อัตถะ 1. ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย,
อัตถะ ๓ คือ
๑.
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในภพนี้
๒.
สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า
๓.
ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง, ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน
อัตถะ ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ
๑.
อัตตัตถะ ประโยชน์ตน
๒.
ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น
๓.
อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
2. ความหมาย, ความหมายแห่งพุทธพจน์, พระสูตร พระธรรมเทศนา หรือพุทธพจน์ ว่าโดยการแปลความหมาย แยกเป็น
อัตถะ ๒ คือ
1.
เนยยัตถะ (พระสูตร) ซึ่งมีความหมายที่จะต้องไขความ,
พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่น ที่ตรัส เรื่อง
บุคคล ตัวตน เรา-เขา ว่า บุคคล ๔ ประเภท, ตนเป็นที่พึ่งของตน เป็นต้น
2.
นีตัตถะ (พระสูตร) ซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว,
พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์ ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ เช่นที่ตรัสว่า
รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น
อรรถ ก็เขียน- อรรถ เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์
- อรรถรส “รสแห่งเนื้อความ” “รสแห่งความหมาย” สาระที่ต้องการของเนื้อความ, เนื้อแท้ของความหมาย, ความหมายแท้ที่ต้องการ, ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ คล้ายกับที่พูดกันในบัดนี้ว่า เจตนารมณ์ (พจนานุกรมว่า “ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง”)ดูอัตถะ นัย 2 ให้ชัด