14.7 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
14.6 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.

ความคิดเห็นที่ 4-55
GravityOfLove, 14 มีนาคม เวลา 21:06 น.

ขอบพระคุณค่ะ

             คำถามในรถวินีตสูตร
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4938&Z=5108&pagebreak=0&bgc=seashell

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไปเพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้
             ๒. ไม่ลาสิกขา สึกเลย
             ๓. ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคาหคาหกะ รูปหนึ่งเป็นคาหมุตตกะ รูปหนึ่งเป็นมุตตคาหกะ
รูปหนึ่งเป็นมุตตมุตตกะ.
             ในภิกษุเหล่านั้น พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุด้วยการเอาเหยื่อล่อจับไว้ก็ดี ภิกษุเข้าไปหา
มนุษย์ด้วยการเอาดอกไม้ผลไม้เป็นต้นล่อจับไว้ก็ดี นี้ชื่อว่าคาหคาหกะ ต่างคนต่างจับ.
             ส่วนมนุษย์เข้าไปหาภิกษุโดยนัยที่กล่าวแล้ว ภิกษุเข้าไปหาโดยเป็นทักขิเณยยบุคคล
นี้ชื่อว่าคาหมุตตกะ พ้นจากผู้จับ.
             มนุษย์ทั้งหลายถวายปัจจัยสี่โดยเป็นทักขิเณยยบุคคล ฝ่ายภิกษุเข้าไปหาโดยเอา
ดอกไม้ผลไม้เป็นต้นล่อจับไว้ นี้ชื่อว่ามุตตคาหกะ จับผู้ปล่อย.
             มนุษย์ทั้งหลายถวายปัจจัยสี่โดยเป็นทักขิเณยยบุคคลก็ดี ภิกษุบริโภคโดยเป็นทักขิเณยยบุคคล
เหมือนพระจุลลปิณฑปาติยติสสเถระก็ดี นี้ชื่อว่ามุตตมุตตกะ ต่างคนต่างปล่อย.

ความคิดเห็นที่ 4-56
ฐานาฐานะ, 14 มีนาคม เวลา 21:56 น.

GravityOfLove, 24 นาทีที่แล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ
             คำถามในรถวินีตสูตร
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4938&Z=5108&pagebreak=0&bgc=seashell

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไปเพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้
             อธิบายว่า
             น่าจะแปลว่า ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว ผมคงไม่แสดงเอง
             กล่าวคือ ให้ท่านพระสารีบุตรเถระแสดงธรรม คือท่านพระสารีบุตรแสดง
ส่วนท่านจะเป็นผู้ฟัง.

             ๒. ไม่ลาสิกขา สึกเลย
             อธิบายว่า น่าจะมาจากบาลีว่า สิกฺขาทุพฺพลฺยํ  อนาวิกตฺวา  หีนายาวตฺตตีติ
             น่าจะแปลว่า ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพล คือไม่มีกำลัง (ลาสิกขาให้ถูกต้อง),
สึกเลย น่าจะหมายถึงเวียนไปทางเลวทราม คือทำศีลให้วิบัติเลย.

             ๓. ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคาหคาหกะ รูปหนึ่งเป็นคาหมุตตกะ รูปหนึ่งเป็นมุตตคาหกะ
รูปหนึ่งเป็นมุตตมุตตกะ.
             ในภิกษุเหล่านั้น พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุด้วยการเอาเหยื่อล่อจับไว้ก็ดี ภิกษุเข้าไปหา
มนุษย์ด้วยการเอาดอกไม้ผลไม้เป็นต้นล่อจับไว้ก็ดี นี้ชื่อว่าคาหคาหกะ ต่างคนต่างจับ.
             ส่วนมนุษย์เข้าไปหาภิกษุโดยนัยที่กล่าวแล้ว ภิกษุเข้าไปหาโดยเป็นทักขิเณยยบุคคล
นี้ชื่อว่าคาหมุตตกะ พ้นจากผู้จับ.
             มนุษย์ทั้งหลายถวายปัจจัยสี่โดยเป็นทักขิเณยยบุคคล ฝ่ายภิกษุเข้าไปหาโดยเอา
ดอกไม้ผลไม้เป็นต้นล่อจับไว้ นี้ชื่อว่ามุตตคาหกะ จับผู้ปล่อย.
             มนุษย์ทั้งหลายถวายปัจจัยสี่โดยเป็นทักขิเณยยบุคคลก็ดี ภิกษุบริโภคโดยเป็นทักขิเณยยบุคคล
เหมือนพระจุลลปิณฑปาติยติสสเถระก็ดี นี้ชื่อว่ามุตตมุตตกะ ต่างคนต่างปล่อย.
9:05 PM 3/14/2013

             อธิบายว่า
             สันนิษฐานว่า คำเหล่านี้ เป็นการแบ่งความสัมพันธ์ของพระภิกษุและพวกชาวบ้าน
             กล่าวคือ
             1. ภิกษุมุ่งอามิส พวกชาวบ้านหรือพวกมนุษย์ก็มุ่งอามิสเช่นกัน
             การสมาคมของคนเหล่านี้ เป็นจำพวกต่างคนต่างจับ (อามิส)
             2. พวกมนุษย์มุ่งอามิส แต่พระภิกษุไม่ได้มุ่งอามิส (มุ่งในธรรม)
             การสมาคมนี้ เป็น (ภิกษุ) พ้นจากผู้จับ
             3. พวกมนุษย์มุ่งธรรม ถวายทานด้วยดี แต่ภิกษุมุ่งอามิส
             การสมาคมนี้ เป็น (ภิกษุ) จับผู้ปล่อย
             4. พวกมนุษย์มุ่งธรรม และพระภิกษุก็มุ่งในธรรม
             การสมาคมนี้ เป็นต่างคนต่างปล่อย (อามิส).

             ก็ท่านพระมันตานีบุตรไม่คลุกคลีกับบริษัทสี่ ด้วยสังสัคคะ ๕ เหล่านี้
จึงเป็นทั้งคาหมุตตกะ ทั้งมุตตมุตตกะ.

ความคิดเห็นที่ 4-57
GravityOfLove, 15 มีนาคม เวลา 08:54 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-58
GravityOfLove, 15 มีนาคม เวลา 09:32 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค          
             ๔. รถวินีตสูตร ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4938&Z=5108&pagebreak=0&bgc=seashell

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อ
แก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศ (ภิกษุผู้มีถิ่นกำเนิดเดียวกันกับพระองค์คือ
กบิลพัสดุ์สักกชนบท) จำนวนมาก จำพรรษาแล้ว พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             พระองค์ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า
             ภิกษุรูปใดที่ภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ในชาติภูมิประเทศยกย่องว่า
             เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ (วิเวก) ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร
สมบูรณ์ด้วยศีล (ปาริสุทธิศีล) สมาธิ (สมาบัติ ๘) ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
             แล้วยังกล่าวถ้อยคำพรรณนา ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัดเงียบ
ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ
และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย
             เป็นผู้โอวาท แนะนำชี้แจงชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ให้อาจหาญ ร่าเริง
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ_10

             [อรรถกถา]
             ความมักน้อย ๔ ประการ คือ
             (๑) เป็นผู้มักน้อยในปัจจัย ๔
             (๒) เป็นผู้มักน้อยในธุดงค์ ได้แก่ ไม่ประสงค์ให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนสมาทานธุดงค์
             (๓) เป็นผู้มักน้อยในปริยัติ (การเล่าเรียน) ได้แก่ ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ความที่
ตนเป็นพหูสูต
             (๔) เป็นผู้มักน้อยในอธิคม (การบรรลุธรรม) ได้แก่ ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ความที่
ตนเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัจจัย_4
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธุดงค์_13
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สันโดษ_3
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิเวก_3
             เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ หมายถึงไม่คลุกคลีด้วย ๕ ประการ คือ
             (๑) สวนสังสัคคะ (การคลุกคลีด้วยการฟัง)
             (๒) ทัสสนสังสัคคะ (การคลุกคลีด้วยการเห็น)
             (๓) สมุลลาปสังสัคคะ (การคลุกคลีด้วยการสนทนาปราศรัย)
             (๔) สัมโภคสังสัคคะ (การคลุกคลีด้วยการใช้สอยสิ่งของร่วมกัน)
             (๕) กายสังสัคคะ (การคลุกคลีทางกาย)
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล_4
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาบัติ_8

             ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศเหล่านั้นกราบทูลว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร
             ขณะนั้น ท่านพระสารีบุตรได้นั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ ที่ใกล้ ได้มีความคิดว่า
             เป็นลาภของท่านพระปุณณมันตานีบุตรๆ ได้ดีแล้วที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์
ผู้เป็นวิญญูชนกล่าวยกย่อง พรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา และพระศาสดา
ก็ทรงอนุโมทนาการกระทำนั้น
             บางทีเราคงได้พบกับท่านแล้วสนทนาปราศรัยกันสักครั้งหนึ่ง

             เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกจากกรุงราชคฤห์ถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ใน
พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้สดับข่าวนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             พระองค์ทรงแสดงธรรมีกถาชี้แจงท่านพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง แล้วท่านพระปุณณมันตานีบุตร ก็ทูลลาไปสู่ป่าอันธวันเพื่อพักในกลางวัน
             ภิกษุรูปหนึ่งนำเรื่องนี้มาแจ้งแก่ท่านพระสารีบุตรๆ จึงติดตามท่านพระปุณณมันตานีบุตร
ไปข้างหลังๆ พอเห็นศีรษะกัน
             ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคน
ไม้แห่งหนึ่ง ส่วนท่านพระสารีบุตรก็นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเช่นกัน

พระสารีบุตรสนทนากับพระปุณณมันตานีบุตร
             เมื่อถึงเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปหาท่านพระปุณณมันตานีบุตร ถามท่านว่า
             ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ?
             ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ใช่
             ๑. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสีลวิสุทธิหรือ?
             ท่านปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ไม่ใช่
             ๒. ... เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ? ... ไม่ใช่
             ๓. ... เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ? .. ไม่ใช่
             ๔. ... เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิ? ... ไม่ใช่
             ๕. ... เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ? ... ไม่ใช่
             ๖. ... เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ? ... ไม่ใช่
             ๗. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ?
             ท่านปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ไม่ใช่
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิสุทธิ_7

             ท่านปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ปรินิพพานที่หาปัจจัยปรุงแต่งมิได้)
             สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ไม่ใช่อนุปาทาปรินิพพาน
             เพราะถ้าพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสีลวิสุทธิ ฯลฯ ญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็น
อนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
             และถ้าหากว่า ธรรมอื่นๆ นอกจากธรรมเหล่านี้เป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
กล่าวได้ว่าปุถุชนก็ปรินิพพานไ้ด้ เพราะว่า ปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้

อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด
             ท่านพระปุณณมันตานีบุตรอุปมาให้ฟังดังนี้ว่า
             เปรียบเหมือน พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี
มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต
             และในระหว่างพระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด
             พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จออกจากพระนครสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง
ที่ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึงปล่อยรถพระ
ที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ...
             ... ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองปลายทาง
             ถ้ามีผู้ถามว่า พระองค์เสด็จมาจากเมืองแรกถึงเมืองปลายทางด้วยรถพระที่นั่งผลัดนี้
ผลัดเดียวหรือ
             ควรตอบว่า ต้องใช้รถ ๗ ผลัด ไปถึงเมืองปลายทางด้วยรถผลัดที่ ๗
             ข้อนี้ก็ฉันนั้น
             สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ (สีลวิสุทธิมีจิตตวิสุทธิเป็นเป้าหมาย)
             ...
             ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ
             ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน
             ท่านปุณณมันตานีบุตรประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

กล่าวชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน
             เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถามถึงชื่อท่าน
             ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ท่านชื่อปุณณะ แต่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์
เรียกท่านว่ามันตานีบุตร
             ท่านพระสารีบุตรกล่าวชมท่านว่า
             น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ธรรมอันลึกซึ้งที่ท่านเลือกเฟ้นมากล่าวแก้ ด้วยปัญญาอัน
ลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้
             เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่าน อนึ่งนับว่าเป็น
ลาภมากของตนด้วย เป็นการได้ดีที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร
             เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามชื่อท่านบ้าง
             ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์เรียกท่านว่า
สารีบุตร
             ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ตนไม่ทราบเลยว่า กำลังพูดอยู่กับท่านพระสารีบุตร
ผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับพระศาสดา ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตร คำเปรียบเทียบเท่านี้
คงไม่จำเป็นสำหรับกระผม (ผมคงไม่จำเป็นแสดงธรรมนี้)
             น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา ธรรมอันลึกซึ้งอันท่านพระสารีบุตรเลือกเฟ้นมาถามแล้ว
ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้
             เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ เพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่าน
พระสารีบุตร อนึ่ง นับว่าเป็นลาภมากของตนด้วย เป็นการได้ดีของตนด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่าน
             พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการฉะนี้

ความคิดเห็นที่ 4-59
ฐานาฐานะ, 22 มีนาคม เวลา 04:53 น.

GravityOfLove, 15 มีนาคม เวลา 09:32 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๔. รถวินีตสูตร ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4938&Z=5108&pagebreak=0&bgc=seashell
...
9:31 AM 3/15/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน.
             คำถามในรถวินีตสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ประทับบทธรรมส่วนใดมากที่สุด และรองที่สุด.
             3. การไม่คลุกคลีด้วย 5 ประการ นัยของการไม่คลุกคลี 5 อย่างนี้
             คุณ GravityOfLove เคยได้ศึกษามาก่อนหรือไม่
หรือว่า ผมเคยให้ลิงค์ที่มีนัยนี้มาก่อนหรือไม่? และด้วยลิงค์ใด?

ความคิดเห็นที่ 4-60
GravityOfLove, 22 มีนาคม เวลา 21:30 น.

              ตอบคำถามในรถวินีตสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่าเป็นผู้มีกถาวัตถุ ๑๐
แล้วยังกล่าวถ้อยคำพรรณนาธรรมดังกล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย และพระผู้มีพระภาค
ก็ทรงอนุโมทนาด้วย

             ๒. ความมักน้อย ๔ ประการ
                  ๑. ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัยนั้น ย่อมรู้ความสามารถของทายก
ย่อมรู้ความสามารถของไทยธรรม ย่อมรู้กำลังของตน.
                   ถ้าไทยธรรมมีมาก แต่ทายกต้องการถวายน้อย ก็รับเอาแต่น้อยตามความสามารถของทายก
                   ถ้าไทยธรรมมีน้อย ทายกต้องการจะถวายมาก ก็รับเอาแต่น้อย ตามความสามารถของไทยธรรม
                   ถ้าทั้งไทยธรรมก็มีมาก ทั้งทายกก็ต้องการจะถวายมาก ก็รู้กำลังของตน รับเอาแต่พอประมาณ
                   ๒. ผู้มักน้อยในธุดงค์  เช่น พระมหาสุมเถระผู้ถือโสสานิกังคธุดงค์อยู่ป่าช้ามา ๖๐ ปี
แม้แต่ภิกษุสักรูปหนึ่งอื่นๆ ก็ไม่รู้, พระเถระ ๒ พี่น้องอยู่ในเจติยบรรพต
                   ๓. ผู้มักน้อยในปริยัติ เช่น พระสาเกตกติสสเถระ
                   ๔. ผู้มักน้อยในอธิคม เช่น กุลบุตร ๓ คน, ช่างหม้อ ชื่อว่าฆฏิการะ

             ๓. คลุกคลี ๕ ประการ

             ๔. ท่านพระปุณณมันตานีบุตรและท่านพระสารีบุตรยังไม่เคยพบกันมาก่อน แต่ต่างก็
ยกย่องซึ่งกันและกันด้วยเกียรติศัพท์ที่ได้ฟังมา
             ท่านพระสาีรีบุตรปรารภอยากพบและสนทนากันกับท่านพระปุณณมันตาบุตรสักครั้งหนึ่ง

             ๕. ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบท่านพระสารีบุตรว่า ท่านประพฤติพรหมหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้เพื่อ
อนุปาทาปรินิพพาน (ปรินิพพานที่หาปัจจัยปรุงแต่งมิได้) โดยอาศัยวิสุทธิ ๗ เป็นเหมือนรถ ๗ ผลัดเพื่อ
ไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง
             ผลัดแรกๆ เป็นประโยชน์ต่อผลัดต่อๆ ไป จนกว่าจะถึงปลายทาง

             ๖. วิสุทธิ ๗ ยังไม่เรียกว่า นิพพาน เพราะยังมีอุปาทาน

             ๗. ชาติภูมิ แปลว่า ที่เกิดแห่งพระสัพพัญญูพระโพธิสัตว์ ในที่นี้คือ กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท

             ๘. ผู้ปฏิบัติมี ๔ ประเภท คือ
                   ๑. ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เช่น ท่านพระพากุละ
                   ๒. ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน เช่น ท่านพระอุปนันทสักยบุตร
                   ๓. ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เช่น อสีติมหาสาวก (พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์)
ได้แก่ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระปุณณมันตานีบุตร
                   ๔. ไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เช่น ท่านพระโลฬุทายี

             ๙. ความแตกต่างของคำต่อไปนี้ คือ
                   ๑. ความเป็นผู้ปรารถนาไม่มีขอบเขต คือ ผู้ไม่อิ่มในลาภของตน มุ่งลาภของผู้อื่น
                   ย่อมมองเห็นขนมที่สุกแล้วในภาชนะเดียวกัน ที่ตกลงในบาตรของตนว่าเป็นเหมือนยังไม่สุก
และเป็นของเล็กน้อย ของอย่างเดียวกันนั่นแหละที่เขาใส่ลงในบาตรของผู้อื่น ย่อมมองเห็นว่าเป็นเหมือน
ของสุกดีและเป็นของมาก

                   ๒. ความเป็นผู้ปรารถนาลามก คือ ความอวดอ้างคุณที่ไม่มีอยู่และความไม่รู้จักประมาณในการรับ
                   เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่าขอชนจงรู้ว่าเรามีศรัทธา. ถือว่าเป็นคนล่อลวง.

                   ๓. ความเป็นผู้มักมาก  คือการกล่าวสรรเสริญคุณที่มีอยู่ก็ดี และการไม่รู้จักประมาณในการรับก็ดี
                   เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่าขอชนจงรู้ว่าเรามีศรัทธา เป็นผู้มีศีล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่าเป็นผู้มีศีล.
                   บุคคลประเภทนี้ ย่อมเป็นที่รักของคนชั่ว. แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าก็ไม่สามารถจะเอาใจเขาได้.
                   ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า
                         อคฺคิกฺขนฺโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล
                         สกเฎน ปจฺจยํ เหตุ ตโย เจเต อตปฺปิยา
                         กองไฟ ๑ ทะเล ๑ คนมักมาก ๑ ทั้ง ๓ ประเภทนี้
                         ถึงจะให้ของจนเต็มเล่มเกวียน ก็ไม่ทำให้อิ่มได้.

                  ๔ ความเป็นผู้มักน้อย คือ การปกปิดคุณที่มีอยู่ และความเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ
                   ประสงค์จะปกปิดคุณ แม้ที่มีอยู่ในตน ถึงจะสมบูรณ์ด้วยศรัทธา ก็ไม่ปรารถนาจะให้คนรู้ว่าเรามีศรัทธา
                   เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สงัด เป็นพหูสูต เป็นผู้ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยสมาธิ มีปัญญา เป็นพระขีณาสพ
ก็ไม่ปรารถนาจะให้คนรู้ว่าเราเป็นพระขีณาสพ เหมือนอย่างพระมัชฌันติกเถระ
                   ภิกษุผู้มักน้อย มี ๔ ประเภทดังกล่าวแล้วในข้อ ๒

             ๑๐. สันโดษ ๓ (ท่านปุณณะมีสันโดษทั้ง ๓ นี้)
                    ๑. ยถาลาภสันโดษ
                    -ได้จีวร ไม่ว่าดีหรือไม่ดี ก็ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาจีวรอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ
                    - ได้บิณฑบาตไม่ว่าปอนหรือประณีต เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น
ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ
                    - ได้เสนาสนะ ไม่ว่าน่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ เธอไม่เกิดโสมนัส ไม่เกิดปฏิฆะ ด้วยเสนาสนะนั้น
ยินดีด้วยเสนาสนะตามที่ได้โดยที่สุดแม้เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า
                    - ได้เภสัช ไม่ว่าปอนหรือประณีต เธอยินดีด้วยเภสัชที่ได้ ไม่ปรารถนาเภสัชแม้อย่างอื่น
ถึงได้ก็ไม่รับ
                  ๒. ยถาพลสันโดษ  
                  - ภิกษุใดทุพพลภาพโดยปกติหรือถูกความเจ็บป่วยและชราครอบงำ ครองจีวรหนักก็ลำบาก
ภิกษุนั้นเปลี่ยนจีวรกับภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรเบา
                  - ภิกษุใดได้บิณฑบาตที่แสลงแก่ปกติของตนหรือแสลงแก่โรค ซึ่งเธอฉันแล้วไม่ผาสุก
ภิกษุนั้นถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุที่ชอบกัน ฉันโภชนะที่สบายจากมือของภิกษุนั้น แม้กระทำสมณธรรมอยู่
ก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ
                  - เสนาสนะ ภิกษุใดได้เสนาสนะที่แสลงแก่ปกติของตนหรือแสลงแก่โรค เมื่ออยู่ก็ไม่มีความผาสุก
ภิกษุนั้นถวายเสนาสนะนั้นแก่ภิกษุที่ชอบกัน แม้อยู่ในเสนาสนะอันเป็นสัปปายะอันเป็นส่วนของเธอ
                  - ภิกษุใดต้องการน้ำมัน (ซึ่งเหมาะกับโรคตัวเอง) แต่ได้น้ำอ้อย เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบกัน
ถือเอาน้ำมันจากมือของภิกษุนั้น หรือแสวงหาอย่างอื่น แม้กระทำเภสัชด้วยปัจจัยเหล่านั้น ก็ยังชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ
                  ๓ ยถาสารุปปสันโดษ << ดีที่สุด
                  - ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ได้ปัจจัยอันประณีต เธอได้จีวรมีค่ามากผืนหนึ่ง หรือว่าได้จีวรเป็นอันมาก
คิดว่าจีวรนี้เหมาะแก่พระเถระผู้บวชนาน ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้พหูสูต ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้เป็นไข้
ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้มีลาภน้อย ถวายแล้วเลือกจีวรเก่าๆ บรรดาผ้าเหล่านั้นหรือชิ้นผ้าจากกองขยะเป็นต้น
กระทำสังฆาฏิด้วยผ้าเหล่านั้น
                 - ภิกษุรูปหนึ่งได้บิณฑบาตประณีตเป็นอันมาก เธอถวายบิณฑบาตนั้นแก่เหล่าภิกษุผู้บวชนาน
ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย และภิกษุไข้เหมือนจีวร แม้ฉันบิณฑบาตที่เหลือของภิกษุเหล่านั้น
หรือเที่ยวบิณฑบาตแล้วฉันอาหารคละกัน ก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ
                - เสนาสนะ ภิกษุรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะมาก มีที่เร้น มณฑปและเรือนยอดเป็นต้น
เธอถวายเสนาสนะเหล่านั้นแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และภิกษุไข้
                แม้ภิกษุใดพิจารณาว่า เสนาสนะอันอุดมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อนั่งในที่นั้น
ย่อมง่วงเหงาหาวนอน เมื่อหลับแล้วตื่นขึ้น ความวิตกอันลามกก็ปรากฏ แล้วไม่รับเสนาสนะเช่นนั้นแม้มาถึงแล้ว
เธอปฏิเสธแล้วอยู่กลางแจ้งโคนไม้เป็นต้น ก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ
               -  ภิกษุรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เภสัชประณีต มีน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้นเป็นอันมาก
เธอถวายเภสัชนั้นแก่ภิกษุบวชนาน พหูสูต มีลาภน้อยและภิกษุไข้เหมือนจีวร แม้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
เภสัชอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้มาจากคิลานปัจจัยเหล่านั้น
               ภิกษุใดอันภิกษุทั้งหลายวางสมอดองไว้ในภาชนะหนึ่ง วางของมีรสอร่อย ๔ อย่างไว้ในภาชนะหนึ่ง
แล้วกล่าวว่า นิมนต์ถือเอาสิ่งที่ต้องการเถิดขอรับ ถ้าว่าโรคของเธอจะระงับไปด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่งในของเหล่านั้น
               เมื่อเป็นดังนั้น เธอก็ห้ามว่า ขึ้นชื่อสมอดองอันพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว
               กระทำเภสัชด้วยสมอดองเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่ายถสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย

             ๑๑. คลุกคลี ๔ อย่าง << ท่านพระปุณณมันตานีบุตรไม่คลุกคลีเลย จึงเป็นทั้งคาหมุตตกะ ทั้งมุตตมุตตกะ
                    ๑. คาหคาหกะ ชาวบ้านจับเอาอามิส พระภิกษุจับเอาอามิส
                    ๒. คาหมุตตกะ ชาวบ้านจับอามิส พระภิกษุพ้นจากการเป็นผู้จับอามิส
                    ๓. มุตตคาหกะ ชาวบ้านมีความตั้งใจดีในการถวาย แต่พระภิกษุมุ่งจับเอาอามิสชาวบ้าน (จับผู้ปล่อย)
                    ๔. มุตตมุตตกะ ชาวบ้านมีความตั้งใจดีในการถวาย และพระภิกษุบริโภคอย่างไม่มุ่งอามิส (ต่างคนต่างปล่อย)
เหมือนพระจุลลปิณฑปาติยติสสเถระ

             ๑๒. พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรม
---------------------------------------------------------
             2. ประทับบทธรรมส่วนใดมากที่สุด และรองที่สุด.
             ประทับใจวิสุทธิ ๗ มากที่สุด
             - ตรงที่ท่านอุปมาเหมือนรถ ๗ ผลัด ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
             - ตรงที่ว่าพระสูตรนี้นี่เอง (หรือเปล่า ที่คุณฐานาฐานะเคยเล่าให้ฟัง) ที่ท่านพระโฆษาจารย์
นำมาเป็นแนวทางในการรจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค

             บทธรรมที่ประทับใจรองลงมาคือ แม้วิสุทธิ ๗ ก็ยังเป็นธรรมที่มีอุปาทาน
ดังนั้นจึงไม่ถือว่า นิพพาน เพราะนิพพานจะไม่มีปัจจัยใดๆ ทั้งสิ้น เช่น อุปาทาน ปรุงแต่ง
             ปรินิพพานที่หาปัจจัยปรุงแต่งมิได้ เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน

             ในอรรถกถา เรื่องพระตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม ถือว่าเป็นบทธรรมหรือไม่คะ
ประทับเรื่องนี้ด้วยค่ะ
----------------------------------------------------------
             3. การไม่คลุกคลีด้วย 5 ประการ นัยของการไม่คลุกคลี 5 อย่างนี้
             คุณ GravityOfLove เคยได้ศึกษามาก่อนหรือไม่
หรือว่า ผมเคยให้ลิงค์ที่มีนัยนี้มาก่อนหรือไม่? และด้วยลิงค์ใด?
              นึกถึงอยู่ ๓ เรื่อง คือ
              ๑. การคบคน (กัลยาณมิตรธรรม) และเรื่องที่สนทนาในห้องศาสนา (กถาวัตถุ ๑๐)
สมัยที่เริ่มเรียนใหม่ๆ ที่คุณฐานาฐานะยกอลคัททูปมสูตรมาให้อ่าน
              ลิงค์ที่ให้คือ  คำว่า กัลยาณมิตรธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กัลยาณมิตรธรรม
              จะรู้จักคนได้ด้วยฐานะ ๔
              ข้อ ๑๙๒
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=5042&Z=5119
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#58 กระทู้ที่ ๑

              ๒. เว้นจากช้างดุร้าย (อากังเขยยสูตร)
              ลิงค์ที่ให้คือ คำว่า อปัสเสนธรรม 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พึงรู้จักพิจารณาหลีกเว้นเสีย&detail=on
//2g.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12560599/Y12560599.html#91 กระทู้ที่ ๑๑

(มีต่อ)


ความคิดเห็นที่ 4-61
(ต่อ)
             ๓. การวางใจกับบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ (ตอนนั้นคือกับสำนักหนึ่ง)
             โดยให้ตั้งจิตกรุณา (แต่อย่าเข้าไปใกล้) ดังนี้ว่า
             เขาเหล่านั้นแสวงลาภสักการะไม่ชอบธรรม
             จะเป็นผู้ประสบความทุกข์อย่างมาก.
             เทียบเคียงภาษิตของพระสารีบุตร :-
             โอท่านผู้นี้พึงละกายทุจริตแล้ว อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้ว
อบรมวจีสุจริต พึงละมโนทุจริตแล้ว อบรมมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้เมื่อตายไปแล้ว อย่าเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4342&Z=4422
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#60 กระทู้ที่ ๑

ตอบว่า เลือกตอบข้อ ๑ ค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 04 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:18:02 น.
Counter : 825 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
:: ถนนสายนี้มีตะพาบ โครงการที่ 349 :: กะว่าก๋า
(8 เม.ย. 2567 05:48:36 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด