ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 201 " My Idol "




ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 201 " My Idol "
โจทย์โดยคุณ aitai อ่านว่า อะอิไต้


เราเองก็มีฮีโร่ หรือคนที่ชื่นชม คนที่อยากเอาเป็นตัวอย่างเหมือนกัน
แต่ก็เปลี่ยนไปตามกาลและเวลา ตอนเริ่มเรียนก็มี Idol เป็นครู
ตอนทำงานก็มี Idol เป็นหัวหน้าที่ทำงานเก่ง และนิสัยดี มีความรู้

ฮีโร่ หรือ Idol ของเราตอน
อายุประมาณ 40 กว่าคือ Suze Orman นักวางแผนการออมเงิน
และแนะนำการใช้จ่าย โดยเฉพาะผู้หญิง เราอ่านหนังสือและชม
รายการของ Suze Orman สม่ำเสมอ


Suze Orman พูดว่า " People First , Money Second"



Suze Orman is America’s most recognized personal finance
expert: a two-time Emmy® award-winning television host,
best-selling author, magazine columnist, writer/producer and
motivational
speaker.

Suze Orman takes complex financial concepts and presents
them in simple, easy to follow advice.She’s been helping
people for over 35 years and now she’s partnered with
Time Life, a company you know and trust, to bring YOU her
most complete financial system ever,





ขณะที่ทำงาน ที่รพ.ก็มีการออมเงินสำหรับเกษียณด้วย เราไม่สนใจ แถมไม่เข้า
และไม่ค่อยอยากรับรู้ (งานแรกทำงานรพ.รัฐ) จากที่ทราบคร่าวๆคือเราต้องออกเงิน
ส่วนหนี่ง และทางรพ.จะออกสองส่วน และเงินที่หักออมไว้ จะเก็บไว้ที่กองทุนสอง
บริษัทการเงินให้เราเลือกเป็นบริษัทที่ทางรพ.เลือกให้เข้ามาทำเรื่องนี้กับ
พนักงานของรพ. (เรียกว่าเชื่อถือได้? ) ตอนนั้นไม่ค่อยเข้าใจเลย แต่ที่รู้แน่ๆ
ว่าเงินที่เก็บไว้นั้นเราจะไม่มีสิทธิถอนออกจนอายุ  60 ปี คิดแล้วเลยไม่อยาก
ออมเงินแบบนี้ ที่จริงเราไม่เข้าใจ
และการที่ไม่ทำก็เหมือนไม่ค่อยฉลาด เพราะเราออกหนี่งส่วนที่ทำงานออก
ให้สองส่วนเหมือนกับเราได้เงินฟรีๆ สองส่วนเลย เราออก 100   เหรียญ
ทางรพ.จะสมทบอีก200 เหรียญ คิดดีๆก็ได้เงินฟรีๆ 200 เหรียญทันตาเห็น
ไม่เอาเรียกว่า... ฉลาดไหม

แต่คนส่วนมากคิดว่าเรื่องอะไร เอาเงินไปกักไว้นานน เพราะถอนไม่ได้
จนอายุ 60 เราอายุ ไม่ถึงสามสิบ รออีกตั้งนานไม่เอาดีกว่า .... กลายเป็นว่า
ถ้าเราไม่ออกเงินหนี่งส่วน รพ.ก็ไม่สมทบ ก็เรียกว่าไม่มีเงินเก็บสำหรับเกษียณ
นับว่ายังโชคดีอยู่ เราย้ายออกจากรพ.รัฐ ไปทำงานรพ.กึ่งรัฐ เขามีเงิน
เกษียณให้เป็นเงินที่เขาคิดจากเงินเดือนและเวลาทำงาน มีสูตร และเงินที่ได้รับ
จะรับจนตายหรือบางแห่งสามารถให้ลูกได้ด้วย แต่เงินที่ได้รับก็น้อยลง
ต้องหักให้เพื่อมีให้ลูกที่อายุรุ่นลูก รับเงินจนตาย แต่ต้องทำงานอย่างต่ำ 5 ปี
หรือ 10 ปีแล้วแต่ที่ทำงานแต่ละแห่ง ทำงานน้อยก็ได้รับน้อย

ที่รพ.ยังส่งเสริมให้ออมเงินก่อนภาษีอีกด้วย แต่ก็มีจำนวนจำกัด
ว่าปีหนี่งๆจะสามารถออมได้ปีละเท่าไร เราออมน้อยได้ แต่มากกว่าที่รัฐ
กำหนดไม่ได้  ส่วนมาก็ออมกันไม่ได้มาก เพราะเป็นระยะสร้างครอบครัว
มีภาระดูแลลูก บ้าน รถ ก็ไม่มีเงินเหลือมากที่จะออมเท่าไร แต่ทำไว้บ้างก็ยังดี

ตอนนั้นเลยคิดว่าเราต้องสนใจเรื่องออมเงินและนำเงินไปจัดการให้เกิด
ดอกออกผลให้เกินค่าเงินเฟ้อ เริ่มเข้าใจบ้าง เป็นระยะที่เพื่อนๆก็สนใจกัน
แนะนำว่าให้อ่านหนังสือ และดูรายการของ Suze Orman - Personel
Finance expert ระยะเกือบเกษียณ Idol ของเราคือ Suze Orman


Suze Orman said A 36-month loan is a sign of being financially smart. I will even give you a break if you decide on a 48-month loan. But 70 months or longer? That’s nuts.   ควรกู้แค่ 3-4 ปีก็นับว่าพอแล้ว ไม่ควรผ่อนมากว่านี้

และอย่ามาแก้ตัวว่าก็ผ่อนสามปี ผ่อนไม่ไหว เพราะนั่นหมายความว่าซื้อรถแพง
เกินที่ตัวเองควรจะซี้อ ควรซื้อรถที่ราคาที่เราจะซื้อได้ ไม่ใช่ซื้อรถแพงๆแล้ว
ต้องผ่อนนานๆ Suze เขามีรายการวันเสาร์ เรียกว่ารายการ Can I afford it 
คนจะถามว่าอยากได้รถ บ้าน ซื้ออะไรก็ได้ แม้แต่จะไปเที่ยวแพงๆ ก็ถามว่า
จะไปเที่ยวหรือซื้อของแบบนี้จะได้ไหม Suze จะถามว่าตอนนี้ทำงานอะไร
อายุเท่าไร มีเงินเก็บเท่าไร ..และจะบอกว่าควรจะใช้เงินส่วนนี้หรือไม่
สำหรับคนที่ไม่มีเงินเก็บ หรือมีน้อยยังไม่เตรียมเงินสำหรับเกษียณ
เขาก็จะบอกว่าไม่ควรใช้เงินส่วนนี้

สรุปแล้ว Suze ก็สอนให้ประหยัด ใช้เงินตามฐานะ และรู้จักเก็บเงิน
ไว้ตอนหลังเกษียณ จะได้ไม่เดือดร้อน เพราะเกษียณรายได้น้อยลง
ไม่เหมือนตอนรับเงินเดือนประจำ


ลองชมวีดีโอนะคะ

Suze Orman Can I afford it ?




ชีวิตหลังเกษียณเพิ่งเห็นว่าทุกคนต้องมีเงินเก็บพอสมควร ชีวิตเกษียณจะได้มีความสุข 
ถ้าไม่มีเงินเก็บไม่วางแผนการเงินไว้แล้ว ตอนเกษียณจะลำบากมากๆ เงินว่าไม่สำคัญ
แต่ก็สำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิต เห็นเพื่อนๆหลายคนที่ไม่มีเงินเก็บ ไม่มีเงินเกษียณ
พอเกษียณ มีเงินใช้แบบจำกัด ไม่ค่อยสะดวก และถ้าต้องใช้อะไรพิเศษก็ลำบากทีเดียว
จะซื้ออะไรที ก็ต้องคิดมาก เพราะมีเงินจำกัด เพื่อนจะชวนไปไหนก็ต้องคิดหนัก
เล่ามาให้ฟัง เพื่อจะได้เตรียมออมเงินกันไว้ ตอนเกษียณ จะได้สบายพอสมควร

ก่อนเกษียณ 20 ปี เราก็ได้ศีกษา การออมเงิน การซื้อกองทุน และการซื้อหุ้นบ้าง
เพราะฟังรายกายการของ Suze Orman - Financila Guru เขาแนะนำ
การออมเงิน จะมีรายการทางทีวีทุกวันเสาร์ มีรายการชื่อว่า Can I afford it
Suze นักวางแผนการเงิน Idol ในการบริหารเงิน โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง
เขาจะสอนทุกเรื่องการกู้เงิน การซื้อประกัน การซื้อบ้าน ซื้อรถ วางแผนตอน
เกษียณ สารพัด จนไปถึงการจัดการทรัพย์สมบัติก่อนตาย และการวางแผน
จะทำอย่างไร และวางแผนการเจ็บป่วย ที่รพ.และแม้แต่งานศพจะทำอย่างไร
เป็นความรู้ที่ฟังแล้วก็เอามาตัดสินใจเองว่าจะทำอย่างไร


(ระยะนี้เริ่มสนใจสุขภาพและจิตใจ ก็พยายามหาความรู้การ
ปฎิบัติธรรม และฝึกสมาธิสม่ำเสมอ
ไม่คิดจะทำอะไรหรือการลงทุนอะไรแล้ว
แต่ก็ยังฟังรายการของเขา เป็นความรู้





Suze Orman แนะนำเรื่องซื้อรถ ...

I can learn so much about a household’s commitment to building financial security by asking them about their car.

And from what I hear and see these days, plenty of you are being down right dumb when it comes to financing a car purchase.

Suze Orman

The average length of a loan to buy a new car is close to 70 months. Are you kidding me? That is way too long, and a tip off you fell in love with a car you can’t truly afford, and taking out a way-too-long loan was the only way to get the monthly payment down to where you could “afford” the car.

A 36-month loan is a sign of being financially smart. I will even give you a break if you decide on a 48-month loan. But 70 months or longer? That’s nuts.

Fall in love with your IRA or your home. Those are assets that over time may increase in value. A car will never, ever increase in value. It is a depreciating asset that loses about 20 percent of its value in the first year. And keeps on falling from there.

And don’t tell me that cars are just expensive, and you had no option but to take out a long loan. You are so not standing in your truth. The car you want may be too expensive. The car you need can be very affordable. All it takes is a willingness to only shop for cars that make financial sense. A new car or a used car that you can pay off in three years is living within your means.

And for all of you with a long car loan, you better keep driving that car for a long time. But that’s not what many of you are doing. Edmunds.com reports that last year about one-third of cars that were traded-in had “upside down” loans. That is, people traded in a car that was worth less than their loan. So they had to come up with cash to pay off the loan on the car they are trading in, to finance the car they want to buy. No problem says the auto loan industry: they will sell you a new car with a loan that includes the money you need to pay off the loan from the car you want to trade in.

That’s a very big problem if you happen to care about building financial security.

ขอขอบคุณภาพ และยูทูปจากอินเตอร์เนต


สาขาการบริหารและจัดการ
Business Blog / Education Blog


newyorknurse






Create Date : 06 เมษายน 2561
Last Update : 14 เมษายน 2561 9:35:50 น.
Counter : 1289 Pageviews.

0 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
อย่ามาบ้ง!นะ peaceplay
(5 เม.ย. 2567 15:53:18 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
เอื้องชมพูไพร สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มี.ค. 2567 02:45:05 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmastana, คุณauau_py, คุณmambymam, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณกะว่าก๋า, คุณhaiku, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณmoresaw, คุณหอมกร, คุณtuk-tuk@korat, คุณเริงฤดีนะ, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณวลีลักษณา, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณInsignia_Museum, คุณก้นกะลา, คุณจอมใจจอมมโน, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณ**mp5**, คุณtoor36


Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด