ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 287 "คิดถึง" การปฎิบัติธรรมที่ศุนย์กมลา ปราจีนบุรี
 

ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 287
"คิดถึง"
โจทย์โดยคุณ กะว่าก๋า

******

"คิดถึง"
การปฎิบัติธรรมที่ศุนย์กมลา ปราจีนบุรี
 

"คิดถึง" เมืองไทยมาก รอเวลากลับเมืองไทย คิดถึงทุกอย่าง ญาติพี่น้อง
เพื่อนๆ บรรยากาศ สถานท่องเที่ยว ร้านอาหารอร่อยๆ .... โอ้ยเล่า
ไม่หมด ว่าคิดถึงเมืองไทยแค่ไหน ไม่กลับเมืองไทยมาสองปีจะสามปีแล้ว
รอขนาดนี้แล้ว คงได้กลับเมืองไทยราวๆปลายปีหน้าน้า


คิดถึงสถานปฎิบัติธรรม ศูนย์กมลา
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S. N. Goenka)
เคยไปหลายปีแล้ว หลักสูตร 10 วัน
ครั้งต่อไปสามารถไป 3 วันหรือ 5 วันได้
จำบรรยากาศที่ศูนย์ได้ดี ไม่มีการพูดคุยกัน
ไม่มีการติดต่อกับคนภายนอก
ไม่มีโทรศัพท์ เริ่มปฎิบัติ 4.30 น.เช้า ถึง 21.00 น.
หลังจากครบ 10 วัน รู้สีกชอบ สงบ สบายใจ

กลับเมืองไทยครั้งต่อไปจะหาโอกาส
ไปปฎิบัติธรรมสัก 3 วัน (สำหรับผู้ที่เคยปฎิบัติ 10 วันแล้ว)


นำข้อมูลที่ไปปฎิบัติธรรม 10 วัน
มาไว้ที่บล็อกนี้ด้วยค่ะ



*******
 

ประสบการณ์ปฎิบัติธรรม วิปัสสนา ศูนย์กมลา ปราจีน
นำบุญมาฝากทุกๆท่านด้วยค่ะ
 


เจ้าของบล็อกจบหลักสูตร 10 วัน
การปฎิบัติธรรมที่ศูนย์กมลา
ต้องขอบคุณครอบครัวและญาติๆที่ให้ความร่วมมือที่จะดูแลซึีงกันและกัน
เพื่อให้จขบ.ไปปฎิบัติธรรมวิปัสสนาอย่างไร้กังวล

การปฎิบัติธรรมทั้งวัน พักอาหารเช้า 1.30 ชม. อาหารเที่ยง 2 ชม.
พักเย็นดื่มน้ำปานะ 1  ชม.
เริ่มปฎิบัติตั้งแต่ 4.30 น. ถึง 21.00 น.ทุกวัน
มีพักประมาณสิบนาทีทุกชั่วโมง ฟังธรรมตอนเย็น
ประมาณ 1.30 ชม ทุกวัน เรียกว่าเป็นการทำสมาธิ วิปัสสนาที่แข้มงวดมาก


เราจะไม่มีการติดต่อกับใคร แม้แต่กับผู้ที่มาปฎิบัติด้วยกัน
เราก็จะไม่คุยกันแม้แต่การใช้สายตา หรือไม่ถูกต้วกัน<


 วันแรกที่ไปถึงจะมีการปฐมนิเทศถึงกฎต่างๆ และรักษาศิลห้าอย่างเคร่งครัด
และรักษาความเงียบทุกท่านต้องฝากเงิน ของมีค่าและโทรศัพท์ไว้ที่ศุนย์
โดยมีล็อกเก้อร์ให้ทุกท่าน 

สำหรับที่พักมีความสะดวกสบายพอสมควร มีห้องพักส่วนตัว
มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำในห้อง ผ้าปูที่นอนสะอาด
มีชุดสำหรับทานอาหารเป็นถาดหลุม ช้อน ซ่อม ช้อนชา ช้อนซุบ แก้ว 2 
และถ้วยซุบ ที่พักมีเบอร์ห้อง เบอร์โต๊ะอาหาร และล็อกเก้อร์จะเป็นเบอร์เดียวกัน  

มีเครื่องทำความสะอาดห้อง ไม้กวาด ไม้ถูพื้น น้ำยาทำความสะอาดพร้อม
สำหรับทำความสะอาดห้องพัก. และทำความสะอาดห้องวันสุดท้ายก่อน
เราจากห้อง 

อาหารมังสาวิรัติ มีของหวาน ผลไม้ ชากาแฟ น้ำขิง
 มีอ่างล้างถาดอาหารและผ้าเช็ดจาน มีความสะดวกสบายทั้งที่นอนและอาหาร
ช่วยให้ปฎิบัติธรรมอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องกังวล

หลังจากครบ  10 วัน จขบ.รู้สีกว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ที่ได้รู้ถึงขั้นตอนวิปัสสนาและสามารถนำมาปฎิบิติต่อที่บ้านได้ และคิดว่าถ้ามีโอกาสจะกลับไปอีก  

สำหรับท่านที่จะทราบข้อมูลอย่างละเอียด มีหลายกระทู้ของพันทิปที่เขียนถึงการปฎิบัติ
ที่หาอ่านเพิ่มเติมได้นะคะ

วันสุดท้ายก่อนกลับบ้าน เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกกัน


















 

หลักสูตร DKL170003 หลักสูตรวิปัสสนา (10วัน)
สถานที่ ศูนย์ธรรมกมลา (ปราจีนบุรี)
วันที่อบรม 02/08/17 - 02/19/17
ประเภทผู้เข้าอบรม ฆราวาส,แม่ชี,ภิกษุณี
 

จขบ.(เจ้าของบล็อก) กลับมาเมืองไทยคราวนี้
สมัครไปปฎิบัติธรรมที่ศุนย์กมลา ปราจีนบุรี
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า วันที่ 8 - 19 เดือน กุมภาพันธ์ 2060 ค่ะ
 
เชิญชมภาพและรายละเอียดเพิ่มเติมเปิดอ่านที่นี่ค่ะ
 

คำแนะนำในการเข้าอบรม
วิปัสสนาเป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน แต่ก็ได้กลับมาค้นพบ อีกครั้ง โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว วิปัสสนาหมายถึง "การมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง" อันเป็นกระบวนการในการทำจิตให้ บริสุทธิ์โดยการเฝ้าดูตนเอง เราจะเริ่มต้นด้วยการเฝ้าสังเกตดูลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ เมื่อมีสติที่มั่นคง เราก็จะก้าวไปสู่การเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยน แปลงตามธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งจะทำให้ได้พบกับสัจธรรมที่เป็นสากลคือ ได้เห็นความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) การที่ได้ รู้เห็นถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเหล่านี้จากประสบการณ์ของท่านเองโดยตรง จึงเป็นวิธีการในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ธรรมะเป็นเรื่องสากล มีไว้สำหรับแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เป็นสากล มิได้ผูกขาดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บุคคลทุกคนจึงสามารถจะปฏิบัติได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องของเชื้อ ชาติ ชั้นวรรณะ หรือศาสนา ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนโดยทั่วถึงกัน


วิปัสสนานั้นมิใช่เป็น

พิธีกรรมที่มีพื้นฐานทาง ความเชื่อถืออย่างงมงาย
เรื่องบันเทิงทางปัญญาหรือปรัชญา
การพักฟื้น การหยุดพักผ่อน หรือโอกาสที่จะมาสังสรรค์กัน
การหลีกหนีจากปัญหาและ ความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน
หากแต่วิปัสสนาเป็น

วิธีการในการขจัดความทุกข์
ศิลปะของการดำเนินชีวิตที่จะทำให้คนเราอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข
วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้คนเราสามารถเผชิญกับความตึงเครียดและ
ปัญหาในชีวิตได้ด้วยความสงบและความสมดุลทางจิตใจ
วิปัสสนากรรมฐานจึงมุ่งไปยังเป้าหมายทางจิตใจในระดับสูงสุด เพื่อการหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงและเพื่อการบรรลุธรรม มิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการบำบัดรักษาโรคทางกาย แต่ เนื่องจากเป็นผลพลอยได้จากการทำจิตให้บริสุทธิ์ จึงทำให้ความเจ็บป่วย อันเนื่องมาจากความเก็บกด ในจิตใจหมดไป แท้จริงแล้ว วิปัสสนาสามารถที่จะขจัดสาเหตุที่ทำให้ เกิดทุกข์ 3 ประการ คือ โลภ โกรธ หลง ได้ ถ้าได้ปฏิบัติต่อเนื่องกัน วิปัสสนาจะระบายความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและแก้ปมในใจที่ผูกอยู่ เนื่องจากนิสัยดั้ง เดิมที่ชอบปรุงแต่งต่อสถานการณ์ต่างๆ เช่น ปรุงแต่งไปในทางที่ชอบหรือพอใจ (อันทำให้เกิดโลภะ) และไม่ชอบหรือไม่พอใจ (อันทำให้เกิดโทสะ) แม้ว่าวิปัสสนาจะพัฒนา ขึ้นมาโดยที่เป็นวิธีการหนึ่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่การปฏิบัติก็มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใน เรื่องของศาสนาแต่อย่างใด วิธีปฏิบัติตั้งอยู่บนพื้นฐานธรรมดาสามัญที่ว่า มนุษย์ทุกคนต่างมีปัญหาเหมือนๆ กัน และวิธีการที่สามารถขจัดปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้อง เป็นวิธีที่เป็นสากล มีผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ เคยได้รับผลจากการปฏิบัติวิปัสสนามาแล้ว โดยมิได้มีความขัดแย้งกับความเชื่อที่มีอยู่เดิม

วินัยในการปฏิบัติ
กระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการสังเกตดูตนเองนี้ มิใช่เป็นเรื่องง่ายอย่างแน่นอน เราจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องใช้ความพยายามของตนเองเท่านั้น จึงจะเข้าถึงการรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ไม่มีใครอื่นที่จะทำให้ได้ ดังนั้นวิปัสสนากรรมฐานจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติ และมีความเคร่งครัดต่อระเบียบ เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง และเป็นการคุ้มครองตนเองด้วย กฎระเบียบต่างๆ จะเป็นส่วนที่ทำให้การปฏิบัติกรรมฐานสมบูรณ์ขึ้น เวลา 10 วันนี้นับว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นในการที่จะเจาะลึกเข้าไปถึงระดับจิตใต้สำนึก และเรียนรู้วิธีการที่ขจัดกิเลสที่ตกตะกอนอยู่ในส่วนลึกสุด (อนุสัยกิเลส) การปฏิบัติให้ต่อเนื่องโดยไม่พูดจาหรือเกี่ยวข้องกับใครเป็นเคล็ดลับของความสำเร็จของวิธีการนี้

กฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนดขึ้น ก็เพื่อรักษาการปฏิบัติแนวนี้ให้คงอยู่ได้ กฎเกณฑ์ต่างๆ มิได้ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อความสะดวกในการบริหาร หรือเพื่อคัดค้านประเพณีคำสอน หรือความเชื่องมงายที่มีอยู่ในบางศาสนา แต่เป็นสิ่งที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนับพันๆ คนเป็นเวลาหลายปี และยังเป็นสิ่งที่มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ การรักษากฎระเบียบจะก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นระเบียบอันเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติกรรมฐาน การฝ่าฝืนกฎระเบียบย่อมจะทำให้เกิดมลภาวะ ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องอยู่ให้ครบ 10 วัน และจะต้องอ่านกฎระเบียบต่างๆอย่างใคร่ครวญ ผู้ที่คิดว่าสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้เท่านั้น จึงควรจะสมัครเข้าปฏิบัติ ผู้ที่มิได้เตรียมตัวที่จะใช้ความพยายามในการปฏิบัติอย่างเต็มที่ ไม่ควรสมัคร เพราะจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ยังจะเป็นการรบกวนบุคคลอื่นที่ตั้งใจเข้ามาปฏิบัติด้วยความเคร่งครัดอีกด้วย ผู้เข้ารับการฝึกจะได้รับคำเตือนว่า หากเลิกฝึกก่อนที่จะจบการอบรม เนื่องจากเห็นว่ากฎระเบียบต่างๆ ยากที่จะปฏิบัติ จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวผู้นั้น รวมทั้งจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจขึ้นมาได้ ในกรณีที่นับว่าร้ายแรงที่สุดก็คือ เมื่อถูกเตือนหลายครั้งแล้ว ยังไม่สามารถจะปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ ก็จะถูกขอให้ออกไปจากการฝึกอบรม


กฎระเบียบ
พื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ ศีล ศีลจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมาธิ และกระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นจากปัญญา คือการรู้แจ้งเห็นจริง


ศีล
ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนาทุกท่านจะต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด ได้แก่
1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการดื่มน้ำเมา
สำหรับผู้ที่เคยผ่านหลักสูตรนี้มาแล้ว จะต้องถือศีล 8 ซึ่งมีเพิ่มเติม คือ
6. เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล
7. เว้นจากการดูละครฟ้อนรำ และการใช้เครื่องหอมตกแต่งร่างกาย
8. เว้นจากการนอนบนที่นอนที่หนาและอ่อนนุ่ม
ผู้ที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว จะรักษาศีลข้อ 6 ได้ด้วยการดื่มแต่เพียงน้ำปานะหลังจากการพักในเวลา 5 โมงเย็น ในขณะที่ผู้ปฏิบัติใหม่ อาจจะดื่มนม น้ำชา หรือรับประทานผลไม้ได้ อาจารย์ผู้สอนอาจจะยอมให้ผู้ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว บางคนยกเว้นการรักษาศีลข้อนี้ได้ ถ้าหากบุคคลผู้นั้นมีปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนศีลข้อ 7 และ 8 นั้น ทุกคนจะต้องรักษา

การยอมรับอาจารย์ผู้สอนและวิธีการปฏิบัติ
ในระหว่างการฝึก ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องรับที่จะปฏิบัติตามวิธีการ และคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอนทุกประการนั่นคือ ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องปฏิบัติตามวิธีการปฏิบัติที่อาจารย์สอน โดยไม่มีการแต่งเติมหรือตัดทอนใดๆ ทั้งสิ้น การยอมรับด้วยความเชื่อถือเท่านั้น ที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกสามารถปฏิบัติได้อย่างขยันขันแข็งโดยตลอด ซึ่งการยอมรับนี้ก็ควรจะมีการแยกแยะและทำความเข้าใจด้วย มิใช่เป็นไปเพราะถูกบังคับหรือหลงงมงายเหมือนคนตาบอด ความเชื่อมั่นที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและวิธีการปฏิบัติ จำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการปฏิบัติวิปัสสนา


พิธีกรรมและวัตรทางศาสนาตลอดจนวิธีการปฏิบัติอื่นๆ
ในระหว่างการฝึก สิ่งที่สำคัญมากคือ จะต้องงดพิธีกรรมและวัตรทางศาสนาต่างๆ ทั้งหมด เช่น การจุดตะเกียงนับลูกประคำ ท่องมนต์ อดอาหาร สวดมนต์ เป็นต้น การปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นๆ หรือการปฏิบัติเพื่อการบำบัดรักษาอื่นๆ จะต้องเว้นด้วย เช่น การเดินจงกรม การฝึกโยคะโดยใช้สมาธิ ทั้งนี้มิใช่เป็นการคัดค้านการปฏิบัติวิธีอื่นๆ แต่เพื่อให้ได้ทดลองฝึกวิธีวิปัสสนาแบบนี้เพียงแบบเดียว เพราะการนำวิธีปฏิบัติวิธีอื่นมาผสมปนเปกับวิธีปฏิบัตินี้ จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติ หรืออาจจะทำให้การปฏิบัติไม่ได้ผลเลย แม้ว่าอาจารย์ผู้สอนจะคอยเตือนซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ตาม แต่ก็ยังมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นในอดีต เมื่อผู้รับการฝึกนำเอาวิธีการปฏิบัตินี้ไปรวมกับพิธีกรรมอื่นๆ จนทำให้เกิดอันตรายต่อผู้นั้น ความสงสัยและความสับสนที่อาจเกิดขึ้นนั้นสามารถจะแก้ไขให้กระจ่างได้ โดยการไปพบอาจารย์ผู้สอน


ตารางเวลา
04:00 น. ระฆังปลุก
04:30 น. - 06:30 น. นั่งปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
06:30 น. - 08:00 น. อาหารเช้า
08:00 น. - 09:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
09:00 น. - 11:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวม หรือในที่พักส่วนตัวตามที่อาจารย์กำหนด
11:00 น. - 12:00 น. อาหารกลางวัน
12:00 น. - 13:00 น. พักผ่อน
13:00 น. - 14:30 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
14:30 น. - 15:30 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
15:30 น - 17:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักตามที่อาจารย์กำหนด
17:00 น. - 18:00 น. พักดื่มน้ำปานะ
18:00 น. - 19:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
19:00 น. - 20:15 น. ฟังธรรมบรรยายในห้องปฏิบัติรวม
20:15 น. - 21:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
21:00 น. - 2130 น. สอบถามข้อสงสัยกับอาจารย์เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
21:30 น. พักผ่อน

บล็อกเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=newyorknurse&month=02-2017&date=19&group=20&gblog=231

*****

 
Klaibannn Blog
 
newyorknurse



Create Date : 21 กันยายน 2564
Last Update : 7 ตุลาคม 2564 2:16:01 น.
Counter : 1174 Pageviews.

15 comments
What Is Lyrics? สมาชิกหมายเลข 8092455
(19 เม.ย. 2567 00:41:38 น.)
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
เมนูที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหาร ข้าวยำ สมาชิกหมายเลข 4313444
(4 เม.ย. 2567 00:28:04 น.)
9 แนวคิดที่ทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม peaceplay
(31 มี.ค. 2567 09:18:27 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณKavanich96, คุณpeaceplay, คุณเริงฤดีนะ, คุณกะว่าก๋า, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณ**mp5**, คุณThe Kop Civil, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณทนายอ้วน, คุณหอมกร, คุณร่มไม้เย็น, คุณตะลีกีปัส, คุณtoor36, คุณปรศุราม, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณhaiku, คุณสองแผ่นดิน, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณมยุรธุชบูรพา, คุณSweet_pills

  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:4:52:41 น.
  
อนุโมทนาบุญด้วยคนค่ะ
โดย: peaceplay วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:5:21:11 น.
  
อนุโมทนาบุญค่ะพี่น้อย
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:5:28:54 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย

หลังโควิดคลี่คลาย
ทุกอย่างน่าจะกลับมาเป็นปกติในเร็ววันครับ
รวมทั้งสถานปฏิบัติธรรมด้วย

ที่ลำพูนก็มีสถานปฏิบัติธรรมของท่านโกเอนก้า
แต่ผมยังไม่เคยไปครับ

เคยได้รับหนังสือของท่านมาอ่านหนึ่งเล่ม
อ่านแล้วชอบมากครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:5:41:48 น.
  
อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:8:25:02 น.
  
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ
โดย: **mp5** วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:9:16:26 น.
  
สวัสดี จ้ะ คุณน้อย

อนุโมทนาบุญ การคิดถึง มีความสุข ในการปฏิบัติธรรม เป็น
เรื่องดีมาก จ้ะ การจะให้เราหลุดพ้นจากการเวียน ว่าย ตายเกิด ก็จะ
มีโอกาสได้เร็วขึ้น จ้ะ
กลับมาเมืองไทย มีโอกาสกลับไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ที่
ทำให้เรามีความสุข ที่เราคิดถึง ย่อมดีเสมอ จ้ะ

โหวดหมวด ชีวิตในต่างแดน
โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:9:18:28 น.
  
สาธุค่ะ
มาอ่านเรื่องราวที่น่าชื่นชมยินดีนะคะ

โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:10:40:20 น.
  
อนุโมทนาค่ะพี่น้อย

โดย: หอมกร วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:11:01:22 น.
  
สวัสดีมีสุขค่ะ

สิ่งที่คิดถึง สร้างกุศลแก่ตัวเองดีเลยค่ะพี่น้อย
สาธุค่ะ
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:13:33:28 น.
  
หลายๆ คนน่าจะคิดถึงบรรยากษศแบบนี้ ตอนนี้ก็ต้องอดทนกันไปก่อน
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 7 ตุลาคม 2564 เวลา:16:14:00 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 ตุลาคม 2564 เวลา:5:47:19 น.
  

แวะมาส่งงานเขียน ตะพาบ 287
:คิดถึง ค่ะ พี่น้อย
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 8 ตุลาคม 2564 เวลา:7:24:21 น.
  

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 ตุลาคม 2564 เวลา:5:33:19 น.
  


การปฏิบัติธรรมที่พี่น้อยคิดถึง
ขออนุโมทนาบุญกับพี่น้อยด้วยค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 10 ตุลาคม 2564 เวลา:0:28:38 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด