ระหว่างศีล กับ พรต


235 ศีล กับ พรต

    ศีล กับ พรต  แตกต่างกัน  ตามนัยคัมภีร์มหานิทเทสว่า ศีล หมายถึงการสังวร ยับยั้ง ไม่ละเมิด

    พรต  (บาลีว่า "วต")  หมายถึง  การสมาทานถือปฏิบัติ  ข้อปฏิบัติที่เรียกว่าธุดงค์ทั้งหลาย เป็นวตะ หรือพรตเท่านั้น ไม่เป็นศีล (ขุ.ม.29/81/77; 918/584 แต่บาลี ฉบับอักษรไทยสับสนเอา วต/พรต กับ วตฺต/วัตร ปนเปกัน)   ข้อปฏิบัติที่เป็นวต/พรต  แต่ไม่เป็นศีล อย่างธุดงค์นั้น เป็นข้อปฏิบัติ ส่วนพิเศษ เพื่อความเคร่งครัด ขัดเกลา ฝึกอบรมตนเองให้ยิ่งกว่าปกติ เน้นที่ความมักน้อยสันโดษ แต่เป็นเรื่องของความสมัครใจ ความเหมาะสมกับอุปนิสัยและขึ้นกับความพร้อม ใครจะถือปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ไม่มีความผิด ต่างจากศีล ซึ่งสมาชิกทุกคนของหมู่พึงรักษาเสมอเหมือนกัน ถ้าไม่รักษา ย่อมมีผลเสียหาย  ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม  (ถ้าเป็นศีลแบบวินัย มีโทษตามบัญญัติอีกด้วย)

     วต/พรต  บางอย่าง  แม้จะมองดูเคร่งครัดอย่างยิ่ง แต่ผิดหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงห้าม และบางอย่างถือเป็นความผิดทางวินัยด้วย เช่น การถือพรตไม่พูด ที่เรียกว่า มูคพรต (วินย.4/224-6/304-313 ย่อมตัดปัญหาจากการพูดผิด เช่น พูดเท็จเป็นต้นได้หมด) ทรงตำหนิว่า เป็นการอยู่อย่างปศุสัตว์ การถือพรตกินเฉพาะผลไม้ที่หล่นเองจากต้น (เช่น องฺ.ติก.20/596/381 ย่อมตัดปัญหาการเบียดเบียนสัตว์ และพืชได้หมด)  เป็นข้อปฏิบัติทรมานตนเกินพอดี ของพวกเดียรถีย์ที่หลบลี้สังคม

    อนึ่ง ยังมีข้อปฏิบัติอีกพวกหนึ่งคู่กับศีล เป็นส่วนปลีกย่อย  เรียกว่า "วัตร"  พูดเทียบสั้นๆว่า ศีลเป็นหลักความประพฤติพื้นฐาน วัตรเป็นข้อปฏิบัติเสริมให้ดีงามเคร่งครัดยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการรักษาศีล เช่น เพื่อตัดหรือลดโอกาสที่จะละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง

    ศีลความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกาย วาจา และอาชีพ, มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา

    ศีล ๕ สำหรับทุกคน คือ  ๑ เว้นจากการทำลายชีวิต  ๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม  ๔. เว้นจากพูดเท็จ เป็นพยานเท็จ  ๕. เว้นจากของเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแต่ความประมาท

    ศีล ๘ สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และ เติมข้อ ๖, ๗, ๘ คือ ๓ เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากการร่วมประเวณี ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป ๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย

    ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดจะรักษาก็ได้

    ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ มีในภิกขุปาฎิโมกข์

    ศีล ๓๑๑ ศีลสำหรับพระภิกษุณี มีในภิกขุนีปาฎิโมกข์

    ศีลอุโบสถ คือ ศีล ๘ ที่สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ

    อุโบสถศีล ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือ ขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ  (แรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด)




Create Date : 15 พฤษภาคม 2564
Last Update : 31 ธันวาคม 2566 17:46:27 น.
Counter : 465 Pageviews.

0 comments
:: ชีวิตไม่ง่าย :: กะว่าก๋า
(18 ก.ค. 2567 05:13:27 น.)
การสร้างที่ผิด ปัญญา Dh
(18 ก.ค. 2567 00:15:35 น.)
แต่ถ้าอ่านแล้ว เข้าใจแล้ว จะทำไปเพื่ออะไร 9 อ๋อ เข้าใจล่ะ 450 เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาต สมาชิกหมายเลข 7881572
(15 ก.ค. 2567 16:16:46 น.)
: ธรรมTrip 2 รวมมิตรรวมใจ : กะว่าก๋า
(11 ก.ค. 2567 05:47:59 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด