เงิน เงิน เงิน เงินสั่งมา ![]() https://www.youtube.com/watch?v=LZ8EsAMOWbg ข่าวหลุด.ตร.ชั้นผู้น้อยเอาคลิปไปให้ทนายดัง..แต่ทนายกลับเอาคลิปไปกรรโชกเงินถึง 20 ล้านจาก ตร..พอทนายท่านหนึ่งออกมาแฉ..คลิปก็เลยหลุดออกมา เสือสิงห์กระทิงแรด..แพ้ตำรวจกับทนาย.(บางคนนะครับ) https://www.facebook.com/%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-1850516335164929/ https://www.facebook.com/mheesaradotcom/photos/a.1909819105710544/6650215341670873/ เงิน เงิน เงิน https://www.youtube.com/watch?v=baM0Elk9NvI สมมติบัญญัติ สภาวธรรม ![]() https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=08-04-2021&group=6&gblog=4 คำว่า เงิน สตางค์ ชื่อที่ตั้งเรียกสิ่งทั้งหลายอื่นในโลก นั่นแบงค์ร้อย นั่นแบงค์พัน เป็นต้น เป็นถ้อยคำสมมติเรียก ซึ่งผู้ปกครอง (รัฐบาล) กำหนดค่าให้ว่า ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของได้ตามคุณค่านั้นประมาณนั้น ต่อเมื่อไรรัฐเลิก (เลิกสมมติค่าแล้ว เราจะนำไปแลกเปลี่ยนอะไรๆกับใครๆไม่ได้อีกแล้ว) รับรองมันก็เท่ากับกระดาษ (เหมือนคนซื้อล๊อตเตอร์รี่ ถ้ายังไม่ออกยังไม่ประกาศรางวัล ก็ยังมีค่าสำหรับผู้ถือครองอยู่ วันล๊อตเตอร์รี่ออกแล้วไม่ตรงกับรางวัลใดๆเลย ก็เท่ากับกระดาษ กลายเป็นสิ่งไร้ค่า ใครจะเอาก็เอา) ไม่มีค่าอีกต่อไป ให้เปล่าๆก็ไม่มีใครเอา (เหมือนให้ซากศพฉะนั้น) เมื่อพูดตามภาษาทางธรรมมันเป็นเพียงธาตุอย่างหนึ่ง แม้แต่ชีวิตคนเราทางธรรมก็ว่าเป็นธาตุ เรียกว่าธาตุว่าขันธ์ว่าอายตนะว่าอินทรีย์ แต่มนุษย์ติดสมมติว่าเป็นเรา เป็นเขาจึงมองไม่เห็นธรรมะระดับปรมัตถ์ ถึงขนาดว่าทุจริตคอรัปชั่นประหัตประหารกันและกันเพราะสิ่งสมมตินั่นแล. ตัวอย่างสมมติ ในเมื่อรัฐบาลนั้นๆ ไม่รับรอง มันก็เท่ากับเศษกระดาษ ถ้ายังรับรองยังสมมติค่าให้มัน มันก็มีค่าเท่าที่สมมติให้ว่าหนึ่งพัน ![]() ถ้าคิดเลยอีกนิดนุง ก็จะเกิดคำถามว่า แล้วของปลอมมันไปอยู่ในตู้ ATM ได้ยังไง 555 ก่อนหน้าก็ทีแระ กดออกได้ แต่กดฝากไม่รับ พอเป็นข่าวดังธนบัตรรุ่นนั้นก็เงียบจ้อยไป ![]() ธปท.แจงแบงก์พันที่หนุ่มใหญ่โคราช กดจากตู้เอทีเอ็มเป็นของจริง ธนาคารแห่งประเทศไทย ยืนยันแบงก์พันที่หนุ่มใหญ่โคราชกดจากตู้เอทีเอ็ม เป็นของจริง เหตุที่ผิดปกติเพราะถูกสารเคมีจากน้ำยาซักผ้ากัดกร่อน พร้อมออกหนังสือรับรองให้นำไปแลกฉบับใหม่กับธนาคารได้.. https://www.one31.net/news/detail/49456?fbclid=IwAR0BM34i7_PMTL0lLECDtisPaAeZpVk-vFOh4BZk179asmNlvYqpJnDaGog ความจริงมีสองอย่าง คือ จริงโดยสมมติ กับ จริงโดยปรมัตถ์ นี่จริงโดยโดยสมมติ สมมติจะมีค่าทางรัฐต้องรับรองว่านำไปใช้ไปแลกเปลี่ยนกันได้ ![]() ธรรมะสองระดับ คือ โลกียธรรม ๑ (สำหรับไว้ใช้) โลกุตรธรรม ๑ (สำหรับรู้เข้าใจ) เพื่อไม่ให้สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง มนุษย์ควรรู้เข้าใจทั้งสองด้าน ถ้ารู้ไม่ถึงสองด้าน (โดยเฉพาะด้านที่สอง) ก็รู้ด้านที่หนึ่งแล้วใช้มันให้ดีให้เป็น ไม่ให้เกิดโทษภัยทั้งตนเองและสังคมมนุษย์ สมมติบัญญัติ = โลกียธรรม สภาวธรรม (ปรมัตถ์) = โลกุตรธรรม การดำเนินชีวิตของมนุษย์อยู่บนหลักธรรมข้อแรก สังคมมนุษย์จะดีจะร้ายขึ้นอยู่กับแรงผลักแรงดันของคนในสังคมเขาเอง ![]() https://www.facebook.com/photo/?fbid=4370741639674298&set=a.1744875672260921 แรงดันในตัวคนมีสองแรงใหญ่ ได้แก่ แรงผลักดันฝ่ายร้าย คือ อกุศลธรรม (อกุศลจิต) ๑ กับแรงผลักดันฝ่ายดี คือ กุศลธรรม (กุศลจิต) ๑ ทั้งสองแรงนี้อยู่ในคน เดี๋ยวเปลี่ยนเป็นร้ายเดี๋ยวเปลี่ยนเป็นดีสลับกันวนวน ที่พูดกันติดปากนักธรรมะว่าเกิดดับ ซึ่งแล้วแต่แรงจูงใจ (เหตุปัจจัย) ยิ่งถ้าเป็นแรงจูงใจฝ่ายร้ายของผู้มีอำนาจมากมีเงินเยอะ ![]() คน ![]() https://www.youtube.com/watch?v=9FyQ-8E29sw ทิฏฐิเป็นมโนกรรมอยู่ในใจ แต่มีอิทธิพลต่อสังคมแสดงผลต่อโลกนี้ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังที่อาจจะอ้างพุทธพจน์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เอกบุคคล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศ มิใช่ประโยชน์ เกิดขึ้นเพื่อความทุกข์ แก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย คือ เอกบุคคลอย่างไหน ได้แก่ เอกบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีทัศนะวิปริต เขาพาพหูชนออกไปจากสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ภิกษุทั้งหลาย เอกบุคคลนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศ มิใช่ประโยชน์ เกิดขึ้นเพื่อความทุกข์ แก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย "ภิกษุทั้งหลาย เอกบุคคล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์ แก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย คือ เอกบุคคลอย่างไหน ได้แก่ เอกบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีทัศนะไม่วิปริต เขาพาพหูชนออกไปจากอสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ภิกษุทั้งหลาย เอกบุคคลนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่อประโยชน์สุข แก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย" (องฺ.เอก.20/191-2/44) ![]() |
บทความทั้งหมด
|