ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 283 "จุดเปลี่ยนของชีวิต"
 

ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 283
"จุดเปลี่ยนของชีวิต"

 โจทย์โดยคุณ blue_medsai

 
 

จุดเปลี่ยนของชีวิต
คนเรามีจังหวะของชีวิต ที่เราต้องเลือกว่าจะไปทางไหน...

ชีวิตเรากว่าเราจะถึงเวลาเกษียณ เจอจุดเปลี่ยนหลายอย่าง

สำหรับจขบ.เป็นเด็กนักเรียนต่างจังหวัด เรียนจบมัธยมปีที่ 6
ต้องเข้ามศ 4 -5 จะเรียนที่โรงเรียนไหน และต้องตัดสินใจว่า
จะเรียนแผนกศิลป์ หรือแผนกวิทย์ 

คนเรียนแผนกวิทย์ เวลาจะเข้ามหาทิยาลัยก็เรียนสายวิทย์
เช่นเข้าเรียนทางวิศวะ แพทย์ ... แต่ที่เข้าใจว่าเรียนแผนกวิทย์จะเข้า
มหาวิทยาลัย เลือกเรียนได้มากคณะกว่าเรียนแผนกศิลป์
คนที่เรียนแผนกศิลป์ เวลาเข้ามหาวิทยาลัยก็ไปต่ออักษรศาสตร์
และอีกหลายๆอย่าง ตอนนั้นไม่ค่อยเข้าใจ
ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ต้องเลือกเพื่ออนาคตว่าจบแล้วจะมีงานทำไหม

การศีกษาของเด็กรุ่นนี้เรียนถึงม. 6 แล้วเข้ามหาวิทยาลัย ต้องเก็บคะแนน
ยิ่งเข้าใจยาก ไม่รู้เรื่องเลยว่าจะต้องเตรียมเด็กอย่างไร แต่จริงๆเด็กสมัยนี้
ก็รู้เรื่องดี กว่าเราสมัยก่อน ไม่ค่อยมีข้อมูล ไม่ค่อยมีคนแนะนำ 

สมัยก่อนจุดเปลี่ยนของชีวิตตอนเรียนจบ มศ 5
เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งคือจะเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยอะไร
และเรียนอะไรคะแนนเราดีแค่ไหนที่จะเลือกมหาวิทยาลัย
ไหนได้บ้าง คิดว่าจบแล้วมีงานทำตามสาขาที่จบมา
จบอะไรก็มีงานทำทางนั้น
บางคนก็เรียนต่อปริญญาโท บางคนไปต่างประเทศ
มีอาชีพต่างๆกัน 

จขบ​ (เจ้าของบล็อก) จบมศ.5 แผนกวิทย์
ตอนสมัครเข้ามหาวิทยาลัยก็อยากเป็นครู
เลือกสาขาคุรุศาสตร์  และพยาบาลเชียงใหม่
ระยะนั้นจบ.มศ.5 สอบเข้าพยาบาลศิริราชด้วย
และเข้าเรียนแล้ว
รอผลจากมหาวิทยาลัยว่าติดคุรุศาสตร์ไหม
( อยากเรียนคุรุศาสตร์)ผลประกาศปรากฎว่าติดพยาบาลเชียงใหม่
ทำไงดี เราเรียนพยาบาลศิริราชไปหลายเดือน
แล้ว จะออกไปเรียนพยาบาลเชียงใหม่ไหม
แต่ก็ไม่ต้องตัดสินใจมาก เพราะทางบ้าน
ก็ไม่สนับสนุนให้ไปเรียนเชียงใหม่ เพราะบ้านอยู่ราชบุรี
ไปเชียงใหม่ บอกว่าไกลเกิน
ยังนีกไม่ออกว่าถ้าไปเรียนเชียงใหม่ ตอนนี้จะเป็นอย่างไร

จุดเปลี่ยนชีวิตอีกครั้งก็คือตอนสอบเข้าพยาบาลศิริราช
อจ.ที่สัมภาษณ์บอกว่ารุ่นที่เรียน
นี้จะมีสองรุ่น เพื่อแบ่งครี่งหนี่งไปทำงานที่รพ.รามาธิบดีเป็นรุ่นแรก
ซี่งจะเปิดอีกสี่ปีข้างหน้าจะไปทำงานรพ.รามาธิบดีใหม? 
เด็กบ้านนอกเข้ากรุง  กลัวอจ.จะไม่รับเข้าเรียนพยาบาลศิริราช
เลยบอกว่าหนูอยากอยู่รพ.ศิริราช อจ.ก็บอกไม่อยากไปที่ไหม่หรือ
ดูหนูน่าจะไปอยู่ที่ใหม่นะ
(ตอนนั้นคิดว่าอจ.ลองใจ เลยยืนกระต่ายขาเดียวว่าหนูจะอยู่ที่ศิริราช
ไม่ไปที่อื่นแน่นอนค่ะ  เพราะกลัวตอบว่าไป คงจะตกสัมภาษณ์) 
ชีวิตเปลี่ยนจริงๆเพราะพอจบเพื่อนๆที่เลือกไปรพ.รามา
เขาไปก็ได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้าตึก อยู่ไม่นานก็เลื่อนเป็นผู้ตรวจการ
และเลื่อนไปจนเป็นหัวหน้าพยาบาล ...

  ถ้าตอนสัมภาษณ์ ตกลงจะไปรพ.รามาธิบดี
คงไม่ได้มาทำงานที่นิวยอร์ก
แต่ก็คงได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศแบบเพื่อนๆ
และทำงานที่รพ.รามาธิบดี
เป็นผู้ตรวจการ เป็นผู้บริหาร
เพราะเป็นรุ่นแรก


ส่วนเราเลือกอยู่ศิริราช ทำงานได้ไม่กี่ปี
ก็เดินทางมาทำงานเป็นพยาบาลที่นิวยอร์ก จนเกษียณ


ตอนนี้เกษียณแล้ว ก็พอใจกับที่ตัดสินใจว่า
ไม่ไปอยู่รพ.รามาธิบดี
และมาทำงานที่นิวยอร์ก
จนเกษียณ มีรายได้จากเงินเกษียณ
มีประกันสุขภาพตลอดชีวิต

เกษียณแล้วก็ยังต้องมีจุดเปลี่ยนอีกหนี่งครั้งที่จะต้องตัดสินใจ
คือจะกลับมาเกษียณที่เมืองไทย
หรืออยู่ที่นิวยอร์กไปตลอดชีวิต
ถ้าคิดจะกลับเมืองไทยก็ต้องเตรียมตัว


ปัญหาสำหรับสว.ที่นิวยอร์ก หรือต่างประเทศก็คือ
ถ้าสุขภาพดี ดุแลตัวเองได้ ก็ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าดูแลตัวเองไม่ได้ และหนักหนาขนาด
ต้องติดเตียง จะไปอยู่เนิสซิ่งโฮม
ประกันจะจ่ายแค่ 100 วัน อยู่ต่อต้องจ่ายเอง
หรือออกมาอยู่บ้าน 100 วันก่อนที่จะกลับไปไหม่
ตอนที่ออกมา 100วัน ต้องหาคนดูแล 24 ชม 
ราคาชม.ละ 15-25 เหรียญ บางคนมีคนที่แนะนำกันมา
อาจจะเป็นญาติๆคนไทยที่มาแบบไม่ค่อยถูกต้อง
ราคาไม่ค่อยแพงแต่ก็ไม่น้อยกว่าวันละ$250 แน่นอน  

นี่แหละทำให้สว. ส่วนมากเริ่มเดินทางกลับเมืองไทย
เพราะค่าใช้จ่ายที่เมืองไทย ถึงแพง
เงินเกษียณที่ได้รับตลอดชีวิต ยังพอจ่ายไหว
และที่สำคัญการดูแลที่เนิสซิ่งโฮมที่นี่ คนไข้
เยอะเขาดูแลไม่ทั่วถึง ถ้ากลับเมืองไทยหาคนมาอยู่ประจำ
ดีกว่าแน่ๆ คนจะถามว่ามีลูกหลานไม่อยู่กับลูกหลานหรือ 
ลูกๆเขาทำงานและมีครอบครัว ดูแลลูกๆของเขา
คนส่วนมากที่นี่ก็วางแผนช่วยตัวเองไม่รบกวนลูกๆ


การไปอยู่กับลูกๆถ้าช่วยตัวเองได้ก็ไม่มีปัญหา ถ้าเกิดช่วยตัวเองไม่ได้
เขาก็คงต้องมีภาระเพิ่มอีก เรากลับเมืองไทย อยู่เนิสซิ่งโฮมดีๆ
หรือจ้างคนมาดูแล ก็ดีกว่า คิดถึงลูกหลานก็ใช้โทรศัพท์คุย

เดี๋ยวนี้ก็สามารถคุยกันเห็นกันได้ด้วย และลูกเขาพักร้อนก็
เดินทางมาเยี่ยมและเที่ยวเมืองไทยด้วย แต่ก็ไม่ใช่ง่ายเหมือนกันที่
จะตัดสินใจกลับมาเมืองไทย ต้องเตรียมหลายอย่าง
ทำให้คนส่วนมากยังรอๆ และหลายคนก็กลับมาแบบกระทันหัน
เพราะไม่เตรียมไว้ก่อน เกิดเจ็บป่วยต้องหาคนดูแล ก็รีบกลับ
เมืองไทย เรื่องต่างๆที่ต้องทำก็ยังทำไม่เรียบร้อย แต่ก็ไม่เกิน
ความสามารถที่จะทำได้ สามารถมอบฉันทะให้คนที่ไว้ใจได้ดูแล
เรื่องการเงินผ่านทางทนายและถ้าไม่ใช่ญาติ ทนายก็จะแนะนำ
ด้วยว่าควรจ่ายผู้จัดการมรดกอย่างต่ำ 1% ของทรัพย์สิน
แต่ก็แล้วแต่เราจะตกลงกันคนที่เราแต่งตั้งให้มาดูแลทรัพย์สิน
ถ้าเป็นญาติทางเมืองไทยทำเรื่องจะลำบาก เพราะไม่ใช่
คนอเมริกกัน หรือไม่มีใบกรีนการ์ด ก็ยุ่งยากที่เดียว ได้ข่าว
มีรุ่นพี่ให้หลานที่เมืองไทยมาจัดการ ต้องใช้เวลาเกือบห้าหกปี
และเสียภาษีต่างๆระยะที่รอ เป็นหมื่นกว่าเหรียญ


****




จบพยาบาลอนุปริญญาที่รพ.ศิริราช ปี 2511

*****

ทำงานพยาบาลที่รพ.St Luke Rossevelt Hospital Center
ส่วนหนี่งของสวัสดิการคือเรียนต่อเบิกเงินได้ สามารถเบิกเงิน
ค่าเล่าเรียนได้จนจบสูงสุด ปริญญาเอก และจบปริญญาจะได้เงิน
เดือนเพิ่มปริญญาตอีกปีละ $600 ด้วยถ้าจบปริญญาเอกก็ได้ $1,800




เรียนจบปริญญาตรี BS. Health Care Manangement
St Francis College
(St. Francis College is a private college
in Brooklyn Heights, New York)







เกษียณปี 2019 / 2552

ความทรงจำดีๆหลังเกษียณ




















จุดเปลี่ยนของชีวิตครั้งสุดท้าย
ก่อนจบฉากชีวิต 

ต้องเลือกอีกครั้ง
เตรียมตัวว่าถ้าช่วยตัวเองไม่ได้
ก็ต้องปรับตัวไปอยู่เนิสซิ่งโฮมหรือ
อยู่บ้านมีคนมาดูแล..
ไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน

 


 
Friendship Blog/Klaibannn Blog
 
newyorknurse



Create Date : 08 สิงหาคม 2564
Last Update : 10 สิงหาคม 2564 4:24:54 น.
Counter : 1575 Pageviews.

18 comments
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ…วางแผนการเงินอย่างไร ให้เหลือใช้ถึงปลายเดือน! สมาชิกหมายเลข 7654336
(13 เม.ย. 2567 02:04:45 น.)
อย่ามาบ้ง!นะ peaceplay
(5 เม.ย. 2567 15:53:18 น.)
9 แนวคิดที่ทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม peaceplay
(31 มี.ค. 2567 09:18:27 น.)
เอื้องชมพูไพร สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มี.ค. 2567 02:45:05 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณกะว่าก๋า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณหอมกร, คุณเริงฤดีนะ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณThe Kop Civil, คุณ**mp5**, คุณทนายอ้วน, คุณeternalyrs, คุณtuk-tuk@korat, คุณtoor36, คุณเนินน้ำ, คุณเซียน_กีตาร์, คุณสองแผ่นดิน, คุณอุ้มสี, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณkae+aoe, คุณmcayenne94, คุณโอพีย์

  
สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

อ่านแล้วก็นึกถึงจุดเปลี่ยนของแต่ละคน
ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ได้ทำอย่างที่คิดไว้นะครับ
เหมือนพี่น้อยก็อยากเป็นครู
แต่มาลงเอยกับอาชีพพยาบาล
แถมยังได้ไปทำงานที่ต่างประเทศด้วย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:6:24:02 น.
  
ผมว่าคุณน้อย ตัดสินใจถูกที่เรียนอยู่ศิริราช...

นักเรียนรุ่นปี 2500 กว่ายังไม่ค่อยรู้อะไรมาก ยิ่งจะเรียนไป
ทางไหน อาชีพอะไรยังไม่มีครูแนะแนวแบบสมัยใหม่ แต่เนาะ
เด็กสมัยนี้เขาเรียนจบด้านโบราณ..เราเห็นยังอึ้ง งานด้านนี้น้อยมาก... ปัจจุบันถ้าเรียนด้านชีวะน่าจะดีนะครับ 555

....
ที่หัวหิน ผมเห็น ฝรั่ง สว. อาศัยอยู่เยอะมาก น่าจะกำลังเกษียณ
หรือใกล้เกษียน เขาเชิญไปเที่ยวบ้านที่สร้างใหม่หลังโตเนื้อที่ดินกว่า 2 ไร่ ยังทำงานอยู่เป็นทื่ปรึกษาที่ เมกา
กลับไปบ้าง.. น่าจะสบาย ๆ กับค่าใช้จ่ายในไทย..

วันก่อนไป รพ.กรุงเทพที่หัวหิน เห็นฝรั่งลากแตะเข้า รพ.
เฉยเลย อีกอาทิตย์ก็เจอกันที่เดิมอีก.. แสดงว่าเขาคงได้
รับเงินไว้เยอะเลยอยู่ไทยสบาย ๆ เพราะ รพ.กรุงเทพต้องคนมีฐานะที่เหมาะจะเข้าไปใช้บริการ (แหะ ๆ ผมขับรถให้คนอื่นไป รพ.นะครับ)
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:6:38:31 น.
  
มารำลึกถึงความหลังกับพี่น้อยค่ะ
เมืองไทยค่าครองชีพน้อยกว่าค่ะพี่น้อย
แถมมีโอกาสเจอเพื่อนเก่าบ่อยๆ ด้วยค่ะ

โดย: หอมกร วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:7:21:32 น.
  
แต่เหมือนครอบครัว
ตลอดจนลูกหลานพี่น้อยและสามีอยู่เมืองนอก
คงเลือกอยู่เมืองนอก..อ้อว่า

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:7:45:59 น.
  
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ
โดย: **mp5** วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:9:00:21 น.
  
ส่งกำลังใจให้แต่เช้าครับ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:9:03:47 น.
  
แวะมาขอบคุณที่โหวตบล็อกของดิชั้นค่ะ และโหวตให้บล็อกนี้ แล้วได้เข้าไปอ่าน Profile ด้วยค่ะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขมากๆ ค่ะ
โดย: eternalyrs วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:12:53:38 น.
  
การที่ตัดสินใจไปนิวยอร์กผมว่าน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหย่ที่สุดแล้วล่ะมั้งครับ
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:16:04:58 น.
  
สวัสดีค่ะ
พี่น้อยคิดว่าจะกลับมาอยู่เมืองไทยมั๊ยคะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:17:21:41 น.
  
เซียนกระบี่ลุ่มแม่น้ำวัง

อ่าน ๆ ไปก็พาเริ่มคิดวางแผนว่ายามชราจะทำอย่างไร ที่ไม่ต้องรบกวนลูกหลานนะครับ

จากบล็อก - ขอบคุณที่แวะไปร่วมฟังเพลงครับ
มีความสุข รักษาสุขภาพ ห่างไกลโควิด นะครับ
โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:20:48:20 น.
  
จุดเปลี่ยนแต่ละคนไม่เหมือนกันเลยนะคะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 9 สิงหาคม 2564 เวลา:23:47:16 น.
  
งานตะพาบที่พี่น้อยเขียนให้ข้อคิดอย่างมากและ
ทำให้หันมามองตัวเองในอนาคตด้วยค่ะว่าควรวางแผนอย่างไร
ขอบคุณพี่น้อยมากนะคะ
ต๋าเชื่อว่าสิ่งที่พี่น้อยตัดสินใจเลือกจะเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 10 สิงหาคม 2564 เวลา:0:46:05 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 สิงหาคม 2564 เวลา:5:13:10 น.
  
คุณน้อยถ้าอยู่ในไทย... มีรถไว้จอดที่บ้าน ไม่อยากขับไป
ไหน ก็หาคนขับรับจ้างเป็นวัน

น้องสาวผมที่ เชียงรายก็เช่นกัน จะไปไหนก็บอก ชาวบ้านที่รับจ้างขับไว้ล่วงหน้า จ่ายเป็นรายวันส่วนใหญ่จะไปสองสามวันไปซื้อของ ตจว. ที่พักของคนขับไม่แพงครับส่วนใหญ่จะไป
ที่เดิมสองสามแห่ง ส่วนน้องก็พักบ้านญาติ

บ้านที่หัวหิน ฝั่งตรงข้ามบ้านชาวฝรั่งเศส อยู่ไทยนานแล้ว
แต่ลูกชายยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม... ด้านขวามือเป็นคอนเซ้าท์
ชาวเมกันคงด้าน กม./ภาษี เคยพาผมไปดูห้องทำงานที่นั่น
มีเครื่องมือสือสารครบ (คอม)

ที่หัวหิน ต่างชาติอยู่เยอะรถไม่ติด ผมยังชอบไปอยู่จะไปไหน
ไม่ถึง ครึีงชม.ก็ถึงแล้ว คชจ.ปานกลาง

ใน กท.นาน ๆ ผมจะเข้าไปครับบ้านผมอยู่ใกล้ ไม่ไกล
จากสนามบินสุวรรณภูมิ... เมื่อวานไป รพ.พระมงกุฏไป
หาหมอตามนัด ขับสบายมากครึ่ง ชม.ถึง เขา WFH
กัน 555
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 10 สิงหาคม 2564 เวลา:8:14:41 น.
  
จุดเปลี่ยนพี่น้อยหลายช่วงตอน
ชีวิตคุ้มค่าจริงๆค่ะ
โดย: mcayenne94 วันที่: 10 สิงหาคม 2564 เวลา:18:41:35 น.
  
ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - อินเตอร์คอนติเนนตัล พัทยา ครับ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 10 สิงหาคม 2564 เวลา:21:05:28 น.
  
เซียนกระบี่ลุ่มแม่น้ำวัง

ขอบคุณที่แวะไปร่วมฟังเพลงครับ
มีความสุข รักษาสุขภาพ ห่างไกลโควิด นะครับ
โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 11 สิงหาคม 2564 เวลา:19:48:55 น.
  

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 สิงหาคม 2564 เวลา:6:54:13 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด