ ไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง   ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น



Create Date : 29 กันยายน 2564
Last Update : 7 ตุลาคม 2564 14:23:32 น.
Counter : 807 Pageviews.

0 comments
สร้างกำลังใจ **mp5**
(27 พ.ค. 2566 07:06:49 น.)
: พู่กันเดียว - กาย วาจา ใจ : กะว่าก๋า
(26 พ.ค. 2566 05:20:22 น.)
การมีอิสระ ปัญญา Dh
(27 พ.ค. 2566 06:24:52 น.)
ไม่ได้เปล่า อธรรมหลอก ปัญญา Dh
(25 พ.ค. 2566 21:00:26 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด