ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม


 เพื่อไม่ให้สุดโต่ง   พึงศึกษาพุทธธรรมให้รอบด้าน

 231ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิต และสังคม


    หลักคำสอนในสิงคาลสูตร (ที.ปา.11/172-206/194-207)  ทั้งหมด  พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้เป็น คิหิวินัย คือ วินัยของคฤหัสถ์ หรือศีลสำหรับชาวบ้าน หรือศีลสำหรับประชาชน ดังสาระที่สรุปได้ ดังต่อไปนี้

หมวด ๑: ปลอดความชั่ว ๑๔ ประการ คือ

ก. ละกรรมกิเลส (ข้อเสื่อมเสียของความประพฤติ) ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ปาณาติบาต
๒  อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
๔. มุสาวาท

ข. ไม่กระทำบาปกรรมโดย ๔ สถาน คือ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยลุแก่
๑. ฉันทาคติ    ลำเอียงเพราะชอบ
๒. โทสาคติ     ลำเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ     ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ      ลำเอียงเพราะกลัว

ค. ไม่เสพอบายมุข (ช่องทางเสื่อมเสีย หรือหายหมดไป) แห่งโภคะ ๖ ประการ คือ
๑. ติดสุรา และของมึนเมา
๒. ติดเที่ยวกลางคืน
๓. ติดเที่ยวดูการเล่น
๔. ติดการพนัน
๕. ติดคบเพื่อนชั่ว
๖. เกียจคร้านการงาน

หมวด ๒: (เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน คือ)

235 รู้จักมิตรแท้ มิตรเทียม ซึ่งควรคบ และไม่ควรคบ ได้แก่

ก. มิตรเทียม ๔ จำพวก คือ
๑. คนปอกลอก
๒. คนดีแต่พูด
๓. คนหัวประจบ
๔. คนชวนฉิบหาย

ข. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือ
๑. มิตรอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะนำประโยชน์
๔. มิตรมีน้ำใจ

233เก็บรักษาสะสมทรัพย์ เหมือนดังผึ้งขยันรวบรวมน้ำเกสรดอกไม้สร้างรัง หรือเหมือนตัวปลวก ก่อสร้างจอมปลวก แล้วพึงจัดสรรทรัพย์ใช้สอย โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน

ก. กินใช้ เลี้ยงดูคน และทำประโยชน์ ๑ ส่วน
ข. ทำทุนประกอบการงาน ๒ ส่วน
ค. เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ๑ ส่วน

หมวด ๓: ปกแผ่ทิศทั้ง ๖

227ทิศ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

๑. ก. บุตรธิดา    บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย
๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓) ดำรงวงศ์สกุล
๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

ข. มารดาบิดา   อนุเคราะห์บุตรธิดา    ดังนี้
๑) ห้ามกันจากความชั่ว
๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร
๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

๒. ก. ศิษย์   บำรุงครูอาจารย์   ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย
๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ
๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ)
๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง
๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ข. ครูอาจารย์   อนุเคราะห์ศิษย์    ดังนี้
๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก
๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง)

๓. ก. สามี    บำรุงภรรยา    ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย
๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา
๒) ไม่ดูหมิ่น
๓) ไม่นอกใจ
๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

ข. ภรรยา    อนุเคราะห์สามี    ดังนี้
๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓) ไม่นอกใจ
๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง

๔. ก. บำรุงมิตรสหาย   ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย
๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒) พูดอย่างรักกัน
๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

ข. มิตรสหาย    อนุเคราะห์ตอบ   ดังนี้
๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร

๕. ก. นาย    บำรุงคนรับใช้และคนงาน    ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย
๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ
๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส

ข. คนรับใช้  และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้
๑) เริ่มทำงานก่อน
๒) เลิกงานทีหลัง
๓) เอาแต่ของที่นายให้
๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่

๖. ก. คฤหัสถ์    บำรุงพระสงฆ์    ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย
๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔

ข. พระสงฆ์     ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์    ดังนี้
๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม
๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)

232 สังคหวัตถุ ๔:    บำเพ็ญหลักการสงเคราะห์   เพื่อยึดเหนี่ยวใจคนและประสานสังคม ๔ ประการ คือ
๑. ทาน     เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒ ปิยวาจา    พูดอย่างรักกัน
๓. อัตถจริยา    ทำประโยชน์แก่เขา
๔. สมานัตตตา    เอาตัวเข้าสมาน

แยกออกมาจากหัวข้อใหญ่

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=05-2021&date=23&group=18&gblog=2



Create Date : 12 สิงหาคม 2564
Last Update : 12 สิงหาคม 2564 10:11:33 น.
Counter : 587 Pageviews.

0 comments
ไม่ได้อยู่กับเราตลอด นาฬิกาสีชมพู
(25 พ.ค. 2566 07:52:30 น.)
: ดีพอ คือ พอดี : กะว่าก๋า
(25 พ.ค. 2566 04:46:33 น.)
: มีกับไม่มี : กะว่าก๋า
(20 พ.ค. 2566 05:51:57 น.)
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ ทุจริต ๓ สุจริต ๓ ปัญญา Dh
(19 พ.ค. 2566 15:33:03 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด