คนธรรมต้องคู่กับรู้ธรรม


    227ผู้รักธรรมจะต้องรู้แน่ชัดด้วยว่าอะไรเป็นธรรม มิฉะนั้น อาจทำการผิดพลาดได้   ความรักธรรม และความรู้ธรรม ต้องมาคู่กัน จึงจะทำความจริงความถูกต้องดีงามที่ประสงค์ให้สำเร็จได้

5
ธรรมตัวเดียวโดดๆ มีความหมายกว้าง 

     ธรรม  สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฎการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด, คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฎขึ้น

เมื่อต้องการให้มีความหมายเฉพาะแง่เฉพาะด้านก็เพิ่มศัพท์ที่ประสงค์เข้าไป  เช่น

       ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง คือ ๑. รูปธรรม ได้แก่ รูปขันธ์ทั้งหมด   ๒. อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ และนิพพาน     อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก ๒. โลกุตรธรรม ธรรมอันไม่ใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑    อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด   ๒. อสังขตธรรม   ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

      ธรรมชาติ    ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น

      ธรรมกาย ๑. "ผู้มีธรรมเป็นกาย"  เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)   หมายความว่า   พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยใจแล้วนำออกเผยแพร่ด้วยวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฎเปิดเผยออกมา แก่ชาวโลก, พรหมกาย หรือ พรหมภูต ก็เรียก   ๒. "กองธรรม" หรือ  "ชุมนุมแห่งธรรม"   ธรรมกาย    ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์แล้ว ฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้า เพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์ปทานตอนหนึ่งว่า  "ข้าแต่พระสคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต"   สรุปตามนัยอรรถกถา ธรรมกาย ในความหมายนี้ ก็คือ โลกุตรธรรม ๙ หรืออริยสัจจ์

กุศลธรรม   ธรรมที่เป็นกุศล,  ธรรมฝ่ายกุศล  ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี  ตรงข้าม กับ อกุศลธรรม  ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว

สัทธรรม   ธรรมที่ดี,  ธรรมที่แท้,   ธรรมของคนดี,  ธรรมของสัตบุรุษ   มี  ๓   คือ  ๑.  ปริยัติสัทธรรม  สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน   ได้แก่  พุทธพจน์  ๒. ปฏิบัติสัทธรรม   สัทธรรมคือสิ่งที่พึงปฏิบัติ  ได้แก่  ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)  ๓. ปฏิเวธสัทธรรม   สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรค  ผล  และนิพพาน

สัทธรรมปฏิรูป    สัทธรรมปลอม,  สัทธรรมเทียม

อธรรม    ไม่ใช่ธรรม, ไม่เป็นธรรม, ผิดธรรม,  ชั่วร้าย

อธรรมวาที    ผู้กล่าวสิ่งที่มิใช่ธรรม, ผู้ไม่พูดตามหลักไม่พูดตามธรรม,  ผู้พูดไม่เป็นธรรม, ผู้ไม่เป็นธรรมวาที

ฯลฯ 

     ทั้งยังแลเห็นหลักปฏิบัติธรรม,ปฏิบัติกรรมฐาน,  นั่งสมาธิ, เจริญภาวนา  นั่นๆนี่ๆ ตามที่รู้ๆกัน  ก็คือ  ไตรสิกขา  ได้แก่   ศีล  สมาธิ และปัญญา (เรียกเต็มว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา  และอธิปัญญาสิกขา)  ศีลอยู่ชั้นนอกมองเห็นได้ (มองกว้างออกไปศีลรวมอาชีวะก็คือการจัดระเบียบสังคมมนุษย์ให้ปกติเอื้อต่อการสร้างกุศลร่วมกัน)   สมาธิ และปัญญาอยู่ชั้นในมองเห็นยาก  ท่านจึงว่า ไว้ว่า   ศีลกำจัดกิเลสอย่างหยาบ  ที่จะล่วงออกมาทางกายวาจา   สมาธิ   กำจัดกิเลสอย่างกลาง คือนิวรณ์   ปัญญา  กำจัดกิเลสอย่างละเอียด คือ อวิชชา   ดังว่า  ศีล เพื่อสมาธิ  สมาธิเพื่อปัญญา  ปัญญาเพื่อวิมุตติ.  ศีล => สมาธิ => ปัญญา => วิมุตติ



Create Date : 21 พฤษภาคม 2564
Last Update : 2 กันยายน 2564 9:03:05 น.
Counter : 836 Pageviews.

0 comments
สร้างกำลังใจ **mp5**
(27 พ.ค. 2566 07:06:49 น.)
: พู่กันเดียว - กาย วาจา ใจ : กะว่าก๋า
(26 พ.ค. 2566 05:20:22 น.)
: แยกแยะ : กะว่าก๋า
(23 พ.ค. 2566 05:18:56 น.)
: ง่าย คือ งาม : กะว่าก๋า
(22 พ.ค. 2566 09:01:24 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด