ประเพณี ศาสนพิธี ก็สำคัญ ชาวพุทธไทยเราเริ่มรู้จักพระพุทธศาสนาก็จากวัฒนธรรมประเพณี อย่างในชนบท ตอนเป็นเด็ก ถึงวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ปู่ยาตายายพาเราไปวัดทำบุญตักบาตร ฟังพระสวดอิติโส-พาหุง-มหากา (ถวายพรพระ) วันธรรมดาตอนเช้าๆเห็นพระเณรเดินบิณฑบาตได้ใส่บาตรหน้าบ้าน เริ่มรู้จักที่นี่ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ อยากรู้ให้มากอีก ว่าพระพุทธศาสนามีอะไรอีก ก็สืบค้นตำรับเอา เพราะฉะนั้น ประเพณีต่างๆที่บอกความเป็นพุทธก็สำคัญไม่น้อย เหมือนเริ่มนับหนึ่งให้ แล้วเหมือนซึมถึงกระดูก เช่น ตัวอย่างนี้ ![]() ตัวอย่างนี้ ![]() ชาวเขามีประพณีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ทุกคนที่เกิดก็ซึมซับในประเพณีวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านความเชื่อ ถึงบางคนนับถือพุทธก็จริง แต่ยังขาดความเข้าใจประเพณีพุทธ เพราะไม่ได้ปลูกฝังมาแต่บรรพบุรุษ ซึ่ง ต่างจากชาวคริสต์ในสกลนคร ถึงจะนับถือคริสก็จริง แต่พวกเขานับถือพุทธมาก่อน คุ้นเคยกับประเพณีพุทธมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นคริสต์ภายหลัง เมื่อเปลี่ยนมานับถือคริสต์ก็จริง สิ่งที่ถูกฝัง สิ่งที่คุ้นเคยก็ยังอยู่ จึงไม่แปลกที่พวกเขายังมาใส่บาตร หรือบางคนที่ใส่บาตรมีญาติพี่น้องที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นคริสต์มาบวชอยู่ก็มี ที่มหาลัยสงฆ์ก็มีพระเพื่อนที่มาจากสกลนคร ก็เล่าให้ฟัง เขามาบวช แต่ญาติทางบ้านเปลี่ยนไปนับถือศริสต์แต่ก็ยังใส่บาตรอยู่ และที่สำคัญ คือ ชาวคริสต์ในสกลนครนั้นถูกซื้อตัวไป เรื่องการปฏิบัติจึงไม่ค่อยเคร่งเท่าไหร่ แต่อย่าลืมว่าอิสลามไม่เหมือนคริสต์นะ คริสต์ยังเข้ากันได้ แต่อิสลามเขาไม่เอาใครนะ https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=08-2021&date=21&group=6&gblog=65 อีกสักตัวอย่าง ![]() https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=17-06-2021&group=10&gblog=29 นัมมทา ชื่อแม่น้ำสายสำคัญในภาคกลางของอินเดีย ไหลไปคล้ายจะเคียงคู่กับเทือกเขาวินธยะ ถือว่าเป็นเส้นแบ่งระหว่างอุตราบถ (ดินแดนแถบเหนือ) กับ ทักขิณาบถ (ดินแดนแถบใต้) ของชมพูทวีป, บัดนี้เรียกว่า Narmada แต่บางที เรียก Narbada หรือ Nerbudda ชาวฮินดูถือว่า เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รองจากแม่น้ำคงคา, แม่น้ำนัมมทายาว ประมาณ ๑,๓๐๐ กม. ไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ออกทะเลที่ใต้เมืองท่าภารุกัจฉะ (บัดนี้ เรียก Bharuch) สู่อ่าว Khambhat (Cambay) อรรถกถาเล่าว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปสุนาปรันตรัฐตามคำอาราธนาของพระปุณณะผู้เป็นชาวแคว้นนั้นแล้วระหว่างทางเสด็จกลับถึงแม่น้ำนัมมทา ได้แสดงธรรมโปรดนัมมทานาคราช ซึ่งได้ทูลขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาท ไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานั้น อันถือกันมาว่า เป็นพระพุทธบาทแห่งแรก ![]() ![]() เจตนาเดิมประเพณีลอยกระทง ก็เพื่อบูชารอยพระบาทที่ฝั่งแม่น้ำสายนั้น |
บทความทั้งหมด
|