วาสนา 



    วาสนา   อาการกายวาจา    ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้    เช่น   คำพูดติดปาก   อาการเดินที่เร็วหรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น    ท่านขยายความว่า วาสนา  ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ  ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย กับ  ส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ   ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้   แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้    จึงมีคำกล่าวว่า   พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้พร้อมทั้งวาสนา, ในภาษาไทย  คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป    กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ

https://www.facebook.com/photo?fbid=128781706059789&set=gm.1647542852245533


   “วาสนา”   บาลีอ่านว่า วา-สะ-นา   รากศัพท์มาจาก -  (1) วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ยุ ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิงค์), ทีฆะต้นธาตุ คือ อ ที่ ว- เป็น อา, แปลง ยุ เป็น อน  : วสฺ > วาส + ยุ > อน = วาสน + อา = วาสนา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่อยู่ในจิต”   (2) วาสฺ (ธาตุ = อบ, บ่ม) + ยุ ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิงค์), แปลง ยุ เป็น อน  : วาส + ยุ > อน = วาสน + อา = วาสนา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาบ่มเพาะมา”

    ขยายความว่า   กิริยาอาการ  หรือ   ลักษณะการพูดจา เป็นต้น ที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษหรือเฉพาะตัวของบุคคล   ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในจิต หรือได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานาน ถึงข้ามภพข้ามชาติ    จนเคยชินติดเป็นพื้นนิสัยประจำตัว และแก้ไม่หายทั้งๆ ที่จิตเจตนามิได้ต้องการเป็นเช่นนั้น เช่น กิริยาเรียบร้อยหรือหลุกหลิก คำพูดกระโชกโฮกฮาก หรือนุ่มนวล คำติดปากที่หยาบหรือสุภาพ เป็นต้น เหล่านี้บาลีเรียกว่า “วาสนา”
 
    พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วาสนา” ว่า that which remains in the mind, tendencies of the past, impression (สิ่งที่เหลืออยู่ในใจ, แนวโน้มของอดีต, ความฝังใจหรือประทับใจ)

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/673347352759005


ตัวอย่าง วาสนา

     ๑. พระสารีบุตรเถระ  (พระอัครสาวกเบื้องขวา เอตทัคคะผู้เลิศด้วยปัญญา 1 ใน 80 พระอสีติมหาเถระ) ท่านมีวาสนาที่ละไม่ได้อยู่อย่างหนึ่ง คือเวลาท่านพบแม่น้ำลำธารที่พอจะข้ามได้ หรือกิ่งไม้ที่พอจะเหนี่ยวรั้งได้ ท่านจะละอาการสงบเสงี่ยมชั่วขณะ กระโดดข้ามแอ่งน้ำบ้าง โหนกิ่งไม้บ้าง  ภิกษุทั้งหลายเห็นเข้าก็พากันตำหนิท่านว่า   พระสารีบุตรเป็นถึงพระเถระไม่น่าแสดงอาการเช่นนี้   ความทราบถึงพระบรมศาสดา พระองค์ทรงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าได้ตำหนิสารีบุตรเลยกิริยาอาการอย่างนั้นเป็น “วาสนา” ที่สั่งสมมานานของสารีบุตร แม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ละไม่ได้ สารีบุตรเธอเคยเกิดเป็นลิงติดต่อกันหลายร้อยชาติ จึงติดนิสัยกระโดดโลดเต้นของลิงมา


     ๒.พระปิลินทวัจฉเถระ  (เอตทัคคะผู้เป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทวดา 1 ใน 80 พระอสีติมหาเถระ)   ท่านมีวาสนาที่ละไม่ได้อยู่อย่างหนึ่ง ท่านชอบพูดคำว่า “วสลิ” (ไอ้ถ่อย) จนติดปาก คือเวลาที่ท่านพบใครไม่ว่าจะระดับใด  (ยกเว้นพระพุทธเจ้า และพระเถระพรรษามากกว่า)  ท่านจะชอบทักว่า   สบายดีหรือไอ้ถ่อย   ภิกษุทั้งหลายเห็นเข้าก็พากันตำหนิท่านว่าเป็นผู้ไม่สำรวมวาจา ความทราบถึงพระบรมศาสดา พระองค์ทรงตรัสว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเป็น “วาสนา”  ของปิลินทวัจฉะเอง  แก้ไม่ได้  แต่เธอไม่มีเจตนาจะพูดคำหยาบ"

 



Create Date : 24 มิถุนายน 2564
Last Update : 14 มกราคม 2567 16:34:29 น.
Counter : 1124 Pageviews.

0 comments
การพึ่งพาตนเอง ไม่รับการส่งเสริม สมนาคุณ รับการส่งเสริม สมบัตินามที่มีค่า ปัญญา Dh
(7 ต.ค. 2567 20:42:22 น.)
: แสงลอดเมฆ 18 : กะว่าก๋า
(29 ก.ย. 2567 05:33:29 น.)
: แสงลอดเมฆ 16 : กะว่าก๋า
(27 ก.ย. 2567 05:13:51 น.)
: แสงลอดเมฆ 15 : กะว่าก๋า
(26 ก.ย. 2567 05:16:34 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

BlogGang Popular Award#20



สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด