ความหมาย ปฏิบัติธรรม


เทียบคำพูด "นั่งสมาธิ"  ก็มีคนเข้าใจผิดว่า การนั่งคู้บัลลังก์อย่างนั้นเป็นสมาธิ ทำนองคำพูด "ปฏิบัติธรรม"   450


227อยากเลิกปฏิบัติธรรมแล้วค่ะ

93ตั้งแต่มุ่งมาทางธรรม   ก็เจอเจ้ากรรมนายเวรมาเล่นงานสารพัด  ทำให้คนอื่นไม่เข้าใจ แปลก ไม่ปกติ ไม่มีเพื่อนคบ เจอมารหลายรูปแบบ โดนว่าแรงๆ แล้วต่อมาหลงทางทำผิด และปัจจุบันการปฏิบัติธรรมย่ำอยู่กับที่ ท้อและอยากเลิกทำทุกครั้ง เริ่มมีทัศนคติไม่ดีกับการปฏิบัติธรรม ตั้งใจว่าถ้าสามารถแก้หลงทางได้ ก็คงไม่คาดหวังจะได้ธรรมะขั้นสูง และก็เบื่อทางโลกมากเช่นกัน ไม่อยากทำอะไรเลย

https://pantip.com/topic/40772965

เมื่อเป็นดังนั้น  ควรทำความเข้าใจ คำว่า "ปฏิบัติธรรม"  ให้ชัด สั้นๆ 

93ความหมายที่แท้    คำว่า “ปฏิบัติธรรม”   ได้แก่  การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม;    แต่ปัจจุบัน    มักเข้าใจคำนี้ไปในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้

(พุทธธรรม หน้า ๑๑๔๙)

284


ปฏิบัติ    ประพฤติ, กระทำ,  บำรุง,  เลี้ยงดู

ปฏิบัติ  ก. ดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผน  เช่น  ปฏิบัติราชการ, กระทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ  เช่น  ภาคปฏิบัติ;  กระทำตาม  เช่น    ปฏิบัติตามสัญญา;  ประพฤติ  เช่น  ปฏิบัติสมณธรรม  ปฏิบัติต่อกัน;   ปรนนิบัติรับใช้  เช่น  ปฏิบัติบิดามารดา  ปฏิบัติครูบาอาจารย์.  (ป. ปฏิปตฺติ

ปฏิบัติธรรม  ก.   ประพฤติตามธรรม;    เจริญภาวนา.  

ปฏิบัติบูชา     การบูชาด้วยปฏิบัติ  คือ  ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน,   บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม

10

เพื่อให้เห็นรอบด้าน  ก็มองกว้างออกไปอีก 450


235 หลักการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คือ การนำหลักธรรมที่เป็นส่วนปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ มาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการเป็นแนวทางดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา กระบวนการนำหลักอริยมรรคมาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนที่สุด เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจัดเป็นตัวแท้ของการปฏิบัติ เป็นกระบวนการศึกษาปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา โดยสามารถนำหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นมาย่นย่อลงมือบูรณาการปฏิบัติครอบคลุมได้ทั้งหมด

    อย่างไรก็ตาม ในการเข้าสู่กระบวนการศึกษาปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ซึ่งเรียกว่า ปฏิบัติธรรม นั้น มีรูปแบบหรือลักษณะการปฏิบัติอยู่ ๒ รูปแบบด้วยกัน คือ

๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ)

๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ)

    การปฏิบัติธรรมทั้งสองรูปแบบนี้มีคำจำกัดความ และความมุ่งหมายที่กว้าง และแคบต่างกัน ดังนี้

    ๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ: General Dhamma Practice)  หมายถึงการนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรม หรือหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้มาเป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น การที่คนเรามีสติสัมปชัญญะในการทำกิจการต่างๆ  การมีหิริโอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริตทั้งในที่ลับและที่แจ้งเพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง  การมีขันติและโสรัจจะ คือ ความอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะบีบคั้นกดดันต่างๆ ที่เผชิญอยู่   การมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณนั้นให้เหมาะสม หรือการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ ในที่นี้

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน   ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก คือ  สติสัมปชัญญะ หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือหิริโอตตัปปะ หลักพรหมวิหารธรรม ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือหลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม   บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น  การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้ จึงกินความกว้างมาก   สุดแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร   ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบนี้ เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อปฏิบัติกิจ หรือกระทำต่อสิ่งใดๆ อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตนหรือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพหรือหน้าที่การงานนั้นๆ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เช่น ในการทำงาน เมื่อนำหลักธรรมที่อำนวยให้ประสบผลสำเร็จ คืออิทธิบาท ๔ อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

    แม้แต่การออกไปที่ท้องถนน หรือ  การขับรถ  ถ้าขับโดยเคารพวินัยจราจร รักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมาไม่ขับ ไม่ตัดหน้า ไม่ฝ่าไฟแดง หรือง่วงนอนหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยดีโดยไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลงลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถอยู่กลางถนนนั้น ท่ามกลางรถรามากมาย เช่นนี้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

    นอกจากนี้   บุคคลผู้เป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ ถ้าปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานการบริการที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผล ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง   ข้าราชการผู้ใดก็ตามปฏิบัติราชการโดยนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในชีวิตราชการ เช่น  นำหลักอิทธิบาท ๔ โดยมีฉันทะ ยินดีพอใจในการเป็นข้าราชการ รักอาชีพราชการ   มีวิริยะ   มุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยทุ่มเท สู้งาน ไม่หวั่นย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน   มีจิตตะ  เอาใจใส่สนใจรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน และ มีวิมังสา  คอยหมั่นไตร่ตรอง ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลดีอยู่เสมอ   เมื่อปฏิบัติเช่นนี้  จะโดยรู้ตัวว่านำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท ๔ มาใช้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม   ข้าราชการผู้นั้น  ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม แต่เป็นการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ

     ๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ: Intensive Dhamma Practice) หมายถึง การเน้นนำหลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติโดยตรง หรือ หลักธรรมในระดับที่สูงกว่าขั้นศีลธรรมมาฝึกอบรมจิต และพัฒนาปัญญา  ที่เรียกว่า  ปฏิบัติธรรมด้วยวิธีภาวนา หรือ บำเพ็ญกัมมัฏฐาน โดยการปลีกตัวออกไปจากสังคม   หามุมสงบประคบประหงมจิต   เช่น   ไปปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ที่วัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม หรือไปหาสถานที่ที่สงบอื่นๆ เพื่อลงมือปฏิบัติฝึกหัดทดลองควบคุมจิตใจ เมื่อประสบสิ่งที่ใจไม่ปรารถนา ซึ่งวิธีที่จะควบคุมจิตใจได้ดีที่สุด   ก็คือความใส่ใจใฝ่ฝึกศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วนำมาปฏิบัติโดยการฝึกสมาธิ   เจริญวิปัสสนาในวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ   ที่มีพระภิกษุผู้มุ่งวิปัสสนาธุระเป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิชากัมมัฏฐานทั้งสายสมถะและวิปัสสนาโดยตรง   ดังนั้น    การปฏิบัติธรรมด้วยการปลีกตัวไปฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา จึงจัดเป็นการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้นเน้น  หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง โดยมุ่งฝึกฝนพัฒนาจิตใจ อย่างมีระบบ กำหนดเป็นหลักสูตรเพื่อให้ได้รับปฏิเวธ คือผลจากการฝึกปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

(คู่มือพุทธศาสนิกชน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หน้า ๒๔๑)

หัวข้อเสริมความเข้าใจ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=21-05-2021&group=6&gblog=25




233ตั้งแต่มุ่งมาทางธรรม   ก็เจอเจ้ากรรมนายเวรมาเล่นงานสารพัด  ทำให้คนอื่นไม่เข้าใจ แปลก ไม่ปกติ ไม่มีเพื่อนคบ เจอมารหลายรูปแบบ โดนว่าแรงๆ แล้วต่อมาหลงทางทำผิด และปัจจุบันการปฏิบัติธรรมย่ำอยู่กับที่ ท้อและอยากเลิกทำทุกครั้ง   ตั้งใจว่าถ้าสามารถแก้หลงทางได้ ก็คงไม่คาดหวังจะได้ธรรมะขั้นสูง

ที่ว่าหลงทางทำผิด 451ปฏิบัติที่ไหนยังไง  

https://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html

ปลายพุทธกาลแล้ว    ปัจจุบันมีผู้ตั้งสำนักกันเยอะ ไม่ตั้งสำนักก็ตั้งตนสอนธรรมะระดับสูงแล้วแฝงอิทธิเข้าไปแล้วว่านี่เป็นวิปัสสนาๆ  11  โน้นเป็นสมาธิเป็นสมถะไม่ใช่วิปัสสนา  ฉันพุทธแท้  ว่ากันไปมากมาย  110  สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานทางพุทธธรรมเห็นก็ร้องอ้อมันเป็นยังงี้นี่เอง  ส่วนผู้ใหม่ที่แสวงหาแนวทางปฏิบัติอยู่ก็เลือกๆเอาที่ถูกจิตถูกใจตน แต่ไม่รู้ไหนถูกทางไหนผิดทาง  เดินตามๆเขาไป กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่ทางก็แทบจะแก้ผ้าเดิน  

121

บทที่ 1 พระบัญชาจากพระพุทธเจ้า

เมื่อได้กราบทูลลาพระพุทธองค์ผ่านพระพุทธรูป เพื่อกลับสู่เคหสถานหลังจากเสร็จการ สอนวิปัสสนากรรมฐาน เพียงเสี้ยวนาทีก่อนที่จะลุกออกมา กระแสพระรัตนตรัยก็แผ่ซ่าน ทั่วสรรพางค์กายพร้อมด้วยกระแสตรัสเข้ามาสู่จิตว่า “จงรีบเขียนหนังสือเถิด”

“พระพุทธเจ้าข้า” แล้วจึงกราบถวายบังคมลา

หนังสือที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงนี้ เป็นความตั้งใจมานานแล้วที่ข้าพเจ้าจะเขียน หนังสือฉบับภาษาอังฤกษในชื่อว่า “ Awaken from Madness” จิตที่ตื่นจากความเมา

https://www.facebook.com/photo?fbid=10225093211653630&set=gm.1640952476237904


 

ใช้รถเปิดประทุน ฝนตกถนนลื่น วิ่งหนีสายฝน  ซิ่งเลยๆ สนุกจังเลยค่ะ  ประมาท  โครมเดียวเปลี่ยนชีวิต ชีวิตเปลี่ยน

https://www.matichon.co.th/region/news_2774537





 



Create Date : 13 มิถุนายน 2564
Last Update : 4 สิงหาคม 2564 20:05:34 น.
Counter : 639 Pageviews.

3 comments
ฉัน รัก พ่อ (ธรรมะที่แม่บันทึก) comicclubs
(2 มิ.ย. 2566 00:29:12 น.)
: พู่กันเดียว - พุทธธาตุ : กะว่าก๋า
(30 พ.ค. 2566 05:44:56 น.)
ปฏิบัติธรรมะ ไม่ปฏิบัติอธรรมทั้งทางรูปหรือทางนาม หลักปฏิบัติที่ดี ปัญญา Dh
(27 พ.ค. 2566 06:41:47 น.)
ไม่ได้อยู่กับเราตลอด นาฬิกาสีชมพู
(25 พ.ค. 2566 07:52:30 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณ**mp5**

  
ใช่ ๆ ครับ.. ไปปฏิบัติธรรมใช้ในการ ไปร่วมสวดมนต์เดินจงกรม
นั่งสมาธิ กินนอนที่สถานปฏิบ้ติ..

ผมก็ใช้แบบนั้นจริง ๆ แต่หวังได้ความรู้ วสีหรือความชำนาญ
ไป ปฏิบัติธรรมในชีวิตปกติ
..
เคยเขียนเล่าไว้เหมือนกันเรื่อง เดินธุดงค์ จงกรมนั่งสมาธิ
น่าจะมี คนค่อนแขะเหมือนกันแต่ไม่ได้สนใจ เพราะพวกเขายัง
ไม่รู้เรื่อง การเพิ่มพลังจิตให้มีสมาธิง่ายขึ้น
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 13 มิถุนายน 2564 เวลา:8:15:56 น.
  
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ
โดย: **mp5** วันที่: 14 มิถุนายน 2564 เวลา:14:32:41 น.
  
ขอบพระคุณครับที่ติดตามอ่านและเป็นกำลังใจให้ ซึ่งเหมือนแรงบันดาลใจ
โดย: สมาชิกหมายเลข 6393385 วันที่: 22 มิถุนายน 2564 เวลา:7:08:51 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด