13.9 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.8 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

ความคิดเห็นที่ 6-64
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 12:52 น.   

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เจโตขีลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3449&Z=3630

             พระสูตรหลักถัดไป คือวนปัตถสูตรและมธุปิณฑิกสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             วนปัตถสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3631&Z=3751
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=234

             มธุปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3752&Z=3952
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=243

             เทวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=251

ความคิดเห็นที่ 6-65
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 14:36 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
             ๗. วนปัตถสูตร ว่าด้วยการอยู่ป่า (วนปตฺถปริยายํ)
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3631&Z=3751&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ธรรมบรรยายว่าด้วยการอยู่ป่าว่า
             ๑. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยป่า สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ
จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป
และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่
ตนยังไม่ได้บรรลุ (ไม่บรรลุพระอรหัต)
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หาได้ยาก
             ภิกษุนั้นควรหลีกไปจากป่านั้นในเวลากลางคืนหรือในเวลา
กลางวันก็ตาม
             ๒. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยป่า สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ ...
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต ฯลฯ หาได้ไม่ยาก
             ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพื่อปัจจัยเหล่านี้
             ภิกษุนั้นควรหลีกไปจากป่านั้น ไม่ควรอยู่
             ๓. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยป่า สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ
จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป
และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต ฯลฯ หาได้ยาก
             ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพื่อปัจจัยเหล่านี้
             ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าทึบนั้น ไม่ควรหลีกไป
             ๔. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยป่า สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ ...
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต ฯลฯ หาได้ไม่ยาก
             ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าทึบนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป
             ๕. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบ้าน ... นิคม ... นคร ... ชนบท ... บุคคล
ใดบุคคลหนึ่ง
             สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ ...
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต ฯลฯ หาได้ยาก
             ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปในเวลากลางวัน
หรือในเวลากลางคืน ไม่ควรพัวพันกับบุคคลนั้น
             ๖. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สติที่ยังไม่
ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ ...
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต ฯลฯ หาได้ไม่ยาก
             ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพื่อปัจจัยเหล่านี้
             ภิกษุนั้นเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไป
เสีย ไม่ควรพัวพันกับบุคคลนั้น
             ๗. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สติที่ยังไม่ปรากฏ
ก็ปรากฏ ...
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต ฯลฯ หาได้ยาก
             ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพื่อปัจจัยเหล่านี้
             ภิกษุนั้นควรติดตามบุคคลนั้น ไม่ควรหลีกไป
             ๘. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สติที่ยังไม่ปรากฏ
ก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป
และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่
ตนยังไม่ได้บรรลุ
             ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หาได้ไม่ยาก
             ภิกษุนั้นควรติดตามบุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป
แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม ๖-๖๖]

ความคิดเห็นที่ 6-66
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 21:51 น.  

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๗. วนปัตถสูตร ว่าด้วยการอยู่ป่า (วนปตฺถปริยายํ)
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3631&Z=3751
...
             ย่อความได้ดีครับ รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน
             ข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             ประโยคว่า :-
             ๕. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบ้าน นิคม นคร ชนบท อาศัยกับบุคคล
ใดบุคคลหนึ่ง
             สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ ...
ควรเพิ่มเครื่องหมาย ... ดังนี้
             ๕. ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบ้าน ... นิคม ... นคร ... ชนบท ... บุคคล
ใดบุคคลหนึ่ง สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ ...
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า วนปัตถสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3631&Z=3751

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อพูดถึงการอยู่ป่า นึกถึงศีลหรือวัตร?

ความคิดเห็นที่ 6-67
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 22:16 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ไม่เข้าใจคำถามข้อ 2 ค่ะ >> 2. เมื่อพูดถึงการอยู่ป่า นึกถึงศีลหรือวัตร?
แปลว่าอะไรคะ
1 ให้เลือกตอบว่า ศีล หรือ วัตร
หรือ
2 เครื่องหมาย "?" แปลว่า "อะไร" นั่นคือ ถามว่า เมื่อพูดถึงการอยู่ป่า นึกถึงศีลหรือวัตรอะไร

ความคิดเห็นที่ 6-68
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 22:19 น.    

             ข้อ 1 ให้เลือกตอบว่า ศีล หรือ วัตร ครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-69
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 22:24 น.

ขอบพระคุณค่ะ
-------------------------
            ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า วนปัตถสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3631&Z=3751

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุควรบำเ็พ็ญเพียรอยู่ในป่าถ้าการอยู่ในป่านั้นทำให้อาสวะสิ้นไป (บรรลุพระอรหัต)
             ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิตจะหาได้ยากหรือง่าย ไม่ใช่เหตุผลที่จะอยู่หรือไม่อยู่
             ถ้าหาได้ง่ายก็นับว่าดีมาก ควรอยู่ป่านั้นไปตลอดชีวิตเลย
             กรณีที่ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบ้าน นิคม นคร ชนบท หรืออาศัยกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ก็พิจารณาในทำนองเดียวกัน
------------------------------------------------------------
             2. เมื่อพูดถึงการอยู่ป่า นึกถึงศีลหรือวัตร?
             ตอบว่า นึกถึงวัตรธุดงค์ ๑๓ ข้อ ๘ คือ
             8. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย 500 ชั่วธนู คือ 25 เส้น
คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า
“ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—” — forest-dweller’s practice)

             ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า  << จึงไม่ใช่ศีล
ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือ
             ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธุดงค์

ความคิดเห็นที่ 6-70
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 23:08 น.  

GravityOfLove, 18 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
-------------------------
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า วนปัตถสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3631&Z=3751

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุควรบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าถ้าการอยู่ในป่านั้นทำให้อาสวะสิ้นไป (บรรลุพระอรหัต)
             ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิตจะหาได้ยากหรือง่าย ไม่ใช่เหตุผลที่จะอยู่หรือไม่อยู่
             ถ้าหาได้ง่ายก็นับว่าดีมาก ควรอยู่ป่านั้นไปตลอดชีวิตเลย
             กรณีที่ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบ้าน นิคม นคร ชนบท หรืออาศัยกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ก็พิจารณาในทำนองเดียวกัน
             มีข้อเดียวหรือหนอ?
             ปริบทหรือสภาพความเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์ น่าจะได้รับรู้ด้วย.
------------------------------------------------------------
             2. เมื่อพูดถึงการอยู่ป่า นึกถึงศีลหรือวัตร?
             ตอบว่า นึกถึงวัตรธุดงค์ ๑๓ ข้อ ๘ คือ
             8. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย 500 ชั่วธนู คือ 25 เส้น
คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า
“ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—” — forest-dweller’s practice)
             ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า  << จึงไม่ใช่ศีล
ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือ
             ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธุดงค์
10:24 PM 2/25/2013
             เฉลยว่า ถูกต้องครับ.

             คำถามต่อไปว่า
             1. เมื่อกล่าวถึงพระเถระผู้อยู่ป่าด้วยตนเอง และสรรเสริญการอยู่ป่าด้วย
             คุณ GravityOfLove นึกถึงพระเถระรูปใด?
             2. พระเถระผู้รูปใดเป็นเลิศในการอยู่ป่าเป็นวัตร

ความคิดเห็นที่ 6-71
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 23:56 น.

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุเข้าไปอาศัยป่าใดอยู่แล้วสติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตก็ไม่ตั้งมั่น
ทั้งปัจจัย 4 ก็หาได้โดยยาก  ภิกษุนั้นควร หลีกไปเสียจากป่านั้นในเวลากลางคืน
หรือในกลางวันก็ตาม ไม่ควรอยู่
             ๒. ภิกษุเข้าไปอาศัยป่าใดอยู่แล้วสติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตก็ไม่ตั้งมั่น
แต่หาปัจจัย 4 ก็หาได้ไม่ยาก ภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ควรหลีกไปเสียจากป่านั้น ไม่ควรอยู่
             ๓. ภิกษุอาศัยป่าใดอยู่แล้วสติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ปรากฏ จิตก็ตั้งมั่น  
อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็ถึงความสิ้นไป ส่วนปัจจัย 4 หาได้โดยยาก
ภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ก็ควรอยู่ในป่านั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย
             ๔. ภิกษุอาศัยป่าใดอยู่แล้ว  สติก็ปรากฏ จิตก็ตั้งมั่น อาสวะก็ถึงความสิ้นไป
และปัจจัย 4 หาได้โดยไม่ยาก  ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่านั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป
             ๕.  ภิกษุเข้าไปอยู่อาศัยบ้าน นิคม นคร ชนบท อาศัยกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะก็ไม่ถึงความสิ้นไป
และปัจจัย 4 หาได้ยาก ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปในเวลากลางวัน
หรือในเวลากลางคืน ไม่ควรพัวพันกับบุคคลนั้น
             ๖. ภิกษุเข้าไปอาศัยบุคคลใดอยู่สติก็ปรากฏ จิตก็ตั้งมั่น อาสวะก็ถึงความสิ้นไป
และปัจจัย 4 ก็หาได้โดยไม่ยากภิกษุนั้น  ควรพัวพันอยู่กับบุคคลนั้นจนตลอดชีวิต  
ไม่ควรหลีกไปแม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
--------------------------------------
             คำถามต่อไปว่า
             1. เมื่อกล่าวถึงพระเถระผู้อยู่ป่าด้วยตนเอง และสรรเสริญการอยู่ป่าด้วย
             คุณ GravityOfLove นึกถึงพระเถระรูปใด?
             ตอบว่า ท่านพระมหากัสสป
             ... ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานมาแล้ว
ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ...
             ชิณณสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5319&Z=5370#479
กระทู้ที่ ๗ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12106258/Y12106258.html#11

             2. พระเถระผู้รูปใดเป็นเลิศในการอยู่ป่าเป็นวัตร
             ตอบว่า ท่านพระมหากัสสป
             บทว่า ธุตวาทานํ ยทิทํ มหากสฺสโป ความว่า
             ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในระหว่างภิกษุผู้สอนธุดงค์ว่า มหากัสสปเถระนี้เป็นยอด.
             ประวัติพระมหากัสสปเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=146&p=4

ความคิดเห็นที่ 6-72
ฐานาฐานะ, 26 กุมภาพันธ์ เวลา 00:10 น.

             คำถามต่อไปว่า
             1. เมื่อกล่าวถึงพระเถระผู้อยู่ป่าด้วยตนเอง และสรรเสริญการอยู่ป่าด้วย
             คุณ GravityOfLove นึกถึงพระเถระรูปใด?
             ตอบว่า ท่านพระมหากัสสป
             ... ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานมาแล้ว
ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ...
             ชิณณสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5319&Z=5370#479
กระทู้ที่ ๗ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12106258/Y12106258.html#11

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ ท่านพระมหากัสสปเถระ เรื่องนี้มาในชิณณสูตร.

             2. พระเถระผู้รูปใดเป็นเลิศในการอยู่ป่าเป็นวัตร
             ตอบว่า ท่านพระมหากัสสป
             บทว่า ธุตวาทานํ ยทิทํ มหากสฺสโป ความว่า
             ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในระหว่างภิกษุผู้สอนธุดงค์ว่า มหากัสสปเถระนี้เป็นยอด.
             ประวัติพระมหากัสสปเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=146&p=4
11:56 PM 2/25/2013
             เฉลยว่า ผิดครับ.
             คำตอบ คือพระเรวตขทิรวนิยะ
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
             อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             เอตทัคคบาลี
[บางส่วน]
             พระเรวตขทิรวนิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152#147
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=147
             ประวัติพระเรวตเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=147&p=4

ความคิดเห็นที่ 6-73
ฐานาฐานะ, 26 กุมภาพันธ์ เวลา 00:18 น.   

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า วนปัตถสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3631&Z=3751

             พระสูตรหลักถัดไป คือมธุปิณฑิกสูตรและเทวธาวิตักกสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มธุปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3752&Z=3952
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=243

             เทวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=251

ความคิดเห็นที่ 6-74
GravityOfLove, 26 กุมภาพันธ์ เวลา 00:21 น.

คำถามในมธุปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3752&Z=3952

             ๑. ภพใหญ่, ภพน้อยภพใหญ่แปลว่าอะไรคะ

             ๒. ในพระสูตรนี้ ใช้ทั้งคำว่า สัญญา และ จำ ทั้ง ๒ คำ
            ไม่ทราบว่า เ็ป็นคำเดียวกันหรือไม่คะ

             ๓. กรุณาอธิบายค่ะ
             ถามว่า ส่วนแห่งเครื่องเนิ่นช้าเกิดพร้อมกับชวนะ ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงทำการถืออดีตและอนาคตเล่า.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=243

             ๔. บทว่า มโนวิญฺญาณํ ได้แก่ อาวัชชนะหรือชวนะ.
             ครั้นอาวัชชนะถือแล้ว ผัสสะ เวทนา สัญญาและวิตก ย่อมเกิดพร้อมกับอาวัชชนะ เครื่องเนิ่นช้าเกิดพร้อมกับชวนะ ครั้นชวนะถือแล้ว ภวังคจิตซึ่งมีพร้อมกับอาวัชชนะ ชื่อว่าเป็นมโน แต่นั้นผัสสะเป็นต้นแม้ทั้งหมดก็เกิดพร้อมกับชวนะ ส่วนในมโนทวาร อารมณ์แม้ทั้งหมดอันต่างโดยเป็นอดีตเป็นต้นก็ย่อมมี เพราะฉะนั้น คำนี้ว่า เป็นที่อดีตอนาคตและปัจจุบัน เป็นอันเหมาะสมแล้ว.

ความคิดเห็นที่ 6-75
GravityOfLove, 27 กุมภาพันธ์ เวลา 13:56 น.

ขันธ์ ธาุตุ อายตนะ อยู่ในหัวข้อธรรมใดคะ

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 9:31:45 น.
Counter : 728 Pageviews.

0 comments
Deh! Tu di un'umile preghiera from Maria Stuarda by Gaetano Donizetti ปรศุราม
(20 เม.ย. 2568 10:57:03 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เรื่องง่าย ๆ ความหมายดี ๆ : กะว่าก๋า
(19 เม.ย. 2568 05:18:04 น.)
จับ จอง บริหาร จัดการ ปัญญา Dh
(25 เม.ย. 2568 02:59:41 น.)
ให้ รับ การฝึกตน เนื้อคู่แท้ ระยะนามขันธ์ของเนื้อคู่แท้ ไม่ผูกกรรม ปัญญา Dh
(25 เม.ย. 2568 05:10:58 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด